Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน - Coggle Diagram
กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน
กระบวนการพยาบาลชมชนคือ พยาบาลสาขาหนึ่งซึ่งมีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพของชุมชน โดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสาธารณสุข สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรอื่นในทีมสาขาสุขภาพ
กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชนประกอบด้วย การประเมินสภาวะอนามัยชุมชน การวางแผนแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน การปฏิบัติงานตามแผน การประเมินผลการปฏิบัติงาน
กระบวนการอนามัยชุมชน เป็นการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและความต้องการในชุมชนต้องทำเป็นขั้นตอนและมีความต่อเนื่องเป็นพลวัตร(Dynamic) ซึ่งผลลัพธิ์จากการประเมินผลงาน ตามวงจร คือ นำไปประเมินสภาวะอนามัยชุมชน หรือนำขั้นตอนการประเมินผลงานที่ได้กลับมาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำไปวางแผนงาน
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพชุมชน ต้องคำนึงถึงวัตุประสงค์ของการศึกษาเป็นสำคัญและเลือกใช้แหล่งข้อมูลให้เหมาะสมทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพชุมชน
ได้แก่
1.เครื่องมือทางระบาดวิทยา(Epidermiology)
1.1อัตรา คือ การเปรียบเทียบความถี่ของการเจ็บป่วย
1.2.อัตราส่วน คือการเปรียบเทียบค่าของตัวเลขจำนวนหนึ่งกับอีกจำนวนหนึ่ง
1.3 สัดส่วน คือการเปปรียบเทียบระหว่างตัวเลขเป็นส่วนหนึ่งของตัวหารสถิติและดัชนีทางวิทยาการระบาด
2.เครื่องมือประเมินชุมชนโดยใช้ครอบครัวเป็นฐาน กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาเครื่องมือประมเินสุขภาพชุมชนโดยใช้ครอบครัวเป็นพื้นฐาน กำหนดใช้เครื่องมือกลางสำหรับทุกชุมชน
-แฟ้มสุขภาพครอบครัว เป็นข้อมูลของแต่ละครอบครัว จัดเก็บข้อมูลไว้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
-แบบสำรวจความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) คือแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่แสดงถึงมาตรฐานต่ำที่คนในครอบครัวเรือนจำเป็นต้องมีเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.เครื่องมือการวัดพฤติกรรมสุขภาพ = แบบสอบถามความรู้ทางสุขภาพ แบบสำรวจทางการปฏิบัติ แบบสำรวจทัศนคติ
4.เครื่องมือแบบสำรวจแบบเร่งด่วน เป็นการสำรวจปัญหาในพื้นที่เป้าหมายที่เร่งด่วน
5.เครื่องมือทางมนุษวิทยา เครื่องมือ 7 ชิ้น
การทำแผนที่ในงานอนามัยชุมชน
ความหมายของแผนที่คือ แผนภาพจำลองแสดงเนื่อที่โดยย่อของภูมิประเทศจริงในแนวราบซึ่งจัดทำด้วยเครื่องหมายต่างๆ ในลักษณะเส้น สี สัญลักษณ์ เพื่อใช้แทนของจริงที่อยู่บนพื้นผิวโลกอาศัยมาตราส่วนเพื่อให้มีความถูกต้องทั้งระยะทาง ทิศทางและความสูง
ชนิดของแผนที่แบ่งออกได้เป็น
1.แผนที่ภูมิประเทศ ได้แก่ แผนที่แสดงรายละเอียดทั่วไปรวมทั้งลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศซึ่งอาจเป็นแผนที่ที่มีมาตราส่วนขนาดใหญ่และปานกลาง
2.แผ่นที่ภาพถ่าย เป็นแผนที่ที่ทำจากภาพถ่ายทางอากาศซึ่งอาจเป็นสีหรือภาพขาวดำ ซึ่งมีโครงสร้างพิกัดศัพท์ทางภูมิศาสตร์
องค์ประกอบแผนที่ชุมชน
ชื่อแผน่ที่ มาตราส่วนแผนที่ คำอธิบายสัญลักษณ์ วัน เดือน ปี ชื่อผู้เขียน
แผนที่ดีควรมีประโยชน์ดังนี้
1.แผนที่ทั่วไป
-ทำให้เราทราบลักษณะภูมิประเทศว่าเป็นภูเขา ที่ลุ่มหรือชายฝั่งทะเล
-ทำให้ทราบระยะทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งหรือจากหมู่บ้านไปสถาบริการสุขภาพ ระยะทางอาจวัดเป็นกิโลได้
-ทำให้ทราบอนาเขตของชุมชนในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
-ทำให้ทราบสถานที่ราชการและแหล่งประโยชน์ต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน
ทำให้ทราบข้อมูลด้านสุขภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำใช้น้ำดื่ม
-สามารถนำมาใช้ในการวางแผนนิเทศงาน การประเมินงาน
-เพื่อใช้ประกอบในการจัดทำโครงการรายงานผลและติดตามผลเป็นระยะๆ
2.แผนที่พิเศษ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความเฉพาะของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง