Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 พัฒนาการเด็ก - Coggle Diagram
บทที่ 3
พัฒนาการเด็ก
ความหมายของพัฒนาการ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
การเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กันทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ความหมายของความเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดและปริมาณที่มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน ซึ่งสามารถวัดได้อย่างชัดเจน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
พันธุกรรม
ลักษณะต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก ทั้งทางด้านร่างกาย ทางด้านสติปัญญา และทางด้านจิตใจ โดยอาศัยยีนส์และโครโมโซม เป็นตัวนำ
อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อพัฒนาการเด็ก
ลักษณะทางกาย
1.1 เพศ
1.2 ลักษณะประจำเพศ เก สะโพกผาย ไหล่แคบ ส่วนเพศชายจะมีหนวด เครา กล้ามเนื้อแข็งแรง
1.3 ขนาดของร่างกาย สูง ต่ำ อ้วน ผอม เป็นต้น
1.4 ลักษณะของร่างกาย จมูกแบน ผิวดำ หน้ากลม
1.5 สีของนัยน์ตา เด็กบางคนอาจจะมีสีดำ น้ำตาล
1.6 สีผม เช่น สีดำ สีน้ำตาล หรือสีทอง เป็นต้น
1.7 ชนิดของกลุ่มโลหิต กลุ่มโลหิตของบุคคลอาจเป็น A, B, AB หรือ O อย่างใดอย่างหนึ่ง
1.8 ความบกพร่องของร่างกาย เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ศีรษะล้าน ตาบอดสี
1.9 โรคบางชนิด โรคที่ได้รับทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคเบาหวาน ลมบ้าหมู
2.ลักษณะทางสติปัญญา
ลักษณะดาวน์ซินโดรม (Drown’s Syndrome)
ลักษณะฟีนีลคีโตนิวเรีย (Phenyl ketonuria หรือ PKU)
ลักษณะคลินนีเฟลเตอร์ (Klinefelter’s Syndrom)
สิ่งแวดล้อม (Environment)
ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมคือสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น เครื่องใช้ เสื้อผ้า ปากกา ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด เป็นต้น และสิ่งที่เป็นนามธรรม คือสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่สามารถสัมผัสได้ ด้วยความรู้สึก เช่น ความเชื่อ ค่านิยม
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพัฒนาการเด็ก
สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด
สิ่งแวดล้อมหลังเกิด
ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดขอบข่ายพัฒนาการของมนุษย์
ส่วนสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวเสริมพัฒนาการในขอบเขตของพันธุกรรม
ความหมายของวุฒิภาวะ
สภาพของความพร้อมของร่างกาย และจิตใจ ของแต่ละบุคคลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย ที่มีสมรรถภาพสูงสุดที่จะทำหน้าที่และกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ
ความสำคัญของพัฒนาการ
ทำให้ทราบว่าเราสามารถคาดหวังอะไรได้จากเด็ก
สามารถจัดทำแนวทางที่จะใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเด็กได้
สามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เหมาะสม
สามารถส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของเด็กได้เหมาะสมกับพัฒนาการ
ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กมากขึ้น
ช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องจัดสื่อและสภาพแวดล้อมได้เหมาะสมกับเด็ก
แบบแผนของพัฒนาการ
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่สำคัญ
การเปลี่ยนแปลงด้านสัดส่วน
การเปลี่ยนแปลงโดยมีลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด
การเปลี่ยนแปลงโดยลักษณะเก่า ๆ หายไป
กฎของพัฒนาการ
พัฒนาการจะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน
พัฒนาการจะเกิดตามลำดับขั้น
พัฒนาการของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน
พัฒนาการจะเป็นไปตามทิศทาง
อัตราพัฒนาการของบุคคลในแต่ละช่วงอายุจะไม่เท่ากัน
อัตราพัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายจะแตกต่างกัน
พัฒนาการด้านต่าง ๆ มักจะมีลักษณะสัมพันธ์กัน
สิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อพัฒนาการมากในช่วงที่มนุษย์ที่กำลังเจริญเติบโต
พัฒนาการเด็กปฐมวัย
ด้านร่างกาย
1.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน
1) ผงกหัว หันซ้ายขวาในท่าทางคว่ำได้
2) พลิกตัวตะแคงได้เมื่อนอนหงาย
3) มองเห็นในระยะห่าง 8 – 12 นิ้ว
4) จับถือของได้ชั่วครู่
1.2 อายุ 2 – 4 เดือน
1) ชันคอในท่าคว่ำได้
2) เหยียดขาดันพื้นได้เมื่อจับยืน
3) เริ่มคว้าจับสิ่งของ
4) มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวซ้าย, ขวา, บน, ล่าง ได้
1.3 อายุ 4 – 6 เดือน
1) นอนคว่ำยกศีรษะยันหน้าอกได้สูง
2) นั่งได้โดยพ่อแม่ต้องประคอง
3) คืบ พลิกคว่ำ พลิกหงายได้
4) มองตามสิ่งที่ผ่านไปเร็วได้
5) ไขว่คว้าใช้มือหยิบของได้
1.4 อายุ 6 – 8 เดือน
1) หันหน้าและเอี้ยวตัวไป มาได้ดี
2) นั่งทรงตัวได้เอง
3) ลุกนั่งเองได้
4) ยกตัวในท่าคลานได้
5) เอื้อมมือหยิบของด้วยมือข้างเดียว
6) เปลี่ยนมือถือของได้
1.5 อายุ 8 – 12 เดือน
1) คลานได้คล่อง คลานขึ้นบันไดได้
2) นั่งตัวตรงได้
3) เกาะยืนได้ช่วงสั้น ๆ
4) เกาะเดินได้
5) ยืนได้ชั่วครู่ และนั่งลงจากท่ายืนได้
6) หยิบของชิ้นเล็กด้วยหัวแม่มือ และนิ้วได้
7) ใช้มือสองข้างทำงานคนละอย่างได้
1.6 อายุ 12 – 18 เดือน
1) ลุกยืนเองได้
2) เดินได้เอง
3) ขึ้นบันไดได้ โดยมีคนจูง
4) เริ่มวิ่งได้
5) เล่นกลิ้งลูกบอลเบา ๆ ได้
6) ถอดเสื้อผ้าง่าย ๆ ได้เอง
7) ก้มลงเก็บของที่พื้นโดยไม่หกล้ม
1.7 อายุ 18 – 24 เดือน
1) เดินไปข้างหน้าหรือด้านข้างได้
2) เดินถอยหลังได้
3) กระโดด 2 ขา อยู่กับที่ ได้
4) เดินขึ้นบันไดโดยจับราวได้
5) ดึง หรือผลักสิ่งของขณะเดิน
6) ใช้ข้อมือได้มากขึ้น เช่น หมุนมือ หมุนสิ่งของ
1.8 อายุ 24 – 26 เดือน
1) วิ่งคล่องขึ้น แต่ไม่สามารถหยุดได้ทันที
2) เดินถอยหลังนั่ง
3) ขึ้นบันไดได้เองโดยวางเท้า 2 ข้าง บนบันไดขั้นเดียว
4) สลับเท้าขึ้นบันไดได้ (เมื่อย่าง 3 ปี)
5) หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้
6) จับดินสอแท่งใหญ่ ๆ ได้ด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือได้
1.9 อายุ 3 ปี
1) กล้ามเนื้อใหญ่
รอรับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นด้วยแขนทั้งสองข้าง
เดินขึ้นลงบันไดด้วยตนเอง
กระโดดขึ้น ลงอยู่กับที่ได้
วิ่งตามลำพังได้
2) กล้ามเนื้อเล็ก
ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้ขาดได้
เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่ได้
3) สุขภาพอนามัย
มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์
1.10 อายุ 4 ปี
1) กล้ามเนื้อใหญ่
รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
วิ่งและหยุดได้คล่อง
2) กล้ามเนื้อเล็ก
ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้อยู่ในแนวเส้นตรงตามที่กำหนดให้ได้
เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
ร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้
3) สุขภาพอนามัย
มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์
1.11 อายุ 5 ปี
1) กล้ามเนื้อใหญ่
รับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
วิ่งได้รวดเร็วและหยุดโดยทันที
2) กล้ามเนื้อเล็ก
ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้อยู่ในแนวเส้นโค้งตามที่กำหนดได้
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
ใช้เชือกร้อยวัสดุตามแบบได้
ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุมเสื้อ ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
3) สุขภาพอนามัย
มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
2.1 แรกเกิด – 2 เดือน
1) ตกใจง่ายเมื่อได้ยินเสียงดัง
2) ทำเสียงในลำคอเบา ๆ เมื่อรู้สึกพอใจ
2.2 อายุ 2- 4 เดือน
1) ยิ้มง่าย หัวเราะเสียงดังเมื่อพอใจ
2) แสดงอารมณ์ ความรู้ทางสีหน้า
2.3 อายุ 4 – 6 เดือน
1) ส่งเสียงแสดงอารมณ์ต่าง ๆ
2) รู้จักแสดงปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อไม่พอใจ
2.4 อายุ 6 – 8 เดือน
1) แสดงความผูกพันกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด
2) เริ่มกลัวคนแปลกหน้า
2.5 อายุ 8 – 12 เดือน
1) พยายามทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ถ้าขัดใจจะโกรธ
2) แสดงท่าทางพอใจเมื่อได้ยินเสียงเพลง เช่น โยกตัวไปตามจังหวะ
3) อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ชอบขว้างของเวลาโกรธ
2.6 อายุ 18 – 24 เดือน
1) กลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
2) ใช้คำพูดแสดงอารมณ์ เช่น ไม่เอา ออกไป
3) ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง
2.7 อายุ 24 – 36 เดือน
1) แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยคำพูด
2) มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองเมื่อได้รับการยอมรับและชมเชย
3) มีความเป็นตัวของตัวเอง
2.8 อายุ 3 ปี
1) การแสดงออกทางด้านอารมณ์
ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจ และได้รับคำชม
แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
2) ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
เริ่มรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
เริ่มรู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนเองชอบ และสนใจ
3) คุณธรรมจริยธรรม
แสดงความรักต่อเพื่อน และสัตว์เลี้ยง
ไม่ทำร้ายผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ
เริ่มรู้ว่าของสิ่งใดเป็นของตน และสิ่งใดเป็นของผู้อื่น
เริ่มรู้จักเก็บของเล่น
เริ่มรู้จักรอคอย
เริ่มตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้
2.9 อายุ 4 ปี
1) การแสดงออกทางอารมณ์
ชอบท้าทายผู้ใหญ่
เริ่มควบคุมอารมณ์ได้ในบางขณะ
2) ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
รู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนชอบ สนใจ
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเอง และผู้อื่น
3) คุณธรรมจริยธรรม
แสดงความรักต่อเพื่อนและสัตว์เลี้ยง
ไม่ทำร้ายผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ไม่แย่งหรือหยิบของคนอื่นมาเป็นของตน
รู้จักเก็บของเข้าที่
รู้จักการรอคอยอย่างเหมาะสมกับวัย
รู้จักตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น
2.10 อายุ 5 ปี
1) การแสดงออกทางด้านอารมณ์
รักครูผู้สอน
ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีเหตุผล
2) ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
รู้จักเลือกเล่น ทำงานตามที่ตนชอบ ที่สนใจ และสามารถทำได้
รู้จักชื่นชมในความสามารถ ผลงาน ของตนเองและผู้อื่น
3) คุณธรรมจริยธรรม
แสดงความรักเด็กที่เล็กกว่าและสัตว์ต่าง ๆ
ไม่ทำร้ายผู้อื่น และไม่ทำให้ผู้อื่นเสียใจ
ไม่หยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน
รู้จักเก็บของเข้าที่
รู้จักการรอคอยและเข้าแถวตามลำดับก่อนหลัง
รู้จักการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้น
พัฒนาการด้านสังคม
3.5 อายุ 8 – 12 เดือน
1) ติดแม่ กลัวการแยกจาก
2) เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น
3) กลัวคนแปลกหน้าและสถานที่ใหม่ ๆ
4) เลียนแบบสีหน้า ท่าทาง และเสียง
5) ชี้บอกความต้องการได้
6) ให้ความร่วมมือเมื่อแต่งตัว
7) แยกตัวเองในเงากระจกได้
3.4 อายุ 6 – 8 เดือน
1) แสดงออกเปิดเผยตามความรู้สึก
2) รู้จักแสดงท่าทางดีใจ หัวเราะ อาย
3) เลียนแบบกิริยาท่าทางของคนอื่น
4) แสดงออกถึงการรับรู้อารมณ์ และความรู้สึกของผู้อื่น
3.6 อายุ 12 – 18 เดือน
1) เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น
2) สนใจการกระทำของผู้ใหญ่
3) เริ่มช่วยเหลือตนเองได้
4) ชอบเล่นคนเดียว แต่มีผู้ใหญ่อยู่ในสายตา
5) หวงสิ่งของ
3.3 อายุ 4 – 6 เดือน
1) หันหาเสียงเรียกชื่อ
2) ยิ้มให้คนอื่นและส่งเสียงให้ผู้คน
3) สนใจมองและยิ้มให้ตนเองในกระจก
4) มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ หรือคนคุ้นเคย และชอบให้อุ้ม
3.7 อายุ 18 – 24 เดือน
1) ใช้ช้อนตักอาหารเองได้
2) ดื่มน้ำในแก้วเองได้
3) ชอบมีส่วนร่วมในงานบ้าน
4) บอกสิ่งที่ต้องการด้วยคำพูดง่าย ๆ ได้
5) รู้จักการรอคอย
3.2 อายุ 2 – 4 เดือน
1) ร้องไห้เพื่อบอกความต้องการ เงียบเสียงเมื่อเห็นหน้าคน
2) ส่งเสียงโต้ตอบ เสียงพูดและรอยยิ้มของแม่
3) สนใจมองและยิ้มให้กับตนเองในกระจก
3.8 อายุ 24 – 36 เดือน
1) เล่นรวมกับผู้อื่น แต่ต่างคนต่างเล่น
2) เริ่มรู้จักเล่นเป็นกลุ่มกับเด็กด้วยกัน
3) พยายามช่วยตัวเองในเรื่องการแต่งตัว
4) เริ่มรู้จักของ และรู้จักให้
5) เริ่มรู้จักรอคอย
3.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน
1) สบตาจ้องหน้าแม่
2) ยิ้มได้
3) หยุดร้องไห้เมื่อมีคนอุ้ม
4) ชอบให้มีคนเล่นด้วย
3.9 อายุ 3 ปี
1) การช่วยเหลือตนเอง
ล้างมือได้
รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
เริ่มรู้จักใช้ห้องน้ำห้องส้วม
2) การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและมีคุณธรรมจริยธรรม
ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น)
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
เริ่มปฏิบัติตามกฎ กติกาง่าย ๆ
รู้จักทำงานที่ได้รับมอบหมาย
3) การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
เริ่มรู้จักแสดงความเคารพ
ทิ้งขยะได้ถูกที่
ไม่ทำลายสิ่งของเครื่องใช้
3.10 อายุ 4 ปี
1) การช่วยเหลือตนเอง
แต่งตัวได้
รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง โดยไม่หกเลอะเทอะ
รู้จักทำความสะอาดหลังจากเข้าห้องน้ำห้องส้วม
2) การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการมีคุณธรรมจริยธรรม
เล่มร่วมกับผู้อื่นได้
เริ่มช่วยเหลือผู้อื่น
ปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงร่วมกัน
มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
3) การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
รู้จักแสดงความเคารพ
ทิ้งขยะได้ถูกที่
รักษาสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน
3.11 อายุ 5 ปี
1) การช่วยเหลือตนเอง
เลือกเครื่องแต่งกายของตนเองได้ และแต่งตัวได้
ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารได้
ทำความสะอาดร่างกายได้
2) การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
รู้จักการให้และการรับ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานศึกษา
3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
แสดงความเคารพได้เหมาะสมกับวัยและโอกาส
ทิ้งขยะได้ถูกที่
ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
4.6 อายุ 12 – 18 เดือน
4.6 อายุ 12 – 18 เดือน
1) รู้จักชื่อตนเอง
2) แสดงความคิดและจินตนาการ
3) เริ่มเปล่งเสียงและกล่าวคำพูดเกี่ยวกับการกระทำที่ทำอยู่
4) เข้าใจคำพูดง่าย ๆ ได้
5) พูดเป็นคำ ๆ ได้มากขึ้น
6) ทักทายโดยการใช้เสียงพร้อมการทำท่าทางอย่างเหมาะสม
4.4 อายุ 6 – 8 เดือน
1) พยายามเลียนแบบเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
2) พูดคุยคนเดียว
3) ทำเสียงซ้ำ ๆ เช่น มามา หม่ำ หม่ำ
4) ชอบสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยเอาเข้าปาก
5) สนใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสิ่งต่าง ๆ
4.5 อายุ 8 – 12 เดือน
1) รู้จักเชื่อมโยงคำพูดกับการกระทำ เช่น “ไม่” จะสั่นหัว “บ๊าย บาย” จะโบกมือ เป็นต้น
2) ชอบฟังคำซ้ำ ๆ เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ
3) รู้ว่าคำต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนั้น ๆ เช่น ถ้าพูดว่านก จะชี้ไปที่ท้องฟ้า
4) เริ่มพูดเป็นคำ ๆ ได้บ้าง เช่น พ่อ แม่
5) เรียนรู้คำใหม่เพิ่มขึ้น
6) ค้นหาของที่ปิดซ่อนจากสายตาได้
4.7 อายุ 18 – 24 เดือน
1) พูดคำต่อกัน เช่น ไปเที่ยว กินข้าว ฯลฯ
2) เลียนแบบคำพูดที่ผู้ใหญ่พูด
3) ชอบฟังนิทานเรื่องสั้น ๆ
4) พยายามทำตามคำสั่ง
5) มีความเข้าใจในเรื่องเวลาจำกัด รู้เพียงแต่เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวก่อน
6) เรียกหรือชี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
7) เริ่มจำชื่อวัตถุสิ่งของที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้
8) ขีดเส้นต่าง ๆ แต่ยังไม่ชัดเจน
9) วางของซ้อนกันได้ 3 ชั้น
4.8 อายุ 24 – 36 เดือน
1) มีช่วงความสนใจกับของบางอย่างได้นาน 3 – 5 นาที
2) ชอบดูหนังสือภาพ
3) ชอบฟังบทกลอน นิทาน คำคล้องจอง
4) สนใจค้นคว้าสำรวจสิ่งต่าง ๆ
5) เริ่มถามด้วยคำว่า “อะไร”
6) สนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งใกล้ตัว
7) ขีดเส้นตรงเป็นแนวดิ่งได้
8) วางของซ้อนกันได้ 4 – 6 ชั้น
4.3 อายุ 4 – 6 เดือน
1) จำหน้าแม่และคนคุ้นเคยได้
2) ส่งเสียงตามเมื่อได้ยินเสียงพูด หรือมีใครมาพูดด้วย
3) เข้าใจคำเรียกชื่อคน หรือสิ่งของง่าย ๆ
4) ชอบมองสำรวจสิ่งของที่สนใจ และรายละเอียดต่าง ๆ
4.9 อายุ 3 ปี
1) ฟังแล้วปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
2) บอกชื่อของตนเองได้
3) รู้จักใช้คำถามว่า “อะไร” มากขึ้น
4) ขีดเส้นอย่างอิสระได้
5) จับคู่สีต่าง ๆ ได้ประมาณ 3 – 4 สี
6) จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
7) อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว
8) วาดภาพตามความพอใจของตนได้
9) สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
10) เลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้
11) เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบผู้อื่น
4.2 อายุ 2 – 4 เดือน
1) จำหน้าแม่และบุคคลในครอบครัวได้
2) ส่งเสียงอ้อแอ้ พยายามทำเสียงต่าง ๆ ในคอ
3) หยุดฟังเสียงหันตามเสียงเคาะ
4) สนใจหันมองสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือมีเสียง
4.10 อายุ 4 ปี
1) ปฏิบัติตามคำสั่งต่อเนื่องได้
2) บอกชื่อ นามสกุลของตนเองได้
3) ชอบถามด้วยคำว่า “ทำไม”
4) เขียนภาพและสัญลักษณ์ตามความต้องการของตนเองได้
5) ชี้และบอกสีได้ 4 – 6 สี
6) รู้ความหมายเกี่ยวกับ “เมื่อวานนี้, วันนี้, พรุ่งนี้”
7) จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้มากขึ้น
8) สำรวจทดลองเล่นกับของเล่น ตามความคิดของตนได้
9) วาดภาพตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได
10) เล่านิทานหรือเรื่องราวตามจินตนาการได้
11) เรียนรู้จากการสังเกต และการฟัง ด้วยตนเองได้
4.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน
1) หยุดฟังหันหาเสียง
2 ทำเสียงอ้อแอ้
3) ใช้เสียงร้องที่ต่างกัน เมื่อหิวหรือเจ็บ
4) สนใจมองใบหน้าคนมากกว่าสิ่งของ
4.11 อายุ 5 ปี
1) ถ่ายทอดเรื่องราวจากเรื่องที่ได้ฟังมาได้
2) บอกชื่อ – นามสกุล อายุ ที่อยู่ ของตนเองได้
3) ชอบถามด้วยคำว่า “ทำไม, อย่างไร, และที่ไหน”
4) เขียนชื่อนามสกุลของตนเองตามแบบได้
5) บอกและจำแนกสีต่าง ๆ ได้
6) จำแนกสิ่งต่าง ๆ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ดี
7) ใช้สิ่งของเป็นสิ่งสมมุติในการเล่น เล่นบทบาทสมมุติตามจินตนาการได้
8) วาดภาพตามความคิดสร้างสรรค์ของตนได้
9) เล่านิทาน เล่าสิ่งที่ตนคิด หรือเรื่องราวตามจินตนาการได้
10) เคลื่อนไหวท่าทางตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้