Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและข้อบังคับสภาการพยาบาล - Coggle Diagram
กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและข้อบังคับสภาการพยาบาล
เอกสิทธิ์พยาบาล
ความหมาย
การรับรู้อายุ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ในการที่สามารถตัดสินใจในการปฏิบัติงานได้
ความสำคัญ
การมีเอกสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นวิชาชีพและเป็นความจำเป็นของการพัฒนาวิชาชีพในระบบงานของพยาบาลและการมีเอกสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญของวิชาชีพพยาบาลอีกด้วย
ประกอบด้วย 8 ข้อ
ข้อที่ 1 มีเอกสิทธิ์ตามการประกอบวิชาชีพตามกฎหมายอย่างเป็นอิสระและด้วยความรับผิดชอบในการกระทำ
ข้อที่ 2 การปฏิเสธการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ
ข้อที่ 3 การปฏิบัติจากผู้ร่วมงานอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อที่ 4 การรับเลือกเข้าทำงานโดยชอบตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม
ข้อที่ 5 การรับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเหมาะสมกับภาระและหน้าที่
ข้อที่ 6 การได้รับสวัสดิการ ความมั่นคงและความปลอดภัย
ข้อที่ 7 การรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์ปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบวิชาชีพ
ข้อที่ 8 การร้องเรียนขอความเป็นธรรมตามกฎหมาย หากได้รับการปฏิบัติที่ไม่ชอบธรรม
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตราที่ 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พุทธศักราช 2528
มาตราที่ 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตราที่ 3 บรรดากฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่บัญญัติไว้แล้ว ในพระราชบัญญัตินี้หรือที่ขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตราที่ 4 ความหมาบของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตราที่ 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รักษาการณ์ตามพระราชบัญญัติและให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ กับออกฎกระทรวงกำหนด ค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราใช้พระราชบัญญัติ รวมทั้งออกระเบียบและประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
หมวดที่ 1 มาตรา 6 ถึงมาตรา 10 ว่าด้วยเรื่องสภาการพยาบาลและวัตถุประสงค์อำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล
หมวดที่ 2 มาตราที่ 11 ถึงมาตราที่ 13 ว่าด้วยเรื่องสมาชิกสภาการพยาบาลและสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ
หมวดที่ 3 มาตราที่ 14 ถึงมาตราที่ 23 ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการสภาการพยาบาลและคุณสมบัติของคณะกรรมการสภาการพยาบาล รวมถึงอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล
หมวดที่ 4 มาตราที่ 24 ถึงมาตราที่ 26 ว่าด้วยเรื่องการของคณะกรรมการของสภาการพยาบาล
หมวดที่ 5 มาตราที่ 27 ถึงมาตราที่ 45 ว่าด้วยเรื่องการควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
หมวดที่ 6 มาตราที่ 46 ถึงมาตราที่ 48 ว่าด้วยเรื่องบทลงโทษของผู้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
การเป็นสมาชิกของสภาการพยาบาล
คุณสมบัติกรรมการสภาการพยาบาล
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ไม่เคยถูกสั่งพีกใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
ไม่เคยถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภาการพยาบาลต่อกัน 2 วาระ
ไม่เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการสภาการพยาบาล
การพ้นจากตำแหน่ง
ครบวาระ 4 ปี ซึ่งอาจได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่แต่เกิน 2 วาระไม่ได้
พ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญ
ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ เช่น ศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
ลาออก
ขอบเขตหน้าที่
ผู้ช่วยพยาบาล
๑. งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทาเป็นงานประจาแต่อยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้แก่
๑.๑ การทาหัตถการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายทันทีถ้าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน (Noninvasive)
๑.๑.๑. การดูดเสมหะในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอาการคงที่
๑.๑.๒ การดูแลผู้ป่วยที่มี Tracheostomy tube ที่มีอาการคงที่
๑.๑.๓ การสวนปัสสาวะทิ้งในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินปัสสาวะ/การใส่
ถุงยางอนามัยเพื่อรองรับปัสสาวะ
๑.๑.๔ การสวนอุจจาระผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหาร
ส่วนล่าง
๑.๑.๕ การประคบร้อน ประคบเย็นในผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุที่รู้สึกตัวดีและสามารถรับความรู้สึก
ได้
๑.๒ การเก็บข้อมูลบันทึกและรายงานข้อมูลต่อไป
๑.๒.๑ สัญญาณชีพ น้าหนัก ส่วนสูง ปริมาณน้าดื่ม และปัสสาวะ การตรวจน้าตาลใน ปัสสาวะ และตรวจความเข้มข้นของเลือด
ปัสสาวะ
๑.๒.๒ ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ผ่านการประเมินจากพยาบาลวิชาชีพแล้ว
๑.๒.๓ การตอบสนองต่อการพยาบาลของผู้ป่วย
๑.๒.๔ ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม
๑.๒.๕ ความคิดเห็นของบุคคลและครอบครัวเกี่ยวกับการดูแล
๑.๒.๖ การสังเกตและเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องทดลอง การเก็บและตรวจหาน้าตาลใน
๑.๒.๗ การรักษาความสะอาดร่างกายบุคคลและการเช็ดตัวเพื่อลดไข้
๒. งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทาเป็นงานประจาโดยผู้ป่วยมีอาการคงที่/ไม่รุนแรง
๒.๑ การช่วยในการเดิน การจัดท่า การพลิกตัว
๒.๒ การดูแลสุขอนามัย การขับถ่าย การอาบน้าทารก การเช็ดตัวลดไข้
๒.๓ การเตรียมถาดอาหาร การให้อาหาร
๒.๔ การให้อาหารและน้าทางสายยางสู่กระเพาะอาหารและลาไส้
๒.๕ การดูแลในกิจวัตรประจำวัน
๒.๖ กิจกรรมทางสังคม เช่น การให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่ม
๒.๗ การช่วยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ผู้ป่วยเรียนรู้
เรื่องสุขภาพ
๒.๘ การฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษาพยาบาล
๒.๘.๑ การเคลื่อนไหวและการบริหารร่างกาย
๒.๘.๒ การจัดท่า พลิกตัว
๒.๘.๓ การบริหารร่างกาย ข้อ และกล้ามเนื้อผู้ป่วย (Passive and active exercise) ตาม
แผนการรักษาพยาบาล
๒.๙ การประเมินสภาพของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ได้แก่ อาการเจ็บปวด การพลัดตกหกล้ม
ลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น ลักษณะผิวหนังที่เกิดจากการผูกยึด ลักษณะผิวหนังที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกด ทับ เป็นต้น
๒.๑๐ การดูแลผู้ป่วยที่เสียชีวิต
๒.๑๑ การช่วยฟื้นคืนชีพระดับพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
๒.๑๒ การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค
๒.๑๓ การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้คลอดและผู้ป่วยนรีเวช
๒.๑๔ การช่วยรับผู้ป่วยที่ผ่านการกลั่นกรองและวินิจฉัยแยกประเภทแล้ว
๒.๑๕ การช่วยย้ายและจาหน่ายผู้ป่วยจากหอผู้ป่วย
๒.๑๖ การเตรียมและช่วยเหลือในการตรวจร่างกาย
๓. การให้ยา กระทำได้ในกรณีต่อไปนี้
๓.๑ ในสถานบริการสุขภาพที่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ปฏิบัติงานเป็นประจำ
๓.๒ ในสถานที่ที่บุคคลอาศัยอยู่อย่างอิสระ ภาวการณ์เจ็บป่วยคงที่หรือคาดการณ์ได้และบุคคล สามารถมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง
พยาบาล
1.การปฏิบัติการพยาบาลด้านการจัดการกับภาวะสุขภาพ และความเจ็บป่วยทั้งสุขภาพ กายสุขภาพจิต
2.การปฏิบัติการพยาบาลด้านการเฝ้าระวังโรคและติดตามเพื่อควบคุมคุณภาพของการ ให้บริการสุขภาพ
3.การปฏิบัติการพยาบาลด้านการบริหารการจัดการระบบสุขภาพ
4.การปฏิบัติการพยาบาลด้านการช่วยเหลือและดูแล
5.ปฏิบัติการพยาบาลด้านการสอนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล
6.การปฏิบัติการพยาบาลด้านการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใน สถานการณ์ต่าง ๆ
7.การปฏิบัติการพยาบาลด้านการจัดระบบงานและกระบวนการให้บริการโดยมีการ จัดระบบสารสนเทศและมีการใช้ข้อมูลข่าวสารสนเทศทางการพยาบาลในการบริหารจัดการ
กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความหมาย
เป็นกฎหมายที่คุ้มครอง ควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยตรง ซึ่งออกโดยสภาการพยาบาล โดยวิชาชีพเกี่ยวกับการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เป็นการกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย ฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการดูแลและให้การช่วยเหลือหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความผิดปกติระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
ความสำคัญ
กฎหมายวิชาชีพต้องกำหนดขอบเขตวิชาชีพงานของตนไว้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ได้รับรู้และเข้าใจตรงกัน ถึงเป้าหมายของวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยไม่ให้ก้าวก่ายวิชาชีพข้างเคียง และยังสามารถปกป้องวิชาชีพของตนได้ง่ายขึ้น การมีความรู้ในเรื่องกฎหมายวิชาชีพจะช่วยให้ประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ไม่ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและยังป้องกันตนเองไม่ให้ละเมิดกฎหมาย
ประโยชน์
เพื่อคุ้มครองผู้รับบริการจากการถูกเอารัดเอาเปรียบหรืออันตรายที่เกิดจากผู้ประกอบวิชาชีพ
เพื่อมิให้ผู้ที่ขาดความรู้ความสามารถขาดคุณสมบัติด้านวิชาชีพ ทำการประกอบอาชีพอันเป็นผลเสียหายต่อผู้รับบริการ
กำหนดขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบของวิชาชีพ เพื่อให้สามารถกระทำการเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพให้ได้รับความปลอดภัยและความเป็นธรรม
วางมาตรการในการลงโทษผู้ที่ประพฤติผิดมรายาทแห่งวิชาชีพหรือประพฤติผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนกฎระเบียบของข้อบังคับในการประกอบวิชาชีพ
เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความศรัทธาต่อการบริการวิชาชีพ
เพื่อให้สามารถกระทำการเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพให้ได้รับความปลอดภัยและความเป็นธรรม
ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ขอบเขต
หมวดที่ 2 ส่วนที่ 1
ข้อที่ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ช้ันหนึ่ง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้บาบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษา
หรือเมื่อเป็นการรักษาโรคเบื้องต้น หรือการปฐมพยาบาล ท้ังนี้ การให้ยาผู้รับบริการดังกล่าว ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข
6.1 ห้ามให้ยา หรือสารละลายในช่องรอบเยื่อบุไขสันหลัง หรือช่องไขสันหลัง หรือ สายสวนทางหลอดเลือดดาส่วนกลาง (Peripherally Inserted Central Catheter) และช่องทางอื่น ตามที่สภาการพยาบาลประกาศกาหนด
6.2 ห้ามให้ยาหรือสารละลายหรือสารที่เกี่ยวข้องกับรังสีวินิจฉัยและยาอื่นตามท่ีสภาการพยาบาลประกาศกาหนด
ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
5.1 การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล การตรวจประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ การควบคุมการแพร่กระจายโรค การปฐมพยาบาลโรคบำบัดเบื้องต้นและการฟื้นฟูสุขภาพ
5.2 การสอน การแนะนา การให้คาปรึกษาและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การวางแผนการดูแลต่อเนื่อง และการเสริมสร้างพลังอานาจในการดูแลตนเองของประชาชน
5.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การควบคุม และ การแก้ปัญหาความเจ็บป่วย
5.4 การปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาลและ/หรือแผนการรักษาของ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การใช้เครื่องมือพิเศษ การติดตามผล รวมทั้งการประสานทีมสุขภาพ ในการจัดบริการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลที่สภาการพยาบาลประกาศกาหนด
5.5 การให้การพยาบาลที่บ้านและการส่งเสริมความสามารถของบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อใช้ชีวิตอย่างปกติสุขหรือสามารถจัดการวิถีชีวติให้อยู่กับความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามศักยภาพ
ความสำคัญ
เพื่อให้การปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการกระทำหรือปฏิบัติการเกิดความชัดเจนในขอบเขตการปฏิบัติ จึงได้กำหนดข้อจำกัดและเงื่อนไขในการปฏิบัติเฉพาะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
บทลงโทษ
ประเภทของบทลงโทษ
โทษประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพตามที่กำหนดไว้
1.1 ว่ากล่าวตักเตือนและการภาคทัณฑ์ เป็นโทษที่ใช้สำหรับความผิดที่ไม่ร้ายแรงและให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดได้ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่กระทำผิดในการประกอบวิชาชีพ
1.2 พักใช้ใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาต ใช้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดอย่างร้ายแรง
โทษทางอาญาตามกฎหมายวิชาชีพที่กำหนดไว้ ได้แก่ การจำคุก การปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้กำหนดไว้ในมาตรา 46 47 48 หากผู้ประกอบวิชาชีพถูกพิพากษาถูกทำให้จนถึงที่สุดในการจำคุก ทำให้ผู้นั้นต้องขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกสามัญและไม่มีสิทธิที่จะสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตครั้งต่อไป
การรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อที่ 10 ให้กระทำการประกอบวิชาการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคได้ จะต้องได้รับการศึกษาหรืออบรมหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนดและจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัตทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ตามประกาศของสภาการพยาบาล 48
ข้อที่ 11 ผู้ที่ได้วุฒิบัตรแสดวความรู้ความชำนาญเฉพาะการพยาบาลและการผดุงครรภ์สาขาการพยาบาลเวชประวัติชุมชน กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อที่กำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคได้จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามประกาศของสภาการพยาบาล
ข้อที่ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อ 10 และ 11 ต้องกระทำการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มโรคของสภาการพยาบาลโดยเคร่งครัด
ข้อที่ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อที่ 12 ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ยาตามคู้มือการที่สภาการพยาบาลกำหนด
ข้อที่ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อที่ 12 จะให้ภูมิคุ้มกันโรคต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อที่ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งตามข้อ 12 จะต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ อาการ การเจ็บป่วย การให้การรักษาโรคหรือการให้บริการตามความเป็นจริง ตามแบบของสภาการพยาบาลและต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
การทำหัตถการ
ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ขั้นหนึ่งสามารถกระทำการพยาบาลตามขอบเขตที่กำหนด ดังนี้
9.1 การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังและไม่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญ การดูแลรักษาบาดแผลไหม้ ไหม้เกินระดับ 2 ของแผลไหม้
9.2 การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอม การผ่าตัดฝี การผ่าตัดตาปลา การเลาะก้อนไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญ
9.3 การถอดเล็บ การจี้หูดหรือจี้ตาปลา โดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่
9.4 การให้ออกซิเจน
9.5 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
9.6 การให้ยาทางปาก ทางผิวหนัง ทางหลอดเลือดดำหรือช่องทางอื่นๆตามแผนการรักษา
9.7 การให้เลือด
9.8 การเปิดทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการดูดเสมหะหรือเคาะปอด
9.9 การเช็ดตา ล้างตา หยอดตา ป้ายตา ปิดตาหรือการล้างจมูก
9.10 การช่วยฟื้นคืนชีพหรือการช่วยแก้ไขวิกฤต
9.11 การสวนปัสสาวะ
9.12 การสวนทางทวารหนัก
9.13 การคัดกรองมะเร็งเต้านม
9.14 การเจาะเก็บเลือดทางหลอดเลือดดำ