Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The Effect of Nursing Consultation Based on Orem’s Theory of Self-care and…
The Effect of Nursing Consultation Based on Orem’s Theory of Self-care and Bandura’s Concept on Infertility Stress
(ผลกระทบของการให้คำปรึกษาพยาบาลตามทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem และแนวคิดของ Bandura ต่อความเครียดของการเกิดภาวะมีบุตรยาก)
บทนำ
ภาวะมีบุตรยากเป็นหนึ่งในภาวะที่ส่งผลทำให้เกิดความตึงเครียดมากที่สุดในชีวิตของคู่รัก ได้มีการเสนอวิธีการในการจัดการกับความเครียดของภาวะมีบุตรยากหลายวิธี โดยผ่านกระบวนการด้านเทคโนโลยี และความช่วยเหลือทางการแพทย์
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาพยาบาลต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับคู่สมรสที่มีบุตรยาก ก่อนที่จะเริ่มทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ผลการศึกษาในครั้งนี้
งานวิจัยนี้ให้ผลลัพธ์ที่สำคัญในด้านของการพยาบาล ตามทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มที่เกี่ยวกับสุขภาพ และแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของแบนดูรา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้มีบุตรยาก ที่ต้องการจะมีบุตร โดยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ การลดความเครียด และเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง ดังนั้นพยาบาลควรมีการพิจารณาการใช้ทฤษฎีของโอเร็มและทฤษฎีแนวคิดของแบนดูรา ในการให้คำปรึกษาและเตรียมการดูแลผู้มีบุตรยาก เพื่อเพิ่มความรู้ในการจัดการกับความเครียดและการให้เทคนิคการปรับตัวก่อนการตั้งครรภ์
บทสรุป
ผลการศึกษาพบว่าการให้คำปรึกษาทางด้านการพยาบาลภาวะมีบุตรยาก ตามทฤษฎีของโอเร็ม และแนวคิดของแบนดูรา มีบทบาทสำคัญในการเตรียมคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถจัดการกับความรู้สึกด้านลบได้ โดยการลดระดับการรับรู้ของภาวะมีบุตรยาก และเพิ่มการรับรู้คุณค่าของตนเอง การให้คำปรึกษาทางด้านการพยาบาล จึงควรกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มการรักษาภาวะมีบุตรยากและต่อเนื่องไปจนถึงการสิ้นสุดการตั้งครรภ์
ภาวะมีบุตรยาก
ความหมาย
การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน โดยไม่ได้มีการคุมกำเนิด ซึ่งภาวะมีบุตรยาก อาจส่งผลเสียต่อคู่รักทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ทำให้เกิดความหงุดหงิดและความเครียดได้
ในปัจจุบันได้มีการเสนอทางเลือกในการรักษา โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) ในการแก้ไขปัญหาของภาวะมีบุตรยาก แต่การรักษาก็ยังส่งผลกระทบต่อคู่รักบางคู่ เนื่องจากว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้มีค่าใช้จ่ายต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นปัจจัยของความเครียดทางด้านจิตใจของคู่รักได้
-
ผลลัพธ์
ผู้ที่มีความเครียด 113 คน มีผู้ชาย 49 คน (43.4%) และผู้หญิง 64 คน (56.6%) หลังจากการสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบกลุ่มเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับไม่เพียงพอ กิจกรรมกีฬา ประเภทของภาวะมีบุตรยาก สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ระยะเวลาของภาวะมีบุตรยาก การรับรู้ความเครียดในการมีบุตรยาก และคุณค่าในตนเอง ทดสอบ Kolmogorov- Smirnov ยืนยันว่าข้อมูลมีความผิดปกติ ดังนั้นการทดสอบไคสแควร์แสดงให้เห็นว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่ม intervention และกลุ่มควบคุมมีความคล้ายคลึงกันทางสถิติ (P> 0.05)
-
-
-
การอภิปรายผล
จากการศึกษา พบว่าการมีลูกมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับความมั่นคงของคู่สามีภรรยา เนื่องจากเป็นความคาดหวังของสังคม ครอบครัว และเพื่อน ๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะมีบุตรยากที่สูง มักมีสาเหตุมาจากความเครียดของฝ่ายหญิง เนื่องจากการที่ผู้หญิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่อึดอัดใจจากความคาดหวังของครอบครัวและสังคมที่ต้องการให้มีบุตร ส่งผลให้ฝ่ายหญิงเกิดความเครียด จึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้หญิงมีความเครียดมากกว่าผู้ชายและส่งผลต่อภาวะการมีบุตรยาก พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการให้การดูแล การให้คำแนะนำ และการส่งต่อข้อมูลไปยังบริการช่วยเหลือคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก
-