Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การจัดการแฟ้มข้อมูล, นางสาว สุพิชฌาย์ พระอินทร์ดี รหัสนิสิต…
บทที่ 9 การจัดการแฟ้มข้อมูล
แนวคิดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูล คือ ชื่อของสารสนเทศที่สัมพันธ์กัน ซึ่งถูกบันทึกไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
Text File คือ ลำดับของตัวอักษรที่เรียงกันในบรรทัด
Source File คือ ลำดับของโปรแกรมย่อย และฟังก์ชัน
Object File คือ ลำดับของไบต์ ที่จัดเรียงในบล็อคที่ตัวเชื่อมโยง (Linker) ของระบบเข้า
Executable File คือ ลำดับของส่วนของรหัสโปรแกรมซึ่งตัว Load โปรแกรม (Loader)นำเข้ามายังหน่วยความจำและสั่งให้ทำงาน (Execute)
คุณลักษณะของแฟ้มข้อมูล
ชื่อ (Name)
ตัวระบุ (Identifier)
ประเภท (Type)
ตำแหน่ง (Location)
ขนาด (Size)
การป้องกัน (Protection)
วันเวลาของผู้ใช้(Time, Date, and User Identification)
การดำเนินการกับแฟ้มข้อมูล
การสร้างแฟ้มข้อมูล (Creating a file)
การเขียนแฟ้มข้อมูล (Writing a file)
อ่านแฟ้มข้อมูล (Reading a file)
ที่เก็บแฟ้มข้อมูลภายในแฟ้ม (Repositioning within a file)
การลบแฟ้มข้อมูล (Deleting a file)
การตัดทอนแฟ้มข้อมูล (Truncating a file)
โครงสร้างของแฟ้ม
รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูลประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ
บิต (Bit : Binary Digit)
ไบต์(Byte) หรือ ตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หรือคำ (Word)
ระเบียน (Record)
แฟ้มข้อมูล (File)
ฐานข้อมูล (Database)
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลภายใน
ในระบบดิสก์ มักมีขนาดของบล็อกที่กำหนดโดยขนาดของเซกเตอร์ การเข้าใช้พื้นที่ในดิสก์ทั้งหมด (Disk I/O) ถูกแบ่งเป็นหน่วยของบล็อก (Physical record) และทุกบล็อกมีขนาดเท่ากัน โดยPhysical
ประเภทของแฟ้มข้อมูล
เราต้องรู้ว่าระบบปฏิบัติการต้องการแฟ้มข้อมูลประเภทไหน
ที่สามารถทำงานร่วมกับแฟ้มข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสม
วิธีการเข้าถึงแฟ้มข้อมูล
วิธีเข้าถึงโดยลำดับ
ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล
การเข้าถึงโดยตรง
การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ
วิธีการเข้าถึงอื่น ๆ
วิธีการเข้าถึงแบบอื่นที่สามารถทำได้ คือ สำหรับค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูล และค้นหาข้อมูลที่เราต้องการวิธีเสริมนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างดัชนีให้แฟ้มข้อมูล
โครงสร้างของไดเรกทอร์
เป็นที่เก็บรวบรวมชื่อของแฟ้มข้อมูล และข้อมูลที่สำคัญของแฟ้มข้อมูล
วิธีการนำไดเรกทอรี่ไปใช้
ค้นหาแฟ้มข้อมูล (Search for a file) เมื่อผู้ใช้หรือโปรแกรมเรียกใช้แฟ้มข้อมูลใด ๆ ระบบต้องค้นหาแฟ้มข้อมูลนั้นจากไดเรกทอรี
สร้างแฟ้มข้อมูล (Create a file) แฟ้มข้อมูลใหม่จำเป็นต้องถูกสร้างและเพิ่มเข้าใน ไดเรกทอรี่
ลบแฟ้มข้อมูล (delete a file) เมื่อแฟ้มข้อมูลไม่ต้องการแล้ว ต้องสามารถลบมันออกจากไดเรกทอร์
แสดงไดเรกทอรี่ (List a directory) การดูแฟ้มข้อมูลในไดเรกทอรี่ต้องสามารถแสดง ชื่อแฟ้มข้อมูลในไดเรกทอรี่ และเนื้อหาของไดเรกทอรี่สำหรับแต่ละแฟ้มในรายการ
การข้ามระบบแฟ้มข้อมูล (Traverse the file system) การสามารถเข้าถึงในหลาย ไดเรกทอรี่และหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลภายในโครงสร้างไดเรกทอรี่ สำหรับความน่าเชื่อถือ
ไดเรกทอรี่ระดับเดียว คือ แฟ้มข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บไว้ในไดเรกทอรีเดียวกันไดเรกทอรีระดับเดียวมีข้อจำกัดอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อแฟ้มข้อมูลมีมากขึ้นหรือมีผู้ใช้มากกว่า 1 คน ถ้าแฟ้มข้อมูลทั้งหมดอยู่ในไดเรกทอรีเดียวกัน แฟ้มเหล่านั้นต้องมีชื่อเฉพาะตัว
ไดเรกทอรี่สองระดับ คือ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้ A หวังจะเข้าถึงแฟ้มข้อมูลชื่อ test ของเธอเอง เธอสามารถอ้างอิง test ได้เลย แต่ถ้าจะเข้าถึง test ของผู้ใช้ B (ไดเรกทอรีชื่อ userb) เธอต้องอ้างถึง /userb/test ทุก ๆ ระบบจะมีไวยากรณ์ของมันเองสำหรับการระบุชื่อแฟ้มในไดเรกทอรีอื่น
ไดเรกทอรี่ที่มีโครงสร้างแบบต้นไม้ หลักการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างไดเรกทอรีย่อย (subdirectory) ของตัวเองได้ และสามารถจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลได้
ไดเรกทอรีกราฟแบบไม่เป็นวงจร คือ การใช้แฟ้มข้อมูลหรือไดเรกทอรีร่วมกัน ไม่ได้เหมือนกับการมี 2 สำเนา แต่หมายถึงมีของจริงอยู่เพียงหนึ่งเดียว การเปลี่ยนแปลงที่ทำโดยคน ๆ หนึ่งควรจะทำให้คนอื่นเป็นความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ในทันที แฟ้มข้อมูลใหม่ที่ถูกสร้างโดยคน ๆ หนึ่งจะต้องปรากฏในไดเรกทอรีย่อยที่ใช้ร่วมกันทันทีโดยอัตโนมัติ
ไดเรกทอรี่แบบกราฟโดยทั่วไป คือปัญหาหลักของการใช้โครงสร้างของกราฟแบบไม่เป็นวงจรจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะไม่มี วงจรจริง ถ้าเราเริ่มจากไดเรกทอรีสองระดับ แล้วให้ผู้ใช้สร้างไดเรกทอรีย่อยเพิ่มก็กลายเป็น ไดเรกทอรีแบบต้นไม้ ถึงเราจะเพิ่มแฟ้มข้อมูลและไดเรกทอรีย่อยอีก ก็ยังเป็นไดเรกทอรีแบบต้นไม้อยู่ดี แต่ถ้าเราเพิ่มการเชื่อมโยงของไดเรกทอรีที่มีอยู่แล้ว โครงสร้างแบบต้นไม้ก็จะเสียไป เป็นผลให้เกิดโครงสร้างแบบกราฟอย่างง่าย
การป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ชนิดของการเข้าถึงแฟ้มข้อมูล
รายการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลและกลุ่ม
ส่วนของ AROs (Access Request Objects)
ส่วนของ ACOs (Access Control Objects)
แนวทางการป้องกันอื่น ๆ
นางสาว สุพิชฌาย์ พระอินทร์ดี รหัสนิสิต 6221601886 หมู่เรียน700 เลขที่ 27 โปรแกรมที่ใช้ Coggle