Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่องอิเหนาศึกกะหมังมุหนิง - Coggle Diagram
เรื่องอิเหนาศึกกะหมังมุหนิง
ที่มาของอิเหนา
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีที่มาจาก
นิทานปันหยี ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง
คือ เรื่องอิหนา ปันหยี กรัต ปาตี วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดารแต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบนักปกครอง และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
จุดมุ่งหมายในการเเต่ง
เพื่อใช้ในการแสดงละครใน
สงคราม
ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีหลายข้อแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง และสมเหตุสมผล
ปมแรก คือ ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
ปมที่สอง คือ ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา ยกบุษบาให้จรกา ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย
ปมที่สาม ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น
ปมที่สี่ อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา จินตะหราขัดแย้งในใจตนเอง หวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง
ผู้เเต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ปมที่สามเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงคิดจะทำสงครามกับกรุงดาหาเพื่อชิงนางบุษบามาให้วิหยาสะกำโอรสองพระองค์ ท้าวกะหมังกุหนิงหารือกับระตูปาหยังและท้าวปะหมันผู้เป็นอนุชา ทั้งสองทัดทานว่าดาหาเป็นเมืองใหญ่ของกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวาผู้มีฝีมือเลื่องลือในการสงคราม ส่วนกะหมังกุหนิงเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ คงจะสู้ศึกไม่ได้ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ฟังคำทัดทานเพราะรักลูกมากจนไม่อาจทนเห็นลูกทุกข์ทรมารได้ แม้จะรู้ว่าอาจสู้ศึกไม่ได้ แต่ก็ตัดสินใจทำสงครามด้วยเหตุผลที่บอกแก่อนุชา
กษัตริย์วงศ์เทวัญทั้ง4
กษัตริย์วงศ์เทวา 4 องค์ มีนามตามชื่อกรุงที่ครองราชย์คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี
เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสร ยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา ทั้งความไพเราะ ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน
เมื่อนั้น จะใช้กับตัวละครที่เป็นกษัตริย์หรือมีบทบาทเด่นที่ผู้แต่งต้องการ ชี้ให้เห็นความสำคัญ “บัดนั้น” จะใช้กับตัวละครที่ต่ำศักดิ์หรือมีบทบาทรองลงมา “มาจะกล่าวบทไป” จะใช้กับตัวละครที่เป็นอมนุษย์
ลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนบทละคร แต่มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคจะขึ้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น และมาจะกล่าวบทไป