Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการพยาบาล
ผู้สูงอายุในชุมชน, การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
…
-
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงร้อยละ 75 หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี เฉลี่ยชั่วโมง ละ 37 คน โรคเบาหวาน จัดเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs: Non-Communicable diseases) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ คือ อายุ เพศ โรคความดันโลหิตสูง ประวัติเบาหวานของคนในครอบครัว ดัชนีมวลกาย (BMI) มาก และภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ เนื่องจากตับอ่อนมีขนาดเล็กลงการทำงานของตับอ่อนมีประสิทธิภาพลดลง จำนวนเบต้าเซลล์ลดลง มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีระดับ glucose tolerance ลดลง และในทางกลับกันอาหารที่มีรสชาติหวานจะสามารถดูดซึมได้ดี กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลิเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดต่อมหมวกไต ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
-
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- ปัสสาวะเกิดขึ้นจากการที่ไตขับของเสียออกมาจากร่างกาย ซึ่งกลไกการป้องกันไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
คือการที่ไตระบายน้ำปัสสาวะออกมาอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำงานหนักมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และการกลั้นปัสสาวะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะเมื่อมีปัสสาวะค้างอยู่ในท่อปัสสาวะนาน ๆ ทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตลดลง ทำให้ความสามารถในการทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ปัสสาวะเข้มข้นมากขึ้น
และขับสารยูเรียได้ลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนั้นการที่มีน้ำตาลในปัสสาวะ ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ดีอีกด้วยเช่นกัน
-
- ถุงน้ำดีมีหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่สร้างมาจากตับ ซึ่งน้ำดีมีหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมไขมัน หลังจากตัดถุงน้ำดีออก ปริมาณน้ำดีอาจจะน้อยลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการย่อยไขมันลดลง เนื่องจากไม่มีที่พักเก็บน้ำดี โดยที่น้ำดีจะไหลลงมาเรื่อยๆ สู่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้คนไข้มีอาการท้องอืด แน่นท้องได้ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ เนื่องจากในผู้สูงอายุมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง ลำไส้บีบตัวได้น้อยลง เอนไซม์ช่วยย่อยทำงานลดลง ประสิทธิภาพการช่วยย่อยลดน้อยลง อีกทั้งผู้ป่วยรายนี้เคยได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีพังผืดในช่องท้อง ซึ่งเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่เคยผ่านการผ่าตัดช่องท้อง สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคพังผืดในช่องท้อง ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่ถ้าพังผืดไปดึงรั้งลำไส้เล็กหรือรัดลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ท้องอืด กินอาหารแล้วอาเจียน ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม เป็นต้น ประกอบกับผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารรสเผ็ด เมื่อกินในปริมาณมากๆ อาจทำให้มีการหลั่งกรดมากเกินไปในกระเพาะอาหาร และการรับประทานอาหารที่มีกากใยค่อนข้างมากในต่อวัน ถ้ารับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายไม่มีน้ำย่อยเส้นใยเหล่านี้ ต้องอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นตัวช่วยย่อยสลาย อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องอืดได้เช่นกัน
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มสูงขึ้นสัมพันธ์ตามอายุ และจากรายงานการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุในบ้าน ร้อยละ 41.9 และประมาณร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุประสบอุบัติเหตุเกิดจากการล้ม กิจกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ การทำงานบ้าน รองลงมาคือ การเดิน เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ ได้แก่
- เซลล์สมองและเซลล์ประสาท มีจำนวนลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง อวัยวะที่ช่วยในการเคลื่อนไหวทำงานไม่สัมพันธ์กัน มีผลต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ไม่ดี
- การมองเห็น ปฏิกิริยาการตอบสนองของม่านตาต่อแสงลดลงทำให้ปรับตัวสำหรับการเห็นในสถานที่ต่างๆ ได้ไม่ค่อยดี โดยเฉพาะในที่มืดๆ
- หู การได้ยินลดลง มีผลต่อการได้ยินเสียงเตือนต่างๆ
- ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก กระดูกมีความเสื่อมมากกว่าการสร้าง ทำให้กระดูกผู้สูงอายุเปราะบางและหักง่าย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดจากอุบัติเหตุตามมาได้
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด การตอบสนองของ Baroreceptor ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Postural hypotension) ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีโอกาสเป็นลม หน้ามืด และล้มได้
- ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่
- โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้หกล้มได้ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สมองเสื่อม เป็นต้น
- การใช้ยาลดความดันหิตบางชนิดและยาขับปัสสาวะ มีผลให้ปริมาณน้ำในหลอดเลือดต่ำลง (Hypovolemic) เกิดอาการข้างเคียงตามมา เช่น ความดันโลหิตโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Postural hypotension) ทำให้ผู้สูงอายุ หน้ามืดและล้มตามมาได้
-
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาและพฤติกรรมผิดปกติ รวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้กับทฤษฎีผู้สูงอายุทั้ง 2 ทฤษฎี ดังนี้
1. ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear theory) ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง ไม่สามารถซ่อมแซมหรือทดแทนให้เหมือนเดิมได้ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่สมองลดลงเนื่องจากหลอดเลือดแดงแข็งขึ้นตามอายุ เซลล์ประสาทและเซลล์สมองมีจำนวนลดลง ส่งผลให้การสร้างสารสื่อประสาทลดลง เนื้อสมองฝ่อลีบ ทำให้น้ำหนักของสมองน้อยลงตามอายุ ทำให้การส่งคำสั่งช้า ระยะเวลาที่ผู้สูงอายุจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น/สิ่งเร้าช้าลง จากการศึกษา พบว่า
- ผู้สูงอายุ 70 ปี น้ำหนักสมองจะลดลง 5 %
- ผู้สูงอายุ 80 ปี น้ำหนักสมองจะลดลง 10 %
- ผู้สูงอายุ 90 ปี ผู้สูงอายุจะสูญเสียเซลล์ประสาท และมีการสะสมสารไลโปฟัสซิน (Lipofuscin) ในเซลล์ประสาท
2. ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory ) ที่เกิดจากการสะสมของสารไลโปฟัสซิน (Lipofuscin) ซึ่งการสะสมของสารนี้จะไปรบกวนการซึมผ่านของเซลล์ การขนส่งพลังงานและสารอาหาร อีกทั้งยังส่งผลต่อการทำหน้าที่ของโมเลกุลรับส่งข้อมูล ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมได้
-
-
-
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- ทฤษฎีการควบคุมประตู (Gate control theory) อธิบายว่า การเกิดความรู้สึกเจ็บปวดขึ้นอยู่กับสัญญาณประสาทความปวดที่ผ่านมาในชั้นไขสันหลังบริเวณ substantia gelatinosa ซึ่งประตูนี้ทำหน้าที่เปิด-ปิด รับความรู้สึกปวด โดยที่สัญญาณประสาทที่ผ่านมาในใยประสาทขนาดเล็กที่นำกระแสประสาทช้า (ใยประสาทซี) กระตุ้น substantia gelatinosa ให้ไปกระตุ้นการทำงาน T cell ทำให้เกิดการเปิดประตูรับสัญญาณความปวด ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกด้านขวา อีกทั้งยังมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์มาตรฐานซึ่งอาจส่งผลให้เวลาเดินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อาการปวดสะโพกเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เนื้อเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนจะบาง มีการเชื่อมตามขวางของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้ผู้สูงอายุมีลักษณะการเดินแบบกระตุก เอ็นเสื่อมลง มีความยืดหยุ่นลดลง
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- ความสูงอายุ (aging) หมายถึง การเสื่อมสภาพของโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ พบว่าเมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุต้องเผชิญกับความสูญเสีย ได้แก่
1. สูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคมที่เคยมี ไม่ว่าจะเป็นบทบาท ตำแหน่ง หรือการเคารพนับถือในสังคม แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ บทบาทเหล่านั้นลดลง ต้องเปลี่ยนมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม การมีบทบาทลดลงทำให้สูญเสียความมั่นคงในชีวิต รู้สึกว่าตนเองหมดความสำคัญในสังคม อยู่ในสภาวะที่ไร้คุณค่า สูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้ผู้สูงอายุมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อตนเอง (Poor Self-Image) และรู้สึกว่าตนเองกำลังเริ่มเป็นภาระของครอบครัว
2. สูญเสียการสมาคมกับเพื่อนฝูง เนื่องมาจากการเกษียณอายุ หรือเมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพ
3. การสูญเสียสภาวะทางการเงิน เนื่องจากรายได้ลดลง
- ความสูญเสียดังกล่าวที่ได้กล่าวในข้างต้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยถดถอยออกจากสังคม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการถดถอยจากสังคม (Disengagement theory) ที่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลง ผู้สูงอายุมักจะมีมุมมองการเห็นคุณค่าในตนเองจากการประเมินตนเองในเรื่องของขีดความสามารถและการรับรู้จากการประเมินของบุคคลอื่น โดยผ่านการกระทำหรือพฤติกรรมที่บุคคลอื่นแสดงออกต่อตัวผู้สูงอายุ ซึ่งหากบุคคลอื่นปฏิบัติต่อผู้สูงอายุในลักษณะที่ดีก็จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกดี และรู้สึกว่าตนมีคุณค่าและได้รับการยอมรับตามไปด้วย
-
-
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
- มะเร็งที่เป็นสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกของโรค คือ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม ซึ่งสถิติการเกิดมะเร็งในประเทศไทย คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ติดกันมาแล้วถึง 6 ปี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวน 53,434 คน โดยเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 โรคมะเร็งเกิดได้จากหลายปัจจัย จากการศึกษาพบว่า เกิดจากความผิดปกติของยีน (Gene) หรือสารพันธุกรรม (DNA) หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีน (Gene mutation) ส่งผลให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ทั้งขนาด รูปร่าง และจำนวน เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ความสามารถในการจำกัด
สิ่งแปลกปลอมลดลง ส่งผลให้การทำงานของร่างกายในส่วนการป้องกันหรือซ่อมแซมนั้นบกพร่องไป อาจทำให้เซลล์ที่ผิดปกติหลุดเข้าไปและเติบโตกลายเป็นเนื้องอกมะเร็งได้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุรายนี้เกิดความวิตกกังวลตามมา เนื่องจากบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเป็นมะเร็งปอด
-
- สภาวะช่องปากเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ ผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไปร้อยละ 57.8 ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่พบมาก ในประเทศไทย ได้แก่ ฟันผุและรากฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและปริทนต์อักเสบ ฟันสึก น้ำลายแห้ง การสูญเสียฟันและปัญหาจากการใส่ฟันปลอม เป็นต้น
จากการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมร้อยละ 65 ประสบปัญหาการติดเชื้อราในช่องปาก เนื่องจากใส่ฟันปลอมเป็นเวลานานและถอดล้างไม่ถูกวิธี และไม่สะอาด อีกทั้งการศึกษาในปัจจุบันสนับสนุนว่าโรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะไปกดการทำงานภูมิคุ้มกันในร่างกาย และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ในช่องปาก ส่งผลให้มีการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ เนื่องจากในฟันของผู้สูงอายุจะไม่แข็งแรง แตกง่าย ตัวเคลือบฟันบางลง สีของฟันคล้ำขึ้น เหงือกที่หุ้มคอฟันร่วงลง ต่อมน้ำลายเสื่อมหน้าที่ ทำให้การสร้างน้ำลายลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดโรคทางช่องปาก รวมทั้งมีผลต่อการรับประทานอาหารและอาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารตามมาได้
-