Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 เด็กหญิง อายุ 7 เดือน น้ำหนัก 8.2 Kg ส่วนสูง 65 Cm,…
กรณีศึกษาที่ 2 เด็กหญิง อายุ 7 เดือน น้ำหนัก 8.2 Kg ส่วนสูง 65 Cm
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญก่อนผ่าตัด
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากตัวนำออกซิเจนลดลงเเละประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมน Erythropoietin ลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
คลำได้ก้อนที่ด้านซ้าย
ส่ง CTพบก้อนที่ไตด้านซ้าย ขนาด 8 ×9
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจนเเละเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์ในการประเมินผล
ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ปลายมือปลายเท้าซีด
สัญญาณชีพปกติตามวัยโดยเฉพาะชีพจรเเละความดันโลหิต
Capillary refill < 2 min
ระดับฮีมาโตคริทอยู่ในเกณฑ์ปกติ 31.2-37.2 %
ระดับฮีโมโกลบินอยู่ในเกณฑ์ปกติ 10.4-12.4 g/dl
Vital signs ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัดเเละทำการประเมิน vital sign เเละ O2 sat เพื่อประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
ทำการประเมินเเละสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่บ่งบอกถึงภาวะพร่องออกซิเจน ได้เเก่ อาการหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย ปลายมือปลายเท้าเขียว ซีด
ดูเเลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียงเเละกำหนพกิจกกรมที่เด็กกระทำได้ตามความรุนเเรงของภาวะซีด เพื่อลดความต้องการใช้ออกซิเจน
ดูเเลให้ได้รับประทานธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดเเดง ได้เเก่ ธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามินซี เเละดูเเลให้ผู้ป่วยได้รับยาเสริมธาตุเหล็กตามเเผนการรักษาของเเพทย์
ทำการป้องกันเเละลดภาวะติดเชื้อที่ซึ่งทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นเเละทำให้เม็ดเลือดเเดงเเตกได้ง่ายขึ้น
ทำการติดตามผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น Hb,Hct เเละในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะซีดรุนเเรงควรดูเเลให้ผู้ป่วยได้รับเลือดตามเเผนการรักษาของเเพทย์
2. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากมีภาวะความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสนับสนุน
BP 108/70
เป้าหมายการพยาบาล
ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบแตบ เส้นเลือดโป่งพอง หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย โรคไต จอจาบวมและมีเลือดออกทำให้ตาบอด hypertensive encephalophaty
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต BP 36.5 - 37.5 องศาเซลเซียส HR 140 - 160 ครั้งต่อนาที RR 40 - 60 ครั้งต่อนาที BP 60/40 - 80/60 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาครบถ้วนตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่ Hydralazine 1 mg v prn q 6 hr if SBP > 110 mmHg
ประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่น อาการปวดศีรษะ เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน แขนขา อ่อนแรง
ติดตามประเมินความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
แนะนำให้ได้รับอาหารเสริมให้เหมาะสมตามวัยอย่างครบถ้วน
3. มีการติดเชื้อในระบบต่างๆของร่างกาย เนื่องจากภูมิต้านทานลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
ไข้ 37.9 องศาเซลเซียส
Neutrophils 70 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าปกติ เนื่องจากการติดเชื้อในร่างกาย
Lymphocyte 20 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าปกติ ทำให้มีการติดเชื้อในร่างกายได้ง่าย
เป้าหมายทางการพยาบาล
ป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ อาการไข้ ไอมีเสมหะ ปัสสาวะขุ่น หรือแสบขัด ถ่ายเหลว
สัญญาณชีพปกติตามวัย BT 36.5 - 37.5 องศาเซลเซียส HR 140 - 160 ครั้งต่อนาที RR 40 - 60 ครั้งต่อนาที BP 60/40 - 80/60 มิลลิเมตรปรอท
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อใดๆ WBC 6000 - 17500 cell/cu.m Neutrophil 54-62 เปอร์เซ็นต์ Lymphocyte 25-33 เปอร์เซ็นต์ Eosinophil 1-3 เปอร์เซ็นต์
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินภาวะติดเชื้อในร่างกาย ได้แก่ อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกจากตา หู จมูก ปัสสาวะขุ่นแสบขัด
อธิบายและชี้แจงผู้ป่วยและผู้ปกครองเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ การรักษาความสะอาดของร่างกาย ปากฟัน และสิ่งแวดล้อม
แนะนำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสวมใส่หน้ากากอนามัยล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังสัมผัสเด็กป่วย
จำกัดการเยี่ยมหรือแยกเด็กป่วยเข้าห้องแยกเมื่อค่า ANC ต่ำกว่า 500 ตัวต่อลูกบาศก์มิลิเมตร
ดูแลความสะอาดของเครื่องใช้ส่วนตัวและสิ่งแวดล้อม
แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสะอาด ปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ผักผลไม้สดที่ไม่ปลอกเปลือก
4. เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติก่อนการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
plan OP ในวันพฤหัสนี้ NPO คืนวันพุธ เวลา 02.00 น. for OR ทำ Lt. Radical Nephrectomy
เป้าหมายทางการพยาบาล
ผู้ป่วยและญาติมีความพร้อมสำหรับการผ่าตัด
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนก่อนการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
เนื่องจากมีเวลาน้อยในการเตรียมตัวเด็กและบิดามารดา เพื่อการตรวจวินิจฉัยและผ่าตัด พยาบาลจึงต้องอธิบายให้เด็กและบิดามารดาทราบพอสังเขปและง่ายต่อการเข้าใจ
ห้ามคลำก้อนบริเวณหน้าท้องเด็กโดยไม่จำเป็นเด็ดขาดเพราะจะทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายได้ อาจใช้ป้ายเขียนติดไว้ซึ่งต้องอธิบายให้บิดามารดาทราบด้วย
การผ่าตัด โดยทั่วไปในเด็กโตจะงดน้ำงดอาหาร 4-5 ชั่วโมง เด็กเล็ก งดนม 3-4 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
อาบน้ำ เช็ดตัวให้เด็กด้วยความระมัดระวัง ป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นบริเวณเนื้องอก
บอกให้บิดามารดาของเด็กทราบถึงขนาดของแผลผ่าตัด และการทำแผลก่อนการผ่าตัด
วัดความดันโลหิตอย่างระมัดระวัง เพราะอาจเกิดความดันโลหิตสูงได้จากการหลั่งเรนินมากเกินไป
โรคมะเร็งที่ไต (Wilm’s tumor)
โรคมะเร็งของไต (Wilms’ tumor)
หมายถึง ภาวะที่เนื้อไตชั้น Parenchyma มีการเจริญผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่จนคลำได้ทางหน้าท้อง และมักจะเป็นที่ไตข้างใดข้างหนึ่ง พบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
สาเหตุ
:
สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด แต่เนื่องจากเป็นเนื้องอกที่พบมากในวัยเด็ก จึงเชื่อว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของเนื้อเยื่อชั้น Mesoderm ผิดปกติตั้งแต่ระยะที่ทารกเป็นตัวอ่อนในครรภ์ (Embryo)
ระยะของมะเร็งที่ไตแบ่งได้ 5 ระยะ ประกอบด้วย
-ระยะที่ 1 : ก้อนมะเร็งอยู่เฉพาะที่ไตข้างเดียวและตัดออกได้หมด
-ระยะที่ 2 : มะเร็งลามออกมานอกไตแต่สามารถตัดออกได้หมด
-ระยะที่ 3 : เมื่อผ่าตัดแล้วยังคงมีมะเร็งหลงเหลืออยู่ในท้อง เช่น ลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วไต
ระยะที่ 4 มะเร็งแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ปอด กระดูกและสมอง
ระยะที่ 5 เป็นมะเร็งที่ไตทั้งสองข้างตั้งแต่แรก
อาการและอาการแสดง มีดังนี้
มีก้อนในท้อง เป็นอาการที่พบมากที่สุด เมื่อคลาจะพบว่าก่อนเคลื่อนไหวได้
ปัสสาวะเป็นเลือดสด โดยไม่มีอาการเจ็บปวด
มีภาวะซีดเล็กน้อย
ปวดท้อง สังเกตได้จากเด็กร้องกวน และคลาบริเวณช่องท้อง
ความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีการหลั่งเรนินเพิ่มขึ้น 25%
หากโรคแพร่กระจายไปยังปอด จะทาให้เกิดอาการหายใจลาบาก ไอ เจ็บหน้าอก 7. มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
ข้อมูลที่ต้อง Assessment
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
ประวัติเกี่ยวกับการคลอดและการฝากครรภ์
อาการที่พบร่วมด้วย เช่น การปัสสาวะเป็นเลือดสด น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง
ประวัติเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาของทารก
มารดาคลำพบก้อนที่ตำแหน่งใด และพบที่ตำแหน่งอื่นด้วยหรือไม่
การตรวจร่างกาย
V/S แรกรับ BT = 37.9 c, HR = 122 / min, RR = 36/min, BP = 108/70 mmHg, O2 Sat = 97 %
น้ําหนัก 8.2 กิโลกรัม ส่วนสูง 65 เซนติเมตร
มีก้อนที่ท้องด้านซ้าย CT พบก้อนขนาด 8*9 cm ที่เนื้อไตด้านซ้าย
การเคลื่อนไหวแขน ขา ปกติ พัฒนาการเป็นไปตามวัย
- ตรวจร่างกายเพิ่มเติม
การดูบริเวณหน้าท้อง มีท้องโต ตึงไหม
การฟัง ฟังการเคลื่อนไหวของลำไส้ ปกติจะได้ยินทุก 5-30 ครั้ง/นาที
การดูและคลำต่อมน้ำเหลือง ดูว่ามีก้อนนูนโตหรือไม่ กดเจ็บหรือไม่ เพื่อประเมินว่ามีการลุกลามของมะเร็งไปที่ตำแหน่งอื่นหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Hb = 11 g/dl ปกติ (ค่าปกติ 10.4-12.4 g/dl)
Hct 33 % ปกติ (ค่าปกติ 31.2-37.2%)
Platelet 250,000 /UL ปกติ (ค่าปกติ 150,000-400,000)
WBC 9,500 cell/cu.m ปกติ (ค่าปกติ 6-17.5 x 10^3/มิลลิเมตร3)
Neutrophil 70 % สูงกว่าปกติ (ค่าปกติ 54-62%) เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อบางจุดขาดเลือด เนื่องจากมีก้อนมะเร็งที่ไต
Lymphocyte = 20% ต่ำกว่าปกติ (ค่าปกติ 25-33%) เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคมะเร็งไต
Eosinophil = 2% ปกติ (ค่าปกติ 1-3%)
UA: Clear Pale Yellow ใส สีเหลืองอ่อน
Specific gravity = 1.030 สูงกว่าปกติ (ค่าปกติ 1.005-1.015) ปัสสาวะเข้มข้น เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่ไต
pH = 5.5 ปกติ (ค่าปกติ 4.5-8)
การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
เอกซเรย์ช่องท้องและทรวงอก, CT scan, U/S Abdomen
ทาการฉีดสารทึบแสงเข้าในหลอดเลือดดาเพื่อขับออกที่ไต (Intravenous pyelogram: I.V.P) มักจะพบว่าไตข้างที่โตขึ้น มีการขับถ่ายเลวลง (Poor excretion) Calyx ของไตจะบิดเบี้ยวหรืออยู่ผิดที่ เนื่องจากถูกกดเบียดด้วยก้อนเนื้องอกหรือสารทึบแสงที่ฉีดเข้าไปอาจไม่ถูกขับออกมาจากการที่เนื้องอกอุดกั้นระบบการ ทางานของไตข้างที่เป็นโรค
การตัดชิ้นเนื้อตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
การรักษาที่ได้รับ
Hydralazine 1 mg v prn q 6 hr if SBP> 110 mmHg
กลุ่มยา : Vasodilator antihypertensive drugs
ข้อบ่งใช้ : ใช้สำหรับลดความดันโลหิต
กลไกการออกฤทธิ์
: ออกฤทธ์ิโดยตรงในการขยายหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดเกิดการคลายตัว จึงช่วยลดแรงต้านทานภายในหลอดเลือดและส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง
ผลข้างเคียง
: ยานี้อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เจ็บแน่นหน้าอก บวม
Paracetamol syr 3⁄4 tsp oral prn for fever q 4-6 hr
กลุ่มยา : analgesics
กลไกการออกฤทธิ์
: ยับยั้งการทำงานของ cyclooxygenase ทำให้การสร้าง prostaglandins ลดลงโดยมีผลยับยั้งการสร้าง prostaglandins ในระบบประสาทส่วนกลางมากกว่าส่วนปลาย มีฤทธ์ิในการ ลดไข้และแก้ปวดได้ดี
นมผสม และอาหารเสริม ตามวัย วันละ 1 มื้อ
อาหารเสริมในเด็ก 7 เดือน คือ กินอาหารเสริม 2 มื้อ ประกอบด้วย
ข้าว : 5 ช้อน บดหยาบ
เนื้อสัตว์ : ไข่ 1 ฟอง และปลา 2 ช้อน หรือหมู 2 ช้อน
ผัก : ผักสุก 2 ช้อนหรือฟักทอง 2 ช้อน
ผลไม้ : มะละกอสุก 3 ชิ้น หรือกล้วย 1 ผล
การทํา Lt. Radical Nephrectomy
เป็นการผ่าตัดไตหนึ่งข้าง รวมทั้งต่อมหมวกไตและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกทั้งหมด
อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง ได้แก่ ลำไส้ ตับ ม้าม ตับอ่อน
พบเลือดออกในช่องท้องหรือบริเวณแผลผ่าตัด
เกิดรอยรั่วเข้าไปในช่องปอดระหว่างผ่าตัด ทำให้ปอดแฟบ
ประสิทธิภาพการทำงานของปอดและระบบทางเดินหายใจลดลงภายหลังการผ่าตัด
แผลผ่าตัดติดเชื้อ
สมรรถภาพการทำงานของไตลดลงบ้างในช่วงแรกหลังผ่าตัด
อันตรายต่อเส้นประสาทใกล้แผลผ่าตัด
พบไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัด
การพยาบาล
การดูแลก่อนผ่าตัด
เนื่องจากมีเวลาน้อยในการเตรียมเด็ก และบิดามารดา เพื่อการตรวจวินิจฉัยและทำผ่าตัด พยาบาลจึงต้องอธิบายให้เด็กและบิดามารดาทราบพอสังเขปและง่ายต่อการเข้าใจ
ห้ามคลำก้อนบริเวณหน้าท้องเด็กโดยไม่จำเป็นเด็ดขาดเพราะจะทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายได้ อาจใช้ป้ายเขียนติดไว้ซึ่งต้องอธิบายให้บิดามารดาทราบด้วย
อาบน้ำเช็ดตัวให้เด็กด้วยความระมัดระวัง ป้องกันบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นบริเวณเนื้องอก
บอกให้บิดามารดาและเด็กทราบถึงขนาดของแผลผ่าตัด และการทำแผลก่อนการผ่าตัด มิฉะนั้นเด็กอาจรู้สึกเศร้าใจ โกรธ เมื่อเห็นบริเวณผ่าตัด
วัดความดันโลหิตอย่างระมัดระวัง เพราะอาจเกิดความดันโลหิตสูงได้ จากการหลั่งเรนินมากเกินไป
เตรียมผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดทั่ว ๆ ไป
การดูแลหลังผ่าตัด
ระยะพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วมากในเด็กผ่าตัด Wilm’s Tumor การดูแลเช่นเดียวกับการผ่าตัด หน้าท้องทั่วไป
เด็กจะเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของลาไส้ เนื่องจากยา Vincristine ทำให้ลำไส้ทำงานลดลง (Ileus) รังสีทำให้เกิดการบวมของลำไส้ และการยึดติดกันจากการผ่าตัด จึงจำเป็นที่พยาบาลจะต้องสังเกต อาการทางระบบทางเดินอาหารเช่นท้องอืดอาเจียนหน้าท้องแข็งตัว ปวดท้อง เป็นต้น
หลังผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกแล้ว ความดันโลหิตอาจลดลงได้ จึงต้องคอยวัดความดันโลหิตเสมอ
ประเมินการทำหน้าที่ของไตข้างที่เหลืออยู่ โดยบันทึกปริมาณปัสสาวะ
ขณะให้เคมีบำบัด จะต้องสังเกตอาการของการติดเชื้อ เนื่องจากยากดไขกระดูก
ประเมินสภาพการทำงานของปอดหลังผ่าตัดทันทีทันใด เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน หรือการแพร่กระจายไปยังปอด
บิดามารดามีความวิตกกังวลสูง ช่วงหลังผ่าตัด เนื่องจากได้เห็นแผลสภาพของบุตร ทำให้นึกถึงความรุนแรงของโรค พยาบาลจึงต้องให้ความมั่นใจแก่บิดามารดาในการหายกลับสู่สภาพปกติของบุตร
:
- 5% D/NSS/3 1000 ml v 60 cc/h
r หมายถึง น้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5 % ผสมกับน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% (เข้มข้นเพียง 1/3 ของน้ำเกลือธรรมดา) มีอย่างขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.
เคมีบําบัด
โดยการให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดรวมกัน ยาที่มี ประสิทธิภาพมากในการรักษา Wilms’ Tumor คือ Actinomycin-D และ Vincristine สำหรับวิธีการให้ยาอาจแตกต่างกันแล้วแต่สถาบัน
Actiomycin-D ขนาด 75 ไมโครกรัม/กก. แบ่งเข้าหลอดเลือดดำ วันละครั้ง 5 วัน ฉีดเช่นนี้ทุก 6 สัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 ชุด แล้วห่างไปเป็นทุก 12 สัปดาห์ รวมเวลา 1 1⁄2 - 2 ปี มักให้ยานี้ตั้งแต่อยู่ห้องผ่าตัด
Vincristine ขนาด 0.06 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 10-12 ครั้ง
การฉายแสงหรือการใช้รังสีรักษา
การฉายแสงหลังการผ่าตัดมักทำในเด็ก Wilm’s Tumor ทุกราย ยกเว้นเด็กอายุ 18 เดือนที่เป็นระยะแรกของโรค การใช้รังสีรักษาในระยะที่ 2, 3 และ 4 หลังผ่าตัดเอาก้อนออก ปริมาณรังสีที่ใช้ รักษาขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก ระยะของโรคมะเร็ง ปริมาณก้อนเนื้อที่เหลือหลังผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญหลังผ่าตัด
1. มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
Plan OR for Lt. Radical Nephrectomy
เป้าหมายทางการพยาบาล
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น bleeding ภาวะซีด Hypovolemic Shock Hypothermia
สัญญาณชีพปกติตามวัย BT 36.5 - 37.5 องศาเซลเซียส HR 140 - 160 ครั้งต่อนาที RR 40 - 60 ครั้งต่อนาที BP 60/40 - 80/60 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
ระยะพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วมากในเด็กผ่าตัด Wim's Tumor การดูแลเช่นเดียวกับการผ่าตัดหน้าท้องทั่วไป หลังผ่าตัดระยะแรกปัญหาที่สำคัญคือ เด็กอาจเกิดภาวะไหลเวียนเลือดที่ล้มเหลว เนื่องจากการเสียเลือด ควรติดตามสัญญาณชีพทุก 15 นาที (จนครบ 1 ชั่วโมง) และทุก 30 นาที (จนครบ 1 ชั่วโมง) จากนั้นทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าสัญญาณชีพจะคงที่
ในระยะ 24 ชั่วโมงแรก ควรติดตามปริมาณและความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะเพื่อประเมินว่าเด็กได้รับเลือดและสารน้ำทดแทนเพียงพอกับที่เสียไปหรือไม่ โดยปัสสาวะควรออกประมาณ 1 ml/kg/hr ความถ่วงจำเพาะไม่เกิน 1.020
ตรวจดูเปลือกตาเพื่อประเมินภาวะซีด ติดตามค่า Hct เป็นระยะตามแผนการรักษาเพื่อประเมินว่าเด็กได้รับเลือดเพียงพอหรือไม่ มีการเสียเลือดต่อเนื่องในอัตรารวดเร็วหรือไม่ ในรายที่มะเร็งมีการกระจายแล้ว หลังการผ่าตัดเสร็จจะยังคงมีการสูญเสียเลือดบริเวณที่อยู่ของเนื้องอกต่ออีกระยะหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ ศัลยแพทย์จะใส่สายระบายทรวงอกออกมา จะต้องประเมินว่าเลือดออกมามากน้อยและรวดเร็วเพียงใด ร่วมกับตรวจสอบปริมาณเลือดที่ออกจากความชุ่มของก็อชที่ปิดแผล
ดูแลร่างกายเด็กให้อบอุ่นหลังกลับจากห้องผ่าตัดและติดตามอุณหภูมิกายจนกว่าจะปกติ เนื่องจากในการผ่าตัดตัวเด็กจะสูญเสียความร้อนได้มากเนื่องจากการเปิดทางช่องท้อง การเปิดอวัยวะภายใน การสูญเสียเลือดและจากอุณหภูมิในห้องผ่าตัด ควรดูแลร่างกายเด็กให้อบอุ่นติดตามอุณหภูมิกายจนกว่าจะปกติ
เด็กจะเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของลำไส้ เนื่องจากยา Vincristine ทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง รังสีทำให้เกิดการบวมของลำไส้ และการยึดติดกันจากการผ่าตัด จึงจำเป็นที่พยาบาลจะต้องสังเกตุอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด อาเจียน หน้าท้องแข็งตัว ปวดท้อง
หลังผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกแล้วความดันโลหิตจะลดลงได้จึงต้องคอยวัดความดันโลหิตเสมอ
ประเมินการทำหน้าที่ของไตข้างที่เหลืออยู่ โดยการบันทึกปริมาณน้ำปัสสาวะ
ขณะให้เคมีบำบัดจะต้องสังเกตุอาการของการติดเชื้อ เนื่องจากยาจะกดไขกระดูก
ประเมินสภาพการทำงานของปอดหลังผ่าตัดทันที เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนหรือการแพร่กระจายไปยังปอด
2. เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากความอยากอาหารลดลงร่วมกับการมี NPO
ข้อมูลสนับสนุน
มีก้อนที่หน้าท้องด้านซ้าย , รับประทานอาหารได้น้อยลง , อ่อนเพลีย
เป้าหมายทางการพยาบาล
ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร มีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำหนักตัวไม่ลดลง , รับประทานอาหารได้ , ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารตามแผนการรักษา คือ นมผสมและอาหารเสริมตามวัยวันละ 1 มื้อ เพื่อช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปในระหว่างการรักษาเนื่องจากเด็กที่เป็นมะเร็งอาจจะเกิดภาวะทุพโภชนาการได้อย่างรวดเร็วจากเซลล์มะเร็ง มีการใช้สารอาหารจากเซลล์ปกติ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากผลข้างเคียงของยาหรือในบางครั้งเด็กบางรายอาจเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการกระตุ้นด้วยสิ่งที่รู้สึก เช่น การมองเห็น ได้ยินเกี่ยวข้องกับการให้ยาเคมีผ่านระบบประสาทรับรู้ได้กลิ่นและความวิตกกังวล
ดูแลให้เด็กได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา คือ 5% D/NSS/3 1000 ml v cc/hr
ส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารตามแผนการรักษาในขณะที่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
จัดบรรยากาศของการรับประทานอาหารที่ส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารได้มากขึ้น มีบรรยากาศที่สนุกสนาน หาวิธีผ่อนคลายความวิตกกังวล หลีกเลี่ยงการสัมผัสกลิ่นที่ไม่สะอาด เสียง และภาพคนอื่นกำลังอาเจียน
ติดตามประเมินภาวะโภชนาการ เช่น การชั่งน้ำหนัก ผลการตรวจระดับโปรตีน อิเล็กโตรลัย บันทุกปริมาณสารน้ำที่ได้รับและขับออก ความรุนแรงของการอาเจียน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญเด็กที่ได้รับยาเคมีบำบัด
มีโอกาสเกิดความไม่สุขสบายและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน
ข้อมูลสนับสนุน
หลังจากผ่าตัด ให้แนวทางการรักษา แพทย์วางแผนให้เคมีบำบัด
เป้าหมายทางการพยาบาล
มีความสุขสบายมากขึ้น/ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากอาการข้างเคียงของยา
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน, รับประทานอาหารได้, ไม่มีแผลในปากหรือเยื่อบุต่างๆของร่างกาย, ไม่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณที่ฉีดยาเคมีบำบัด, ไม่มีอาการติดเชื้อในร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาวะของผู้ป่วยเด็กว่าสามารถรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดได้ โดยมีเกณฑ์ ดังนี้ เม็ดเลือดขาวรวม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3000 cell/mm3 หรือค่า ANC > 500 cell/mm3, ไม่มีภาวะที่ติดเชื้อที่รุนแรง, ไม่มีภาวะซีดรุนแรง, ได้รับการตรวจหน้าที่การทำงานของไต ตับ โดยการเจาะเลือดตรวจก่อนการให้ยาครั้งแรก
รักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย แยกจากผู้ป่วยอื่นที่มีภาวะติดเชื้อ
ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย แคลอรี่สูง
ดูแลให้ผู้ป่วยทำความสะอาดช่องปากด้วยการบ้วนปากบ่อยบ่อยๆ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงขนนุ่ม ขนาดเล็ก ถ้ามีแผลในปากให้ทาด้วยยาแก้อักเสบหรือยาชา เช่น Xylocaine viscous ก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ
สังเกตผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มเพื่อให้ยาเคมีบำบัด ว่ามีอาการบวมแดง อักเสบหรือไม่ ถ้ามีต้องหยุดให้ยาทันที ประคบด้วยความเย็นภายใน 1 ชั่วโมงแรก และรายงานให้แพทย์ทราบ
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะกรดยูริคในเลือดสูง
วัดและบันทึกสัญญาณชีพหรือสังเกตและบันทึกอาการของผู้ป่วยขณะให้ยาบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง
มีโอกาสเกิดความบกพร่องของเยื่อบุปากจากผลข้างเคียงของยา
ข้อมูลสนับสนุน
หลังจากการผ่าตัด ให้เเนวทางการรักษาของเเพทย์ วางเเผนการให้เคมีบำบัดเเละฉายเเสงในลำดับต่อไป
เป้าหมายการพยาบาล
ลดอาการอักเสบในช่องปากจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีเเผลในช่องปาก
การพยาบาล
ทำการประเมินช่องปากก่อนให้ยาเคมีบำบัด ถ้าพบมีฟังผุหรือโรคเหงือก ควรปรึกษาเเพทย์เพื่อให้การเเกไข ก่อนที่จะเริ่มให้เคมีบำบัด
2.ทำการรักษาความสะอาดของช่องปากเเละฟันอย่างถูกวิธี โดยใช้เเปรงสีฟันที่อ่อนนุ่มเป็นพิเศษ บ้วนปากให้สะอาดหรือบ้วนด้วยน้ำเกลือหลังเเปลงฟันหลังอาหารทุกมื้อเเละก่อนนอน ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ เเอลกอฮอล์ ทาริมฝีปากด้วยวาสรีนเพื่อให้ริมฝีปากชุ่มชื่นหรือถ้าช่องปากอักเสบ อาจใช้วิธีการบ้วนปากหรือกลั้วคอบ่อยๆ ทุๆ 1-2 ชม ด้วยน้ำอุ่น
อมน้ำเเข็งนาน ครั้งละ 5 นาที ทุก 2 ชม เพื่อลดอาการปวด ถ้าปวดมากหรือรุนเเรงใช้ยาชาเฉพาะที่ตามเเผนการรักษา ซึ่งจะต้องระวังการใช้ควรป้ายเฉพาะบริเวณที่มีบาดเเผล
ตรวจประเมินภายในช่องปากอย่างน้อยวันละครั้งโดยเฉพาะในรายที่รับยาในกลุ่ม Antimetabolite ซึ่งมีผลข้างเครียงทำให้เกิดเยื่อบุปากอักเสบได้ง่าย
หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด เช่น อาหารร้อน อาหารที่มีรสจัดเเละหลีกเลี่ยงการวัดปรอททางทวารหนัก เพราะหากมีการทำลายเยื่อบุปากอาจมีการทำลายเยื่อบุทวารหนักด้วย
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
ข้อมูลสนับสนุน
เเพทย์วางเเผนให้ยาเคมีบำบัด
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาล
เกณฑ์การประเมินผล
ปัสสาวะออกมาเป็นสีใส ไม่ปนเลือด
ขณะปัสสาวะไม่มีเลือดออกมากับปัสสาวะ
การพยาบาล
อธิบายให้มารดาเเละผู้ป่วยเด็กเข้าใจถึงภาวะเเทรกซ้อนที่อาจเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะเพื่อเตรียมความรู้ก่อนได้รับยาเคมีบำบัด
ดูเเลให้ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ 5% D/NSS/3 1000 ml iv 60 ml/hr ตามเเผนการรักษา เพื่อป้องการอันตรายของยาเคมีบำบัดต่อกระเพาะปัสสาวะ
สอบถามอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดขณะปัสสาวะ ลักษณะปัสสาวะผิดปกติ เช่น สีเข้ม ปริมาณน้อยหรือมีเลือดปน เพื่อให้การดูเเลอย่างทันท่วงที
บันทึกปริมาณปัสสาวะเข้าทุก 8 ชม เพื่อประเมินการทำงาของระบบทางเดินปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญเด็กที่ได้รับรังสีรักษา
2. กลัว วิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการรับการฉายแสง
ข้อมูลสนับสนุน
หลังจากผ่าตัด ให้แนวทางการรักษา แพทย์วางแผนให้ฉายแสง , มารดามีสีหน้าวิตกกังวล ขมวดคิ้ว
เป้าหมายทางการพยาบาล
ความวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฉายรังสี , สีหน้าสดชื่น , มารับการรักษาตามนัด
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความมั่นใจและข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากทั้งเด็กและบิดามารดาอาจยังมีความเชื่อความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฉายรังสีและมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือฉายรังสีที่ค่อนข้างมืด เย็น จึงควรมีการเตรียมเด็ก บิดามารดาก่อนที่จะได้รับการฉายรังสีด้วยการพาไปดูสถานที่ที่จะใช้ในการรังสี
ตอบคำถามพร้อมอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการฉายรังสี สิ่งที่จะต้องเจอในการฉายรังสี ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี วิธีการดูแลตนเองในระหว่างการฉายรังสี ซึ่งการอธิบาย การสร้างความมั่นใจจะช่วยลดความกลัว ความเครียดในเด็กโตและบิดามารดาได้มาก
ในเด็กเล็กหรือทารก อาจต้องให้ยากล่อมประสาทช่วยตามแผนการรักษา เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจะอยู่อย่างสงบในระหว่างการฉายรังสี
1. ไม่สุขสบายเเละอาจเกิดภาวะเเทรกซ้อนได้เนื่องจากอาการข้างเคียงของการรักษาด้วยรังสี
ข้อมูลสนับสนุน
หลังจากการผ่าตัด ให้เเนวทางการรักษาของเเพทย์ วางเเผนการให้เคมีบำบัดเเละฉายเเสงในลำดับต่อไป
เป้าหมายการพยาบาล
มีความสุขสบายมากขึ้น ป้องกันภาวะเเทรกซ้อนหรืออาการข้างเคียงจากการได้รับรังสี
เกณฑ์ในการประเมินผล
ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจาระเหลว
รับประทานอาหารได้
ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีไม่มีอาการอักเสบ หรือเป็นเเผล
ไม่มีการติดเชื้อในร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาวะผู้ป่วยเด็กว่าสามารถรับการรักษาด้วยรังสีรักษาได้ โดยมีเกณฑ์ ดังนี้ เม็ดเลือดขาวรวม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3000 cell/mm3 หรือค่า ANC > 500 cell/mm3, ไม่มีภาวะที่ติดเชื้อที่รุนแรง, ไม่มีภาวะซีดรุนแรง, ไม่มีไข้เนื่องจากติดเชื้อ, รักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย แยกจากผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ
รักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยแยกจากผู้ป่วยอื่นที่มีภาวะติดเชื้อ
ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย แคลอรี่สูง
ดูแลให้ผู้ป่วยทำความสะอาดช่องปากด้วยการบ้วนปากบ่อยบ่อยๆ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงขนนุ่ม ขนาดเล็ก ถ้ามีแผลในปากให้ทาด้วยยาแก้อักเสบหรือยาชา เช่น Xylocaine viscous ก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ
ถ้าเป็นเด็กเล็ก อาจจำเป็นต้องให้ยานอนหลับก่อนส่งไปฉายรังสี
ดูแลผิวหนังบริเวณที่จะฉายแสงให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ หากเป็นแผลให้ทำความสะอาดด้วย 0.9% NSS
หลีกเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่น โลชั่น ครีม เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะหนัก ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจใช้แป้งข้าวโพดเพื่อช่วยเรื่องการดูดซับความชื้น ทำให้ผิวลื่นเย็น สบาย ไม่คัน
หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังมากขึ้น งดใช้ความร้อนหรือความเย็นประคบ ทาครีมกันแดดที่มี SPF15 นาน 1 ปี
ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ผ้าที่อ่อนนุ่ม ซับน้ำได้ดี เพื่อช่วยในการซับเหงื่อและลดการเสียดสีถูไถของผิวหนังกับเสื้อผ้า เสื้อผ้าควรซักล้างให้สะอาดไม่มีสารตกค้างผงซักฟอกหรือสบู่
สังเกตและสอนผู้ป่วยและบิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็กให้สังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น อ่อนเพลียมาก ซึม เบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระเหลว หากมีอาการผิดปกติควรรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล