Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 3 (Anorectal malformations) - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 3
(Anorectal malformations)
พยาธิสภาพ
เกิดจากผนังกั้นระหว่างส่วนที่จะเจริญไปเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะกับส่วนที่จะเจริญเป็นช่องทวารหนักและลำไส้ตรงไม่แยกออกจากกัน ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและยาหรือสารเคมีที่มารดาสัมผัสในระยะตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
ไม่มีการถ่ายขี้เทาภายใน 24 ชั่วโมง "ขี้เทา" (Meconium) มีลักษณะเหนียว ๆ สีเขียวดำถ้าเลย 24 ชั่วโมงไปแล้วยังไม่ถ่ายอุจจาระให้สงสัยไว้ก่อนว่าเกิดจากการที่ลำไส้อุดตัน
ไม่พบรูเปิดทางทวารหนักหรือพบเพียงรอยช่องเปิดของทวารหนักเท่านั้น
ไม่มีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้ หากมีการอุดตันของลำไส้เป็นเวลานาน
กากอาหารที่ค้างที่ Rectum จะเพิ่มมากขึ้น
กระสับกระส่ายอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด
ปวดเบ่งอุจจาระ
ตรวจพบมีกากอาหารค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
ปัญหาทางการพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดเเละการพยาบาล
ก่อนการผ่าตัด
ไม่สุขสบายจากปวดท้องเนื่องจากไม่สามารถขับถ่ายได้
ข้อมูลสนับสนุน
ตรวจร่างกายไม่พบรูเปิดทวารหนัก
Anorectal malformation ชนิด Intermediate
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการปวดท้องของเด็กโดยเครื่องมือ NIPS หากมีคะเเนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 คะเเนน รายงานเเพทย์พิจารณาการลดปวด
ประเมิน Abdominal sign ฟัง bowel sound วัดเส้นรอบท้อง
จัดท่านอนศีรษะสูง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนลดอาการปวดท้อง
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา /จัดกิจกรรมการเล่นเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ให้เล่นของเล่น ลดสิ่งกระตุ้น
ดูแลให้ได้รับการสวนอุจจาระตามชนิดของโรคและตามแผนการรักษา
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่พบภาวะไม่สุขสบายจากการปวดท้อง
เกณฑ์การประเมิน
NIPS < 4
HR = 110-160 BPM
RR = 40-60 BPM
ระยะหลังผ่าตัด colostomy
เสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณColostomy เนื่องจากมีอุจจาระปนเปื้อน
ข้อมูลสนับสนุน
ทำColostomy บริเวณหน้าท้อง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะColostomy ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ ได้เเก่ บวม มีสีคล้ำ
ดูเเลรักษาความสะอาดบริเวณ colostomy ตรวจสอบการรั่วซึมของ Colostomy bag เปลี่ยนถุงใหม่เมื่อปริมาณอุจจาระ1/4ของถุงโดยเลือกขนาดให้พอดีกับแผล
ดูแลทา stomahesive cream เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณ colostomy
ประเมินสัญญาณชีพทุกๆ 4 ชั่วโมง
เพื่อติดตามอาการของการติดเชื้อ ได้เเก่ BT HR RR
ดูเเลให้ได้รับยาตามเผนการรักษาคือ
Metronidazole 20 mg IV drip q 12 hr
กลุ่มยา
Antiprotozoa
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ที่หมู่nitro groupของยารับ อิเล็กตรอนจากโปรตีน ประเภทส่งผ่านอิเล็กตรอนเซลล์ในเซลล์จุลชีพ ทำลาย DNA เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง DNA และยับยั้งการสร้างโปรตีน
ผลข้างเคียง
อาเจียน
ท้องผูก ท้องร่วง
เเน่นท้อง
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่พบการติดเชื้อบริเวณColostomy
เกณฑ์การประเมิน
อุณหภูมิ 36.8-37.2 องศาเซลเซียส
HR = 110-160 BPM
RR = 40-60 BPM
stoma มีสีเเดงมันวาว ไม่บวม
ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการดูแลเด็กป่วยที่ได้รับการผ่าตัด colostomy
ข้อมูลสนับสนุน
มารดามีความวิตกกังวลอย่างมาก เนื่องจากต้องดูแลบุตรที่มีทั้งถุงอุจจาระทางหน้าท้อง
และต้องช่วยถ่างขยายรูทวารหนักให้บุตรเมื่อกลับไปอยู่บ้าน กลัวจะดูแลบุตรได้ไม่ดี
เด็กได้รับการทำColostomy เเละ มีเเผนการรักษาanal dilatation
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำบิดา มารดา หรือผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคและวิธีการรักษาพร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านกำลังใจ
อธิบายให้บิดามารดาหรือผู้ดูแลทราบเหตุผล เเละวิธีการรักษาที่เด็กป่วยจะได้รับในแต่ละขั้นตอนรวมทั้งการดูแลเด็กป่วยระยะก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมิน stoma ที่มีลักษณะผิดปกติ ได้แก่ มีลักษณะสีซีด สีม่วงคล้ำ มีเลือดออก ไม่มันวาว ให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
แนะนำวิธีดูแล Colostomy ทำความสะอาดบริเวณ Colostomy
เลือกถุง Colostomy bag ให้พอดีกับแผล
ตรวจสอบความรั่วซึมของ Colostomy bag หากมีการรั่วซึมให้เปลี่ยนถุง
เปลี่ยนถุงใหม่เมื่อมีปริมาณอุจจาระมากกว่า 1 ส่วน 4 ของถุง
เป้าหมายการพยาบาล
มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค เเละการดูเเล มีความวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การประเมิน
สามารถบอกวิธีการดูเเลได้อย่างถูกต้อง
ระยะหลังผ่าตัดตกแต่งรูทวาร
เสี่ยงต่อการตีบแคบของแผลผ่าตัดหลังจากผ่าตัดตกเเต่งรูทวาร
ข้อมูลสนับสนุน
มีแผนการรักษาได้รับการผ่าตัดตกแต่งรูทวาร
กิจกรรมการพยาบาล
ขยายรูทวารหนัก (Anal dilatation) หลังผ่าตัด 2-3 สัปดาห์ ป้องกันรูทวารหนักตีบแคบ
โดยใช้สารหล่อลื่นทาที่แท่งพาราฟินก่อน หรือให้ยาบรรเทาปวดก่อนแล้วจึงเริ่มสอดแท่งขยาย โดยการสอด
แท่งพาราฟินจะสอดลึกประมาณ 5-8 cm. เข้า-ออก 4-5 ครั้ง เริ่มจากขนาดเล็ก ดังนี้
ระยะแรก ขยายทุกวัน วันละ 2 ครั้ง นาน 1 เดือน
ระยะที่ 2 ขยาย 1 ครั้ง ทุก 3 วัน นาน 1 เดือน
ระยะที่ 3 ขยาย 2 ครั้งทุกสัปดาห์ นาน 1 เดือน
ระยะที่ 4 ขยาย 1 ครั้งทุกสัปดาห์ นาน 1 เดือน
ระยะที่ 5 ขยาย 1 ครั้งต่อ 1 เดือน นาน 3 เดือน
ทำความสะอาดรูทวารหนักที่ตกแต่งด้วยน้ำและสบู่ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
หากพบอุจจาระเหลว อาจจะทำให้ผิวหนังรอบแผลทวารหนักที่ตกแต่งเป็นแผลถลอกได้ ควรทำความสะอาดปกติและใช้ครีมที่ป้องกันแผลถลอก (Barrier cream) หรือ mineral oil
ประคับประคองจิตใจทารกและบิดามารดา สอนเกี่ยวกับ Colostomy care การขยายรูทวารหนัก
และอาการของการมีรูทวารหนักตีบแคบ
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่พบการตีบแคบของรูทวาร
เกณฑ์การประเมิน
สามารถสอดเเท่งพาราฟินลึก 5-8 cm. เข้า-ออกจากขนาดเล็ก ไปใหญ่ได้
เสี่ยงภาวะพร่องโภชนาการ
ข้อมูลสนับสนุน
แผนการรักษาให้ได้รับการ NPO
เด็กไม่มีรูทวาร
เป้าหมายการพยาบาล
ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
ควรมีน้ำหนัก 6 กิโลกรัม
พลังงานที่ควรได้รับใน 1 วัน คือ 600 กิโลเเคลอรี่/ วัน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับ 10% D/W 500 ml IV rate 15 ml/hr เพื่อให้ได้รับพลังงาน อย่างเพียงพอ
ชั่งน้ำหนักเพื่อประเมินภาวะขาดโภชนาการแบบฉับพลัน
ดูแลให้ได้รับนมมารดาเพื่อให้ได้รับพลังงาน 600 kcal และ ให้มีน้ำหนัก 6 kg
ตามเกณฑ์อายุ 3 เดือน (3+9)/2
แนะนำการดูดนมอย่างถูกวิธี ได้แก่ การดูดนมแต่ละครั้งใช้เวลา 30 นาที กระตุ้นให้เด็กปากโดยการเขี่ยที่แก้ม ให้อ้าปากกว้าง ปากล่างปริ้น คางชิดนมมารดา ลานนมด้านบนเหลือมากว่าลานนมด้านล่าง เมื่อดูดเสร็จกระตุ้นให้เด็กอ้าปากออกจากนมโดยการเขี่ยแก้ม และ ให้เรอเป็นๆระยะเพื่อป้องกันอาการท้องอืด
การให้คำเเนะนำในการดูเเลต่อเนื่องที่บ้าน
แนะนำการทำ anal dilatation
วิธีการ โดยต้องใช้สารหล่อลื่นก่อน หรือให้ยาบรรเทาปวดก่อนแล้ว
จึงเริ่มสอด จะเริ่มสอดจากขนาดเล็กก่อน ดังนี้
ระยะแรก ขยายทุกวัน นาน 1 เดือน
ระยะที่ 2 ขยาย 1 ครั้งทุก 3 วัน นาน 1 เดือน
ระยะที่ 3 ขยาย 2 ครั้งทุกสัปดาห์ นาน 1 เดือน
ระยะที่ 4 ขยาย 1 ครั้งทุกสัปดาห์ นาน 1 เดือน
ระยะที่ 5 ขยาย 1 ครั้งต่อ 1 เดือน นาน 3 เดือน
ทำหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ แต่ทำด้วยเทียนไข หรือแท่งสบู่ ดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนักหลังตกแต่ง โดยไม่กางขา 7-10 วัน
ดูแลทำความสะอาดหรือแช่ก้นด้วยน้ำอุ่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แนะนำการดูแล colostomy
การทำความสะอาด colostomy และบริเวณรอบ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการระคายเคืองจากการสัมผัสกับอุจจาระ โดยเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด (น้ำต้มสุก) อาจใช้สบู่อ่อน เช่น สบู่เด็ก ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน สามารถอาบน้ำได้ และเช็ดผิวหนังรอบ ๆ ให้แห้งก่อนติดถุง
ใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบผิว ปกป้องผิวรอบ colostomy เพื่อป้องกันการระคายเคืองจากอุจจาระ ลดการเสียดสี ป้องกันสูญเสียน้ำทางผิวหนัง และเพิ่มความชุ่มชื้น ได้แก่ cream, liquid wipes, liquid spray
การเปลี่ยนถุงรองรับอุจจาระ โดยให้เทถุงรองรับอุจจาระเมื่อมีปริมาณ 1/3 ของถุง
สอนบิดามารดาให้สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ การสังเกตสี กลิ่น จำนวน และลักษณะของอุจจาระ เช่น มีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน เป็นต้นและหากมีอาการหอบเหนื่อย ซึม ไม่ยอมดูดนม ท้องอืด อาเจียน มีไข้ ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีแม้จะยังไม่ถึงวันนัด
ส่งเสริมโภชนาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การส่งเสริมพัฒนาการ
การรับวัคซีน
2 เดือน
DTP-HB-Hib1
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP)
เชื้อตาย
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหน้าขา 0.5 ml
หลังฉีด : ไข้ ร้องกวน บวมบริเวณที่ฉีด อาการมักเริ่ม 3-4 ชม. หลังฉีด เป็นอยู่ไม่เกิน 2 วัน ถ้าบวมแดงมากให้ประคบด้วยน้ำเย็น หลังจากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่น
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี(HB)
เชื้อตาย
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหน้าขา 0.5 ml
บริเวณที่ฉีดมีอาการปวดบวม มีไข้ต่ำๆ อาการมักเริ่ม 3-4 ชม.หลังฉีด
เป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชม.
วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อ Haemophilus influenzae type b(Hib1)
เชื้อตาย
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหน้าขา 0.5 ml :
ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด ปฏิกิริยาจากวัคซีนอาจไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 24 ชม.
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ(OPV1)
เชื้อเป็น
ทางปาก ขนาด 0.1-0.5 ml(2-3 หยด)
อาจทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนและผู้ที่สัมผัสเป็นอัมพาตได้ภายหลังรับวัคซีน 4-30 วัน
Rota1
เชื้อเป็น
ทางปาก
ไข้ เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาเจียน งอแง
ครั้งถัดไปตอน 4 เดือน
DTP-HB-Hib2,OPV2,IPV,Rota2
วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ(IPV)
เชื้อตาย
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าขา 0.5 ml
มีความปลอดภัยสูง แต่อาจมีแพ้ในเด็กที่แพ้ยา streptomycin,neomycin และ polymyxin B เนื่องจากมีส่วนผสมของยาชนิดดังกล่าวอยู่
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย
และการตรวจพิเศษเพิ่ม
ซักประวัติ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
เช่น การสัมผัสในบริเวณที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมี
อาชีพ
เช่น การทำสวนที่ต้องสัมผัสกับยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีบ่อยๆ การทำงานโรงงานอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
การถ่ายอุจจาระ สี ลักษณะ ปริมาณ
การดูแล colostomy ที่ผ่านมาของมารดา
อาการท้องอืด เช่น ไม่เรอ ไม่ผายลม ท้องตึง
ตรวจร่างกาย
พบก้นแบน กล้ามเนื้อน้อย sacrum ผิดปกติหรืออยู่สูงกว่าปกติ ขี้เทาปนกับปัสสาวะ อุจจาระพบเซลล์เยื่อบุผิวปริมาณมาก
ประเมินฟัง bowel sound
วัดเส้นรอบท้อง เพื่อประเมินการโตขึ้นของหน้าท้อง หากมีการโตขึ้นอาจบ่งบอกว่ามีแก๊สหรืออุจจาระคั่งค้าง
ประเมินอาการปวดด้วย NIPS
การตรวจพิเศษ
การตรวจรังสี X-ray ด้วยวิธี Wangen Streen-Rice View
3.การทำ Ultrasound เพื่อตรวจการไหลเวียนเลือดและอวัยวะภายใน
การทำ CT scan ตรวจดูกระดูก กล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน
การทำ MRI ตรวจความผิดปกติร่วมของไขสันหลังและความผิดปกติของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ประเมินระดับลำไส้ตรง ในท่า prone-lateral cross table
อ้างอิง
จันทร์จุรีย์ ถือทอง. (2564). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็ก.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : นครศรีธรรมราช.
ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร. (2564). เอกสารประกอบการสอนเรื่องการประเมินภาวะสุขภาพในทารกและเด็ก.มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ : นครศรีธรรมราช.
น้ำฝน ฤทธิภักดี.(2564). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องการพยาบาลเด็กสุขภาพดี . มหาวิทยาวลัยลักษณ์: นครศรีธรรมราช.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM).
กรุงเทพ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.