Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตัวเหลืองหรือภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในทารกแรกเกิด
(Neonatal jaundice…
ภาวะตัวเหลืองหรือภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในทารกแรกเกิด
(Neonatal jaundice / NeonatalHyperbilirubinemia)
ความหมาย
เป็นภาวะที่ทารกมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงกว่าค่าปกติ เมื่อระดับบิลิรูบินสูงเกินกว่า 5 mg/dl อาการ เหลืองจะเริ่มจากบริเวณใบหน้าเข้าหาลําตัวไปสู่แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ภาวะเหลืองเป็นภาวะที่พบบ่อยในทารกแรก เกิด ที่อาจเป็นภาวะปกติจากสรีรภาวะ (Physiological jaundice) หรือเป็นภาวะผิดปกติจากพยาธิภาวะ (Pathological jaundice) ภาวะบิลิรูบินที่สูงระดับหน่ึงอาจทําให้เกิดอันตรายต่อเซลล์สมองของทารก ทําให้เนื้อสมองพิการและเสียชีวิตได้ พบว่าเกิดในทารกคลอดครบกําหนดร้อยละ 60 และในทารกเกิดก่อนกําหนด ร้อยละ 80
ขนิดของตัวเหลือง
1.Physiologic jaundice เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของทารกแรกเกิดมีมากกว่าผู้ใหญ่ 2 เท่า และมี hemoglobin F
ที่อายุสั้นกว่าเพียงอายุ 90 วันแตกทําลายเร็วทําให้มี heme เปลี่ยนเป็นบิลิรูบินมากขึ้น
2.Pathologic jaundice ตัวเหลืองจากการมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากผิดปกติ อาจสังเกตอาการเหลืองได้
เมื่อทารกมีอายุน้อยกว6า 24 ชั่วโมง
2.1ระยะเฉียบพลันจะเริ่มมีอาการซึมลง ไม่ยอมดูดนม ร้องเสียงแหลมสูง แขน ขาอ่อนแรง ระยะหลังจะมีอาการไข้ ตัวเหลือง ตัวเกร็ง ชักเกร็ง ร้องกวนมาก
2.2ระยะเรื้อรัง อาจมีปัญหาหูหนวก ชัก ตัวเกร็งแข็ง
การเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ มีปัญหาด้านพัฒนาการและสติปัญญาได้
สาเหตุ
1.การสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้นจากภาวะต่างๆ ที่มีการทําลายเม็ดเลือดแดง
1.1การแตกทําลายของเม็ดเลือดแดงจากการที่หมู่เลือดของแม่และลูกไม่เข้ากันการที่เลือดแม่กับลูกคนละหมู่ แม่จะสร้าง antibody ต่อหมู่เลือดลูกและผ่านจากรกมายังทารกที่อยู่ในครรภ์ทําให้เกิดการแตกทําลายของเม็ดเลือดแดงทารก
1.2มีความผิดปกติของเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง เช่น G6PD deficiency
1.3มีเลือดออกภายในร่างกาย
1.4มีการขับบิลิรูบินได้น้อยหรือไม่ได้ เกิดจากลําไส้มีการเคลื่อนไหวน้อย
หรือทารกดูดนมน้อย
2.การดูดซึมกลับของบิลิรูบินจากลําไส้มากขึ้น
2.1Breast feeding jaundice พบตัวเหลืองในวันที่ 3-4
2.2Breast milk jaundice พบตัวเหลืองวันที่ 5 และมีระยะเวลานานได้ถึง 2 เดือนสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ เช่น ประวัติการคลอด โรคทางพันธุกรรมหรือประวัติปริมาณน้ำนมของมารดาจะสัมพันธ์กับ breast feed jaundice ประวัติการคลอดของทารก
2.การตรวจร่างกาย ใช้นิ้วกดผิวหนังแล้วดูสีผิวบริเวณที่ถูกกดจะเห็นสีเหลืองชัดขึ้นทารกที่มีจ้ำเลือดตามตัวหรือรอยเลือดออกบนผิวหนัง ตับ ม้ามโต ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้า
3.การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
3.1การหาระดับบิลิรูบินในเลือดทั้ง Total bilirubin และ direct bilirubin
3.2การตรวจนับเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC)
3.3Direct coombs’ test เพื่อดูภาวะ blood group incompatibility
3.4การตรวจหาหมู่เลือดของมารดาและทารก เพื่อดูภาวะ blood group incompatibility (ABOincompatibility)
การรักษา
1.รักษาด้วยการส่องไฟ (Phototherapy) ใช้แสงที่มี
ความถี่ 450-480 nm (Intensivephototherapy) ค่าความเข้มแสงอย่างน้อย 30 ไมโครวัตต์/cm2/nm โดยใช้หลอดไฟสีฟ้า (Blue light) ควรวางทารกห่างจากหลอดไฟประมาณ 30-45 เซนติเมตร ควรใช้ผ้ากั้นไว้โดยรอบแผงไฟทั้ง 3 ด้านเพื่อช่วยป้องกันการกระจายของแสง
ภาวะแทรกซ้อน
1.เสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำผ่านทางผิวหนัง
เพราะอุณหภูมิรอบตัวสูงขึ้น มีไข้ได้
2.อาจมีผื่นแดงตามลําตัวชั่วคราว เนื่องจากการระคายเคืองจากแสดงอัลตราไวโอเลต
3.อาจถ่ายเหลวจากการที่แสงที่เกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุลําไส้
มี unconjugated bilirubin เพิ่มขึ้นในลําไส้
4.ทารกอาจตาบอด
5.พบในทารกที่มี conjugated bilirubin ในเลือดสูงและได้รับการส่องไฟ อาจมีผิวสีคล้ำเมื่อหยุดส่องไฟรักษาอาการจะหายไปเอง
ข้อบ่งชื้อในการหยุดส่องไฟ
1.เริ่มส่องไฟเมื่ออายุมากกว่า 48 ชั่วโมง จะหยุดส่องไฟเมื่อค่า MB < 12 mg/dl ที่อายุ ≥ 96 ชั่วโมง
2.เริ่มส่องไฟภายใน 48 ชั่วโมงจาก ABO incompatibility หยุดส่องไฟเมื่อ MB < 12mg/dl ที่อายุ 72-96 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 15 mg/dl ที่อายุ > 96 ชั่วโมงขึ้นไป
2.การเปลี่ยนถ่ายเลือด (Exchange transfusion)
มีข้อบ่งชี้ที่สําคัญคือ เกิดจากเลือดแม่กับเลือดลูกไม่เข้ากัน หรือเม็ดเลือดแดงแตกง่ายควรเปลี่ยนเลือดเมื่อระดับ MB > 20 mg/dl สําหรับทารกอายุ 3-5 วัน ระดับ MB > 25 mg/dl
เลือดที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายเลือดควรเป็นเลือดใหม่ (fresh whole blood) เก็บไว้ไม่เกิน 3 วัน และต้อง Cross-Math กับเลือดของมารดาด้วยการถ่ายเปลี่ยนเลือดมักทําทางสายสวนทางหลอดเลือดดําที่สายสะดือ เลือดที่ใช้ควรมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิกายของทารก เพื่อป้องกันอุณหภูมิร่างกายทารกต่ำกว่าปกติเลือดที่ดูดออกแต่ละครั้งไม่ควร 5 – 10 ml/ครั้ง
3.การใช้ยาในการรักษา (pharmacological agents) ยาที่ใช้ในการกระตุ้นการทํางานของเอนไซม์
ในตับและลดระดับของบิลิรูบิน คือ phenobarbital จะช่วยลดการขนส่งบิลิรูบินเข้าสู่เซลล์ตับ
ยา Tin-mesoporphrin ทําหน้าที่ยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ heme oxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยเปลี่ยน heme ให้เป็น bilirubin
ปัญหาการพยาบาล
มีภาวะตัวเหลืองเนื่องจากตับทํางานไม่สมบูรณ์/มีความผิดปกติของเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง/การแตกทําลายของเม็ดเลือดแดงจากการที่หมู่เลือดของแม่และลูกไม่เข้ากัน