Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกเพศหญิง : อายุ 3 เดือน น้ำหนัก 5kg, อ้างอิง, การเจริญเติบโต -…
ทารกเพศหญิง
: อายุ 3 เดือน
น้ำหนัก 5kg
Down Syndrome
สาเหตุ: chromosome คู่ที่ 21 เกิน (trisomy) ในการแบ่งเซลล์
พยาธิสรีรภาพ :เกิดจากการแบ่งเซลล์โครโมโซมมารดาในระยะ meiosis ไม่แยกตัว (nondisjunction) เรียกความผิดปกตินี้ว่า full trisomy หรือเกิดการสับเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครโมโซม
คู่ที่ 21 ไปเชื่อมติดตำแหน่ง centromere นอกจากนี้อาจเกิดจากบางเซลล์มีโครโมโซมเกิน บางเซลล์โครโมโซมปกติ ทำให้มีโครโมโซมได้ทั้ง 2 แบบในคนเดียวกัน โดยจะมีลักษณะคล้าย
กลุ่ม full trisomy แต่ระดับสติปัญญาและพัฒนาการดีกว่า
อาการเเละอาการเเสดง
กล้ามเนื้อมีความตึงตัวน้อย การเคลื่อนไหวแขนขาน้อย ลำตัวอ่อน อ่อนแรง รูปร่างเตี้ย
การดูดกลืน นมผิดปกติ
สติปัญญาตำ่ อยู่ระดับ 50-70 (intelligence quotient: IQ) บางรายอาจมีสติปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงปานกลาง
มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝาเท้าสั้น เส้นลายขวางฝ่ามือเส้นเดียว
การเจริญเติบโตล่าช้ากว่าเกณฑ์ปกติ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ แรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากการดูดกลืนนมไม่มีประสิทธิภาพ
ตาห่างและหางตาชี้ขึ้น ขอบหนังตาบนพับ ยื่นปิดหัว ตา ใบหูเล็กผิดปกติ จมูกเล็ก ด้ังแบนเพดานปากโค้งสูงและแคบ ลิ้นโตคับปาก ฟันขึ้นช้า คอสั้น
พัฒนาการด้านต่าง ๆ ล่าช้า ดังนี้
7.3 พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเองล่าช้าแต่ไม่รุนแรง พูดคุยไม่สบตา มีพฤติกรรมซ้า ๆ
7.4 พัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ล่าช้า
7.2 พัฒนาการด้านภาษาล่าช้า เนื่องจากระดับสติปัญญาและระบบประสาทที่ควบคุมการพูด และการใช้ภาษาผิดปกติ
เช่น ลิ้นโตคับปาก เพดานในช่องปากแคบและสูง ฟันขึ้นช้า
7.5 พัฒนาการทางเพศล่าช้า มีพัฒนาการทางเพศด้อยกว่าปกติ ในเพศหญิงบางรายอาจมีประจำเดือนและมีบุตรได้
7.1 พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวล่าช้า จากกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีความตึงตัวน้อย
ลักษณะศีรษะแบน (brachycephaly) ท้ายทอยแบน (flat occiput) ใบหน้าแบน
(mid facial hypoplasia)
การซักประวัติ การตรวจร่างกายและการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
การตรวจร่างกาย :
ประเมินสัญญาณชีพ: BT, PR(ความเเรง,จังหวะ) , RR(จังหวะ,การใช้กล้ามเนื้อในการช่วยหายใจ) BP
ดูconjunctiva , ดู sclera ดูการตอบสนองต่อเเสง ประเมินลานสายตา
ดูการเคลื่อนไหวของ Thyroid cricoid cartilage , Thyroid gland ตามจังหวะการกลืน
ฟังหลอดเลือดเเดงที่ carotid , ฟังต่อมThyroid
ฟังปอด bronchaial beath sound , bronchovesicular beath sound , vesicular
คลำTrachea , คลำทดสอบ chest expansion
-ทดสอบการได้ยิน
-ฟังbowel sounds
การส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
Hct , Hb , WBC , Neutrophils Lymphocytes , Monocytes ,Basophils , Eosinophils ,
Platelet count , pH , PO2 ,PCO2
ซักประวัติเพิ่มเติม
-อายุของมารดา กี่ปี
-มีประวัติการเป็น Down Syndrome เเละ cleft lip & clef palateในครอบครัว บ้างหรือไม่
-ขณะตั้งครรภ์มารดามีการดื่มสุรา หรือ รับประทานยาชนิดใดบ้าง
มีการได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์บ้างหรือไม่
-มารดารับประทานอาหารประเภทใดขณะตั้งครรภ์ ได้รับอาหารเสริมหรือไม่
-ใครเป็นผู้เลี้ยงดูทารกเป็นหลัก
-น้ำหนักเเรกคลอดทารก ความยาวลำตัว
-ประวัติการให้นมทารก ชนิดของนมที่ให้
-พัฒนาการของเด็ก
-การได้รับวัคซีนของเด็กที่ผ่านมา
ปัญหาทางการพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
ระยะหลังผ่าตัด
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเเผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน OD: แผลบวม, BT=38.3 °C
เป้าหมาย : ป้องกันการเกิดแผลแยกและการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมินผล
แผลไม่แยก ไม่มีอาการและอาการแสดง
ของการติดเชื้อ
สัญญาณชีพปกติ
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.สังเกต ประเมินแผล และสัญญาณชีพของเด็ก เพื่อสังเกตอาการเปลี่ยนเเปลง
2.ผูกยึดข้อศอกเด็ก (elbow restraint) ไม่ให้งอ 2-6สัปดาห์ คลายออกทุก 1-2 ชั่วโมง
นาน 10-15 นาที เพื่อป้องกันเด็กล้วงมือเข้าปากหรือถูกแผลผ่าตัด
3.ปลอบโยนระมัดระวังไม่ให้เด็กร้องไห้ หลีกเลี่ยงการทำให้เด็กหัวเราะหรือการนำสิ่งของเข้าปาก เพื่อป้องกันแผลดึงรั้ง
4.ทำความสะอาดแผลผ่าตัดโดยใช้ไม้พันสำลีชุบ NSS และเปลี่ยน sterile strips ใหม่ ยึดหลัก sterile technique
เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่เเผลผ่าตัด
5.หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ เพื่อป้องกันแผลเสียดสีกับที่นอน
6.งดใส่สาย suction หรือวัตถุเข้าปาก เเละ ป้อนนมอย่างระมัดระวังและถูกวิธีเพื่อป้องกันการสำลัก
7.ดูแลให้ยาปฏิชีวนะCeftriaxone 250 mg IV q 12 hr.
ปวดแผลผ่าตัดเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย
ข้อมูลสนับสนุน OD: เด็กร้องกวนตลอดเวลา
เป้าหมาย :
เด็กสุขสบายมากขึ้น
ปวดแผลผ่าตัดลดลง
เกณฑ์การประเมินผล : - เด็กบอกปวดแผลลดลง สีหน้าสุขสบายขึ้น พักผ่อนได้ ไม่ร้องกวน
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมิน pain score โดยเลือกเครื่องมือ CHEOP เพื่อประเมินความปวดของเด็ก เเละสามารถให้การรักษาได้
2.ประเมินสัญญาณชีพ RR PR เพื่อสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
3.ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ปลอบโยนเด็กเพื่อให้เด็กผ่อนคลายเเละลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น
4.บรรเทาอาการปวดด้วยวิธีใช้ยา Paracetamol syrup 1⁄2 tsp. oral prn q 4-6 hr.
เพื่อบรรเทาอาการปวด เเละ ติดตามผลข้างเคียงของยา
ระยะก่อนผ่าตัด
เสี่ยงต่อภาวะพร่องสารน้ำ สารอาหาร เเละอิเล็คโตรไลท์เนื่องจากมีปัญหาการดูดกลืน
ข้อมูลสนับสนุน : OD : น้ำหนัก5กิโลกรัม
เป้าหมาย : ป้องกันภาวะพร่องสารน้ำ สารอาหารและและอิเล็คโตรไลท์
เกณฑ์การประเมินผล
-ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์
สัญญาณชีพปกติ
น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์อายุ
เด็กดูดกลืนได้ดีขึ้น ไม่สำลัก ไม่อาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะพร่องสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ เพื่อสามารถสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงได้เเละสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประเมินสัญญาณชีพเพื่อสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
เเละ ชั่งน้ำหนักเด็กวันละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามน้ำหนักของเด็ก
3.ให้นมทารกอย่างถูกวิธีโดยป้อนด้วยช้อน หรือ syringe หากทารกไม่สามารถรับนมได้ตามปกติ รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาใส่สายให้อาหารทางปาก หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออกของเด็ก เพื่อประเมินการขาดน้ำของเด็ก
ผู้ดูแลวิตกกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก
ข้อมูลสนับสนุน SD: มารดาบอกว่า ไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์และไม่ได้ฝากครรภ์
เป้าหมาย : ผู้ดูแลวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
-ผู้ดูแลบอกว่าวิตกกังวลลดลง ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
-สีหน้าเเจ่มใสขึ้น
กิจกรรมทางการพยาบาล
ส่งเสริมให้ผู้ดูแลชักถามและระบายความรู้สึกเกี่ยวกับความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก
2.เปิดโอกาสให้ผู้ดูแลได้ดูภาพทารกที่ได้รับการผ่าตัดระยะก่อนและหลังผ่าตัด หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ดูแลทารกรายอื่น
3.ให้ผู้ดูแลได้สัมผัส โอบ กอด และดูแลทารก เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครอบครัว
1.การอุดกั้น ทางเดินหายใจ เนื่องจาก การสำลัก
เป้าหมาย
ป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ ไม่มีการอุดกั้น
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการและอาการแสดงของการอุดกั้น ทางเดินหายใจ การสำลัก
สัญญาณชีพปกติ
RR= 25-50 bpm
PR = 100-120 bpm
BP = 70-95/50-60 mmHg
เสียงหายใจ เสียงปอดปกติ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการ ตรวจพิเศษปกติ
ข้อมูลสนับสนุน
SD : มารดาบอกว่าสำลักนมบ่อยครั้ง หายใจเหนื่อย มีเสมหะปนนม
OD : แรกคลอดพบมีริมฝีปากด้านซ้ายแยกออกจากกันและมีรอยโหว่บริเวณเพดานปากด้านบน
กิจกรรการพยาบาล
หากเด็กดูดไม่ได้ ใช้ช้อนหรือ syringe หยดในกระพุ้งแก้มด้านใน
เตรียมลูกสูบยางแดงดูดเสมหะขณะเด็กสำลัก โดยจับเด็ก ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
ดูแลให้ผู้ดูแลป้อนนมถูกวิธี ใช้จุกนมที่มีรูโต นิ่ม ยาวขึ้น วางตำแหน่งริมฝีปากที่ไม่มีรอยแหว่ง
โดยป้อนครั้งละน้อย บ่อยครั้ง หรือทุก 3-4 ชั่วโมง
ใส่เพดานเทียมเวลาดูดนม ในเด็กที่มีเพดานโหว่มาก โดยทำ ความสะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง เปลี่ยนเพดานปลอมทุก 2-3 เดือนหรือตามการเจริญเติบโตของเด็ก
จัดท่านอนศีรษะสูงขณะให้นม เพื่อป้องกันการสำลัก
จับทารกไล่ลมเป็นระยะทุก 15-30 นาที
ประเมินสัญญาณชีพและบันทึกลงในใบบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ทำความสะอาดปากและฟันทุกครั้งหลังให้นมและเช็ดในช่องหู ทุกครั้งที่อาบน้ำ
ประเมินอาการและอาการแสดงการทางเดินหายใจอุดกั้น การสำลัก
4.ผู้ดูแลขาดความรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการดูแลรักษาเด็ก
ข้อมูลสนับสนุน SD:มารดาบอกว่ากังวลเกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็ก
เป้าหมาย :ผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลรักษาเด็ก
เกณฑ์การประเมินผล
-ผู้ดูแลบอกขั้นตอนการรักษาและวิธีการดูแลเด็กได้ถูกต้อง
-ผู้ดูแลให้ความร่วมมือในการดูแลเด็ก
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ความเข้าใจ และอธิบายเกี่ยวกับโรคและการดูแลรักษาเด็กเพื่อทำให้ผู้ดูเเลสามารถดูเเลทารกได้ถูกต้องตามวิธี
2.แนะนำการดูแลทารกที่ถูกวิธี ในเรื่องการให้นม การผูกแขนทารกไม่ให้เอามือเข้าปาก
3.เปิดโอกาสให้ชักถามข้อมูลที่ยังไม่เข้าใจพูดคุยให้กำลังใจแก่ผู้ดูแล เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ดูแลในการดูแลเด็ก
พัฒนาการทุกด้านล่าช้า/ไม่ เป็นไปตามวัย เนื่องจากมีความ ผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด
เป้าหมาย : -เด็กมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล : -เด็กสามารถมองตามสิ่งของได้
-เด็กสามารถเเสดงอารมณ์ตามได้ เช่น หัวเราะ
ยิ้ม ร้องไห้
กิจกรรมการพยาบาล
ประคับประคองเด็กและครอบครัว
1.1 ให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการรักษาตั้งแต่วินิจฉัยได้
1.2 พูดคุยให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ซักถามข้อสงสัย
1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำทางพันธุศาสตร์เพื่อให้คลายความวิตกกังวลและยอมรับความผิดปกติของบุตร และป้องกันการเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมซ้ำในครอบครัวที่มีประวัติหรือมีความเสี่ยง
ดูแลส่งเสริมและช่วยเหลือความผิดปกติเพื่อปูองกันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ดังนี้
2.1 ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ รวมถึงกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเป็น ประจำทุกวัน สม่ำเสมอด้วยความใจเย็นและอดทน ฝึกทีละกิจกรรม อาจมีกิจกรรมดนตรีและศิลปะเพื่อไม่ให้เด็กเครียดเกินไป ให้กำลังใจ ชื่นชม หากพัฒนาการล่าช้าเกินอาจส่งต่อหน่วยงานเพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลือ อย่างเหมาะสมต่อไป โดยเฉพาะใน 5 ขวบปีแรกที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กใน ระยะยาว : ฝึกการยกแขนขาขึ้นลงประกอบเพลง ในการกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้ออาจต้องระมัดระวัง กล้ามเนื้อคอ เนื่องจากกล้ามเนื้อของเด็กไม่แข็งแรง ข้อต่อ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนคอ C1 และ C2 หลวมกว่าปกติ อาจต้องใช้การนวด ทาโลชันหรือน้ำมันมะกอกทาผิวเพื่อให้นวดได้ง่าย
2.2 ดูแลจัดท่านอนหัวสูง เปลี่ยนท่าเพื่อป้องกันการสาลักขณะและหลังดูดนม: ให้นมครั้งละน้อย บ่อยครั้ง: กระตุ้นการดูดกลืนสม่ำเสมอ: ในเด็กที่รับประทานอาหารเสริมได้ ควรใช้ช้อนเล็ก ที่ตัวช้อนไม่ลึกมาก ด้ามยาวเพราะจะทาให้เข้าถึงด้านหลังและด้านข้างของช่องปากในเด็กที่มีลิ้นโตและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
2.3 ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย : หลีกเลี่ยงจาพวกแป้ง ไขมัน น้ำตาล เพราะอาจทาให้เกิดภาวะอ้วนตามมาได้
2.4 ดูแลจัดการทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ : ทาความสะอาดช่องปากและฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
2.5 ดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของเด็ก กระตุ้นให้กำลังใจครอบครัวในการทากิจวัตรของเด็กและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้
2.6 สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น การได้รับวัคซีนตามวัย อาหาร การเจริญเติบโต
ข้อมูลสนับสนุน
SD : มารดาไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์และไม่ได้ฝากครรภ์
OD : Known Case Down Syndrome
กิจกรรมการพยาบาลที่สอดคล้องกับแผนการรักษา
2G syrup 1.5 ml oral tid pc
ยา Glyceryl guaiacolate
กลุ่มยา
: ยาขับเสมหะ
กลไกการออกฤทธิ์
: guaifenesin ออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้น้ำหลั่งจากทางเดินหายใจมากขึ้น ทำให้เสมหะ
ข้อบ่งใช้
ยาขับและละลายเสมหะ
ขนาดที่ใช้
อายุ < 2 ปี 1 ซีซี-2.5 ซีซี วันละ3-4 คร้ัง หลังอาหาร
อายุ 2-5 ปี 1⁄2 - 1 ช้อนชาวันละ3-4 คร้ังไม่เกิน 600 มิลลิกรัม/วัน
Ceftriaxone 250 mg IV q 12 hr.
ยา ceftriaxone
กลุ่มยา:cephalosporin
กลไกการออกฤทธิ์
: ยับยั้งกระบวนการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง
: เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง,ท้องเสีย, thrombocytosis
ข้อบ่งชี้
: รักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง หูชั้นกลางอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคติดเชื้อที่ผิวหนังและใช้ในการป้องกันการติดเชื้อก่อนการผ่าตัด
ขนาดที่ใช้ในเด็ก
Ceftriaxone 50-100 mg / kg IV OD (Max 1500 mg / day) x 3-7 days
การคำนวน : Cef-3 ถ้าคิดตามน้ำหนัก 5kg
ยาที่ให้ได้อยู่ที่ 250 mg ใน24hr
ซึ่งในเคสนี้ให้ยา250 mg ทุก12hr ถือว่าน้องได้ยาในปริมาณ
ที่ไม่เหมาสม
On O2 cannula 3 LPM
NPO on 5% DN/5 500 ml IV 10 ml/hr.
5% DN/5 500 ml IV 10 ml/hr.
ใน5% มีdextroseที่เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวซึ่งเป็นเเหล่งของอิเล็กโทรไลต์ พลังงาน เเละ น้ำ ซึ่งเหมาะสมกับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ
-Paracetamol syrup 1⁄2 tsp. oral prn q 4-6 hr.
ยา Paracetamol
กลุ่มยา
: analgesics
กลไก
: ยับยั้งกระบวนการสร้าง prostaglandin ในระบบประสาทส่วนกลาง
ผลข้างเคียง
: คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เหงื่อออก ง่วงซึม สับสน ความดันต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ยากิน 10-15 มิลลิกรัมกิโลกรัม/ครั้ง
ไม่ควรเกิน 5 ครั้ง/วัน
เด็ก อายุ 0-6เดือน 1.5 ซีซี-1/2 ช้อนชา
(หนึ่งส่วนสี่-ครึ่ง ช้อนชา)
การรับวัคซีนตามช่วงวัย
วัคซีนที่ควรได้รับมาก่อนหน้านี้
แรกเกิด วัคซีนที่ให้คือ HB1(วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี),BCG(วัคซีนป้องกันวัณโรค)
1 เดือน วัคซีนที่ให้คือ HB2(วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี) * เฉพาะรายที่คลอดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
2 เดือน วัคซีนที่ให้คือ DTP-HB-Hib1(วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ) ,OPV1 (วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดรับประทาน),Rota1(วัคซีนโรต้า)
การนัดมารับวัคซีนครั้งต่อไป อายุ 4 เดือน
DTP-HB-Hib2(วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ)
ชนิดวัคซีน: เชื้อตาย
การเก็บรักษา:เก็บอุณหภูมิ 2- 8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง
การบริหารวัคซีน:ฉีดบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณหน้าขา 0.5 ml ในเด็กเล็ก
ปฏิกิริยาหลังได้รับวัคซีน: มีไข้ ร้องกวน และมีอาการบวมบริเวณที่ฉีดอาการ
มักเริ่ม 3- 4 ชั่วโมงหลังฉีด เป็นอยู่ไม่เกิน 2 วัน
คำแนะนำ: ถ้าบวมแดงมาก 24 ชั่วโมงแรกประคบด้วยน้ำเย็น หลังจากนั้นให้
ประคบด้วยน้ำอุ่น กรณีไข้สูงมากให้เช็ดตัวร่วมกับให้ยาลดไข้
OPV2(วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดรับประทาน)
ชนิดวัคซีน:วัคซีนชนิดหยอด เชื้อเป็น
การเก็บรักษา: วัคซีนที่ละลายแล้วเก็บในช่องแช่แข็งถ้าเปิดใช้แล้วใช้ให้หมดใน 1 วัน
การบริหารวัคซีน: ให้ทางปากขนาด 0.1-0.5 ml (2-3 หยด)
IPV(วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด)
ชนิดวัคซีน: เชื้อตาย
การเก็บรักษา: เก็บอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง
การบริหารวัคซีน:IPV ขนาด 1 dose ฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาด 0.5ml/ขวด
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน: มีความปลอดภัยสูงแต่อาจจะมีอาการแพ้ในเด็กที่แพ้ยา streptomycin,neomycin
Rota2(วัคซีนโรต้า)
ชนิดวัคซีน:เชื้อเป็น
การเก็บรักษา: ชนิดน้ำเก็บอุณหภูมิสองถึง 8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง
การบริหารวัคซีน: ให้ทางปากโด๊สเเรกควรให้อายุไม่เกิน 15 สัปดาห์และdoseสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ
ภาวะโภชนาการ = ทารกเพศหญิง อายุ 3 เดือน
เเทนสูตร (3)+9/2 =6kg
พลังงาน 6 kg คิด 600cal/kg/day
W/A =ที่วัดได้*100/ค่ามาตรฐาน
= 5 คูณ 100/6 = 83.3% (ขาดสารอาหารเล็กน้อย)
การส่งเสริมพัฒนาการ:
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กควรเน้นการนวดสัมผัสเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและแข็งแรง
เช่น การชันคอ การพลิกคว่ำหงาย การคืบ-คลาน การลุก-นั่ง การยืน-เดิน รวมถึงการใช้สายตามองวัตถุร่วมกับใช้มือหยิบวัตถุ
พัฒนาการด้านภาษาเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อปัญหาการได้ยิน ผู้ปกครองจึงควรกระตุ้นให้เด็กรับฟังเสียง
เพื่อฝึกให้เด็กสามารถหันหาเสียงในทิศทางต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและหมั่นสังเกตการฟังและภาษาพูดของเด็ก
พัฒนาการด้านอารมณ์-สังคมส่งเสริมการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยทำให้เด็กเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวดี รู้จักรอคอย รู้จักแบ่งปัน
พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง เช่น การถือขวดนม
5.การฝึกการมอง ในเด็กเล็กจะฝึกเช่นเดียวกับเด็กปกติ โดยจัดหาโมบายแขวนไว้ให้เด็กมอง การหาสิ่งของมาให้เด็กดูโดยเลื่อนไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง อย่างช้าๆ เมื่อเด็กโตขึ้นให้เด็กฝึกหยิบของ ใส่กล่อง โดยอาจหาของที่เด็กชอบมาเล่นร่วมกับเด็ก ผู้ฝึกจะเลื่อนกล่องไปมา
เพื่อให้เด็กฝึกมองหากล่องก่อนใส่ของเล่น
Cleft lip & Cleft palate
การผ่าตัด
Repair of cleft palate
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
:เพดานโหว่ รักษาโดยการผ่าตัดตกแต่งเพดานปาก เรียกว่า Repair of cleft palate หรือ Palatoplasty เพื่อให้ เพดานปากเจริญเติบโตเต็มที่ ระหว่างรอผ่าตัดจะทำการใส่เพดานเทียม ไว้ก่อน โดยจะเปลี่ยนขนาดทุก 1เดือน ส่วนใหญ่ทำเมื่ออายุ 12 - 18 เดือน ก่อนที่เด็กจะเริ่มหัดพูด หากผ่าตัดเร็วเกินไปจะเป็นอันตรายต่อรากฟัน หากทำช้าเกินไปเด็กจะพูดไม่ชัด หลังจากการผ่าตัดเป็นการฝึกพูดจาก
นักอรรถบำบัด (speech therapist) เมื่ออายุประมาณ 3 ปี
Repair of cleft lip
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
ปากแหว่ง รักษาโดยการผ่าตัดตกแต่งริมฝีปากเรียกว่า Repair of cleft lipโดยยึดหลัก
Rule of over ten
คือ เด็กอายุประมาณ 10 สัปดาห์ น้ำหนักมากกว่า 10 ปอนด์
และมี hemoglobin มากกว่า 10gm% มี WBC ต่ำกว่า 10,000
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพ :ในช่วงอายุครรภ์ 3-12 สัปดาห์จะเริ่มมีการสร้างเนื้อเยื่อของริมฝีปากและเจริญเป็นเพดานอ่อนและ เพดานแข็งอย่างสมบูรณ์
ในสัปดาห์ที่ 7-11 เมื่อเกิดความผิดปกติในระยะการแบ่งตัวนี้จะทำให้เนื้อเยื่อของริมฝีปากและเพดานไม่เชื่อมต่อกันจึงเกิดความพิการขึ้น
อาการเเละอาการเเสดง
อาการ : ทารกจะมีการดูดกลืนที่ผิดปกติ มีรูหรือรอยรั่ว อมหัวนมไม่แนบสนิท ทำให้มีลมรั่วและสำลักเข้าปอดได้ง่าย ท้องอืด พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจและหูชั้นกลาง จาก การสำลักผ่านไปยังหูช้ันกลางและ Eustachian tube มีปัญหาการได้ยินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดข้ึนหากไม่ได้รับการรักษา เด็กจะเลี้ยงไม่โต พูดไม่ชัด จมูกผิดรูป
สาเหตุ
สิ่งแวดล้อม (environment agents) จากการติดเชื้อหัดเยอรมันในมารดาขณะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก ขาดวิตามินและโฟเลท สูบบุหรี่
ดื่มสุรา ได้รับรังสี และได้รับยากันชัก Phenytoin
พันธุกรรม (heredity) ในครอบครัวที่มีสมาชิกฝ่ายบิดาหรือมารดามีประวัติเป็นปากแหว่งเพดานโหว่มีโอกาสเกิดถึงร้อยละ 60
คำแนะนำ
ในการป้อนนมป้อนนํ้าเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ จัดท่าเด็กในนอนเอนเล็กน้อยจนเกือบจะเป็นลักษณะนั่งตรง
ถ้าให้เด็กดูดนมแม่ ต้องคอยจัดให้ริมฝีปากเด็กแนบกับเต้านมแม่เพื่อให้ปิดรอยแหว่งที่ริมฝีปากมิด จะช่วยให้เด็กมีแรงดูดนมดีขึ้นและดูดลมเข้าไปน้อยลง
-ถ้าให้เด็กดูดนมจากขวด ให้ใช้หัวนมยางชนิดนิ่ม เจาะรูที่หัวนมยางให้รูใหญ่ขึ้นและมีจำนวนรูเพิ่มขึ้นอีก 3-4 รู อาจเลือกหัวนมยางชนิดมีแผ่นยางรอบๆคล้ายปีกก็ยิ่งดีเพราะจะช่วยอุดรอยแหว่งของปาก ขวดนมที่ใช้ควรเลือกแบบที่ป็นพลาสติกอ่อน เพื่อแม่จะช่วยบีบขวดให้น้ำนมไหลออกทางหัวนมยางได้
ถ้าป้อนนมเด็กโดยใช้ช้อนหรือกระบอกฉีดยาหรือหลอดที่ใช้สำหรับหยอดยา ให้เด็กนอนตัวเอนเล็กน้อย และตะแคงหน้า หยอดนํ้านมเข้าปากอย่างช้าๆ โดยหยอดตรงข้างลิ้นและกระพุ้งแก้ม เด็กจะค่อยๆ กลืนนํ้านมได้ การป้อนนมป้อนนํ้าเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ต้องใช้เวลา ป้อนช้าๆ โดยเว้นระยะและระวังการสำลัก ควรลูบหลังหรือตบหลังเด็กเบาๆ หรืออุ้มเด็กพาดบ่า
เพื่อให้เด็กเรอลมออกจากระเพาะอาหาร ทำเป็นระยะๆ ในระหว่างการป้อนนมแต่ละครั้ง
เด็กจะสบายขึ้นและไม่แน่นอืดท้อง
อ้างอิง
สิริกรานต์ สุทธิสมพร.(2564).การพยาบาลเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด.Children and Adolescent Nursing I.สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
นัยนันต์ จิตประพันธ์.(2557).การป้องกันและการดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้,1(3),1-15.
Hockenberry, M.J., Wilson, D., & Rogers, C. (2017). Wong’s Nursing Care of Infants and Children. (10th revised edition). United States: Elsevier.
การเจริญเติบโต