Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 1 ทารกเพศหญิง อายุ 3 เดือน น้ำหนัก 5 กิโลกรัม Known Case Down…
Case 1
ทารกเพศหญิง อายุ 3 เดือน น้ำหนัก 5 กิโลกรัม
Known Case Down Syndrome
with Cleft lip & patient
การซักประวัติ การตรวจร่างกายและการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
Down syndrome
การซักประวัติ
สอบถามประวัติบุคคลในครอบครัวที่มีกลุ่มอาการดาวน์
ตรวจร่างกาย
ลิ้นโตคับปาก (large protruding tongue)
ลักษณะศีรษะแบน (brachycephaly)
ท้ายทอยแบน (flat occiput)
ใบหน้าแบน (mid facial hypoplasia)
ตาห่างและหางตาชี้ข้ึน (oblique palpebral fissure)
ขอบหนังตาบนพับ ยื่นปิดหัว ตา (epicanthal fold)
ใบหูเล็กผิดปกติ
จมูกเล็ก
ด้ังแบน (saddle nose)
เพดานปากโค้งสูงและแคบ
ฟันข้ึนช้า
คอสั้น
มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝุาเท้าส้ัน เส้นลายขวางฝุามือเส้นเดียว
(simian crease)
กล้ามเน้ือมีความตึงตัวน้อย (hypotonia)
การตรวจโครโมโซม
การตรวจน้าคร่าโดยการเจาะถุงน้าคร่า (amniocentesis) เมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
chrorionic villi sampling เมื่ออายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์
การเจาะเลือด
การตรวจพิเศษ
Ultrasound
ปากแหว่ง (Cleft lip) เพดานโหว่ (Cleft palate)
การซักประวัติ
สอบถาม ประวัติการมีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ของบุตรคนที่ผ่านมา หรือบุคคลอื่นใน ครอบครัว
สอบถามประวัติการรับประทานยา การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ได้รับรังสีในช่วงตั้งครรภ์
การตรวจพิเศษ
Ultrasound เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13-14 สัปดาห์
การตรวจร่างกาย
สังเกตริมฝีปากแหว่งแยกออกจากกันหรือ ช่องปาก เพดานโหว่ เมื่อทารกอ้าปากหรือร้องไห้
อดนิ้วเข้าเข้าไปในปากจะพบว่าเพดานปาก โหว่ มองเห็นช่องปาก
สาเหตุและพยาธิสภาพของความพิการแต่กำเนิด
พยาธิสภาพ Down Syndrome
with Cleft lip & palate
Down Syndrome
พยาธิสภาพ
เกิดจากการแบ่งเซลล์โครโมโซมมารดาในระยะ meiosis ไม่แยกตัว (nondisjunction) เรียกความผิดปกตินี้ว่า full trisomy หรือเกิดการสับเปลี่ยนช้ินส่วนของโครโมโซม (robertsonian translocation) คู่ที่ 21 ไปเชื่อมติดตำแหน่ง centromere นอกจากนี้อาจเกิดจากบางเซลล์มีโครโมโซมเกิน บางเซลล์โครโมโซมปกติ ทำให้มีโครโมโซมได้ท้ัง 2 แบบในคนเดียวกัน (mosiacism down syndrome) โดยจะมีลักษณะใบหน้าคล้ายกลุ่ม full trisomy แต่ระดับสติปัญญาและพัฒนาการดีกว่า
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งสาเหตุของความผิดปกตินั้นยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด เชื่อว่าสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่ผิดปกตินั้นทําให้กระบวนการควบคุมการสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกัน และอาจมีความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกายร่วมด้วย ที่สำคัญ คือ เด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะบกพร่อง ทางสติปัญญา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความบกพร่องอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ความผิดปกติของโครโมโซมที่พบในกลุ่มอาการดาวน์ มี 4 แบบ
Trisomy 21 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 95 ของกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด โดยมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่โครโมโซมไม่แยก จากกันในระหว่างการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์ในมารดา มีเพียงประมาณร้อยละ 10 ที่เกิดจากโครโมโซมไม่แยก จากกันในระหว่างการแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์ของบิดา ความผิดปกติแบบนี้ส่วนใหญ่เกิดก่อนการปฏิสนธิ แต่อาจเกิดจากการแบ่งตัวครั้งแรกของตัวอ่อนปกติหลังการปฏิสนธิก็ได้ Trisomy 21 ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จะพบบ่อยขึ้นเมื่อมารดามีอายุมากขึ้น อัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 1 ความผิดปกติของโครโมโซมรูปแบบนี้ไม่จําเป็นต้องตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมในบิดามารดา
Robertsonian translocation พบได้ร้อยละ 4 ของกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด กลุ่มนี้มีจํานวนโครโมโซม 46 แท่ง แต่มีโครโมโซมแท่งหนึ่งมีลักษณะผิดปกติ เนื่องจาก มีการเคลื่อนย้ายที่ของแขนยาวของโครโมโซมระหว่าง โครโมโซมคู่ที่ 21 กับโครโมโซมคู่ที่ 13,14,15,21 หรือ 22 แต่ที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้คือระหว่างโครโมโซมคู่ที่ 21 กับ 14 อัตราการเกิดการเคลื่อนย้ายที่ของโครโมโซมนี้ไม่มี ความสัมพันธ์กับอายุมารดา ประมาณร้อยละ 50 ของการ เคลื่อนย้ายที่ของโครโมโซมเกิดขึ้นเอง อีกร้อยละ 50 เกิด จากการที่บิดาหรือมารดาเป็นพาหะของการเคลื่อนย้ายที่ ของโครโมโซมนั้น ดังนั้น ถ้าหากบุตรมีความผิดปกติของ โครโมโซมแบบนี้จะต้องตรวจโครโมโซมของบิดามารดาด้วยว่าเป็นพาหะหรือไม่ เพื่อให้คําแนะนําปรึกษาต่อไป
Partial trisomy21 คือการที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาเพียงบางส่วน ไม่ใช่ทั้งโครโมโซม โดยส่วนของโครโมโซมที่เกินมานั้น มียีนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome critical region or DSCR) ซึ่งอยู่บนแขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 21 รวมอยู่ด้วย ความผิดปกติแบบนี้จะพบน้อยมาก มักจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ที่ตรวจโครโมโซม โดยวิธีมาตรฐานแล้วผลปกติ ดังนั้น ถ้าลักษณะทางคลินิกเหมือนกลุ่มอาการดาวน์แต่จํานวนโครโมโซมปกติ ต้องใช้ วิธีตรวจทางอณูพันธุศาสตร์ (molecular genetic)
Mosaicism พบได้ร้อยละ 1 ของกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมดมีโครโมโซม 2 แบบในคนเดียวกัน คือ บางเซลล์มี 46โครโมโชมและบางเซลล์มี 47 โครโมโชม (trisomy 21)เกิดจากการที่โครโมโชมไม่แยกจากกันใน ระหว่างการแบ่งตัวครั้งที่ 2หรือครั้งต่อๆ ไปของตัวอ่อน หลังการปฏิสนธิจึงมีเพียงบางเซลล์เท่านั้นที่จะผิดปกติซึ่งถ้าตรวจเลือดไม่พบความผิดปกติของโครโมโชมแต่ยังสงสัยว่าเป็นกลุ่มอาการดาวน์ต้องตัดเนื้อเยื่อจากผิวหนังมาตรวจเพิ่มเติม
Cleft lip & Cleft palate
สาเหตุ
สาเหตุ ยังไม่ทราบที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจาก1. พันธุกรรม (heredity) ในครอบครัวที่มีสมาชิกฝ่ายบิดาหรือมารดามประวัติเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ มีโอกาสเกิดถึงร้อยละ 602. ส่ิงแวดล้อม (environment agents) จากการติดเชื้อหัดเยอรมันในมารดาขณะต้ังครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก หญิงตั้งครรภ์อายุมาก ขาดวิตามินและโฟเลท สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ได้รับรังสี และได้รับยากันชัก Phenytoin
พยาธิสภาพ
ในช่วงอายุครรภ์ 3-12 สัปดาห์จะเริ่มมีการสร้างเนื้อเยื่อของริมฝีปากและเจริญเป็นเพดานอ่อนและเพดานแข็งอย่างสมบูรณ์ในสัปดาห์ที่ 7 เมื่อเกิดความผิดปกติในระยะการแบ่งตัวนี้จะทำให้เนื้อเยื่อของริมฝีปากแ 11 ละเพดานไม่เชื่อมต่อกันจึงเกิดความพิการขึ้น
การให้คำแนะนำในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งเรื่องการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การส่งเสริมพัฒนาการ การรับวัคซีนตามช่วงวัย การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ
การส่งเสริมพัฒนาการ
Gross motor (GM)
ท่านอนคว่ำยกศีรษะและอกพ้นพื้น
วิธีการฝึกทักษะ
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำข้อศอกงอ
ใช้หน้าและเสียงของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพูดคุยกับเด็กตรงหน้าเด็กเมื่อเด็กมองตามค่อย ๆ เคลื่อนหน้าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กขึ้นด้านบนเพื่อให้เด็กสนใจยกศีรษะโดยมือยันพื้นไว้แขนเหยียดตรงและหน้าอกพ้นพื้น
ฝึกเพิ่มเติมโดยใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กสนใจและ
วิธีการประเมิน
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำบนพื้นราบ
เขย่ากรุงกริ่งด้านหน้าเด็กเพื่อให้เด็กสนใจแล้วเคลื่อนขึ้นด้านบนกระตุ้นให้เด็กมองตาม
Expressive Language (EL)
ทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เพื่อแสดงความรู้สึก
วิธีการประเมิน
ในระหว่างที่ประเมินสังเกตว่าเด็กส่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ได้หรือไม่หรือถามพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก
วิธีการฝึกทักษะ
มองสบตาเด็กและพูดด้วยเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เล่นหัวเราะกับเด็กหรือสัมผัสจุดต่าง ๆ ของร่างกายเด็กเช่นใช้นิ้วสัมผัสเบา ๆ ที่ฝ่าเท้าท้องเอวหรือใช้จมูกสัมผัสหน้าผากแก้มจมูกปากและท้องเด็กโดยการสัมผัสแต่ละครั้งควรมีจังหวะหนักเบาแตกต่างกันไป
Receptive Language (RL)
วิธีการประเมิน
1.จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายหรืออุ้มนั่งตักหันหน้าออกจากผู้ประเมิน
เขย่ากรุงกร่งด้านซ้ายและขวาของตัวเด็กทีละข้างโดยห่างประมาณ 60 ซมและไม่ให้เด็กเห็น
หันตามเสียงได้
Fine Motor (FM)
มองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่เป็นมุม 180 องศา
มองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่เป็นมุม 180 องศา
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงาย
ถือลูกบอลผ้าสีแดงห่างจากหน้าเด็ก
กระตุ้นเด็กให้มองที่ลูกบอลผ้าสีแดง
เคลื่อนลูกบอลผ้าสีแดงเป็นแนวโค้งไปทางด้านขวาหรือด้านซ้ายของเด็กอย่างช้า ๆ แล้วเคลื่อนกลับมาทางด้านตรงข้ามให้โอกาสประเมิน 3 ครั้ง
วิธีการฝึกทักษะ
จัดเด็กอยู่ในท่านอนหงายโดยศีรษะเด็กอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัว
ก้มหน้าให้อยู่ใกล้ ๆ เด็กห่างจากหน้าเด็กประมาณ 30 ซม (1 ไม้บรรทัด)
เรียกชื่อเด็กเพื่อกระตุ้นเด็กให้สนใจจ้องมองจากนั้นเคลื่อนหน้าพ่อแม่
ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอย่างช้า ๆ เป็นแนวโค้งไปทางด้านซ้าย
ทำซ้ำโดยเปลี่ยนเป็นเคลื่อนหน้าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กจากทางด้านซ้ายไปด้านขวา
ถ้าเด็กยังไม่มองตามให้ช่วยประคองหน้าเด็กเพื่อให้หันหน้ามามองตาม
ฝึกเพิ่มเติมโดยใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กสนใจและมองตาม
Personal and Social (PS)
ยิ้มทักคนที่คุ้นเคย
วิธีการฝึกทักษะ
ยิ้มและพูดคุยกับเด็กเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กทุกครั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ดูแล 2. อุ้มเด็กไปหาคนที่คุ้นเคยเช่นปู่ย่าตายายพ่อแม่ผู้ปกครองยิ้มทักคนที่คุ้นเคยให้เด็กดู 3. พูดกระตุ้นให้เด็กทำตามเช่น“ ยิ้มให้คุณพ่อลูก”“ ยิ้มให้ลูก
วิธีการประเมิน
สังเกตขณะอยู่กับเด็กหรือถามพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กว่า“ เด็กยิ้มทักคนที่คุ้นเคยก่อนได้หรือไม่
การเจริญเติบโต
ทารกเพศหญิง อายุ 3 เดือน น้ำหนัก 5 กิโลกรัม
น้ำหนักตามอายุ : อายุ (เดือน) + 9/ 2 3+9/2 = 6 kg
ทารกเพศหญิง น้ำหนัก 5 kg จากการคำนวณภาวะโภชนาการ ถือว่ามีภาวะขาดสารอาหารระดับที่ 1
การดูแลที่บ้าน
การดูแลส่งเสริมเด็กกลุ่มอาการดาวน์
มีการดูแลครอบคลุมแบบองค์รวม (Holistic Care)
ควรได้รับวัคซีนตามกำหนดเหมือนเด็กทั่วไป
การกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะใช้วิธีการนวดตัว อาจใช้โลชั่นหรือน้ำมันมะกอกทาผิว เพื่อให้การนวดทำได้ง่าย การฝึกยกแขนขาขึ้นลงร่วมกับมีเพลงประกอบขณะฝึกและระมัดระวังขณะเคลื่อนไหวโดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ เนื่องจากเด็กจะมีปัญหากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และข้อต่อจะหลวมกว่าปกติ
การฝึกการมอง ดยจัดหาโมบายแขวนไว้ให้เด็กมอง
การหาสิ่งของมาให้เด็กดูโดยเลื่อนไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง อย่างช้าๆ
การดูแลภาวะปากแหว่ง (Cleft lip) เพดานโหว่ (Cleft palate)
เข้ารับการตรวจหูภายใน 6 เดือน
การดูแลแผลหลังผ่าตัด
สอนทำความสะอาดแผลผ่าตัดโดยใช้ไม้พันสาลีชุบ NSS และ เปลี่ยน sterile strips ใหม่ ยึดหลัก sterile technique
ใช้หลอดฉีดยาขนาด 10 cc หยดนมฝั่งที่ไม่มีช่องโหว่
การใช้แผ่นพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อปิดเพดานโหว่ (palate obturator) ก็ช่วยในการกินนมของทารก
ใช้ขวดนมที่สามารถบีบได้และมีจุกนมที่นิ่มและกว้างเพื่อลดการใช้แรงดูดและป้องกันการสำลักได้
4 อุ้มทารกในท่าศีรษะสูงเพื่อลดการสำลัก
การไล่ลม สามารถทำได้ทั้งท่าพาดบ่าและ ท่าน่ังควรให้นมแล้วเว้นเป็นระยะเพื่อไล่ลม เนื่องจากใน ขณะดูดนมริมฝีปากปิดได้ไม่สนิททำให้มีลมเข้าไปได้ มากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ทานนมได้น้อยลง
ภาวะโภชนาการ
การเก็บรักษานมแม่
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 25 °C เก็บได้ 4-6 ชั่วโมง ต้ัง
ทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 19-22 °C เก็บได้ 10 ชั่วโมง
กระติกน้ำแข็ง 15 °C เก็บได้ 24 ชั่วโมง
ตู้เย็นช่องธรรมดา 0-4 °C เก็บได้ 8 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดี่ยว เก็บได้ 2 เดือน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นสองประตู เก็บได้ 4-6 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัดตู้เย็นชนิดพิเศษ -19 °C เก็บได้ 6 เดือน
ถ้าจะแช่แข็งนมควรแช่ภายใน 1-2 วัน หลังปั๊ม ถ้านมละลายแล้วเก็บในตู้เย็นต่อไดีอีก 24 ชั่วโมง แต่ไม่ควรนำไปแช่ใหม่และต้องการใช้ภายใน 1 อาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องแช่แข็ง ก่อนนำนมแช่แข็งมาเลี้ยงทารกควรนำลงมาไว้ช่องธรรมดาก่อน ให้นมละลายแล้วจึงแช่ในน้ำอุ่นก่อนให้ทาน
นมแม่ เป็นอาหารที่เหมาะสมกับทารกแรกเกิดทุกราย มีสารอาหารและประโยชน์มากมาย นมแม่เป็นทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นสําหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต อีกทั้งช่วยปกป้องทารกจากหวัด โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร โรคติดเชื้ออื่นๆและโรคภูมิแพ้ และยังช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง และตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านความอบอุ่นและความรัก ดังนั้น อาจจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสมองด้วย
วิธีการปั๊มนมแม่ด้วยมือ
ล้างมือให้สะอาด
ประคบอุ่นบริเวณเต้านมประมาณ 3 ถึง 5 นาที นวดเบาเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลเวียน
วางนิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆห่างจากหัวนมประมาณ 2 ถึง 3 เซนติเมตร
แต่ให้อยู่ในแนวเดียวกับหัวนม ให้วางนิ้วไว้ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา และ 6 นาฬิกา
ออกแรงกดนิ้วลงไปยังหน้าอก หากเต้านมค่อน
ข้างใหญ่ให้ดึงเต้านมขึ้นก่อนแล้วค่อยกดลงไปยังหน้าอก
หมุนนิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆไปในทางเดียวกัน
พยายามดันให้นมออกมาแทนที่จะบีบออก ทำต่อเนื่องเป็นจังหวะ
หมุนมือไปรอบๆเต้านม เพื่อทำให้ตำแหน่งอื่นนิ่มลงด้วย วางมือไว้ที่ 12
และ 6 นาฬิกา หลังจากนั้น 2 และ 8 นาฬิกา และตามด้วย 10 และ 4 นาฬิกา
การรับวัคซีนตามช่วงวัย
วัคซีนที่ควรได้รับ
สำหรับทารก 4 เดือน
Diphtheria , Tetanus toxoids , Pertussis , Hepatitis B and Haemophilus influenza type b vaccine combined 2
(DTP-HB-Hib2)
Oral Poliomyelitis vaccine 2 (OPV2)
Inactivated poliomyelitis vaccine (IPV)
Rotavirus vaccine 2 (Rota2)
ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง และห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้ายในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์ *
สำหรับทารก 6 เดือน
Diphtheria , Tetanus toxoids , Pertussis , Hepatitis B and Haemophilus influenza type b vaccine combined 3
(DTP-HB-Hib 3)
Oral Poliomyelitis vaccine 3 (OPV3)
Rotavirus vaccine 3 (Rota3)
ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้ายในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์ และให้ยกเว้นการได้รับวัคซีนโรต้าครั้งที่ 3 ในเด็กที่ได้รับวัคซีน Rotarian มาแล้ว 2 ครั้ง *
การบริหารวัคซีน
Diphtheria , Tetanus toxoids , Pertussis , Hepatitis B and Haemophilus influenza type b vaccine combined (DTP-HB-Hib) : ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) 0.5 มิลลิลิตร หลังฉีดอาจเกิดปฏิกิริยาเฉพาะที่ คือ ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด เกิดขึ้นภายใน 3-4 ชั่วโมงหลังฉีดและเป็นนานไม่เกิน 2 วันหรืออาจจะพบอาการมีไข้ ร้องกวน ชัก ซึม คลื่นไส้ อาเจียน ตัวอ่อนปวกเปียก วัคซีนชนิดนี้จะไม่ให้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี
Oral Poliomyelitis vaccine (OPV) : ให้ทางปาก ขนาด 0.1-0.5 ml (2-3หยด) ปฏิกิริยาหรือผลข้างเคียงจากวัคซีน OPV พบน้อยมาก ซึ่งอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้ (พบ 1.4-3.4 ต่อล้าน dose) และห้าม ให้วัคซีน OPV แก่ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยาที่ทําให้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ห้ามให้แก่เด็กที่ใกล้ชิดคนใน บ้านมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันและไม่ให้วัคซีนขณะที่เด็กยังอยู่ในโรงพยาบาล
Rotavirus vaccine (Rota) : ให้โดยการรับประทานขนาด 1.5-2.0 มิลลิลิตร Dose แรก ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์และไม่เกินอายุ 15 สัปดาห์และห้ามให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบรุนแรงชนิด Severe combined immunodeficiency ปฏิกิริยาข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ ไข้ เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาเจียน งอแง
Inactivated poliomyelitis vaccine (IPV) : ให้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) 0.5 มิลลิลิตร เมื่ออายุ 4 เดือนเพียงครั้งเดียว เนื่องจากเป็นการรวมทั้ง Serotype 1,2 และ 3 ในเข็มเดียวกัน ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน คือ การพบปฏิกิริยาแพ้ยา Streptomycin , Neomycin , Polymyxin B
Vastus laterlis : เป็นตําแหน่งที่ใช้ฉีดวัคซีนให้กับเด็กทารกแรกเกิด ทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะเป็นกล้ามเนื้ออขนาดใหญ่และห่างจากเส้นประสาทและหลอดเลือดใหญ่ วัดโดยแบ่งกล้ามเนื้อต้นขาออกเป็น 3 ส่วน แล้วฉีดยาส่วนกลางหรือวางมือเหนือหัวเข่า 1 ฝ่ามือและต่ำจากปุ่มใหญ่ กระดูกโคนขา (Greater trochanter of femer) 1 ฝ่ามือ บริเวณที่ใช้ฉีด คือ บริเวณระหว่างฝ่ามือทั้งสองข้างของต้นขา ห้ามฉีดที่หน้าขาด้านใน เพราะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทผ่าน
คำแนะนำหลังฉีดวัคซีน
อาการเฉพาะที่ฉีดวัคซีน (Local reaction)
ไข้ : เป็นผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากวัคซีนหลายชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ DTP ซึ่งพบไข้สูง > 40.5 องศาเซลเซียส โดยที่เด็กมักจะมีไข้ภายใน 24 ชั่วโมงและมีไข้อยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงก็จะลดลงการให้ยาพาราเซตามอล จะช่วยลด ไข้ ลดอาการร้องกวนและป้องกันการชักได้ในเด็กที่เสี่ยงต่อการชักจากไข้สูง
ชัก : ภาวะชักหลังจากฉีดวัคซีนส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะชักจากไข้สูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน พบใน dose ที่3 หรือ 4 มากกว่า dose แรกและมักจะมีไข้ร่วม ไม่พบว่าการชักจากวัคซีนนี้มีผลต่อพัฒนาการหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง
ปฏิกิริยาอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ร้องกวน ซึม
ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย (System reaction)
การอักเสบเฉพาะที่ (local inflammation) ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน หรือ sterile abscess เกิดจากการฉีดวัค ชนิด inactivated ส่วนมากจะหายได้เอง หากมีอาการบวม แดง ประคบเย็นในวันแรก หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ ประคบอุ่น เพื่อลดอาการบวม แต่ถ้าเป็นฝีควรพบแพทย์ต้องอาจต้องให้ยาฆ่าเชื้อ
เลือดออก (Bleeding) : การมีเลือดออกตรงตําแหน่งที่ฉีดวัคซีน พบได้บ่อยมักเป็นช่วงสั้นๆทําให้หยุด โดยการกดเบาๆตรงตําแหน่งที่ฉีดวัคซีน
เจ็บปวด (Pain) : การใช้แรงกดตําแหน่งที่จะฉีดวัคซีนประมาณ 10 วินาทีก่อนการฉีดหรือการใช้ยาชาชนิดทา (เช่น 5% EMLATM) โดยให้ทาไว้ 30-60 นาทีก่อนฉีดวัคซีน พบว่าจะช่วยลดความเจ็บปวดและความเจ็บจากการฉีด วัคซีนได้ ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ช่วยลดความปวดความไม่สบายและลดไข้จากการฉีดวัคซีนได้
ปัญหาทางการพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัด พร้อมข้อมูลสนับสนุนเเละกิจกรรมการพยาบาลที่สอดคล้องกับการรักษา
พัฒนาการทุกด้านล่าช้า/ไม่เป็นไปตามวัย เนื่องจากมีความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด
ข้อมูลสนับสนุน
-Case Down Syndrome
เป้าหมายการพยาบาล
-ส่งเสริมให้ครอบครัวดูเเลเเละส่งเสริมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
เกณฑ์การประเมิน
-พ่อเเม่ดูเเลช่วยเหลือลูกได้ดี
การพยาบาลและการให้คำแนะนำตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลควรให้การดูแลและให้คำแนะนำแก่เด็กกลุ่มอาการดาวน์ตามบทบาทอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง ดังนี้
ประคับประคองเด็กและครอบครัว
1.1 ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการรักษาตั้งแต่วินิจฉัยได้
1.2 พูดคุยให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
ชักถามข้อสงสัย
1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญในการ
ช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำทางพันธุศาสตร์ เพื่อให้คลายความ
วิตกกังวลและยอมรับความผิด ปกติของบุตร และป้องกันการ
เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมซ้ำในครอบครัวที่มีประวัติ
หรือมีความเสี่ยง
ดูแลส่งเสริมและช่วยเหลือความผิดปกติเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ดังนี้ 2.1 ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ รวมถึงกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเป็นประจำทุกวัน สม่ำเสมอด้วยความใจเย็นและอดทน ฝึกทีละกิจกรรม: อาจมีกิจกรรมดนตรีและศิลปะเพื่อไม่ให้เด็กเครียดเกินไป: ให้กำลังใจ ชื่นชม หากพัฒนาการล่าช้าเกินอาจส่งต่อ
หน่วยงานเพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อไป โดยเฉพาะใน 5 ขวบปีแรกที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว: ฝึกการยกแขนขาขึ้นลงประกอบเพลง ในการกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้ออาจต้องระมัดระวังกล้ามเนื้อคอ เนื่องจากกล้ามเนื้อของเด็กไม่แข็งแรง ข้อต่อ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนคอ C1 และ C2 หลวมกว่าปกติ อาจต้องใช้การนวด ทาโลชันหรือน้ำมันมะกอกทาผิวเพื่อให้นวดได้ง่าย
2.2 ดูแลจัดท่านอนหัวสูง เปลี่ยนท่าเพื่อป้องกันการสำลักขณะและหลังดูดนม : ให้นมครั้งละน้อย บ่อยครั้ง
2.3 ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วน เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย2.4 ดูแลจัดการทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ :ทำความสะอาดช่องปากและฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
2.5 ดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของเด็ก กระตุ้น ให้กำลังใจครอบครัว
ในการทำกิจวัตรของเด็กและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้2.6 สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น การได้รับวัคซีนตามวัย อาหาร การเจริญเติบโต เป็นต้น
ก่อนผ่าตัด
เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากการสำลัก
ข้อมูลสนับสนุน :
O:ประวัติเป็น Cleft lip & palate
O:มาโรงพยาบาลด้วยสาลักนมบ่อยครั้ง
เป้าหมาย : ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เกณฑ์การประเมินผล : ไม่มีอาการและอาการแสดงของการการอุดกั้นทางเดินหายใจ/การสำลัก
-สัญญาณชีพปกติ
-อัตราการหายใจเท่ากับ 40-60/min เสียงปอดปกติ
-ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษปกติ
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงการอุดกั้นทางเดินหายใจ/การสำลัก
ประเมินสัญญาณชีพ
จัดท่านอนศีรษะสูงขณะให้นม เพื่อป้องกันการสำลัก
ดูแลให้ผู้ดูแลป้อนนมถูกวิธี ใช้จุกนมที่มีรูโต นิ่ม ยาวขึ้นวางตำแหน่งริมฝีปากที่ไม่มีรอยแหว่ง โดยป้อนครั้งละน้อยบ่อยครั้ง หรือทุก 3-4 ชั่วโมง
หากเด็กดูดไม่ได้ ใช้ช้อนหรือ syringe หยดในกระพุ้งแก้มด้านใน
ใส่เพดานเทียมเวลาดูดนม ในเด็กที่มีเพดานโหว่มาก โดยทำ ความสะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง เปลี่ยนเพดานปลอมทุก 2-3 เดือนหรือตามการเจริญเติบโตของเด็ก
จับทารกไล่ลมเป็นระยะทุก 15-30 นาที
ทำความสะอาดปากและฟันทุกครั้งหลังให้นมและเช็ดในช่องหูทุกครั้งที่อาบน้ำ
เตรียมลูกสูบยางแดงดูดเสมหะขณะเด็กสำลัก โดยจับเด็ก
ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
เสี่ยงต่อภาวะพร่องสารน้ำ สารอาหารและอิเล็คโตรไลท์ เนื่องจากการดูดกลืนผิดปกติ
ข้อมูลสนับสนุน O:สำลักนม
เป้าหมายการพยาบาล
ป้องกันภาวะพร่องสารน้ำ:สารอาหารและและอิเล็คโตรไลท์
เกณฑ์การประเมินผล :
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์
สัญญาณชีพปกติ
น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์อายุ
เด็กดูดกลืนได้ดีขึ้น ไม่สำลัก ไม่อาเจียน
กิจกรรมพยาบาล
-ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะพร่องสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์
ประเมินสัญญาณชีพชั่งน้ำหนักเด็กวันละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามน้ำหนักของเด็ก
ให้นมทารกอย่างถูกวิธี
หากทารกไม่สามารถรับนมได้ตามปกติ รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาใส่
สายให้อาหารทางปาก หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออกของเด็ก เพื่อประเมินการขาดน้ำของเด็ก
3.บิดา มารดา มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
-บิดามารดามีสีหน้าเคร่งเครียดหวั่นวิตกมารดาร้องไห้เมื่อมาเยี่ยมบุตรครั้งแรก
-บิดามารดาสอบถามอาการของบุตรแนวทางการรักษาและระยะเวลาการรักษาทุกครั้งที่มาเยี่ยมบุตร
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อลดความวิตกกังวลของมารดาบิดา
เกณฑ์การประเมิน
-มารดาบิดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น-ยอมรับฟังและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลและมาเยี่ยมบุตรสม่ำเสมอ
กิจกรรมพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบิดา มารดาด้วยความจริงใจ และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้บิดา มารดาเกิดความไว้วางใจ และเปิดโอกาสให้พูดคุยระบายความรู้สึกต่างๆ รวมทั้งยอมรับท่าทีและปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดหรือความวิตกกังวลที่ เกิดขึ้นและระมัดระวังคำพูดและกิริยาท่าทางที่ไม่สุภาพเพื่อช่วยให้บิดา มารดามี กำลังใจและเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของทารก
ประเมินความวิตกกังวลของบิดา มารดาและครอบครัวต่อความเจ็บป่วยและเหตุผลของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ประเมินความสามารถและความต้องการของบิดา มารดาในการทำกิจกรรมให้กับทารกพบมีความมั่นใจน้อยในการทำกิจกรรมให้ทารกและกลัวว่าทารกจะเจ็บปวด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารกที่ชัดเจนและถูกต้องตามความจำเป็นเกี่ยวกับอาการ สิ่งที่ทารกต้องประสบขณะรับการรักษาพยาบาลซึ่งความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้
หลีกเลี่ยงบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดี การทำให้ความวิตกกังวลของบิดามารดาเพิ่มขึ้นเช่น การใช้ศัพท์แพทย์ที่ไม่เข้าใจเพราะอาจเกิดจินตนาการที่ผิดได้
เป็นผู้ฟังที่ดีโดยให้บิดา มารดาได้ระบายกวามรู้สึกและความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการรักษาในโรงพยาบาล
ให้กำลังใจสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแล เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม
การเช็ดตัว ทำให้บิดา มารดารู้สึกว่าได้ทำทุกสิ่งเท่าที่สามารถจะทำได้ดีที่สุดแก่ทารก
ให้กำลังใจชมเชยเมื่อบิดา มารดาสามารถช่วยเหลือดูแลบุตร ได้ ความภาคภูมิใจจะช่วยให้บิดา มารดารู้สึกว่ามีคุณค่าในบทบาทของตนเอง
หลังการผ่าตัด
เสี่ยงต่อการเกิดแผลแยก/ติดเชื้อหลังผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
O : BT:38.8 C
O : แผลบวม
เป้าหมาย : - ป้องกันการเกิดแผลแยกและการติดเชื้อ
เกณฑ์การพยาบาล
แผลไม่แยก ไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
สัญญาณชีพปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกต ประเมินเเผลเเละvital signและบันทึกลงในใบบันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนใน ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งควรประเมินทุก 15 นาที 4 คร้ัง ทุก 30 นาที 2 คร้ัง ทุก 1 : ชั่วโมงจนอาการคงที่ หลังจากน้ัน ประเมินทุก 2 ชั่วโมงและ 4 ชั่วโมง
ผูกยึดข้อศอกเด็ก (elbow restraint) ไม่ให้งอ 2-6 สัปดาห์คลายออกทุก 1-2 ชั่วโมง นาน 10-15 นาที ป้องกันเด็กล้วงมือเข้าปากหรือถูกแผลผ่าตัด
ปลอบโยนระมัดระวังไม่ให้เด็กร้องไห้ หลีกเลี่ยงการทำให้เด็กหัวเราะหรือการนำสิ่งของเข้าปาก เพื่อป้องกันแผลดึงรั้ง
ทำความสะอาดแผลผ่าตัดโดยใช้ไม้พันสำลีชุบ NSS และเปลี่ยน sterile strips ใหม่ ยึดหลัก sterile technique
ป้อนนมอย่างระมัดระวังและถูกวิธี
หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ ป้องกันแผลเสียดสีกับที่นอน
งดใส่สาย suction หรือวัตถุเข้าปาก
ดูแลป้ายยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ปวดแผลผ่าตัดเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย/ไม่สุขสบายจากการปวดแผล
ข้อมูลสนับสนุน
-ได้รับการผ่าตัด
-ร้องกวน
เป้าหมาย : -เด็กสุขสบาย ปวดแผลผ่าตัดลดลง
เกณฑ์การประเมินผล : -เด็กบอกปวดแผลลดลง สีหน้าสุขสบายขึ้น พักผ่อนได้ ไม่ร้องกวน
กิจกรรมพยาบาล
ประเมิน pain score โดยใช้เครื่องมือ Neonatal Infant Pain Scale (NIPS)
ประเมินสัญญาณชีพ (vital sign) และบันทึกลงในใบบันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนใน ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งควรประเมินทุก 15 นาที 4 คร้ัง ทุก 30 นาที 2 คร้ัง ทุก 1 ชั่วโมงจนอาการคงที่ หลังจากน้ัน ประเมินทุก 2 ชั่วโมงและ 4 ชั่วโมง ข้ึนอยู่กับอาการของผู้ป่วยเด็ก
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ปลอบโยนเด็ก
บรรเทาอาการปวดด้วยวิธีใช้ยาและไม่ใช้ยาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย
ดูแลจัดท่านอน หรือจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับยาระงับความรู้สึก
ข้อมูลสนับสนุน O ได้รับการผ่าตัด Repair of cleft lip
เป้าหมาย : ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก
เกณฑ์การประเมินผล : -ไม่มีอาการและอาการแสดงของ ภาวะแทรกซ้อน
-สัญญาณชีพและ sedative score ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ (vital sign) และบันทึกลงในใบบันทึกสัญญาณชีพ เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนใน ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งควรประเมินทุก 15 นาที 4 คร้ัง ทุก 30 นาที 2 คร้ัง ทุก 1 ชั่วโมงจนอาการคงที่ หลังจากน้ัน ประเมินทุก 2 ชั่วโมงและ 4 ชั่วโมง ข้ึนอยู่กับอาการของผู้ป่วยเด็ก
ประเมินอาการผิดปกติของภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับยา ระงับความรู้สึก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน การสำลัก ระดับความรู้สึกตัวลดลง เป็นต้น
จัดท่านอนศีรษะสูง ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อระบาย เสมหะและสิ่งคัดหลั่งออกจากปาก
เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
4.ทารกมีความพร่องในปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาเนื่องจากถูกแยกจากบิดามารดาเพื่อการรักษา
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกมีภาวะเจ็บป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤตขณะอายุได้ 3 เดือน
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อให้ทารกมีปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์ในการประเมิน
บิดามารดาให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้บิดามารดาทราบถึง เหตุผลที่ต้องแยกทารกมาเพื่อสังเกตอาการ วิธีการให้การ ดูแล รักษาเป็นระยะ ตลอดจนอาการของทารกในแต่ละวัน เพื่อให้บิดามารดาคลายความวิตกกังวล
ส่งเสริมสัมพันธภาพสำหรับทารกและบิดามารดา เพื่อป้องกันการขาดการกระตุ้นสัมผัส
ส่งเสริมและกระตุ้นให้บิดามารดาเข้าเยี่ยมทารกสม่ำเสมอ
เปิดโอกาสให้บิดามารดาเข้าเยี่ยมทารกได้ตามเวลาและตามความเหมาะสม
แนะนำส่งเสริม สนับสนุนให้บิดามารดาสร้างสัมพันธภาพกับบุตร โดยการสัมผัส การอุ้ม พูดคุย กับทารก กระตุ้นทารกให้มองหน้าและ จ้องมองทารกทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ
ส่งเสริมให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลทารก เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม การเช็ดตัว
3.สนับสนุนให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง โดยนัดเวลามาให้นมตามเวลาและตามความเหมาะสม สอนวิธีบีบและเก็บน้ำนมใส่ขวดไว้ให้ทารก
สังเกตปฏิกิริยาการโต้ตอบของทารกเสมอ เพื่อการดูแลให้ทารกเกิดความพึงพอใจ และให้ การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล รวดเร็วทุกครั้ง
5.การวางแผนการจําหน่ายตามรูปแบบ D-METHOD
ข้อมูลสนับสนุน: เมื่ออาการของเด็กทารกแรกเกิดดีขึ้น สามารถกลับบ้านได้ เป้าหมายการพยาบาล : ทารกแรกเกิดอาการดีขึ้น สามารถกลับบ้านได้ เกณฑ์ในการประเมิน : - บิดาและมารดามีความเข้าใจในโรคที่บุตรเป็น - บิดาและมารดาสามารถบอกการดูแลและการปฏิบัติในการดูแลบุตรได้อย่างถูกต้อง- บิดามารดาเห็นความสําคัญในการมาพบแพทย์ตามนัด
1.D (Diagnosis) : ความรู้เกี่ยวกับโรค - ให้ความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคที่บุตรเป็นแก่ญาติ เน้นให้ญาติตระหนักถึงปัญหาและเพื่อให้ญาติเกิดการยอมรับและเข้าใจในการเจ็บป่วยของบุตร
2.M (Medication) : ความรู้เกี่ยวกับยายาที่ทารกได้รับขณะเข้ารักษาที่โรงพยาบาล คือยา Ceftriaxone
3.E (Environment & Economic) ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและเศรษฐกิจขณะรักษาในโรงพยาบาล จัดให้ทารกอยู่ในตู้อบ เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพทารก ได้ให้คําแนะนําบิดา มารดาเกี่ยวกับการปิด-เปิดตู้อบ การนําทารกออกจากตู้อบ และ ก่อนกลับบ้านได้ให้คําแนะนําดังนี้ - จัดให้ทารกอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกและสะอาด - จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของทารก - ควรดูแลของเครื่องใช้กับทารกให้สะอาดอยู่เสมอและจัดไม่ให้ปะปนกับของใช้ของบุคคลในครอบครัว มีการกําจัดขยะที่ถูกวิธี โดยการทิ้งในที่ที่เทศบาลจัดไว้ให้ (มารดามีบ้านอยู่ในเขตเทศบาล)เลย
T (Treatment) : รู้ปัญหาการรักษาและมีทักษะที่จําเป็นในการปฏิบัติตาม สามารถฝ้าระวัง สังเกตอาการ ของทารกได้ให้ข้อมูลกับบิดา มารดาถึงปัญหาแลภาวะสุขภาพของทารก แนวทางการรักษาและความ ก้าวหน้าของการรักษาในแต่ละวัน สอนทักษะที่จําป็นในการดูแลทารก เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม การเช็ดตัว การนําทารกออกจากตู้อบ และการให้นมแม่
คำเเนะนำการดูเเลทารก
การอาบน้ำเช็ดตัว สามารถอาบน้ำในกะละมังได้โดยใช้น้ำอุ่น ในที่ที่ไม่มีลมโกรก - ดูแลสะดือ ถ้าสะดือยังไม่หลุด เช็ดสะคือให้แห้งด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังอาบน้ำ ห้ามใช้แป้งหรือยาผงใดๆโรยสะดือ- อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์ มีดังนี้ ᆞ มีไข้สูง ซึมลง ชัก
ᆞ ไม่ดูดนม ท้องอืด อาเจียน ถ่ายอุจจาระบ่อย ᆞหายใจเร็ว หอบ หรือหายใจลําบาก ตัวเหลือง ถ้ามีปัญหาในการดูแลทารกมารคาสามารถโทรศัพท์มาขอคําปรึกษาได้ เพื่อทราบวิธีการดูแลเบื้องต้นที่บ้าน โดยติดต่องานกุมารเวชกรรมและคลินิกเด็กดี ต่อและถ้ามีปัญหาในการให้นมแม่สามารถขอคําปรึกษาได้ที่คลินิกนมแม่
H (Health) : ภาวะสุขภาพของทารก ควรดูแลให้ทารกเติบโตอย่างมีคุณภาพทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ
อารมณ์และสังคม โดยบิดามารดาดูแลเอาใจใส่ ให้ความรักความเข้าใจ สังเกตและส่งเสริมพัฒนาการ ของทารกตามวัย ตามคําแนะนําในสมุดบันทึกสุขภาพพร้อมกับมีการบันทึกเพื่อเป็นหลักฐาน
O (Outpatient referral) : ความสําคัญของการมาตรวจตามนัด แนะนํามารดาให้พาทารกมาตรวจสุขภาพและรับวัคซีนตามนัดเมื่ออายุครบ 1 เดือนแต่ถ้าไม่สามารถ มาได้ ให้ไปที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เช่น สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลชุมชน
D (Diet) : ความเข้าใจเรื่องอาหารของทารก แนะนําและส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองอย่างเดียว เป็นเวลา 6 เดือนหลังจากคลอด จากนั้นจึงเริ่มให้อาหารที่ต้องเคี้ยวหรืออาหารบด ส่วนนมแม่ก็ยังแนะนําให้เลี้ยงลูกไปอย่างต่อเนื่อง จนถึง อายุ 2 ขวบหรือมากกว่า คือเลี้ยงนมแม่ไปพร้อมๆกับอาหารปกติอื่นๆ มารดาสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ในสมุดบันทึกสุขภาพ
ตรวจพบความผิดปกติ
นาสาวสุนันทินี พาลี 62110432 sec 4 เลขที่ 27