Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 Known Case Down Syndrome with Cleft lip & Cleft…
กรณีศึกษาที่ 1
Known Case Down Syndrome
with Cleft lip & Cleft palate
2.3 ปัญหาการพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
พร้อมข้อมูลสนับสนุนและกิจกรรมการพยาบาล
5.การให้คำแนะนำในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งเรื่องการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การ
ส่งเสริมพัฒนาการ การรับวัคซีนตามช่วงวัย การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ
การรับวัคซีนตามช่วงวัย
วัคซีนที่ควรได้รับ
สําหรับทารก 4 เดือน
• Diphtheria, Tetanus toxoids, Pertussis, Hepatitis B and Haemophilus influenza type b vaccine combined 2 (DTP-HB Hib 2)
• Oral Poliomyelitis vaccine 2 (OPV2)
• Inactivated poliomyelitis vaccine (IPV)
• Rotavirus vaccine 2 (Rota2)
•ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็มพร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้งและห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้ายในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์ *
สําหรับทารก 6 เดือน
• Diphtheria, Tetanus toxoids, Pertussis, Hepatitis B and Haemophilus influenza type b vaccine combined 3 (DTP-HB Hib 3)
• Oral Poliomyelitis vaccine 3 (OPV3)
• Rotavirus vaccine 3 (Rota3)
•ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้ายในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์และให้ยกเว้นการได้รับวัคซีนโรต้าครั้งที่ 3 ในเด็กที่ได้รับวัคซีน Rotarian มาแล้ว 2 ครั้ง *
การบริหารวัคซีน
Oral Poliomyelitis vaccine (OPV): ให้ทางปากขนาด 0.1-0.5 ml (2 3 หยด) ปฏิกิริยาหรือผลข้างเคียงจากวัคซีน OPV พบน้อยมากซึ่งอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้ (พบ 1.4-3.4 ต่อล้าน dose) และห้ามให้วัคซีน OPV แก่ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยาที่ทำให้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องห้ามให้แก่เด็กที่ใกล้ชิดคนในบ้านมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันและไม่ให้วัคซีนขณะที่เด็กยังอยู่ในโรงพยาบาล
Rotavirus vaccine (Rota): ให้โดยการรับประทานขนาด 1.5-2.0 มิลลิลิตร Dose แรกตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์และไม่เกินอายุ 15 สัปดาห์และห้ามให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบรุนแรงชนิด Severe combined immunodeficiency ปฏิกิริยาข้างเคียงที่อาจพบได้คือไข้เบื่ออาหารท้องเสียอาเจียนงอแง
Inactivated poliomyelitis vaccine (IPV): ให้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) 0.5 มิลลิลิตรเมื่ออายุ 4 เดือนเพียงครั้งเดียวเนื่องจากเป็นการรวมทั้ง Serotype 1,2 และ 3 ในเข็มเดียวกันปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีนคือการพบปฏิกิริยาแพ้ยา Streptomycin, Neomycin, Polymyxin B
Vastus laterlis: เป็นตำแหน่งที่ใช้ฉีดวัคซีนให้กับเด็กทารกแรกเกิดทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปีเพราะเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่และห่างจากเส้นประสาทและหลอดเลือดใหญ่วัดโดยแบ่งกล้ามเนื้อต้นขาออกเป็น 3 ส่วนแล้วฉีดยาส่วนกลางหรือวางมือเหนือหัวเข่า 1 ฝ่ามือและตี๋าจากปุ่มใหญ่กระดูกโคนขา (Greater trochanter of femer) 1 ฝ่ามือบริเวณที่ใช้ฉีดคือบริเวณระหว่างฝ่ามือทั้งสองข้างของต้นขาห้ามฉีดที่หน้าขาด้านในเพราะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทผ่าน
Diphtheria, Tetanus toxoids, Pertussis, Hepatitis B and Haemophilus influenza type b vaccine combined (DTP-HB-Hib): ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) 0.5 มิลลิลิตรหลังฉีดอาจเกิดปฏิกิริยาเฉพาะที่คือปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดเกิดขึ้นภายใน 3-4 ชั่วโมงหลังฉีดและเป็นนานไม่เกิน 2 วันหรืออาจจะพบอาการมีไข้ร้องกวนชักซึมคลื่นไส้อาเจียนตัวอ่อนปวกเปียกวัคซีนชนิดนี้จะไม่ให้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี
คำแนะนำหลังฉีดวัคซีน
ปฏิกิริยาทั่วร่างกาย (System reaction)
ไข้: เป็นผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากวัคซีนหลายชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ DTP ซึ่งพบไข้สูง> 40.5 องศาเซลเซียสโดยที่เต็กมักจะมีใช้ภายใน 24 ชั่วโมงและมีไข้อยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงก็จะลดลงการให้ยาพาราเซตามอลจะช่วยลดไข้ลดอาการร้องกวนและป้องกันการชักได้ในเด็กที่เสี่ยงต่อการชักจากไข้สูง
ชัก: ภาวะชักหลังจากฉีดวัคซีนส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะชักจากไข้สูงซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีนพบใน dose ที่ 3 หรือ 4 มากกว่า dose แรกและมักจะมีไข้ร่วมไม่พบว่าการชักจากวัคซีนนี้มีผลต่อพัฒนาการหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง
ปฏิกิริยาอื่น ๆ ได้แก่ คลื่นไส้ ,อาเจียน,ร้องกวน,ซึม
อาการเฉพาะที่ฉีดวัคซีน (Local reaction)
การอักเสบเฉพาะที่ (local inflammation) ได้แก่ ปวดบวมแดงร้อนหรือ sterile abscess เกิดจากการฉีดวัคชนิด inactivated ส่วนมากจะหายได้เองหากมีอาการบวมแดงประคบเย็นในวันแรกหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวม แต่ถ้าเป็นฝีควรพบแพทย์ต้องอาจต้องให้ยาฆ่าเชื้อ
เลือดออก (Bleeding): การมีเลือดออกตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนพบได้บ่อยมักเป็นช่วงสั้น ๆ ทำให้หยุดโดยการกดเบา ๆ ตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน
เจ็บปวด (Pain): การใช้แรงกดตำแหน่งที่จะฉีดวัคซีนประมาณ 10 วินาทีก่อนการฉีดหรือการใช้ยาชาชนิดทา (เช่น 5% EMLATM) โดยให้ทาไว้ 30-60 นาทีก่อนฉีดวัคซีนพบว่าจะช่วยลดความเจ็บปวดและความเจ็บจากการฉีดวัคซีนได้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลช่วยลดความปวดความไม่สบายและลดไข้จากการฉีดวัคซีนได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
Gross motor (GM)
ท่านอนคว่ำยกศีรษะและอกพ้นพื้น
วิธีการประเมิน:
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำบนพื้นราบ
เขย่ากรุงกริ่งด้านหน้าเด็กเพื่อให้เด็กสนใจแล้วเคลื่อนขึ้นด้านบนกระตุ้นให้เด็กมองตาม
วิธีการฝึกทักษะ
ฝึกเพิ่มเติมโดยใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กสนใจ
ใช้หน้าและเสียงของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพูดคุยกับเด็กตรงหน้าเด็กเมื่อเด็กมองตามค่อย ๆ เคลื่อนหน้าพ่อแม่ผู้ปกครอง
หรือผู้ดูแลเด็กขึ้นด้านบนเพื่อให้เด็กสนใจยกศีรษะโดยมีมือยันพื้นไว้แขนเหยียดตรงและหน้าอกพ้นพื้น
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำข้อศอกงอ
Fine Motor (FM)
มองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่เป็นมุม 180 องศา
วิธีการประเมิน
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงาย
ถือลูกบอลผ้าสีแดงห่างจากหน้าเด็ก
กระตุ้นเด็กให้มองที่ลูกบอลผ้าสีแดง
เคลื่อนลูกบอลตามผ้าสีแดงเป็นแนวโค้งไปทางด้านขวาหรือด้านซ้ายของเด็กอย่างช้า ๆ แล้วเคลื่อนกลับมาทางด้านตรงข้ามให้โอกาสประเมิน 3 ครั้ง
วิธีการฝึกทักษะ
จัดเด็กอยู่ในท่านอนหงายโดยศีรษะเด็กอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัว
ก้มหน้าให้อยู่ใกล้ ๆ เด็กห่างจากหน้าเด็กประมาณ 30 ซม (1 ไม้บรรทัด)
เรียกชื่อเด็กเพื่อกระตุ้นเด็กให้สนใจจ้องมองจากนั้นเคลื่อนหน้าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอย่างช้า ๆ เป็นแนวโค้งไปทางด้านซ้าย
ทำซ้ำโดยเปลี่ยนเป็นเคลื่อนหน้าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กจากทางด้านซ้ายไปด้านขวา
ถ้าเด็กยังไม่มองตามให้ช่วยประคองหน้าเด็กเพื่อให้หันหน้ามามองตาม
ฝึกเพิ่มเติมโดยใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสกระตุ้นให้เด็กสนใจและมองตาม
Receptive Language (RL)
หันตามเสียงได้
วิธีการประเมิน
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายหรืออุ้มนั่งตักหันหน้าออกจากผู้ประเมิน
เขย่ากรุงกริ่งด้านซ้ายและขวาของตัวเด็กทีละข้างโดยห่างประมาณ 60 ซมและไม่ให้เด็กเห็น
วิธีการฝึกทักษะ
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนหงายหรืออุ้มเด็กนั่งบนตักโดยหันหน้าออกจากพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก
เขย่าของเล่นให้เด็กดู
เขย่าของเล่นทางด้านข้างห่างจากเด็กประมาณ 30 – 45 ซม. และรอให้เด็กหันมาทางของเล่นที่มีเสียง
จากนั้นให้พูดคุยและยิ้มกับเด็กถ้าเด็กไม่หันมามองของเล่นให้ประคองหน้าเด็กเพื่อให้ทันตามเสียงค่อย ๆ เพิ่มระยะห่างจนถึง 60 ซม
Expressive Language (EL) :
ทําเสียงสูง ๆ ต่ำๆ เพื่อแสดงความรู้สึก
วิธีการประเมิน
ในระหว่างที่ประเมินสังเกตว่าเด็กส่งเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ได้หรือไม่หรือถามพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก
วิธีการฝึกทักษะ
มองสบตาเด็กและพูดด้วยเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เล่นหัวเราะกับเด็กหรือสัมผัสจุดต่าง ๆ ของร่างกายเด็กเช่นใช้นิ้วสัมผัสเบา ๆ ที่ฝ่าเท้าท้องเอวหรือใช้จมูกสัมผัสหน้าผากแก้มจมูกปากและท้องเด็กโดยการสัมผัสแต่ละครั้งควรมีจังหวะหนักเบาแตกต่างกันไป
Personal and Social (PS)
ยิ้มทักคนที่คุ้นเคย
วิธีการประเมิน
สังเกตขณะอยู่กับเด็กหรือถามพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กว่าเด็กยิ้มทักคนที่คุ้นเคยก่อนได้หรือไม่
วิธีการฝึกทักษะ
ยิ้มและพูดคุยกับเด็กเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กทุกครั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ดูแล
อุ้มเด็กไปหาคนที่คุ้นเคยเช่นปู่ย่าตายายพ่อแม่ผู้ปกครองยิ้มทักคนที่คุ้นเคยให้เด็กดู
พูดกระตุ้นให้เด็กทำตามเช่น“ ยิ้มให้คุณพ่อลูก” ยิ้มให้ลูก
ภาวะโภชนาการ
นมแม่ เป็นอาหารที่เหมาะสมกับทารกแรกเกิดทุกรายมีสารอาหารและประโยชน์มากมายนมแม่เป็นทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นสำหรับทารกในช่วง 6เดือนแรกของชีวิต อีกทั้งช่วยปกป้องทารกจากหวัดโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร โรคติดเชื้ออื่นๆและโรคภูมิแพ้และยังช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงและตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านความอบอุ่นและความรัก ดังนั้นอาจจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสมองด้วย
วิธีการปั๊มนมแม่ด้วยมือ
ล้างมือให้สะอาด
ประคบอุ่นบริเวณเต้านมประมาณ 3 ถึง 5 นาที นวดเบาเบาๆเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลเวียน
วางนิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆห่างจากหัวนมประมาณ 2 ถึง 3 เซนติเมตร แต่ให้อยู่ในแนวเดียวกับหัวนม ให้วางนิ้วไว้ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา และ 6 นาฬิกา
4.ออกแรงกดนิ้วลงไปยังหน้าอกหากเต้านมค่อนข้างใหญ่ให้ดึงเต้านมขึ้นก่อนแล้วค่อยกดลงไปยังหน้าอก
5.หมุนนิ้วโป้งและนิ้วอื่นๆไปในทางเดียวกันพยายามดันให้นมออกมาแทนที่จะบีบออก ทำต่อเนื่องเป็นจังหวะ
6.หมุนมือไปรอบๆเต้านม เพื่อทำให้ตำแหน่งอื่นนิ่มลงด้วย วางมือไว้ที่ 12 และ 6 นาฬิกา หลังจากนั้น 2 และ 8 นาฬิกาและตามด้วย 10 และ 4 นาฬิกา
การเก็บรักษานมแม่
1.ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เก็บได้ 4-6 ชั่วโมง ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 19 - 22 องศาเซลเซียส เก็บได้ 10 ชั่วโมง
กระติกน้ำแข็ง 15 องศาเซลเซียส เก็บได้ 24 ชั่วโมง
ตู้เย็นช่องธรรมดา 0 - 4 องศาเซลเซียสเก็บได้ 8 วัน
4.ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดี่ยว เก็บได้ 2 เดือน
5.ช่องแช่แข็งตู้เย็นสองประตู เก็บได้ 4-6 เดือน
6.ช่องแช่แข็งเย็นจัดตู้เย็นชนิดพิเศษ -19 องศาเซลเซียส เก็บได้ 6 เดือน ถ้าจะแช่แข็งนมควรแช่ภายใน 1-2 วัน หลังปั๊มถ้านมละลายแล้วเก็บในตู้เย็นต่อได้อีก 24 ชั่วโมง แต่ไม่ควรนำไปแช่ใหม่และต้องการใช้ภายใน 1 อาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องแช่แข็งก่อนนำนมแช่แข็งมาเลี้ยงทารกควรนำลงมาไว้ช่องธรรมดาก่อนให้นมละลายแล้วจึงแช่ในน้ำอุ่นก่อนให้ทาน
การเจริญเติบโต
ทารกเพศหญิง อายุ 3 เดือน น้ำหนัก 5 กิโลกรัม
น้ำหนักตามอายุ : (อายุ(เดือน) + 9)/2
= 12/2
= 6 กิโลกรัม
จากกรณีศึกษาทารกเพศหญิงน้ำหนัก 5 กิโลกรัม
จากการคำนวณโภชนาการถือว่ามีภาวะขาดสารอาหาร ระดับ1
การดูแลที่บ้าน
การดูแลส่งเสริมเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Dowe Syndrome )
มีการดูแลครอบคลุมแบบองค์รวม (Holistic Care)
ควรได้รับวัคซีนตามกำหนดเหมือนเด็กทั่วไป
การกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะใช้วิธีการนวดตัวอาจใช้โลชั่นหรือน้ำมันมะกอกทาผิว เพื่อให้การนวดทำได้ง่าย การฝึกยกแขนขาขึ้นลงร่วมกับมีเพลงประกอบขณะฝึกและระมัดระวังขณะเคลื่อนไหวโดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ เนื่องจากเด็กจะมีปัญหากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และข้อต่อจะหลวมกว่าปกติ
การฝึกการมอง โดยจัดหาโมบายแขวนไว้ให้เด็กมอง การหาสิ่งของมาให้เด็กดูโดยเลื่อนไปทางช้าย ขวา บน ล่าง อย่างช้าๆ
1.ปัญหากล้ามเนื้ออ่อนเเรงและตัวอ่อนปวกเปียก
-ดูแลจัดท่านอนศรีษะสูงและให้นมทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการสูดสำลักนมขณะและหลังดูดนม
-ดูแลป้องกันอาการท้องผูก โดยเพิ่มอาหารประเภทน้ำและมีเส้นใยให้เด็กรับประทาน -นวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความเเข็งเเรง
2.ปัญหาลิ้นโต
-กระตุ้นการดูดกลืนอย่างสม่ำเสมอ ป้อนอาหารเสริมด้วยช้อนเล็กเเต่มีด้ามถือยาว ตัวช้อนไม่ลึกมาก ขณะป้อนอาหารให้เด็ก ป้อนอาหารให้ถึงด้านหลังและด้านข้างของช่องปาก
3.ปัญหาติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
-ดูแลดูดเสมหะให้เมื่อมีเสมหะ
-ทำความสะอาดช่องปากและฟันทุกครั้งภายหลังให้นม
-การล้างมืออย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งขณะอยู่ที่บ้านและโรงพยาบาล
4.ปัญหาพัฒนาการล่าช้า
-ประเมิน ติดตามและส่งเสริม/กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กกลุ่มนี้ โดยเน้นการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการตั้งเเต่เเรกเริ่ม
การกระตุ้นพัฒนาการจะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพได้อย่างชัดเจนและให้ผลดีที่สุด หากไม่ทำในช่วงอายุ 2เดือนถึง 2ปีแรกของชีวิต หรือไม่ควรเกิน 5ปีแรก จะส่งผลที่ดีต่อความสามารถทางด้านการเรียนรู้และปรับตัว
ในระยะยาว
การดูแลภาวะปากแหว่ง (Cleft lip) เพดานโหว่ (Cleft palate)
เข้ารับการตรวจหูภายใน 6 เดือน
การให้นม
1.ใช้หลอดฉีดยาขนาด 10 cc หยดนมฝั่งที่ไม่มีช่องโหว่
2.การใช้แผ่นพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อปิดเพดานโหว่ (palate obturator) ก็ช่วยในการกินนมของทารก
3.ใช้ขวดนมที่สามารถบีบได้และมีจุกนมที่นิ่มและกว้างเพื่อลดการใช้แรงดูดและป้องกันการสำลักได้
4.อุ้มทารกในท่าศีรษะสูงเพื่อลดการสำลัก
5.การไล่ลม สามารถทำได้ทั้งท่าพาดบ่าและท่านั่งควรให้นมแล้วเว้นเป็นระยะเพื่อไล่ลม เนื่องจากในขณะดูดนมริมฝีปากปิดได้ไม่สนิททำให้มีลมเข้าไปได้ มากกว่าปกติซึ่งจะทำให้ทานนมได้น้อยลง
การดูแลความสะอาดช่องปากและเพดานเทียม
-วิธีการถอด ใส่ และระยะเวลาในการใส่ ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
-การทำความสะอาดควรถอดออกมาทำความสะอาดวันละ 1-2ครั้ง โดยใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันขจัดคราบนมที่ติดบนเพดานเทียมออก
-ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆเช็ดบริเณสันเหงือ ลิ้น กระพุ้งแก้ม หลังอาหารทุกมื้อ
อ้างอิง
สิริกรานต์ สุทธิสมพร. (2564). การพยาบาลเด็กที่มีความพิการ
แต่กำเนิด. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์. นครศรีธรรมราช
พัสตราภรณ์ แก้วพะวงค์. (2564). การพยาบาลเด็กที่มีความพิการ
เเต่กำเนิด. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์. นครศรีธรรมราช
อุษาษ์ โถหินัง. (2017). บทบาทพยาบาลในการดูเเลเด็กปากแหว่ง
เพดานโหว่โดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. บทความวิจัย.
สืบค้นจาก: www.he02.tic-ThaiIjo.com.
สุภาพร ชินชัย, ปิยะวัมน์ ตรีวิทยา และเพื่อนใจ รัตตาการ. (2017). ปัญหาการรับประทานอาหารและการรักษาในเด็กที่มีภาวะ
ปากแหว่งเพดาโหว่. บทความวิจัย. สืบค้นจาก: www.he01.
thaijo.com
นิรมล ลีลาอดิศร. (2560). การเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่ในทารกแรกเกิดปากแหว่งเพดานโหว่. บทความ.โรงพยาบาลร้อยเอ็ด.
สืบค้นจาก: www.thaigj.com
1.สาเหตุและพยาธิสภาพของความพิการแต่กำเนิด
Cleft lip & Cleft palate
สาเหตุ
สาเหตุ ยังไม่ทราบที่แน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าเกิดจาก
พันธุกรรม (heredity) ในครอบครัวที่มีสมาชิกฝ่ายบิดาหรือมารดามีประวัติเป็นปากแหว่งเพดานโหว่ มีโอกาสเกิดถึงร้อยละ 60
สิ่งแวดล้อม (environment agents) จากการติดเชื้อหัดเยอรมันในมารดาขณะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรกหญิง ตั้งครรภ์อายุมาก
ขาดวิตามินและโฟเลต สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ได้รับรังสี และได้รับยากันชัก Phenytoin
พยาธิสภาพ
ในช่วงอายุครรภ์ 3 - 12 สัปดาห์ จะเริ่มมีการสร้างเนื้อเยื่อของริมฝีปากและเจริญเป็นเพดานอ่อนและเพดานแข็งอย่างสมบูรณ์ในสัปดาห์ที่ 7 - 11 เมื่อเกิดความผิดปกติในระยะการแบ่งตัวนี้จะทำให้เนื้อเยื่อของริมฝีปากและเพดานไม่เชื่อมต่อกันจึงเกิดความพิการขึ้น
Down Syndrome
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งสาเหตุของความผิดปกตินั้นยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด เชื่อว่าสารพันธุกรรมโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่ผิดปกตินั้นทำให้กระบวนการควบคุมการสร้างเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกันและอาจมีความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกายร่วมด้วยที่สำคัญ คือเด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความบกพร่องอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
พยาธิสภาพ
เกิดจากการแบ่งเชลล์โครโมโซมมารดาในระยะ meiosis ไม่แยกตัว(nondisjunction) เรียกความผิดปกตินี้ว่า full trisomy หรือเกิดการสับเปลี่ยนชั้นส่วนของโครโมโซม (robertsonian translocation) คู่ที่ 21 ไปเชื่อมติดตำแหน่ง centromere นอกจากนี้อาจเกิดจากบางเชลล์มีโครโมโซมเกินบางเชลล์โครโมโซมปกติ ทำให้มีโครโมโซมได้ทั้ง 2 แบบในคนเดียวกัน (mosiacism down syndrome) โดยจะมีลักษณะใบหน้าคล้ายกลุ่ม full trisomy แต่ระดับสติปัญญาและพัฒนาการดีกว่า
2.การซักประวัติ การตรวจร่างกายและการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
Down Syndrome
การตรวจร่างกาย
พบความผิดปกติของลักษณะของร่างกายภายนอกชัดเจน
ใบหูเล็กผิดปกติ
จมูกเล็ก
ขอบหนังตาบนพับยื่นปิดหัวตา (epicanthal fold)
ดั้งแบน (saddle nose)
ตาห่างและหางตาชี้ขึ้น (oblique palpebral fissure)
เพดานปากโค้งสูงและแคบ
ใบหน้าแบน (mid facial hypoplasia)
ฟันขึ้นช้า
ท้ายทอยแบน (flat occiput)
คอสั้น
ลักษณะศีรษะแบน (brachycephaly)
มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่าเท้าสั้น เส้นลายขวางฝ่ามือเส้นเดียว
(simian crease)
ลิ้นโตคับปาก (large protruding tongue))
กล้ามเนื้อมีความตึงตัวน้อย (hypotonia)
การตรวจพิเศษ
Ultrasound
การซักประวัติ
สอบถามประวัติบุคคลในครอบครัวที่มีกลุ่มอาการดาวน์ , สอบถามประวัติการคลอดบุตรคนที่ผ่านมามีอาการ Down Syndrome ไหม , สอบถามประวัติการรับประทานยา การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ได้รับรังสีในช่วงตั้งครรภ์
การตรวจโครโมโซม
การเจาะเลือด
chrorionic villi sampling เมื่ออายุครรภ์ 9 - 12 สัปดาห์
การตรวจน้ำคร่ำโดยการเจาะถุงน้ำคร่ำ (amniocentesis) เมื่ออายุครรภ์ 16 - 18 สัปดาห์
Cleft lip & Cleft palate
การตรวจร่างกาย
สังเกตริมฝีปากแหว่งแยกออกจากกัน หรือช่องปากเพดานโหว่เมื่อทารกอ้าปากหรือร้องไห้
สอดนิ้วเข้าไปในปากจะพบว่าเพดานโหว่ มองเห็นช่องปาก
การตรวจพิเศษ
Ultrasound เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13 - 14 สัปดาห์
การซักประวัติ
สอบถามประวัติการมีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ของบุตรคนที่ผ่านมาหรือบุคคลอื่นในครอบครัว
สอบถามประวัติการรับประทานยา การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ได้รับรังสีในช่วงตั้งครรภ์
ยา
2G Syrup 1.5 ml oral tid pc
การบริหารยา
อายุ < 2 ปี จะให้ในขนาด 1ซีซี - 2.5 ซีซี วันละ 3-4ครั้ง หลังอาหาร
อายุ 2-5 ปีครึ่ง ให้ในขนาด 1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้งไม่เกิน 600 มิลลิกรัม /วัน
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้น ทำให้น้ำหลั่งจากทางเดินหายใจมากขึ้น ทำให้เสมหะอ่อนตัว และถูกขับออกไปได้ มักใช้ผสมกับยาอื่นในยาเตรียมแก้ไอ เพื่อช่วยขับเสมหะ
ผลข้างเคียง
ผื่น คัน ลมพิษ บวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปากหรือลิ้น ปวดศีรษะ คลื่นไส้
กลุ่มยา
กลุ่ม Mucolytics
Paracetamol syrup 1/2 tsp. Oral prn q 4-6 hr.
การบริหารยา
น้ำหนัก ตั้งแต่ 6- 8 กิโลกรัม
กินยาครั้งละ 1เม็ด วันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวด หรือมีไข้
น้ำหนักมากกว่า 8- 12 กิโลกรัม
กินยาครั้งละ หนึ่งเม็ดครึ่ง วันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เฉพาะเวาปวด หรือมีไข้
น้ำหนักมากกว่า 12-16 กิโลกรัม
กินยาครั้งละ 2 เม็ด วันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นยาในกลุ่ม analgesics กลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งกระบวนการสร้าง prostaglandin ในระบบประสาทส่วนกลาง และยับยั้งเอนไซม์โคลออกซิเจน โดยเฉพาะชนิดที่ 2
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เหงื่อออก ง่วง ซึม สับสน ความดันต่ำ
กลุ่มยา
กลุ่ม analgesics
Ceftriaxone 250 mg IV q12 hr.
การบริหารยา
บริหารโดยการให้แบบ IV infusion โดยต้อง drip ไม่น้อยกว่า 30 นาที ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยยาที่ฉีดนั้นต้องทำการเจือจางเพื่อใก้ความเข้มข้นก่อนฉีดอยู่ในช่วงระหว่าง 10 mg/ml - 40 mg/ml
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งกระบวนการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง
เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง ท้องเสีย
กลุ่มยา
cephalosporin
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวนูรสมานี เจะลง 62105184
2.นางสาวปริชาติ สืบสาย 62105572
3.นางสาวปียะธิดา เขตร์บุญเรือง 62106141
4.นางสาวเพ็ญพิชชา จันทน์เครือวงศ์ 62107024