Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข - Coggle Diagram
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
สาเหตุที่ต้องมีบัญชียาหลักฯและระเบียบพัสดุในการจัดซื้อยา
• มีการใช้ยาเกินความจำเป็น การใช้ยาในปีหนึ่งๆมีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านบาท ทำให้ในแต่ละปีต้องสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศในการนำเข้ายาสำเร็จรูปและวัตถุดิบจำนวนมหาศาล
• การคัดเลือกยาที่มีความเหมาะสมบรรจุไว้ในบัญชียาหลัก คู่กับระเบียบการจัดซื้อยา และการทำความเข้าใจให้แพทย์ใช้ยาโดยอิงรายการยาในบัญชียาหลักฯก็เพื่อให้มีแบบแผนการใช้ยาที่สมเหตุผล ทำให้สามารถลดความฟุ่มเฟือยจากการใช้ยาลงได้
แนวคิดบัญชียาหลักแห่งชาติ
2.เภสัชตำรับโรงพยาบาล
• กระทรวงสาธารณสุขมีหลักการและแนวคิดในการจัดหาและเลือกสรรยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความประหยัดและความสะดวกในการบริหารเวชภัณฑ์
• “เภสัชตำรับโรงพยาบาล “ ต่อมาพัฒนาเป็น ““เภสัชตำรับกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2515” เพื่อเป็นแม่แบบในการจัดหาและคัดเลือกยาของโรงพยาบาล
3.บัญชียากระทรวงสาธารณสุข สู่บัญชียาหลักแห่งชาติไทย
• โดยยึดหลักการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศควบคู่กับหลักการขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้ “ยาหลัก” ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ หมายถึง ยาที่มีความสำคัญ เป็นยาพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของประชาขน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
• ได้ประกาศใช้”นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2524” และจัดทำบัญชียาแห่งชาติฉบับแรก เรียกว่า “บัญชียาจำเป็นแห่งชาติ พ.ศ. 2524”และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ
1.หลักการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก
• ทุกประเทศมีทรัพยากรอยู่จำกัด
• ทำให้เป็นภาระของประเทศในภาพรวมต่อการพัฒนาระบบยาในด้านต่างๆ (การประกันคุณภาพยา การจัดซื้อ จัดหา การบริหารเวชภัณฑ์ตลอดจนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล )
• ยาสำเร็จรูปจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก
• องค์การอนามัยโลกจึงนำหลักการยาจำเป็นมาใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ.2520และแนะนำให้ประเทศสมาชิกคัดเลือกรายการยาจำเป็นไว้
รายการบัญชียาหลักแห่งชาติประกอบด้วย
๑. บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข “บัญชียาสาหรับโรงพยาบาลและสถาบริการสาธารณสุข” หมายความว่ารายการยาแผนปัจจุบันสำหรับใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข ตามภาคผนวก ๑ ซึ่งประกอบด้วยบัญชีย่อย ๕ บัญชี ได้แก่ บัญชี ก บัญชี ข บัญชี ค บัญชี ง และบัญชี จ รวมทั้งรายการยาเภสัชตำรับโรงพยาบาล ตามภาคผนวก ๒
บัญชี ก
หมายความว่า รายการยามาตรฐานที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนการใช้ มีประสบการณ์การใช้ในประเทศไทยอย่างพอเพียงและเป็นยาที่ควรได้รับการเลือกใช้เป็นอันดับแรกตามข้อบ่งใช้ของยานั้น
บัญชี ข
หมายความว่า รายการยาที่ใช้สาหรับข้อบ่งใช้หรือโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชี ก ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล หรือใช้เป็นยาแทนยาในบัญชี ก ตามความจำเป็น
บัญชี ค
หมายความว่า รายการยาที่ต้องใช้ในโรคเฉพาะทางโดยผู้ชำนาญ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ
บัญชี ง
หมายความว่า รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบางข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือเป็นยาที่มีราคาแพง จำเป็นสาหรับผู้ป่วยบางราย แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง การสั่งใช้ยาให้สมเหตุผล คุ้มค่า สมประโยชน์ สถานพยาบาลจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
บัญชี จ
หมายความว่า รายการยาสำหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีงบประมาณ วัตถุประสงค์วิธีการดำเนินโครงการ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการที่ชัดเจน มีการกำหนดวิธีการใช้และแนวทางในการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นระยะตามความเหมาะสมและเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยมีการคำนวณผลกระทบระยะยาวต่อประเทศในกรณีที่โครงการมีการขยายผล เพื่อพิจารณาจัดเข้าประเภทของบัญชีย่อยอื่นในบัญชียาหลักต่อไปเมื่อมีข้อมูลเพียงพอรายการยาสาหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ ให้เข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผลคุ้มค่าและยั่งยืน ซึ่งมีการจัดกลไกกลางเป็นพิเศษในกำกับการใช้ยาภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกันของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งดูแลโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางกากับการใช้ยาตามภาคผนวก ๓
๒. บัญชียาจากสมุนไพร
“เภสัชตำรับโรงพยาบาล”
หมายความว่า รายการยาที่โรงพยาบาลสามารถผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตำรับของโรงพยาบาล ที่เป็นรายการยาตามที่ระบุในภาคผนวก ๑หรือภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก ๔
บัญชียาจากสมุนไพร่
หมายความว่า รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ และยาพัฒนาจากสมุนไพร ซึ่งมีตัวยาในสูตรตารับ และรายละเอียดตามภาคผนวก ๔ โดยมีรายการยาจากสมุนไพรที่แนบรายการเภสัชตารับโรงพยาบาลรวมอยู่แล้ว
บัญชียาหลักแห่งชาติ
• คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
• ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา
• ครอบคลุมยาที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
• นำไปใช้เป็นกรอบอ้างอิงสิทธิประโยชน์ด้านยาของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย ผู้ป่วยประกันสังคม ผู้ป่วยประกันสุขภาพ)
• กรอบอ้างอิงในระเบียบ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารเวชภัณฑ์ และสวัสดิการรักษาพยาบาลของประเทศ
แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยาในบัญชียาหลักฯ
3.ยาต้องมีทะเบียนตำรับยาในประเทศไทยเว้นแต่เป็นยาที่ได้รับการยกเว้นตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติยา หรือเป็นเวชภัณฑ์ซึ่งควบคุม กำกับโดยกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.ยาที่มีการผลิตในประเทศ ควรได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรม
2.ยาต้องมีข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบันมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
5.ตำรับยาควรเป็นยาเดี่ยว หากจำเป็นต้องเป็นยาผสม ต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้
1.ยาต้องมีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน
ยาหลัก(ยาจำเป็น, essential drug)
• ตอบสนองความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่สำคัญของประชากรของประเทศ
ทางวิชาการที่เพียงพอ ราคาเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลและชุมขน
• สามารถใช้ได้ตามบริบทของระบบสาธารณสุขของประเทศตลอดเวลา
• เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับประเทศ
• มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าของราคา
• หลักการการใช้ยามีความยืดหยุ่น และปรับได้กับหลายๆสถานการณ์
• มีปริมาณที่เพียงพอ ขนาดยาที่เหมาะสม มีคุณภาพและข้อมูลหลักฐาน