Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เศรษฐศาสตร์มหภาค (AN INTRODUCTION TO MACROECONOMICS)…
เศรษฐศาสตร์มหภาค
(AN INTRODUCTION TO MACROECONOMICS)
เศรษฐศาสตร์มหภาค หมายถึงอะไร
หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวมทั้งระบบ เช่น การศึกษารายได้ประชาชาติ จะพิจารณาดุลยภาพของตลาดต่างๆพร้อมกัน ซึ่งแต่ละตลาดมีความเกี่ยวข้องกัน เป็นการมองภาพรวมทั้งระบบ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะกระทบไปทั้งระบบ
ทรัพยากรปัจจัยการผลิต คือ ปัจจัยที่ใช้สำหรับผลิตสินค้าและบริการแบ่งออกได้เป็น
1.ที่ดิน –ผลตอบแทน ค่าเช่า
2.แรงงาน- ผลตอบแทน เงินเดือน,ค่าจ้าง
3.ทุน- ผลตอบแทน ดอกเบี้ย
4.การประกอบการ- ผลตอบแทน กำไร
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทุกระบบต้องเกิดได้แก่
1.ปัญหาว่าจะผลิตอะไร
2.ปัญหาว่าจะผลิตอย่างไร
3.ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร
ระบบเศรษฐกิจ หมายถึงอะไร
หมายถึง สถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1.หน่วยครัวเรือน – ทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคและเจ้าของปัจจัยการผลิต(แรงงาน,ที่ดิน,ทุน)
2.หน่วยธุรกิจ – ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ มีเป้าหมายที่จะแสวงหากำไรสูงสุดจากการผลิตสินค้า
3.หน่วยรัฐบาล – ทำหน้าที่ปกครองประเทศ ดำเนินกิจการต่างๆให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รัฐบาลจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต
รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ
1.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือเสรีนิยม หรือระบบตลาด
1.1เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
1.2เอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจ รัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซง
1.3การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ใช้ระบบตลาดหรือกลไกราคา ในการตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้าอะไร ผลิตอย่างไรและจำแนกแจกจ่ายให้กับใคร
1.4เป็นการมุ่งเน้นกำไรสูงสุด เกิดความไม่เท่าเทียมกันหรือความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้
2.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
2.1รัฐบาลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและเป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิต
2.2เอกชนไม่มีสิทธิและเสรีภาพในการตัดสินใจ
2.3รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดว่าควรผลิตอะไร ปริมาณเท่าไร ผลิตอย่างไรและจำแนกแจกจ่ายให้ใคร
2.4มีความเสมอภาคในการกระจายรายได้ แต่การจัดสรรทรัพยากรอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
3ระบบเศรษฐกิจแบบผสม-ทุนนิยม + สังคมนิยม
3.2รัฐบาลเข้ามาดำเนินการกิจการที่มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
3.3ใช้กลไกราคาและการวางแผนจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม
3.1เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและมีเสรีภาพในการผลิต