Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกแรกเกิดเพศหญิง คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 35 Week, สมาชิก นางสาวยุวดี …
ทารกแรกเกิดเพศหญิง คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 35 Week
ปัญหาทางการพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
1. มีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เนื่องจากทารกมีผิวหนังสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกคลอดก่อนกำหนด (GA 35weeks)
ทารกมีพื้นที่ผิวกายสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
BT 36.4 ºC
วัตถุประสงค์ :
ป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
เกณฑ์การประเมิน
อุณหภูมิกายของทารกอยู่ ในเกณฑ์ปกติ(36.5-37.5 ºC)
ทารกไม่มีอาการแสดงของอุณหภูมิกายต่ำ เช่น ซึม
ตัวเย็น ตัวลาย หายใจเร็ว ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความรู้สึกตัวและสัญญาณชีพประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ
ประเมินติดตามภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เช่น T < 36.5ºC ทารกหายใจเร็วอัตราการเต้นของหัวใจเร็วตัวลายตัวเย็น ปลายมือปลายเท้าเขียว และซึม เป็นต้น
ดูแลทารกให้อยู่ในตู้อบ เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนด มีความสามารถที่จำกัดในการปรับอุณหภูมิกายให้คงที่ (homeothermia) ส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย(core bodytemperature) มีกานเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของ สิ่งแวดล้อม และศูนย์ควบคุมอุณหภูมิที่สมองยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ รวมทั้งมีพื้นที่ผิวกายกว้างเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวไขมันใต้ผิวหนังมีน้อยและมีการหลั่ง norepinephrineน้อย จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้คงที่
ดูแลทารกเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนจากร่างกายทั้งวิธีการนำ ความร้อนการพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน และการระเหย
3. เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อและขาดเลือดมาเลี้ยงเนื่องจากมีลำไส้ยื่นออกมานอกช่องท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกมีลำไส้ยื่นออกมานอกช่องท้อง (gastroschisis)
วัตถุประสงค์ :
เพื่อป้องกันทารกเกิดการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น ซึม หายใจหอบ ตัวเย็น อุณหภูมิกายต่ำหรือสูงผิดปกติ
ลำไส้ที่ยื่นออกมามีสีปกติ ไม่คล้ำและไม่บวม
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
BT 36.5-37.5 ºC
HR 140-160 ครั้ง/นาที
RR 40-60 ครั้ง/นาที
BP60/40-80/60 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ประเมินการอักเสบบวมคล้ำของลำไส้ที่ยื่นออกมา
ดูแลความสะอาดของลำไส้ และบริเวณช่องโหว่ของผนังหน้าท้อง
คลุมลำไส้ที่ยื่นออกมาด้วย Gauze ชุบ 0.9% NSS อุ่น
ประคองลำไส้ให้ตั้ง ไม่ให้ล้มพับ อาจใช้ Rolled Gauze พันรอบท้องและจัดลำไส้ที่ยื่นออกมาให้ตั้งตรง ไม่ให้ลำไส้เคลื่อนไปมาและไปกดทับ หรือป้องกันไม่ให้ลำไส้บิด เพื่อไม่ให้ลำไส้ขาดเลือดมาเลี้ยง (ischemia)
ใส่สายยางให้อาหารเพื่อดูดลมและของเหลวออกจากลำไส้เป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อลด แรงดันในช่องท้องและลดการคั่งของของเหลวที่จะเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา และ เฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา ดังนี้
Ampicillin อาการข้างเคียง : ผื่นคัน หายใจหรือกลืนอาหารลำบากหายใจเสียงหวีด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
Ceftriaxone อาการข้างเคียง : ปฏิกิริยาการแพ้ เช่น ผื่นลมพิษ คัน ไข้ และพิษต่อไต
2. เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและสารอาหาร เนื่องจากมีความผิดปกติของผนังหน้าท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกอยู่ระหว่างงดน้ำ งดอาหาร
ทารกมีลำไส้ยื่นออกมาทางหน้าท้อง
วัตถุประสงค์ :
เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและสารอาหาร
เกณฑ์การประเมิน
ทารกไม่มีอาการและอาการแสดงของการสูญเสียน้ำ (dehydration) เช่น ซึม ตัวเย็น ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ทารกน้ำหนักลดลงไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกเกิด
ปริมาณสารน้ำเข้าและออกสมดุล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะขาดสารน้ำและสารอาหารและ สัญญาณชีพ
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก (สารน้ำ ยา ปัสสาวะ และอุจจาระ)
ดูแลคลุมลำไส้ที่ยื่นออกทางหน้าท้องด้วยGauze ชุบ 0.9% NSS ที่อุ่น และเอาผ้า Gauzeแห้งวางทับให้หนา เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำแล้วพันด้วย Rolled Gauze รอบท้องให้แน่นพอสมควร เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
ดูแลให้สารน้ำและสารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ได้แก่ 10%D/N/5 IV drip 6 ml/hr,Total Parental Nutrition IV drip 6 ml/hr,20% SMOF 20 ml + Vitalipid 3 ml V drip
ชั่งน้ำหนักทุกวัน เวลาเดียวกันเพื่อติดตามการขาดน้ำ
4. บิดามารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
บิดามารดามีสีหน้าวิตกกังวล
มารดาสอบถามอาการและแนวทางการรักษา วิธีการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อน
ที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด
วัตถุประสงค์ :
เพื่อลดความวิตกกังวลของบิดาและมารดา
เกณฑ์การประเมิน
บิดา-มารดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น
บิดาและมาดาให้ความร่วมมือในการรักษาเป็นอย่างดี
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยสร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมให้ความช่วยเหลือและเปิดโอกาศให้ซักถาม พร้อมจัดให้พูดคุยกับกุมารแพทย์ที่ทำการรักษา ถึงอาการและแนวทางการรักษาพร้อมลงชื่อในเอกสาร
ให้ข้อมูลต่อบิดา-มารดา เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของทารก และแนวทางการรักษา รวมถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
ประเมินความวิตกกังวล เเละท่าทีต่างๆ โดยการสังเกตการแสดงออกของบิดา-มารดา
ให้กำลังใจและสนับสนุน ส่งเสริมให้บิดา-มารดามีส่วนร่วมในการดูแลทารก เช่น การป้อนนม การเปลี่ยนผ้าอ้อม เป็นต้น
หลังผ่าตัด
1.ประสิทธิภาพการหายใจลดลงจากความดันในช่องท้องที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการนำลำไส้กลับเข้าสู่ช่องท้อง
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกได้รับการผ่าตัดแก้ปัญหา Gastroschisis ด้วยวิธี Primary fascial closure
ทารกมีการหายใจแบบ mild retraction, HR 144 ครั้ง/นาที,RR 48 ครั้ง/นาที,BP 57/27 mmHg
เป้าหมายการพยาบาล
: เพื่อให้ทารกมีประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น
เกณฑ์การประเมิน :
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ในเกณฑ์ปกติ (95-100%)
กิจกรรมทางการพยาบาล :
ประเมินสัญญาณชีพและลักษณะการหายใจ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยใช้ เครื่องช่วยหายใจตามแผนการรักษาของแพทย์ เนื่องจาก การปิดหน้าท้องอาจมีผลทำให้กะบังลมเคลื่อนไหวไม่สะดวก รบกวนการหายใจ หรือเกิดความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น แล้วส่งผลทำให้การไหลเวียนเลือดกลับเข้าสู่หัวใจลดลง
ใส่สายให้อาหารเพื่อลดแรงดันภายใน กระเพาะอาหารและช่องท้อง
จัดให้นอนศีรษะสูง15-30องศา เพื่อช่วยให้กะบังลมหย่อนตัว เพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซ
จำกัดกิจกรรมเพื่อลดการทำงานของการหายใจและการทำงานของหัวใจ
3. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะAbdominal compartment syndrome เนื่องจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน :
ทารกได้รับการผ่าตัด Primary facial closure
เป้าหมายพยาบาล :
เพื่อป้องกันทารกไม่ให้เกิดอันตรายจากภาวะ abdominal compartment syndrome
เกณฑ์การประเมินผล :
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะ abdominal compartment syndrome ได้แก่ หายใจลำบาก ท้องอืด ขาเขียว และบวม
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
พบเสียงbowel sound อยู่ในเกณฑ์ปกติของทารก (1-2 ครั้ง/นาที)
กิจกรรมการพยาบาล :
ประเมินสัญญาณชีพ และการเคลื่อนไหวของ ลำไส้ สีของผิวหนัง เพื่อประเมินการที่อวัยวะในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง
ประเมินภาวะ abdominal compartment syndrome ได้แก่ หายใจลำบาก ท้องอืด เพราะลำไส้ที่ดันเข้าไป
ในช่องท้องอาจไปกดเส้นเลือดำใหญ่ (inferior vena cava) และไปดันกะบังลม ทำให้เกิดการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (circulatory collapse) เลือดไหลเวียนกลับไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดี และถ้าลำไส้ที่ดันเข้าไปไปกดเส้นเลือดอกที่ขาหนีบ (femoral vein) จะทำให้ขาเขียวและบวมได้
วัดและประเมินขนาดของหน้าท้องเพื่อติดตาม อาการบวมบริเวณท้อง
ประเมิน capillary refilled โดยควรน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 วินาที เพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยง อวัยวะส่วนปลาย และป้องกันอันตรายจากการเสียเลือด
นอนยกปลายเท้าขึ้นสูงกว่าหัวใจเล็กน้อยเพื่อให้เลือดไหลกลับเข้าหัวใจดีขึ้น
4. เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในร่างกายเนื่องจากมีแผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
: มีแผลผ่าตัด Primary facial closure บริเวณหน้าท้อง
เป้าหมายการพยาบาล
: ไม่เกิดภาวะติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
:
สัญญาณชีพปกติ
แผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องแห้งดี ไม่บวม ไม่แดง ไม่มีสาร
คัดหลั่ง (discharge) ซึม
ไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ เช่น อุณหภูมิร่างกายสูงจากเกณฑ์ปกติ ซึม ตัวเย็น รับนมไม่ได้ และท้องอืด
เป็นต้น
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ และการเคลื่อนไหวของ ลำไส้ สีของผิวหนัง เพื่อประเมินการที่อวัยวะในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ มีอาการซึม ตัวเย็น รับนมไม่ได้ บริเวณแผลผ่าตัดมีอาการบวม แดง ร้อน และมีสารคัดหลั่ง เป็นต้น
ให้การพยาบาลโดยยึดหลักสะอาด (aseptic technique)
ล้างมือครบ 7 ขั้นตอน ตามหลัก 5 moments ก่อนและหลังทำหัตถการ
ดูแลให้ได้รับยาปฎิชีวนะตามแผนการรักษาและเฝ้าระวังอาการข้างเคียงหลังให้ยา
Ampicillin อาการข้างเคียง : ผื่นคัน หายใจหรือกลืนอาหารลำบาก หายใจเสียงหวีด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
Ceftriaxone อาการข้างเคียง : ปฏิกิริยาการแพ้ เช่น ผื่นลมพิษ คัน ไข้ และพิษต่อไต
ติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะติดเชื้อ
2.เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและสารอาหารเนื่องจากลำไส้ยังไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
หลังผ่าตัดปิดผนังหน้าท้อง
ข้อมูลสนับสนุน :
ทารกได้รับการผ่าตัด Primary facial closure
วัตถุประสงค์การพยาบาล
: เพื่อให้ทารกได้รับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
เกณฑ์การประเมินผล :
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ วันละ 10-30 กรัม
มีเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ 1-2 คร้ัง/นาที
ท้องไม่อืด
ปัสสาวะมีปริมาณปกติ ไม่น้อยกว่า 0.50 cc/kg/hr.
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะขาดสารน้ำ สารอาหาร
บันทึกและประเมินปริมาณสมดุลของสารน้ำเข้า-ออก
ดูแลทารกให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารตาม แผนการรักษา ได้แก่ 10%D/N/5 IV drip 6 ml/hr,Total Parental Nutrition IV drip 6 ml/hr,20% SMOF 20 ml + Vitalipid 3 ml V drip
ติดตามการตอบสนองของทารกต่อการได้รับสารอาหาร เช่น อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด และเสียง การเคลื่อนไหวของลำไส้
ชั่งน้ำหนักทุกวันในเวลาเดียวกัน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
การตั้งครรภ์ขณะมีอายุต่ำกว่า 20 ปี
การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติด ขณะตั้งครรภ์
การกินยา NSAIDsขณะตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาส 1
Lateral fold ปิดไม่สมบูรณ์ทารกคลอดก่อนกำหนดที่ผนังหน้าท้องปิดไม่สมบูรณ์
umbilicalveinด้านขวาสลายตัวเร็วเกินไปทำให้ผนังหน้าท้องทารกอ่อนแอ
สำหรับทารกเคสนี้
อาจมีสาเหตุมาจากที่เเม่ตั้งครรภ์ขณะมีอายุน้อย และเเม่อาจดื่มแอลกอฮอล์ก่อนที่จะรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ จึงอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
พยาธิสภาพของความพิการแต่กำเนิด
เกิดจากหลอดเลือดดำที่สะดือ (umbilical vein) เส้นด้านขวาของทารก ในระยะตั้งครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 4 มีการเจริญเติบโตและสลายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเส้นเลือดบริเวณข้างเคียงไม่สามารถทำให้ เกิด collateral circulation มาเลี้ยงเนื้อเยื่อ mesenchyme ได้ทัน จะทำให้ผนังหน้าท้องด้านขวาของสายสะดือขาดเลือดไปเลี้ยง ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรงเกิดเป็นช่องโหว่ ลำไส้จึงหลุดออกมาอยู่ภายนอกช่องท้อง
Assesssment
ซักประวัติ
ประวัติการดื่มดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติด ขณะตั้งครรภ์
ประวัติโรคประจำตัว
ประวัติการใช้ยา ในขณะตั้งครรภ์
การรับประทานอาหารในขณะตั้งครรภ์
สิ่งแวดล้อมรอบตัว การได้รับรังสีหรือสารเคมี
ตรวจร่างกายและการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
อาการ Gastroschisisของทารกจะไม่แสดงความผิดปกติผ่านทางสุขภาพร่างกายของมารดาขณะตั้งครรภ์ แต่แพทย์อาจตรวจพบได้จากการตรวจเลือด โดยวัดจากระดับของโปรตีนที่ชื่อว่า อัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-fetoprotein, AFP) ในเลือดของมารดาในช่วงตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เพราะมารดาที่ตั้งครรภ์ และมีเด็กในท้องที่มีภาวะผนังหน้าท้องมีช่องโหว่จะมีระดับ alpha-fetoprotein สูงกว่ามารดาที่ตั้งครรภ์โดยทั่วไป (กานดามณี พานแสง, 2563, น. 38)
คำแนะนำในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
แนะนำให้ผู้ปกครองสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดหน้าท้อง (short bowel syndrome) เช่น อาการของกลุ่มลำไส้สั้น เช่น ปวดท้อง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และน้ำหนักลดเป็นต้น เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัด ลำไส้มีสีคล้ำ และเน่าตายจากการบิดตัวของลำไส้หรือการขาดเลือดไปเลี้ยง และมีท้องบวมแดง หรือมีไข้ ซึ่งต้องรีบมาพบแพทย์
แนะนำให้ผู้ปกครองสังเกตสี กลิ่น และลักษณะของอุจจาระที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ เช่น มีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน เป็นต้น
แนะนำการให้นมมารดาเนื่องจากน้ำนมมารดาเป็นประโยชน์ต่อทารก
แนะนำให้มาตรวจตามนัดและรับวัคซีนตามนัด
การรับวัคซีนตามวัย
1) BCG:Bacillus Calmette Guerin วัคซีนป้องกันวัณโรค
ชนิด : เชื้อเป็น
การบริหาร : ฉีดที่ Intradermal บริเวณdeltoid
(เด็กอายุ > 1 ปี ให้0.1 ml, เด็กอายุ < 1ปี ให้ 0.05 ml)
ปฏิกิริยาหลังการได้รับวัคซีน : ประมาณ 2-3 สัปดา์จะมีตุ่มแดงๆขึ้น หลัง 3-4 สัปดาห์การมารับวัคซีนตามนัดการพยาบาล แนะนำให้ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกให้เย็นลง เช็ดรอบๆซับให้แห้ง ห้ามใส่ยาที่หนอง
2) HBV: Hepatitis B Vaccine วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
ชนิด : เชื้อตาย
การบริหาร : ฉีดเข้าบริเวณหน้าขา 0.5 ml
(ให้วัคซีนครั้งแรกภายใน 24 ชม.หลังคลอด)
ปฏิกิริยาหลังการได้รับวัคซีน : บริเวณที่มีอาการบวม มีไข้ต่ำๆ อาการมักเริ่ม 3-4 ชม.หลังฉีดเป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชม. อาจเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรง คือ Anaphylaxis
การส่งเสริมพัฒนาการ และการเจริญเติบโต
แนะนำให้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับทารกอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกดีขึ้น ดังนี้
• การสัมผัส โดยใช้นิ้ว สัมผัสแขน ขา ลําตัว ซึ่งทารกจะตอบสนองโดยการจับมือและดึงผมของบิดามารดา
การสบตา ร่วมกับคําพูด การแสดงออกของสีหน้ายิ้มแย้ม พูดหยอกล้อ โดยทารกจะสนองตอบด้วยการ ยิ้ม ส่งเสียง และอัตราการเต้นของหัวใจแรงขึ้น
การเคลื่อนไหวตามจังหวะ เป็นการขยับส่วนต่างๆ ของร่างกายทารกเมื่อได้ยินหรือ สัมผัสกับเสียง ทารกจะตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายให้สัมพันธ์กับจังหวะเสียง
การใช้เสียง ด้วยน้ำเสียงของบิดามารดา จะกระตุ้นให้ทารกตื่นตัว โดยทารกตอบสนองด้วยการ หันไปตามเสียง
การให้ความอบอุ่นของร่างกาย การที่ทารกได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดบิดามารดา ซึ่งไออุ่นจากอุณหภูมิร่างกายของบิดา มารดาจะช่วยลดการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายของทารก
การส่งเสริมโภชนาการ
แนะนำให้มารดาดูแลทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวใน 6 เดือนแรก เพราะนมแม่จะทำให้ทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นเหมือนอยู่ในครรภ์ และได้รับภูมิคุ้มกันใกล้เคียงปกติเหมือนในช่วงที่อยู่ในครรภ์ ที่สำคัญนมแม่ย่อยง่าย ทารกคลอดกำหนดลำไส้จะยังเจริญไม่เต็มที่ นมแม่จึงสำคัญที่สุด
ให้นมสูตรพิเศษสำหรับเด็กเกิดกำหนด เพื่อให้น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ซึ่งเพิ่มสารอาหารโปรตีน ให้ทารกกินจนถึง 1 ปี
ให้วิตามินรวมและธาตุเหล็ก ให้กินเมื่อทารกอายุเกิน 2 สัปดาห์
แนะนำให้บุตร อมหัวนมอย่างถูกวิธี
Pretem จะต้องได้พลังงาน 120-150 cal/kg/day
เคสนี้น้ำหนัก 2kg จะได้ 2*120= 240cal/day
และ 2 คูณ 150 = 300 cal/day
ดังนั้น ทารกเคสนี้จะต้องได้พลังงาน 240-300cal/day
การพยาบาลที่สอดคล้องกับแผนการรักษา
10%D/N/5 IV drip 6 ml/hr.
สารน้ำ 10 %dextros normal saline ส่วน5 คือ น้ำตาล dextros ที่มีความเข้มข้น 10% ผสมกับน้ำเกลือธรรมดา ให้ทางหลอดเลือดดำ rate 6ml/HR
สรรพคุณ : รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะขาดน้ำ และภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
อาการข้างเคียง : เจ็บหรือปวดบริเวณที่ให้ อาจมีผื่นแดง มือ-เท้าบวม สับสน เวียนศีรษะ
10%D/N/5: 6 ml * 24 hr =144ml/day
สารน้ำ 100 ml มี 10 g
ถ้าสารน้ำ 144 ml จะได้ 14.4 g
D/N/5 1g ให้พลังงาน 4 kcal
ถ้าได้ 14.4 gให้พลังงาน 57.6 kcal
ดังนั้น ทารกได้รับพลังงานจาก10%D/N/5 ใน1 วัน เท่ากับ57.6 kcal
TPN IV drip 6 ml/hr.
TPN : Total Parental Nutrition คือการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำใหญ่ ซึ่งจะให้อาหารตามความต้องการทั้งจำนวนพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน ให้ทาง Central Parenteral Nutrition
Ceftriaxone (50MKD) 100 mg IV drip OD
กลุ่มยา :Cephalosporins
กลไกการออกฤทธิ์ : จับกับ penicillin binding protein (PBP) แล้ว ยับยั้งเอนไซด์transpepsidase ใน PBP ซึ่งเป็นเอนไซด์ที่ใช้ในการ cross-link สาย peptidoglycan ทำให้ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง : ปฏิกิริยาแพ้ เช่น ผื่นลมพิษ คัน ไข้ และมีพิษต่อไต
20% SMOF 20 ml + Vitalipid 3 ml v drip in 24 hr
SMOF lipid เป็นแหล่งของพลังงานและกรดไขมันจำเป็นรวมถึงกรดโอเมก้า3 ไขมัน
ข้อบ่งชี้ ป้องกันและรักษาการขาดดุลกรดไขมันที่จำเป็น
รวมถึงโอเมก้า3ไขมัน
ผลข้างเคียง ไข้เล็กน้อย หนาว ความอยากอาหารลดลง
Vitalipid เป็นสารเตรียมวิตามิน สารที่ใช้อยู่ วิตามินเอ วิตามินอี (tocopherol)
วิตามิน K1 (phytomenadion) วิตามิน D2
Ampicillin (100 MKdose) 200 mg IV q 12 hr.
กลุ่มยา : penicillin
กลไกการออกฤทธิ์ :จัดเป็นสารที่มี Beta-lactamsm ring เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ออกฤทธิ์โดยห้ามการสร้างผนังเซลล์ โดยจับกับ Penicillin-binding-protein ชนิด 1-3 ทำให้ไม่เกิด Transpeptidation จึงไม่มีการสร้าง Peptidoglycan ทำให้มี autolysis ทำให้เซลล์ แตก
อาการข้างเคียง : ผื่นคัน หายใจหรือกลืนอาหารลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ไม่สบายท้องท้องเสีย อาเจียน
สมาชิก
นางสาวยุวดี พงษ์จีน 62107867
นางสาวร๊อยมี หมัดหม๊ะ 62107990
นางสาวนูรเดียร์นา ดือราแม 62105143