Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลเเละการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลเเละการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528
หมวดที่ 1 สภาการพยาบาล
มาตรา ๖
ให้มีสภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้สภาการพยาบาลเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗
สภาการพยาบาลมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) ส่งเสริมการศึกษา การบริการ ㆍ การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๓) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับ
การพยาบาล การผดุงครรภ์ และการสาธารณสุข
(๕) ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล การผดุงครรภ์ และ การสาธารณสุข
(๖) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ในประเทศไทย
(๗) ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
มาตรา ๘
สภาการพยาบาลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๓) ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย
(๔) รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรของสถาบันที่จะทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๕) รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันการศึกษาที่จะทำการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๖) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนและฝึกอบรมตาม (๔) และ (๕)
(๗) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันต่างๆ
(๘) ออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุง ครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๙) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
มาตรา ๙
สภาการพยาบาลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
(๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(๒) ค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่างๆ
(๓) ผลประโยชน์จากกิจกรรมอื่นของสภาการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๗
(๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการพยาบาล
(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินอื่นตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
มาตรา ๑o
ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิศษแห่งสภาการพยาบาลและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวดที่ 5 ทวิ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตราที่ 45
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจสอบ
สถานที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล
สถานที่ทำการสอน หรือเชื่อว่าทำการสอนวิชาชีพพยาบาล
สถานที่ปฏิบัติงานที่มีผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลปฏิบัติอยู่
หมวดที่ 2 สมาชิก
มาตรา ๑๑
สภาการพยาบาลประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ
(๑) สมาชิกสามัญ ได้แก่ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(ข) มีความรู้ในวิชาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ที่สภาการพยาบาลรับรอง
(ค) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ง) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(จ) ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาการพยาบาลเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๑๒
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญมีดังต่อไปนี้
(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และขอหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทางหรือหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการนั้น
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาลส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาล คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ ผู้เสนอทราบโดยมิชักช้า
(๓) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับเลือกเป็นกรรมการ
(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๑
หมวดที่ 3 คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔
ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาล ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ๕ คน
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ๓ คน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ๑ คน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ๔ คน ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ๑ คน ผู้แทนสภากาชาดไทย ๑ คน นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี และสมาชิกสามัญสภาการพยาบาลอีก ๑๖ คนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาล เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๕
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการที่ปรึกษาต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของคณะกรรมการให้กรรมการที่ปรึกษาดำรงตำแหน่งตามวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
มาตรา ๑๖
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาการพยาบาล
อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สอง ตำแหน่งละหนึ่งคน
ให้นายกสภาการพยาบาลเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๘ เพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการหนึ่งคน และเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก ตำแหน่งละหนึ่งคน ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ให้นายกสภาการพยาบาสมีอำนาจถอดถอนเลขาธิการก่อนครบวาระตามวรรคสามได้ ทั้งนี้
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
กรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามมาตรานี้แต่ละตำแหน่ง อาจพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวก่อน
ครบวาระได้โดยอนุมัติของคณะกรรมการ
ให้กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการให้ดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้ง
มาตรา ๑๗
การเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา๑๕ และการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามมาตรา ๑ ๖ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๘
กรรมการนอกจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรรมการที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(2) ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๓) ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา ๑๙
ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และ
อาจได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองคราวติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒o
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๓
(๒) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘
(๓) ลาออก
มาตรา ๒๑
ในกรณีตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ เป็นกรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่นที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
มาตรา ๒๒
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวนและ คณะอนุกรรมการอื่น
เพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
(๓) ออกข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วย
(ก) การเป็นสมาชิก
(ข) การกำหนดโรคตามมาตรา ๑๑ (๑) (จ)
(ค) การกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้
(ง) การเลือกและการเลือกตั้งกรรมการ และการแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา
(จ) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาตแบบ และประเภทใบอนุญาต
(ฉ) หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ช) ข้อจำกัดและงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ซ) การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฌ) การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
(ญ) หลักกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฎ) หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสอบความรู้ตามอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล
(ฎ) หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษว่ามีผู้ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฐ) เรื่องอื่นๆ ที่อยู่ภายในวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาลหรืออยู่ภายในอำนาจ
หน้าที่ของสภาการพยาบาลตามกฎหมายอื่น
(๑) บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามมาตรา ๗
มาตรา23
นายกสภามีอำนาจดำเนินการของสภาเป็นผู้แทนสภาและเป็นประธานในที่ประชุม
อุปนายกคนที่ 1 เเละ 2 เป็นผู้ช่วยนายกสภาเเละทำแทนนายกเมื่อนายกสภาไม่อยู่
ดูเเลรักษาทะเบียยนสมาชิก
หมวดที่ 4 การดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
การพยาบาล : การกระทำต่อมนุษย์เกียวกับการดูแล ช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย ฟื้นฟู ป้องกันส่งเสริม รวมถึงช่วยเหลือเเพทย์ในการรักษา
การผดงครรภ์ การดูเเล หญิงตั้งครรภ์หลังคลอด เด็กเเรกเกิด รวมถึงตรวจ เเละทำคลอด
การประกอบวิชาชีพพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่จ่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยสอนหรือให้คำเเนะให้คำปรึกษาทางสุขภาพ
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล บุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนเเละได้รับใบอนุญาต
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเเละได้รับใบอนุญาตเป็นผู็ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล เเละการผดุงครรภ์ ผู้ที่ได้รับใบประกอบการพยาบาลเเละการผดุงครรภ์
ใบอนุญาต ใบอนุญาต ที่สภาการพยาบาลออกให้
สมาชิก สมาชิกสภาการพยาบาล
กรรมการ กรรมการสภาการพยาบาล
คณะกรรมการ คณะกรรมการสภาการพยาบาล
คณะกรรมการ คณะกรรมการสภาการพยาบาล
มาตรา 25
นายกพิเศษจะเข้าฟังการประชุมชี้เเจงข้อความเห็นในที่ประชุม
มาตรา 26
มติที่ประชุม
ออกข้อบังคับ
กำหนดงบประมาณ
การวินิจฉัยเด็ดขาด
การให้สมาชิกพ้นสภาพตาม
มาตรา 24(มติที่ประชุมถือเสียงข้างมาก)
บทเฉพาะกาล
มาตรา 50
ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนเเละรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในวิชาชีพการพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยการควคุมโรคปีะกอบศิลปะ
มาตรา 51
ในระยะเริ่มเเรกที่ยังไม่ได้เลือกตั้งสมาชิกสามามัญของสภาเป็นกรรมการการปรอลกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นนายกสภาและได้รับการเเต่งตั้งตามมาตรา 14 เป็นการเเต่งตั้งดังกล่าวจะต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 30
มาตรา 49
ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเเละได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกบโรคแผนปัจจุบันในวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
มาตรา 52
ในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกระเบียบเพื่อปฏิบัติตาม พรบ ให้นำกฎกระทรวงระ้เบียบหรือประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาล