Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ทฤษฎีพัฒนาการ - Coggle Diagram
บทที่ 4
ทฤษฎีพัฒนาการ
ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์
การนำไปประยุกต์ใช้
พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอย่างต่อเนื่อง
จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้เด็ก เช่น การเล่นในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมกิจกรรมที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่
ส่งเสริมให้เด็กแก้ปัญหา โดยใช้เกมและกิจกรรมในการเล่น
ส่งเสริมกิจกรรมทางภาษากับเด็กอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม โดยให้เด็กได้เล่นกับผู้อื่น
ส่งเสริมสังคมนิสัยให้กับเด็ก เช่น การปรับตัว การเข้าสังคม ความรับผิดชอบ เป็นต้น
พ่อแม่ส่งเสริมให้เด็กเข้าใจบทบาทของตนในการอยู่ร่วมกับสังคม
กีเซลล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในช่วงอายุต่าง ๆ และสรุปว่าพัฒนาการเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน แบบแผนพัฒนาการจะดำเนินการไปตามวุฒิภาวะ หรือดำเนินการไปตามความเจริญเติบโตของบุคคล วุฒิภาวะเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝน พัฒนาการของมนุษย์จะดำเนินการไปตามลำดับขั้น เป็นไปตามแบบแผนอันเดียวกันจากขั้นต้นสู่ขั้นปลาย และสามารถทำนายได้ถ้าไม่มีอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง กีเซลล์กล่าวว่า อัตราพัฒนาการและความสามารถของแต่บุคคลย่อมแตกต่างกัน
พฤติกรรมการดัดแปลงปรับปรุง (Adaptive Behavior) เป็นพฤติกรรมการแก้ ปัญหาด้านปฏิบัติ เช่น การต่อภาพ การต่อบล็อก การเล่นเกมต่าง ๆ
พฤติกรรมด้านภาษา (Language Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถในการพูด การถ่ายทอดความคิด การเข้าใจความหมาย และปฏิบัติตามคำสั่ง
พฤติกรรมด้านส่วนตัว – สังคม คือพฤติกรรมของเด็กทั้งที่แสดงออกในสังคมและแสดงออกเป็นการส่วนตัว
พฤติกรรมการเคลื่อนไหว (Motor Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกี่ยวกับ การควบคุมความสัมพันธ์ของอวัยวะการเคลื่อนไหว การทรงตัว กล้ามเนื้อ เช่น การนั่ง การยืน การเดิน เป็นต้น
ทฤษฎีทางสังคมของอิริคสัน
พัฒนาการ 8 ขั้น
ขั้นความรู้สึกขยันหมั่นเพียรหรือความรู้สึกด้อย (Industry VS. Inferiority) อายุ 6 – 12 ปี
ขั้นรู้จักตนเองหรือความรู้สึกสับสนในบทบาทของตน (Identity VS. Role Confusion) อายุ 13 – 18 ปี
ขั้นความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) อายุ 4 – 5 ปี
ขั้นความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมหรือความรู้สึกอ้างว้างว้าเหว่ (Intimacy VS. Isolation) อายุ 19 – 25 ปี
ขั้นความเป็นตัวของตัวเองหรือความสงสัยไม่แน่ใจ /2-3
ขั้นความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่หรือความรู้สึกเฉื่อยชา (Generativity VS. Stagnation) อายุ 26 – 40 ปี
ขั้นความรู้สึกไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ /0-1ปี
ขั้นความรู้สึกมั่นคงหรือรู้สึกผิดหวัง (Integrity VS. Despair) อายุ 41 ปี ขึ้นไป
การนำไปประยุกต์ใช้
วัยที่เด็กเริ่มเข้าเรียน ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และเพื่อนจะมีอิทธิพลต่อเด็กมาก ลักษณะของเด็กวัยนี้ชอบทำงานแข่งขันและร่วมมือกัน ดังนั้นจึงควรใช้อิทธิพลของตนในการนำให้เด็กทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ
วัยก่อนเข้าเรียนและวัยเข้าเรียนเด็กชอบเลียนแบบ ดังนั้นในการสอนจริยธรรมครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
วัยรุ่น ครูและผู้ปกครองควรสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสได้ทดลองบทบาทต่าง ๆ
ทฤษฎีพัฒนาการทางภาษา
พัฒนาการทางภาษาเป็นไปตามลำดับ
Linguistic Stage อายุแบ่งเป็น 2 ช่วง
3.1 พัฒนาการทางภาษาของเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2 – 6 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้คำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วประมาณ 200 – 300 คำ
3.2 พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 6 – 8 ปี เด็กวัยนี้จะพูดประโยคได้สมบูรณ์ และรู้จักใช้รูปประโยคต่าง ๆ ได้
3.3 พัฒนาการทางภาษาอายุ 9 – 12 ปี เด็กสามารถใช้ภาษาที่ซับซ้อนได้มากขึ้น
3.4 พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยรุ่น อายุ 12 ปี ขึ้นไป
การนำไปประยุกต์ใช้
พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ถูกต้องแก่เด็กปฐมวัยในการใช้ภาษา
ส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์อย่างต่อเนื่องและให้เด็กเข้าใจความหมาย
ฝึกให้เด็กพูดให้ถูกต้องและออกเสียงให้ชัดเจน
ส่งเสริมการใช้ภาษากับเด็กที่หลากหลาย เช่นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น
ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาในหลาย ๆ สถานการณ์
ส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงความสำคัญของภาษา
ส่งเสริมภาษาให้กับเด็กทั้งทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
ให้เด็กไประสบความสำเร็จในการใช้ภาษา
ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง
พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความใกล้ชิดกับเด็กและพยายามพูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ
Protolinguistic Stage อายุ 1 – 2 ปี เด็กอายุ 15 เดือนจะรู้ศัพท์มากกว่า 50 คำ แม้ว่าจะยังใช้ไม่ได้ทั้งหมด สามารถพูดตามผู้ใหญ่ได้
Prelinguistic Stage อายุตั้งแต่แรกเกิด – 1 ปี เด็กแรกเกิดจะส่งเสียงร้อง (Cry) ออกมาโดยอัตโนมัติต่อมาจะส่งเสียงร้องไห้ เมื่อหิว เจ็บปวด
4. ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์
ทฤษฎีทางการคิดและใช้ เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก
การให้เด็กทำลายสิ่งต่าง ๆ อย่างอิสระมากขึ้นทำให้มีการพัฒนาทางปัญญาในขณะที่เด็กรู้ภาษาก็รู้จักเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
การเรียนลักษณะที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ เด็กจะสะสมความรู้ไว้ และสามารถทำนายคาดคะเนสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้
พัฒนาการทางความคิดคือความสามารถที่จะสื่อสารให้คนอื่นและตนเองได้รู้ถึงสิ่งที่ตนกำลังทำโดยใช้คำต่าง ๆ หรือสัญลักษณ์ สามารถอธิบายการกระทำในอดีตและปัจจุบันได้
ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
ภาษาเป็นกุญแจสำคัญของพัฒนาการทางความคิด
การพัฒนาความคิดสังเกตได้จากความสามารถในการเลือกทำกิจกรรมที่สนใจหรือสนใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อมีให้เลือกพร้อม ๆ กัน
พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและการคิดของมนุษย์
Enactive stage เป็นระยะที่ทารกเข้าใจสิ่งแวดล้อมจากการกระทำ
Iconic representation stage เริ่มตั้งแต่อายุ 3 ปี ระยะนี้เด็กบางคนเริ่มตั้งแต่ปลายขวบแรกถึง 3 ½ ปี
ข้อมูลต่าง ๆ ได้มาจากการนึกวาดภาพในสมอง
สามารถเข้าใจเฉพาะจากสิ่งที่รับรู้ทำไปโดยไม่ได้คิด
สนใจแสงสว่าง เสียง การเคลื่อนไหว ความเด่นชัดจะจำจากการเห็นและเกิดความประทับใจสนใจลักษณะต่าง ๆ
Symbolic Representation stage เป็นระยะสุดท้ายที่พัฒนาจากอายุ 7 – 8 ปี
คิดได้อย่างอิสระโดยแสดงออกทางภาษาและใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ
คิดก่อนทำ มีการเรียนรู้และใช้ภาษามีเหตุผลและเรียนคณิตศาสตร์ได้
ความเข้าใจสัญลักษณ์ทำให้เข้าใจสิ่ง ๆ และมีความเข้าใจกว้างขวางขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
ครูที่เอาใจใส่และเป็นกันเองกับเด็กจะทำให้เด็กอยากเรียนรู้
เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง
การเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยว่าจะต้องให้ความสำคัญกับสื่ออุปกรณ์
การนำแนวคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ไปประยุกต์ใช้
เด็ก ๆ ที่เข้าเรียนโดยเฉพาะในโรงเรียนเตรียมอนุบาลและประถมศึกษาต้น เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากการกระทำ การปฏิบัติจริงจากการใช้วัสดุอุปกรณ์
การสอนตามลำดับขั้นนั้นบรูเนอร์ได้กำหนดลำดับขั้นการสอนอย่างมีเหตุผลตามลำดับ และเป็นหน่วยคือ
จัดโครงการให้เด็กได้ฝึกทักษะทางด้านภาษา การอ่าน ความเข้าใจความคิดรวบยอดต่าง ๆ
ประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างความคิดจะช่วยกระตุ้น ความสนใจและทำให้เด็กเข้าใจดีขึ้นประสบการณ์ใหม่ที่จัดขึ้นควรเป็นสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไม่ควรแปลกใหม่มากเกินไปจนทำให้เด็กสับสน และเนื้อหาวิชาก็ต้องน่าสนใจด้วย
ขบวนการคิดของเด็กต่างจากผู้ใหญ่
ควรให้เด็กได้พัฒนาไปตามลำดับขั้นตามความสามารถของแต่ละคนให้ได้มากที่สุดโดยเน้นการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ให้เด็กได้ติดต่อกับผู้อื่น การที่เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทำให้เด็กไม่ยอมรับคนอื่น
ทฤษฎีทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ขั้นพัฒนาการขั้นต่าง ๆ
ระดับเริ่มมีจริยธรรม (Preconventional level) เป็นระดับก่อนเกณฑ์ (อายุ 2-10 ปี) เด็กในระดับนี้จะทำตามที่สังคมกำหนดว่าดีหรือไม่ดี
ขั้นที่ 1 (อายุ 2-7 ปี) เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
ขั้นที่ 2 (อายุ 7-10 ปี) ใช้หลักการแสวงหารางวัล เด็กจะเลือกกระทำในสิ่งที่นำความพอใจมาให้ตนเท่านั้น สิ่งใดที่สนองความต้องการของตนถือว่าสิ่งนั้นถูกต้อง
ระดับมีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์และประเพณีนิยม (Conventional level) เป็นระดับตามกฎเกณฑ์ (อายุ 10-16 ปี) เด็กในระดับนี้ทำตามความคาดหวังของครอบครัวของสังคมหรือประเทศชาติ
ขั้นที่ 3 (อายุ 10 - 13 ปี) เป็นการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบโดยเด็กมองว่าการทำดีคือทำสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและการช่วยเหลือผู้อื่น ทำตามสังคมเพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
ขั้นที่ 4 (อายุ 13-16 ปี) เป็นการทำตามหน้าที่ทางสังคม ซึ่งกฎที่ผู้ปกครองหรือสังคมตั้งไว้จะเป็นตัวกำหนดความประพฤติด้านจริยธรรมของเด็ก การทำถูกคือการทำตามหน้าที่ เคารพผู้ปกครองและทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมตั้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยง การถูกประณามจากสังคม
ระดับมีจริยธรรมของตนเอง (Post conventional หรือ autonomous หรือขั้น principled)เป็นระดับเหนือเกณฑ์ (อายุ 16 ปีขึ้นไป) เด็กในระดับนี้จะพยายามกำหนดหลักการทางจริยธรรมที่ต่างไปจากกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5 (อายุ 16 ปีขึ้นไป) คำนึงถึงกฎที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลยอมรับกฎที่เป็นประชาธิปไตย
ขั้นที่ 6 (วัยผู้ใหญ่) เป็นการยึดหลักอุดมคติ คำนึงถึงหลักของจริยธรรม ตัดสิน ความถูกผิดจากจริยธรรมที่ตนยึดถือจากสามัญสำนึกตนเองและจากเหตุผล คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและเคารพสถานภาพของบุคคลไม่คล้อยตามสังคม สามารถบังคับใจตนเองได้
การนำไปประยุกต์ใช้
จัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กได้รู้จักคิดและมองเห็นเหตุผลในทางที่เป็นรูปธรรม
ให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระในการคิด
พยายามสอนให้เด็กสามารถใช้สติปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งต่าง ๆ มากกว่าความไม่มีเหตุผล
ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจท์
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล
การรับ หมายถึง การนำสิ่งที่รับรู้ใหม่ไปผสมกลมกลืนกับประสบการณ์เดิมของตนนั้นคือรับรู้สิ่งใหม่ในแง่เดิม
การจัดให้เหมาะสม หมายถึง การปรับความคิดความเข้าใจเดิม ให้เข้ากับสภาพ ความเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างเหมาะสม นั่นคือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
ขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาตามทฤษฎีเพียเจท์
ขั้นเตรียมคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี ระยะนี้เด็กเริ่มสามารถใช้ภาษา และเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์
ระยะที่ 2 ขั้นความคิดความเข้าใจตามการรับรู้ (Intuitive Thought) อายุ 2 – 7 ปี เด็กวัยนี้จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ขั้นที่ 3 ขั้นความคิดเชิงรูปธรรม (Concreat Operational Stage) อายุ 7 – 12 ปี ในช่วงนี้เด็กสามารถคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักแก้ปัญหาในสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้
ขั้นประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensorimotor stage) อายุตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี ในขั้นแรก ทารกจะมีพฤติกรรมสะท้อนง่าย ๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
หลักการเรียนรู้
สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาท สมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับสิ่งใหม่ตลอดจนความสนใจ และความสนใจต่อสิ่งที่จะเรียนถ้าผู้เรียนเกิดความพร้อมตามองค์ประกอบดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
กฎการฝึกหัด (Law of Exercise) หมายถึง การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำ บ่อย ๆ ก็ย่อมจะเกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้อง ย่อมนำมาแห่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้ กฎของการฝึกหัด
3.1 กฎแห่งการใช้ (Law of use) ฝึก
3.2 กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disuse)ไม่ฝึก
3.3 กฎแห่งความเป็นผล (Law of affect) พึงพอใจ
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อม หรือ ความมีวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งทางด้านร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ในการเรียนรู้ และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานประสบการณ์เดิม
การประยุกต์ใช้
ผู้ปกครองควรจัดหาอุปกรณ์ที่น่าสนใจ เหมาะแก่การเรียนรู้ เพื่อทำให้เด็กพอใจในการเรียน และต้องการเรียนรู้ต่อไป โดยการเรียนรู้ของเด็กส่วนหนึ่งจะผ่านการเล่น
ผู้ปกครองควรให้เด็กได้มีโอกาสในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย หรือทำแบบ ฝึกหัดบ่อย ๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่ว และมีแรงจูงใจมีความสนใจ เข้าถึงเป้าหมายหรือคุณค่าของสิ่งที่ทำ ทั้งนี้เพราะเด็กวัยนี้ต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะ
การฝึกฝนไม่ควรกระทำนาน ๆ จนเด็กเกิดความรู้สึกจำเจเบื่อหน่าย เพราะเด็กในวัยนี้มีช่วงความสนใจต่ำ เมื่อรู้สึกว่าเด็กลดความสนใจ ควรเปลี่ยนกิจกรรมเป็นอย่างอื่น หรือจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะ โดยพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถเตรียมสื่อของเล่นให้กับเด็กได้เล่นอย่างเพียงพอ และหลากหลาย
จัดสิ่งเร้าที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนอง โดยการสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล เพื่อให้เด็กเกิดความพอใจในการเรียน
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
โครงสร้างของบุคลิกภาพของบุคคล
Ego คือพลังที่คอยควบคุมความต้องการให้แสดงออกในทางที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคม
Super ego เป็นอำนาจฝ่ายสูงหรือมโนธรรมที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
Id คือความอยาก เป็นอำนาจฝ่ายต่ำซึ่งมีติดตัวมาแต่กำเนิด ทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ๆ ทั้งสิ้น
ขั้นพลังทางเพศ (Psychosexual Stages)
ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อายุ 3 – 6 ขวบ
ขั้นวัยเด็กตอนปลาย (Latency Stage) อายุ 6 – 12 ปี
ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อายุ 2-3 ปี
ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) อายุ 12 – 19 ปี
ขั้นปาก (Oral Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิด – 1 ปี
การนำไปประยุกต์ใช้
การเลี้ยงดูเด็กจึงต้องเข้าใจลักษณะพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย
เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาไปตามขีดความสามารถและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก
การตอบสนองต่อเด็กอย่างถูกต้องตามขั้นของพัฒนาการจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองไปอย่างดี
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็กแต่ละระดับอายุจะแตกต่างกัน
การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากบ้านและโรงเรียน โดยเฉพาะการเรียนรู้ทางสังคมได้รับอิทธิพลจากกลไกการปรับตัว (Defense machanism) ซึ่งรับมาจากบุคคลที่แวดล้อมเด็กอยู่ เช่น การเลียนแบบการซัดทอดความผิดให้ผู้อื่น เป็นต้น
ขั้นแฝงเป็นระยะที่พร้อมจะสนใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และเป็นระยะที่เด็กพร้อมจะเข้าเรียน
ขั้นพัฒนาการมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่เป็นลักษณะของขั้นใดขั้นหนึ่งยืดเยื้ออยู่นานกว่าปกติ เด็กจะมีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งที่อยู่ขั้นต่อไป
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type R (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) การตอบสนองแบบนี้จะต่างกับแบบแรก เพราะอินทรีย์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของอินทรีย์ เช่น การถางหญ้า การเขียนหนังสือ การรีดผ้า พฤติกรรมต่างๆ ของคนในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมแบบ Operation Conditioning
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Respondent Behavior) ซึ่งมี สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนดหรือดึงออกมา เช่น น้ำลายไหลเมื่อใส่อาหารเข้าไปในปาก สะดุ้งเมื่อถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า หรือตาหรี่เมื่อถูกไฟส่องตา พฤติกรรมดังกล่าวเป็น การตอบสนองแบบอัตโนมัติ
หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ
ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำไปใช้แล้วจะทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ ตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำมาใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มข้นมากขึ้น
ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชม รางวัล อาหาร
การนำไปประยุกต์ใช้
การใช้การเสริมแรง (Reinforcement) ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมครูควรให้ การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล ทั้งนี้เพราะเด็กวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนและเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความพอใจ และพอใจที่จะเรียน
การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่าง และการลดพฤติกรรมบางอย่าง (Shaping Behavior) หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขพฤติกรรมแบบการกระทำของ สกินเนอร์ ก็คือ การควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์
หลักการเรียนรู้
การหยั่งเห็น (Insight)
การเกิดความคิดความเข้าใจที่แวบขึ้นมาทันทีทันใด
มีความเข้าใจในสาระสำคัญในการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
การรับรู้ (Perception)
สิ่งเร้าที่มากระทบกับประสาทสัมผัส ซึ่งมี หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย
การแปลความหมายของสิ่งที่มากระทบสัมผัส
กฎการเรียนรู้
กฎความแน่นอนชัดเจน (Principle of Pranguang)
1.1 ภาพ (Figure) หรือส่วนที่เด่น จุดศูนย์รวมของสิ่งที่สนใจ ซึ่งเกิดขึ้นจาก การรับรู้ในการจัดระเบียบของลักษณะภาพ เป็นสิ่งที่ต้องการเน้นและสนใจเป็นพิเศษในขณะนั้น
1.2 พื้น (Ground) หรือส่วนประกอบของภาพ เป็นส่วนที่รองรับภาพซึ่งเกิดจากการจัดระเบียบของการรับรู้ในลักษณะที่เป็นพื้น เป็นส่วนประกอบของภาพไม่ใช่สิ่งที่ต้องการเน้นหรือสนใจในขณะนั้น
กฎความใกล้ชิด (Principle of Proximity)
สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้กัน ซึ่งมนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หรือเป็นหมวดหมู่เดียวกัน
กฎความคล้ายคลึง (Principle of Simularity)
สิ่งเร้าใด ๆ ก็ตามที่มีลักษณะรูปร่างขนาด หรือสีคล้าย ๆ กัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ลักษณะรูปร่าง ขนาดหรือสีที่คล้ายกันเป็นพวกเดียวกัน หรือเป็นหมวดหมู่เดียวกัน
กฎความต่อเนื่อง (Princile of Continuity)
สิ่งเร้าที่ดูเหมือนว่าจะมีทิศทางไปในทางเดียวกัน หรือมีแบบแผนไปในแนวทางหนึ่งด้วยกัน ก็จะทำให้รับรู้เป็นรูปร่างหรือเป็นหมวดหมู่ขึ้น
กฎความสมบูรณ์หรือกฎปิด (Principle of Closure)
สิ่งเร้าใดก็ตามที่ยังขาดความสมบูรณ์มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ให้เป็นสิ่งที่สมบูรณ์
การนำไปประยุกต์ใช้
ครูผู้สอนควรจัดสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิด เพราะทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นการส่งเสริมความคิดของเด็กเป็นสำคัญ โดยใช้กิจกรรมหลาย ๆ ชนิด นิทาน เหตุการณ์ มาใช้ในการจัดประสบการณ์เดิม
ครูผู้สอนควรคำนึงถึงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนหรือความสามารถของผู้เรียนเป็นพื้นฐานทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน เป็นต้น
การเน้นภาพรวม ครูควรจัดบทเรียนให้เป็นหมวดหมู่ มองเห็นโครงสร้างของเรื่องที่จะเรียน แล้วยังแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ ที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน แล้วจึงให้รายละเอียดของหน่วยย่อยแต่ละหน่วยนั้นโดยเฉพาะการสอนภาษาควรเน้นให้เด็กได้เห็นคำหรือประโยคมากกว่าสะกดคำ
การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ควรเน้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้ ควรเน้นความเข้าใจมากกว่าการท่องจำโดยหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ นำความรู้ไปใช้ได้จริง