Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ธรรมนูญการคลังสุขภาพ การคลังและความเป็นธรรมทางสุขภาพ (Health Care…
ธรรมนูญการคลังสุขภาพ
การคลังและความเป็นธรรมทางสุขภาพ
(Health Care Financing and Health Equity)
ธรรมนูญสุขภาพว่าด้วยการเงินการคลังสุขภาพ
เป้าหมาย
การเงินการคลังรวมหมู่สำหรับการบริการสาธารณสุขได้รับการพัฒนาเพื่อบรรลุ เป้าหมายในปี 2563
ลดจา นวนครัวเรือนที่ประสบปัญหาวิกฤตดา้นเศรษฐกิจจากการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์จากร้อยละ 2ของครัวเรือนท้งัหมดในปี2549เป็นไม่เกินร้อยละ1
มีความเป็นธรรมในการได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณสุขที่รัฐสนับสนุน
ลดสัดส่วนรายจ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของประเทศที่มาจากครัวเรือนเมื่อไปใช้บริการ จากร้อยละ 36ของรายจ่ายรวมของประเทศในปี2548เป็นไม่เกินร้อยละ20
อัตราการเพิ่มของรายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศเพิ่มขึ้นไม่มากกว่าอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ระบบการเงินการคลังรวมหมู่ภาคบังคับ ดำเนินการถูกต้องตามหลักการไม่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
มาตรการ
ให้รัฐพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังสำหรับการจัดบริการสาธารณสุขให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้
ให้รัฐเพิ่มการลงทุนในการบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพสูงได้แก่การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ให้รัฐขยายระบบการเงินการคลังรวมหมู่ให้ครอบคลุมประชาชนที่มีภูมิลำ เนาถาวรในประเทศรวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างถ้วนหน้า และป้องกันการใช้บริการมากเกินความจำเป็นไม่ใช่เพื่อการหาเงินเพิ่มเติมแก่ระบบ
ให้รัฐส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสุขภาพของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐ องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน
ให้รัฐจัดระบบการเงินการคลังรวมหมู่มาจากแหล่งเงินซึ่งมีการจัดเก็บในอัตราก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มการจัดเก็บภาษีจากการบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจและสินค้าที่ทำลายสุขภาพ และจัดระบบการเงินการคลังรวมหมู่ภาคบังคับให้เป็นไปตามหลกัการไม่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่วางแผนการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาว ติดตามประเมินผล รวมถึงสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยให้มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ
หลักการ
การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึง ประสงค์ ระบบการเงินการคลังรวมหมู่ภาคบังคับต้องไม่ดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
รูปแบบการจ่ายเงินให้แก่สถานพยาบาล(Provider payment mechanism)
การจ่ายเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ (Bonus)เป็นวิธีการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์โดยมีวัตถุประสงค์ทางด้านสาธารณสุขบางอย่างส่วนใหญ่เป็นด้านการส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค
การจ่ายอัตราเดียว (Flat Rate)เป็นวิธีการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการลงทุนในกิจกรรมเฉพาะกิจบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตน เช่น การจัดซื้อเครื่องมือพิเศษ การสร้างห้องตรวจวินิจฉัยเฉพาะทาง เป็นต้น
การจ่ายค่าบริการเป็นรายวัน (Daily Charge) เป็นวิธีจ่ายค่าบริการทางการแพทย์โดยคิดตามระยะเวลาของการรักษาพยาบาลโดยคิด
อัตราค่าบริการที่แน่นอนในแต่ละวัน(Flat Rate)และไม่คำนึงถึงวิธีการรักษาหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เกิดขึ้น มักนิยมใช้วิธีนี้สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีระยะการรักษาตัวนาน
การเหมาจ่ายรายหัว (Capitation Fee)การเหมาจ่ายรายหัว (Capitation) เป็นวิธีการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์วิธีหนึ่งของความคุ้มครองตามแผนการประกันสุขภาพที่มีการกำหนดจำนวนเงินต่อหัวของผู้เอาประกันไวล่วงหน้าสำหรับคนๆ หนึ่งในระยะเวลาช่วงหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย
การจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมที่ให้บริการ(Fee for Diagnosis-related Groups) เป็นวิธีการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ที่เป็นต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการบริหารและการบริการผู้ป่วยรายบุคคล วิธีนี้จะจ่ายค่าบริการตามรายโรคที่แพทย์ให้บริการ
โดยมากมักใช้กับผู้ป่วยใน
การเหมาจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน (Salary)การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่แพทย์ตามรายชั่วโมงของการทำงานโดยการจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีก็ได้ทั้งนี้ไม่คำนึงถึงจำนวนรายการ จำนวนครั้งของการบริการหรือจำนวนคนไข้ที่แพทย์ต้องดูแลรักษา
การจ่ายตามบริการที่ให้ (Fee for Service or Price per Item) เป็นวิธีการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ที่มีการใช้มากที่สุด โดยมีลักษณะการจ่ายค่าตอบแทนตามกิจกรรมที่ให้บริการ
การจ่ายค่าตอบแทนเป็นงบประมาณ (Global Budget)เป็นวิธีการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ให้บริการ (Provider) โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ทั้งหมดไว้
ความเป็นธรรมทางสุขภาพ (Health Equity)
นิยามและแนวคิด
ด้านสุขภาพ (equity in health)หมายถึงการมีโอกาสพฒั นาสุขภาพตนเองโดยคำนึงถึงความจำเป็นร่วมกับแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้สภาวะที่เป็นจริง
ด้านการดูแลสุขภาพ (equity in health care)ได้แก่ความเท่ากันในการเข้าถึงหรือการใช้บ้ริการตามความจำเป็น ความเท่ากันของคุณภาพการดูแลความเท่ากันด้านสุขภาพและความเท่ากัน ของรายจ่ายต่อหัวในการจัดสรรงบประมาณการจัดบริการสุขภาพของรัฐบาลให้แก่ประชาชนในประเทศ
มิติความเป็นธรรม
ความเป็นธรรมแนวราบ (horizontal equity) คือ การได้รับการดูแลเท่ากัน ภายใต้ความจำเป็นที่เท่ากัน (equal treatment for equal need) เช่น ผู้ป่วยสองคนที่ป่วยด้วยโรคชนิดเดียวกันควรได้รับการรักษาที่เท่ากัน
ความเป็นธรรมแนวดิ่ง (vertical equity) คือ การได้รับความดูแลที่มีความแตกต่างกัน เมื่อมีความจำเป็นที่ไม่เท่ากัน (the extent to which individuals with unequal needs)นั่น คือผปู้่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันย่อมต้องได้รับการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันตามความจำเป็น
บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ
วิวัฒนาการของบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติประเทศไทยประเทศไทยได้มีการจัดทำระบบข้อมูลรายจ่ายสุขภาพ โดยเป็นส่วนหนึ่งของบัญชี ประชาชาติมาตั้งแต่พ.ศ. 2503 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำขึ้นตามระบบบัญชีสากล (System of National Account: SNA) เพื่อใช้วัดเป็นตัวชี้วัดปริมาณ ของทรัพยากรด้านสุขภาพ
โครงสร้างของการไหลเวียนของเงินเพื่อสุขภาพ
ประเภทกิจกรรมในด้านสุขภาพ (Function of Health care-HC)
รายจ่ายดำเนินการด้านสุขภาพ (Total current expenditure on health (TCHE)) เป็นยอดรวมของรายจ่ายสุขภาพส่วนบุคคล ที่กล่าวข้างต้น และรายจ่ายดา้นส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนทั่วไป และรายจ่ายในการบริหารจัดการด้านสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
รายจ่ายสุขภาพรวม (Total expenditure on health (THE)) เป็นยอดรวม รายจ่ายดำเนินการด้านสุขภาพ (TCHE) และรายจ่ายสะสมทุนหรือการลงทุนด้านสุขภาพของผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้แก่รายจ่ายหมวด ครุภัณ ฑ์ค่าซื้อที่ดิน ค่าก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง สถานพยาบาลในภาคสาธารณสุข (capital formation by health care provider institutions)
รายจ่ายสุขภาพส่วนบุคคล(Total expenditure on personal health care) เป็นรายจ่ายที่จ่ายสำหรับสินค้าและบริการต่างๆที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสุขภาพของส่วนบุคคล(ไม่รวมรายจ่ายดา้นส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนทั่วไป) เช่น การบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน
ประเภทของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (Health care provider)
คลินิกหรือศูนย์บริการที่ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ป่วยนอก
ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ให้แก่ประชาชนทั่ไปโดยการขายปลีก
สถานพยาบาล บ้านพักหรือสถานพักฟื้น
หน่วยงานบริหารและจัดทำ ครงการสาธารณสุข ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
หน่วยงานบริหารจัดการด้านสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
โรงพยาบาลจำแนกเป็นโรงพยาบาลรัฐ/เอกชน
หน่วยงานอื่นๆที่ให้บ้ริการด้านสุขภาพ
หน่วยงานอื่นๆภายนอกประเทศที่ให้บริการด้านสุขภาพ
หน่วยจ่ายแทน (Financing Agencies)
หน่วยจ่ายแทนนอกภาครัฐ (Private Financing Agencies) ประกอบด้วยบริษัทประกัน สุขภาพเอกชน เป็นผู้รับเงินเบี้ยประกัน จากครัวเรือน และมีรายจ่ายสุขภาพเป็นสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกัน บริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ. นายจ้าง และครัวเรือน
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ (Rest of the world) เป็นมูลค่าความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ให้แก่ประเทศไทย ทั้งโดยตรงและที่ผ่านหน่วยงานของรัฐไดแ้ก่ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับสาธารณสุข อนามัยและสิ่งแวดล้อม
หน่วยจ่ายแทนภาครัฐ (Public Financing Agencies) ประกอบด้วยกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานรับผดิชอบดูแลประชาชนในเรื่องสุขภาพ กระทรวงอื่นๆ เป็นผู้มีหน้าที่เสริมหรือสนับสนุนภาระงานด้านสุขภาพและการสาธารณสุขภายใต้การจัดสรรงบประมาณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงการคลัง รัฐวิสาหกิจ องคก์รอิสระภาครัฐ สำนกังานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนกังานประกันสังคม และสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
วิวัฒนาการของรายจ่ายสุขภาพการคำนวณรายจ่ายสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มต้นจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) โดย Abel-Smith (1963, 1967) นับเป็นการศึกษาชิ้นแรกๆ ที่ให้คำนิยามของ รายจ่ายสุขภาพและสาธารณสุขและได้มีการตั้งมาตรฐานการคำนวณประมาณการและวิเคราะห์ไว้ด้วยการศึกษาดังกล่าวเป็นการประมาณการโดยการสำรวจและไม่มีการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ
ไม่บันทึกกิจกรรมด้านการผลิตแต่ให้ความสนใจด้านการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการสาธารณสุขของประเทศแทน
ยกเว้นสองกรณีคือ บริการด้านอาชีวอนามัยถูกรวมในรายจ่ายสุขภาพ และ การชดเชยเงินแก่ครัวเรือนที่ให้การดูแลระยะยาวแก่ผู้มีภาวะพึ่งพิงถูกบันทึกเป็นการจ่ายส าหรับการผลิตบริการสุขภาพของครัวเรือน
บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติNational Health Account (NHA) and System Health
Account (SHA)
การคลังระบบสาธารณสุข
การคลังระบบสาธารณสุข (Health care financing) หมายถึง กลไกและกระบวนการสนับสนุนด้านการเงินแก่ระบบสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วยภารกิจและขั้นตอนหลัก ๆ สามส่วน ด้วยกัน คือ การจัดเก็บเงิน (Revenue collection) การรวมเงินและจัดสรรเงิน (Pooling and allocation of funds) และการซื้อบริการและจ่ายเงิน (Purchasing and payment methods)
เป้าประสงค์เชิงนโยบายของการคลังระบบสาธารณสุขประกอบด้วย
1.ส่งเสริมการปกป้องครัวเรือนจากภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจก่อให้เกิดภาวะลมละลาย
2.ส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
3.ส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้และให้บริการสาธารณสุข
4.เพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบของระบบ
5.มีระบบการให้รางวัลและแรงจูงใจที่ดีแก่ผู้ให้บริการที่มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพ
6.ส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ ลดความซ้ำซ้อนของภารกิจและค่าใชจ้่ายที่ไม่ก่อใหเ้กิดผลิตภาพในระบบ
องค์ประกอบและพนัธกิจในการคลังระบบสาธารณสุขกระบวนการและพันธกิจของการจัดการการคลังระบบสาธารณสุข โดยองค์ประกอบและกระบวนการการคลังระบบสาธารณสุขเริ่มจากการเก็บรวบรวมเงิน การรวมและจัดสรรเงินเพื่อกระจายความเสี่ยง และการซื้อและจ่ายค่าบริการ
การมีส่วนร่วมของภาคต่างๆในการบริการจัดการการคลังสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นกลไกระดับชาติทำที่วางแผนการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาวและเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายในสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยมีหน้าที่ได้แก่
เสนอปรับปรุงนโยบายโครงสร้างและระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ ได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบจ่ายเงิน ระบบ ตรวจสอบ เป็นต้น เพื่อให้ระบบเกิดประสิทธิภาพ มีคุณภาพและความยั่งยืน / เสนอให้ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
สนับสนุนการวิจัย/การสร้างองค์ความรู้
จัดให้มีข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์และสื่อสารสังคม เพื่อให้รับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ และดำเนินการทางสังคมในการขับเคลื่อน
จัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพให้มีความยั่งยืน
อื่นๆตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงาน