Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อสอบแบบถูก-ผิด (true-false items) - Coggle Diagram
ข้อสอบแบบถูก-ผิด (true-false items)
เป็นข้อสอบที่ให้พิจารณาข้อความที่เป็นปัญหานั้นว่าถูกหรือผิดตามหลักวิชา โดยผู้ตอบต้องทำรหัสหรือเครื่องหมายลงที่ข้อความนั้น ๆ ตามที่โจทย์กำหนด เช่น ถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย เป็นต้น
วิธีการสร้างข้อสอบแบบถูก-ผิด
เขียนข้อสอบที่ต้องการจะถามให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า โดยข้อความที่ถามไม่ควรจะยากเกินไปนัก
ควรใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่คลุมเครือหรือกำกวม เพราะจะเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนทำข้อสอบผิด
หลีกเลี่ยงการใช้คำบางประเภทที่อาจเป็นการชี้แนะคำตอบได้ เช่น คำว่าทั้งหมด เสมอๆ ทุก ๆ ไม่มีเลย ฯลฯ คำประเภทนี้จะมีโอกาสทำให้ข้อความผิดมากกว่าถูก ส่วนคำว่า อาจจะ บางอย่าง บางครั้ง โดยทั่วไปคำประเภทนี้มีโอกาสที่จะทำให้ข้อความถูกมากกว่าผิด
พยายามใช้ข้อความที่แสดงปริมาณมากกว่าข้อความแสดงคุณภาพ เพราะการใช้คำว่า มาก น้อย ดี เลว เป็นสิ่งที่ตัดสินใจลำบาก
ข้อความแต่ละข้อควรถามประเด็นเดียว ไม่ใช่ว่าส่วนแรกผิดส่วนหลังถูกเพราะจะทำให้ลำบากในการตอบ
หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นคำสั่ง เพราะไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าถูกหรือผิด
หลีกเลี่ยงการใช้คำปฏิเสธซ้อน เพราะจะทำให้เด็กตีความลำบาก แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้คำปฏิเสธควรจะขีดเส้นใต้ด้วย
ในกรณีออกข้อสอบประเภทถูกผิดทั้งหมดควรสร้างคำถามให้มีจำนวนข้อมาก ๆ และควรวางตำแหน่งข้อถูก-ผิด สลับกันอย่างไม่มีระบบ เพื่อป้องกันการเดา
ควรกำหนดคะแนนไว้ในคำชี้แจงให้แน่นอน และไม่ควรหักคะแนนหรือติดลบข้อที่ทำผิด
ข้อดีของข้อสอบแบบถูก-ผิด
ตรวจง่าย รวดเร็ว ยุติธรรม มีความเป็นปรนัย
สามารถวัดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรู้ความจำได้ดี
สามารถสอบเนื้อหาวิชาได้มากกว่าข้อสอบแบบอื่นในเวลาที่เท่ากัน
สามารถพัฒนาเป็นแบบทดสอบเลือกตอบได้
ออกข้อสอบง่าย และได้จำนวนมากข้อ แต่ผู้สอบใช้เวลาทำน้อย
ข้อจำกัดของข้อสอบแบบถูก-ผิด
นักเรียนได้คะแนนเนื่องจากการเดามีค่อนข้างสูง เพราะเลือกจากหนึ่งในสองอย่าง
ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้ว่า สาเหตุที่นักเรียนทำข้อสอบผิดเนื่องมาจากอะไร
มีความเชื่อมั่นต่ำ ดังนั้นควรออกข้อสอบไม่น้อยกว่า 50 ข้อ
ส่วนมากวัดได้เฉพาะพฤติกรรมความรู้-ความจำ
ส่งเสริมการเรียนที่ไม่ดีแก่นักเรียน เพราะว่านักเรียนทำข้อสอบเพียงแค่ทำเครื่องหมายถูกผิดเท่านั้น
ตัวอย่างข้อสอบ
แบบที่ดี
.......ผู้ชนะสิบทิศเป็นบทประพันธ์ของสุนทรภู่
แบบที่ไม่ดี
.......ในสมัยกรุงสุโขทัยประเทศไทยทำสงครามกับพม่าบ่อย ๆ