Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข - Coggle Diagram
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
แนวคิดในการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ
หลักการยจำาเป็นขององค์การอนามัยโลก
เภสัชตำรับโรงพยาบาล
บัญชียากระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์การพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
ให้การพิจารณาคัดเลือกยา กระทำโดยใช้หลักฐานวิชาการ มีหลักเกณฑ์ที่สามารถอธิบายชี้แจง และทำการเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้
ให้บัญชียาหลักฯได้รับการปรับปรุงเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องและทันสมัย
ให้ปัญหาสุขภาพของคนไทยได้รับการแก้ไขด้วยยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิผล เกิดภราดรภาพ และความเสมอภาพ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ ประหยัดและคุ้มค่า
รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ
บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข
บัญชี ก : ยามาตรฐานที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย หลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนการใช้ในประเทศไทยอย่างพอเพียง เป็นยาที่ควรได้รับการเลือกใช้เป็นอันดับแรก
บัญชี ข : รายการยาที่ใช้สำหรับข้อบ่งใช้ หรือโรคบางชนิดที่ใช้ยาใน บัญชี ก ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล หรือใช้เป็นยาแทนยาในบัญชี ก ตามความจำเป็น
บัญชี ค : รายการยาที่ต้องใช้ในโรคเฉพาะทางโดยผู้ชำนาญ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ
บัญชี ง : รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบาง ข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือเป็นยาที่มีราคาแพง จำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางราย แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง การสั่งใช้ยาให้สมเหตุผล คุ้มค่า สมประโยชน์ สถานพยาบาลจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
บัญชี จ
บัญชี จ(๑) รายการยาสาหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีงบประมาณ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินโครงการ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการที่ชัดเจน
บัญชี จ(๒) รายการยาสาหรับผู้ป่วยที่มีความจ าเป็นเฉพาะ ให้เข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผลคุ้มค่า ซึ่งมีการจัดกลไกกลางเป็นพิเศษในก ากับการใช้ยาภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกัน ของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งดูแลโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ส านักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ
เภสัชตำรับโรงพยาบาล : รายการยาที่โรงพยาบาลสามารถผลิตขึ้นใช้ ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชต ารับของโรงพยาบาล
บัญชียาจากสมุนไพร
รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ และยา พัฒนาจากสมุนไพร ซึ่งมีตัวยาในสูตรตารับ
การแสดงชื่อสามัญทางยา(generic name) และ รูปแบบยา (dosage form)
ส่วนใหญ่ชื่อสามัญทางยาจะแสดงด้วยชื่อ International Nonproprietary Name (INN)
ในกรณียาชนิดนั้นไม่มีชื่อ INN ให้ใช้ชื่ออื่นแทน เช่น British Approved Names (BAN) , United States Approved Name (USAN) เป็นต้น
ยาทุกรายการหมายถึงยาที่มีสารออกฤทธิ์ 1 ชนิด
รูปแบบยาที่แสดงในบัญชี หมายถึง รูปแบบยาทั่วไป ที่มิได้มีการพัฒนา รูปแบบการบริหารยาเป็นพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ
ตัวอย่างรูปแบบที่มีการพัฒนารูปแบบยาเป็นพิเศษ เช่น ยาเตรียมสาหรับ ออกฤทธิ์นานทุกชนิด vaginal tablet, rectal suppository, sublingual tablet, enteric coated tablet, effervescent tablet, orodispersible tablet, microspheres suspension for injection เป็นต้น
ตัวอย่างการจำเพาะเจาะจงรูปแบบยาบางชนิด เช่น Ibuprofen film coated tablet หมายถึงยาเม็ด ibuprofen ชนิด เคลือบฟิล์ม
ในกรณีเป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาลจะระบุอักษร “hosp” ไว้ในวงเล็บ ท้ายรูปแบบยา เช่น sol (hosp)
คำจำกัดความรูปแบบยาที่สำคัญ
tab / cap หมายถึง ยาเม็ด หรือแคปซูล แบบ immediate release (IR) สำหรับกินทั่วไป
SR tab / cap หมายถึง ยาเม็ดหรือแคปซูลสำหรับรับประทานที่เป็นยาออกฤทธิ์นานทุกชนิด
EC tab / cap หมายถึง ยาเม็ดหรือแคปซูล สำหรับรับประทานที่ออกแบบให้ตัวยาละลายในลำไส้
dry syrup หมายถึง ผงแห้งของส่วนผสมตัวยาหรือสารเคมี ที่ต้องเติม น้ำกระสายยาที่เหมาะสมก่อนใช้จึงจะได้ยาน้ำเชื่อมตามต้องการ
syrup หมายถึง ยาน้ำใสหรือยาน้ำแขวนตะกอนที่มีส่วนประกอบของสาร เพิ่มความหวานเพื่อกลบรสขมของยา ตัวอย่างสารให้ความหวานที่ใช้ในตำรับ
eye drop หมายถึง ยาเตรียมปราศจากเชื้อสำหรับหยอดตา
sterile solution หมายถึง ยาปราศจากเชื้อในรูปแบบของสารละลาย สาหรับฉีด หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือยาชะล้างแผล
ข้อกำหนดเฉพาะของรายการยาที่สำคัญ
ความแรง ยาบางรายการที่ระบุความแรงของสารออกฤทธิ์ไว้ ให้ถือว่ารายการยาที่มีความแรงตามที่ กำหนดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น โดยแสดงรายละเอียดเฉพาะของความแรงยาไว้ในวงเล็บท้าย รูปแบบยา
ขนาดบรรจุ ยาบางรายการที่ระบุขนาดบรรจุไว้ อาทิ ยากลุ่ม สารทึบ รังสี(contrast media)เป็นต้น ให้ถือว่ายาที่มีขนาด บรรจุตามที่กำหนดเท่านั้นเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
เงื่อนไข
3.1 เงื่อนไขการสั่งใช้ยา บัญชียาหลักแห่งชาติเป็นมาตรการหนึ่งในระบบยาแห่งชาติในการส่งเสริม การใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนอย่างสมเหตุผล
3.2 การระบุเงื่อนไขการสั่งใช้ยา มีหลักการเพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงยาโดยมีการใช้ยาอย่างอย่างสม เหตุผล โดยยาในบัญชี ก และ ข ยาในบัญชี ค และ ง ควรมีการระบุเงื่อนไขทุกรายการ
ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ของรายการยา
คำเตือน และข้อควรระวัง ระบุในกรณีซึ่งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มี ความสำคัญ โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจน