Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกแรกเกิดเพศหญิง คลอดก่อนกำหนด GA 35 สัปดาห์ - Coggle Diagram
ทารกแรกเกิดเพศหญิง คลอดก่อนกำหนด GA 35 สัปดาห์
วัคซีนที่ต้องได้รับตามวัย
HBV (วัคซีนป้องกันโรคตับอับเสบบี)
ชนิดวัคซีน : วัคซีนเชื้อเป็น
การบริหารวัคซีน : ฉีดเข้ากล้ามเนือบริเวณหน้าขาในเด็กเล็ก (Intramuscular) หรือบริเวณต้นแขนกล้ามเนือ Deltoid ในเด็กโต ขนาด 0.5 ml
คำแนะนำหลังได้รับวัคซีน
บริเวณที่ฉีดอาจมีอาการปวดบวมหรือมีไข้ ต่ำๆ อาการมักเริ่มประมาณ 3-4 ชั่วโมงหลังได้รับวัคซีน และเป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ควรให้ยาลดไข้แก่เด็กที่มีไข้หรือ ร้องกวนในเด็ก
BCG (วัคซีนป้องกันวัณโรค)
ชนิดวัคซีน : วัคซีนชนิดเชื้อเป็น
การบริหารวัคซีน : ฉีดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ 0.1 m ในเด็กโต ใช้เข็มเบอร์ 27
syringe 1 cc
การให้คำแนะนำหลังได้รับวัคซีน
1.ดูแลบริเวณที่ฉีดให้ใช้น้ำต้มสุกที่ทำให้เย็นลงแล้วเช็ดบริเวณรอบๆ
บริเวณที่ฉีดแล้วซับให้แห้ง
2.เตือนผู้ปกครองไม่ให้บ่งตุ่มหนองหรือใส่ยาใดๆ ถ้าแผลอักเสบโตขึ้นและเป็นฝี ให้รีบพบแพทย์
ข้อมูลที่ต้อง Assessment เพิ่มเติม
การซักประวัติ
มารดาดื่มแอลกอฮอล์มาเเล้วกี่ปี
บิดาสูบบุหรี่มาเเล้วกี่ปี
การพักผ่อนนอนหลับเป็นอย่างไร
การตรวจร่างกาย
ตรวจหน้าท้อง
การดู
ดูลักษณะท้อง เมื่อนอนหงายทารกจะมีส่วนท้องนูนกว่าทรวงอก ในเด็กที่มีท้องนูนเด่นมากกว่าปกติอาจมีภาวะท้องมาน (ascitis) หรือมีก้อน ในเด็กที่ท้องแฟบมากๆ คือท้องจะโค้งเว้าเข้าด้านใน เมื่อมองจากด้านข้างมักพบในเด็กขาดน้ำรุนแรงหรือขาดอาหารรุนแรง
ดูสีผิวที่ผิดปกติ เช่น ผิวเหลืองในโรคดีซ่าน รอยแผลเป็น รอยแตกที่ผนังหน้าท้องซึ่งอาจเป็นผลจากโรคอ้วน
ดูการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง ถ้าเห็น
การเคลื่อนไหวของลำไส้เกือบตลอดเวลาและชัดเจนอาจเป็นผลมาจากการอุดตันของลำไส้ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
คลำ : วิธีคลำมี 2 วิธีคือ คลำตื้นและคลำลึก
• คลำตื้นเพื่อหาสิ่งผิดปกติ เช่น ก้อน กดเจ็บ (กด
เจ็บทดสอบโดยใช้มือกดท้องเบาๆ กดปล่อยแล้วเจ็บให้ใช้มือค่อยๆกดลงลึกๆตรงบริเวณที่ปวดแล้ว
ปล่อยมือให้ผนังหน้าท้องเด้งกลับทันทีถ้าเจ็บมากขึ้นขณะปล่อยมือ นึกถึงไส้ติ่งอักเสบ เยื่อบุช่องท้อง
อักเสบ) แรงต้านของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
• คลำลึกเพื่อตรวจดูอวัยวะในช่องท้อง
ควรเริ่ม คลำเบาก่อน
การฟัง : ใช้หูฟัง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (bowel sounds) ปกติจะได้ยินทุก 10-30 วินาที ซึ่งจะได้ยิน 5-30 ครั้ง/นาที จะฟังอย่างน้อย 5 นาที ถ้าเสียงบีบตัวของลำไส้เพิ่มขึ้นทั้งความถี่ ความแรง พบได้ในรายที่ท้องร่วง ลำไส้อักเสบ หรือลำไส้อุดตัน ถ้าเสียงบีบตัวของลำไส้ลดลงหรือหายไป พบในเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ลำไส้ไม่ทำงาน
การตรวจพิเศษ
การ Ultrasound ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 10 สัปดาห์ พบ membrane หรือลำไส้ขดอยู่นอกผนังหน้าท้อง
การทำ Magnetic resonance imaging (MRI) เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์
การตรวจ alpha-fetoprotien ในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ จะพบว่าทารกในครรภ์ที่มีภาวะ gastroschisis มีค่า alpha- fetoprotien สูง เนื่องจากเป็นโปรตีนที่สร้างจากตับกลุ่ม oncofetal antigen จึงเป็น marker สาคัญในการวินิจฉัยโรค
คำแนะนำในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
แนะนำให้สังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดปิดผนังหน้าท้อง เช่น อาการของกลุ่มลำไส้สั้น (short bowel syndrome) เช่น ปวดท้อง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และน้ำหนักลด เป็นต้น เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัด ซึ่งจะทำให้ลำไส้ที่ยื่นออกมาขาดเลือดไปเลี้ยง ลำไส้จะมีสีคล้ำและเน่าตายจากการบิดตัวของลำไส้หรือการขาดเลือดไปเลี้ยง และมีท้องบวมแดงหรือมีไข้ ซึ่งต้องรีบมาพบแพทย์
อธิบายให้มารดาทราบถึงความสําคัญ และประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
วิธีการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนให้นมมารดา
เช็ดทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำต้มสุกก่อนและหลังให้นม
อุ้มทารกอยู่ในอ้อมแขน ศีรษะหนุนบนข้อศอก
แขนและมือประคองลำตัวและบริเวณก้น
ให้หัวนมเขี่ยที่ปากเพื่อกระตุ้นให้ทารกอ้าปาก ทารกจะหันมาดูดเอง มารดาอาจบีบหัวนมให้นมไหลออกมสก่อนเล็กน้อย ให้ทารกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม เพื่อป้องกันหัวนมแตก
ระวังเต้านมจะปิดจมูกทารก ให้กดเต้านมใต้จมูกเล็กน้อย
หลังดูดนมอิ่มแล้วต้องจับเรอ โดยจับทารกนั่งให้เต็มตัว และศีรษะตั้งตรงหรืออุ้มพาดบ่า ลูบหลัง เบาๆให้เรอ
คำแนะนำการปฏิบัติตัวการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ควรพักผ่อนอย่างพอเพียงทั้งร่างกายและจิตใจ
ควรรับประทานอาหารที่ถูกส่วนและมีคุณค่าอาหารอย่างเพียงพอ
งดอาหารรสจัด เหล้า บุหรี่ น้ำชา กาแฟ คาเฟอีน เพราะมีอันตรายต่อทารกได้
สาเหตุ
สาเหตุยังไม่แน่ชัด มักพบว่าเกิดในครรภ์ที่มารดามีพฤติกรรมเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม เกิดจากความผิดปกติของ umbilical vein เส้นขวาสลายไป ไม่สามารถทำให้เกิด collateral circulation มาเลี้ยงเนื้อเยื่อ mesenchyme ได้ ทันหรือ superior omphalomesenteric artery มีความผิดปกติของผนังหน้าท้อง จึงขาดเลือดและเกิดเป็นช่องโหว่ นอกจากนี้อาจเกิดจากการที่ถุงไส้เลื่อน สายสะดือฉีกขาด (hernia of the umbilical cord)
การผ่าตัด Primary fascial closure
เป็นการผ่าตัดเปิดแนวกลางหน้าท้องให้กว้างและดันลำไส้กลับเข้าช่องท้องและเย็บปิด มักทำในทารกที่ลำไส้ออกมาไม่มากและไม่บวมเกินไป
ข้อดี คือ เป็นการผ่าตัดครั้งเดียว อยู่โรงพยาบาลไม่นาน
ข้อเสีย คือ เกิดภาวะแทรกซ้อน circulatory collapse หรือ abdominal compartment จากการที่อวัยวะไปกด inferior vena cava และดัน diaphragm
การส่งเสริมพัฒนาการ
การอุ้มสัมผัสพูดคุย จะช่วยพัฒนาการมองและการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
ด้านการเคลื่อนไหว
จัดให้เด็กอยู่ในท่านอนควํ่า ผู้ปกครองเขย่าของเล่นที่มีเสียงตรงหน้าเด็ก ระยะห่างประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) เมื่อเด็กมองที่ของเล่นแล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นมาทางด้านซ้าย เพื่อให้เด็กหันศีรษะมองตาม
ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นกลับมาอยู่ที่เดิม
ทําซํ้าอีกครั้งโดยเปลี่ยนให้เคลื่อนของเล่นมาทางด้านขวา
ด้านการเข้าใจภาษา
จัดเด็กอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ปกครองเรียกชื่อหรือพูดคุยกับเด็กจากด้านข้างทั้งข้างซ้ายและขวา โดยพูดเสียงดังปกติ
หากเด็กสะดุ้งหรือขยับตัวเมื่อผู้ปกครองพูดคุยเสียงดังปกติ ให้ผู้ปกครองยิ้มและสัมผัสตัวเด็ก
ถ้าเด็กไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ให้พูดเสียงดังเพิ่มขึ้น โดยจัดท่าเด็กเช่นเดียวกับข้อ 1 หากเด็กสะดุ้ง หรือขยับตัวให้ลดเสียงลงอยู่ในระดับดังปกติ พร้อมกับสัมผัสตัวเด็ก
การฟังเพลงบรรเลงเบาๆ จะช่วยส่งเสริม สายตาและการได้ยินให้ลูกได้
การส่งเสริมการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ
แนะนำเกี่ยวกับนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และแนะนำว่าควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลังจาก 6 เดือนเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยร่วมกับนมแม่ จนครบ 2 ปี หรือนานกว่านั้น