Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
case กรณีศึกษา ผู้ป่วยวัณโรค(TB), จัดทำโดย นางสาวปัทมา พงศ์ไพบูลย์…
case กรณีศึกษา
ผู้ป่วยวัณโรค(TB)
ทฤษฎีสรีรวิทยา (Physiological Theory)
1.ทฤษฎีสะสมของเสีย (Waste Product Accumulation)
ผู้ป่วยมีความผิดปกติที่ตับ คือผู้ป่วยเป็น cirrhosis มีประวัติดื่มสุราทำให้การทำงานของตับไม่ดีและเมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของตับมีความเสื่อมลงร่างกายไม่สามารถขับโปรตีนที่เหลือจากการเผาผลาญอาหารได้ทำให้ไปสะสมที่ตับเพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยมีอาการแสดงคือตัวเหลือง
2 ทฤษฎีอนุมูลอิสระ(Free Radical Theory)
-ผู้ป่วยมีตกกระบริเวณใบหน้าและลำตัวและจากการตรวจร่างกายพบเลนส์ตาสีขาวมีสีหม่น
เกิดจากการกระตุ้นด้วยแสงแดดสะสม มาเป็นระยะเวลายายาวนาน ที่เรียกว่า Lentigo solaris หรือ Lentigo senilis คือมี เซลล์สร้างสีเพิ่มขึ้น และมีการยื่นยาวของส่วนล่างของหนังกำพร้า เข้าไปในชั้นหนังแท้และรังสีUV,ความเครียด จะมีการปล่อยฮอร์โมน ACTHซึ่งกระตุ้นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดสี (MSH) เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดกระ
ผู้ป่วยดื่มสุรา
สารอนุมูลอิสระ เป็นสิ่งที่เกิดหลังจากกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ออกซิเดชั่น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยจะเกิดในช่วงของกระบวนการเผาผลาญอาหาร กระบวนการดังกล่าวนี้จะทำให้ได้ออกซิเจนที่เป็นประจุลบ และจะไปรวมตัวกับสารอื่นในร่างกายของเราส่งผลให้เกิดเป็นสารพิษต่อร่างกาย ในภาวะปกติ ร่างกายจะมีการผลิตสารต้านอนุมูลอิสระออกมา แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เราอายุมากขึ้นและดื่มสุรามากเป็นระยะเวลานาน สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะค่อยๆลดลง ส่งผลทำให้เกิด รอยเหี่ยวย่นที่ผิวหนัง หรือ เกิดการอักเสบในร่างกาย
3 ทฤษฎีการเชื่อมไขว้ หรือทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-linkage theory)
ผู้ป่วยมีการหดตัวของผิวหนัง เหี่ยวย่น บริเวณใบหน้า แขนขา และมีไขมันเพิ่มขึ้นตามส่วนต่างๆร่างกาย
รอยเหี่ยวย่นในผู้สูงอายุ (แอคตินิค อีลาสโตสิส) เป็นการแก่ตัวของผิวหนังที่เกิดขึ้นก่อนวัย เกิดจากการเสื่อมสภาพของ เนื้อเยื่อยืดหยุ่นในชั้นผิวหนังแท้เนื่องจากการสัมผัสแสงอาทิตย์เป็นระยะเวลานาน ภาพแสดงผิวหนังแห้งอักเสบอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยมีผิวหนังบาง ผิวแห้ง บริเวณแขนขา
ภาวะผิวแห้ง (Dry skin หรือ Xerosis) เกิดขึ้นจากภาวะที่มีน้ำมันเคลือบผิวลดลง เกิดการสูญเสียน้ำในผิวหนัง ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น รวมทั้งต่อมไขมันผลิตน้ำมันลดลง ผิวหนังจะมีลักษณะแห้งเป็นขุยไม่เรียบเนียน ร่วมกับมีอาการคันได้ ในภาวะปกติร่างกายจะมีเกราะป้องกันผิวหนัง (skin barrier) เพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น
ทฤษฎีอวัยวะ(Organ Theory)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
ผู้ป่วยมีน้ำหนัก 54 กิโลกรัม ปัจจุบันมีน้ำหนัก 47 กิโลกรัม (น้ำหนักลดลง 7 กิโลกรัม)
ผู้ป่วยมีผมหงอก และ ข้อตามนิ้ว ข้อมือ กระดูกข้อใหญ่ขึ้น
ผู้ป่วยพูดว่า “ปวดบริเวณข้อเข่า”
ภาวะที่ข้อเกิดความผิดปกติเนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอย ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่มากขึ้น เรียกว่าข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ ถ้าหากว่า โรคข้อเข่าเสื่อมมีสาเหตุที่ผิดปกติที่เกิดกับข้อเข่ามาก่อน เช่น การอักเสบของข้อเข่าจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อ ไขข้ออักเสบ กระดูกหัก เป็นต้น แล้วทำให้ในเวลาต่อมาผิวข้อผิดปกติ และเกิดข้อเสื่อมตามมา ข้อเสื่อมชนิดนี้เรียกว่าข้อเสื่อมทุติยภูมิ
ทฤษฎีระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ(Neuroendocrine Theory )
ผู้ป่วยมีการรับรู้ และความคิดความจำเริ่มช้าลง จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งได้จากการประเมิน MMSE ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุได้คะแนนเท่ากับ 12 คะแนนซึ่งมีความเสื่อมซึ่งใน ด้าน orientation for time ได้ทั้งหมด 1 คะแนน ด้าน Recall ได้ 0 คะแนน ด้าน Repetitionได้ 0 คะแนน จึงมีปัญหาเรื่องของความจำและความคิดในสมองซีกขวาและการคิดเลขในสมองซีกซ้าย
ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality Theory)
ผู้ป่วยอาศัยอยู่กับภรรยาและมีลูกชาย 1 คน และหลานสาว 1 คน ผู้ป่วยมีความสุขที่อยู่ร่วมกับบุตรหลานและครอบครัวของตนเองและจากการสังเกตขณะซักประวัติและสอบถามพบว่าผู้ป่วยจะตอบได้เป็นประโยคและชอบพูดคุย จะมองหน้าผู้พูดตลอดเวลา
พัฒนาการชีวิตของอิริคสัน 8 ขั้นตอน
7) ขั้นการบำรุงส่งเสริม แย้งกับความพะวงหลงเฉพาะตน (Generativity and Self absorption) อายุช่วง40 - 50 ปี
จากกาารสอบถามพบว่าประกอบอาชีพโดยการทำเกษตรกรร่วมกับภรรยาขณะที่ทำจะมีรายได้ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและรายได้บางส่วนมาจากการจักสานต่างๆและได้จากลูกชายแต่ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากลูกมีครอบครัวที่ต้องดูแลเช่นกัน
8) ขั้นความมั่นคงทางใจ แย้งกับความสิ้นหวัง (Integrity and despair) อายุ 60 ปีขึ้นไป ความขัดแย้งทางจิตสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน
จากการสอบถามพบว่าผู้สูงอายุวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าใช้ต่างๆภายในบ้านเนื่องจากตนนั้นเดินไม่ได้และไม่สามารถประกอบอาชีพได้แบบเดิม รายได้ไม่เพียงพอ
5) ขั้นการพบอัตลักษณะแห่งตนเอง แย้งกับการไม่เข้าใจตนเอง (Identity and identity diffusion) อายุช่วง 12 - 20 ปี
ในช่วงอายุ 12-20 ปี ผู้ป่วยได้เริ่มทำนาตามบิดามารดา
ขั้นที่ 8 เป็นช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้น เป็นขั้นมองย้อนอดีตว่าสำเร็จ หรือล้มเหลว ถ้าบุคคลใดมองชีวิตว่าไม่มีความหมายเท่ากับชีวิตสิ้นหวังไม่ร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น แต่ถ้าบุคคลใดมองชีวิตว่ามีความหมาย ประสบความสำเร็จเท่ากับอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมสร้างสังคม
ผู้ป่วยบอกว่าสำหรับชีวิตที่ผ่านมาก็ได้ทำอะไรหลายอย่างแล้ว พอใจกับสิ่งที่ผ่าน ตอนนี้จึงไม่ได้คิดหรือคาดหวังอะไรต่อ
ทฤษฎีพัฒนาการของเพค(Peck’s developmental theory)
ขั้นที่ 6 Body transcendence and body preoccupation
ผู้ป่วยเข้าใจว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงๆในร่างกาย ทำให้ไม่ได้วิตกกังวล ละยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้
ขั้นที่ 5 Ego differentiation and work-role preoccupation
ผู้ป่วยพึงพอใจกับตัวเอง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าอยู่ตลอดเวลา
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity theory)
ผู้ป่วยบอกว่า “อยู่บ้านจะทำการจักรสานทั่วๆไป นำไปขายเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายภายในครอบครัว” ปัจจุบันผู้ป่วยได้หยุดทำงาน เนื่องจากลูกชายและภรรยาไม่ให้ทำงานให้อยู่ที่บ้าน เนื่องด้วยโรคประจำตัวและการเจ็บป่วยปัจจุบัน
ทฤษฎีบทบาท (Role Theory)
ผู้ป่วยยังคงมีบทบาทเช่นเดิมในครอบครัวเนื่องจากยังมีความรักใคร่กันดี
ทฤษฎีแยกตนเอง หรือทฤษฎีการถอยห่าง (Disengagement Theory)
ผู้ป่วยเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุก็ทำงานไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนแล้วต้องอยู่บ้าน ลูกหลานก็ไม่ให้ทำอะไร และมีโรคประจำตัว ปัจจุบันมารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity theory)
ปัจจุบันผู้ป่วยไม่ได้ประกอบอาชีพ และสำหรับชีวิตที่ผ่านมาก็ได้ทำอะไรหลายอย่างแล้ว พอใจกับสิ่งที่ผ่าน ตอนนี้จึงไม่ได้คิดหรือคาดหวังอะไรต่อ
จัดทำโดย
นางสาวปัทมา พงศ์ไพบูลย์ 61102301079
นางสาวนันธิดา หางาม 61102301062