Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข - Coggle Diagram
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
แนวคิดในการจัดทำบัญชียาหลัก
1.หลักการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก
ㆍทุกประเทศมีทรัพยากรอยู่จำกัด
ㆍยาสำเร็จรูปจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก
ㆍทำให้เป็นภาระของประเทศในภาพรวมต่อการพัฒนาระบบยาในด้านต่างๆ
ㆍ องค์การอนามัยโลกจึงนำหลักการยาจำเป็นมาใช้ครั้งแรกในปี
พ.ศ.2520 และแนะนำให้ประเทศสมาชิกคัดเลือกรายการยาจำเป็นไว้
2.เภสัชตำรับโรงพยาบาล
ㆍกระทรวงสาธารณสุขมีหลักการและแนวคิดในการจัดหาและเลือกสรร
ยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความประหยัดและความสะดวกในการบริหารเวชภัณฑ์
ㆍ"เภสัชตำรับโรงพยาบาล " ต่อมาพัฒนาเป็น ""เภสัชตำรับกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2515" เพื่อเป็นแม่แบบในการจัดหาและคัดเลือกยาของโรงพยาบาล
3.บัญชียากระทรวงสาธารณสุข สูบัญชียาหลักแห่งชาติไทย
ㆍได้ประกาศใช้"นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2524" และจัดทำบัญชียาแห่งชาติฉบับแรก เรียกว่า "บัญชียาจำเป็นแห่งชาติ พ.ศ. 2524"และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ
ㆍโดยยึดหลักการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศควบคู่กับหลักการขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้ "ยาหลัก" ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ หมายถึง ยาที่มีความสำคัญ เป็นยาพื้นฐานที่ขาดเสียมิได้และมีความจำเป็นต่อสุขภาพของประชาขน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
บัญชียาหลักแห่งชาติ
ㆍ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
ㆍ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา
ㆍ ครอบคลุมยาที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
ㆍ นำไปใช้เป็นกรอบอ้างอิงสิทธิประโยชน์ด้านยาของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย ผู้ป่วยประกันสังคมผู้ป่วยประกันสุขภาพ)
ㆍกรอบอ้างอิงในระเบียบ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารเวชภัณฑ์ และสวัสดิการรักษาพยาบาลของประเทศ
ยาหลัก(ยาจำเป็น, essential drug)
ㆍตอบสนองความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่สำคัญของประซากรของประเทศ
ㆍมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าของราคา
ㆍ สามารถใช้ได้ตามบริบทของระบบสาธารณสุขของประเทศตลอดเวลา
ㆍมีปริมาณที่เพียงพอ ขนาดยาที่เหมาะสม มีคุณภาพและข้อมูลหลักฐานทางวิชาการที่เพียงพอ ราคาเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลและชุมขน
ㆍ หลักการการใช้ยามีความยืดหยุ่น และปรับได้กับหลายๆสถานการณ์
ㆍ เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับประเทศ
สาเหตุที่ต้องมีบัญชียาหลักๆและระเบียบพัสดุในการจัดซื้อยา
มีการใช้ยาเกินความจำเป็น การใช้ยาในปีหนึ่งๆมีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านบาท ทำให้ในแต่ละปีต้องสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศในการนำเข้ายาสำเร็จรูปและวัตถุดิบจำนวนมหาศาล
การคัดเลือกยาที่มีความเหมาะสมบรรจุใว้ในบัญชียาหลัก คู่กับระเบียบการจัดซื้อยา และการทำความเข้าใจให้แพทย์ใช้ยาโดยอิงรายการยาในบัญชียาหลักฯก็เพื่อให้มีแบบแผนการใช้ยาที่สมเหตุผล ทำให้สามารถลดความฟุ่มเฟือยจากการใช้ยาลงได้
หลักเกณฑ์เบื้องต้นแพทย์สามารถใช้ยาให้เกิดความคุ้มค่าได้โดยง่าย
ㆍด้วยการใช้ยาในกรอบบัญชียาหลัก แห่งชาติ (หลีกเลี่ยงการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ) เพทย์ ครใช้ผให้คุ้มค่า
ㆍโดยใช้ให้สอดคล้องกับข้อบ่งขี้และใช้อย่างเป็นขั้นตอนหลีกเลี่ยงการใช้ยาในบัญชี ค. และ ง. โดยควรส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาใช้ยาดังกล่าว
แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยาในบัญชียาหลักฯ
1.ยาต้องมีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน ในการสร้างเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนชาวไทยในระดับจำเป็น แต่ประหยัด คุ้มค่า และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
2.ยาต้องมีข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบันเพียงพอที่แสดงว่ายานั้นมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงความเสมอภาคในการเข้าถึงยาของประชาชนกลุ่มต่างๆทั้งนี้โดยให้มีความเหมาะสมกับบริบทของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย
3.ยาต้องมีทะเบียนตำรับยาในประเทศไทยเว้นแต่เป็นยาที่ได้รับการยกเว้นตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติยาหรือเป็นเวชภัณฑ์ซึ่งควบคุมกำกับโดยกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.ยาที่มีการผลิตในประเทศ ควรได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรม
5.ตำรับยาควรเป็นยาเดี่ยวหากจำเป็นต้องเป็นยาผสมต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่แสดงว่ายาผสมมีข้อดีกว่าหรือเท่าเทียมกับยาเดี่ยว ในด้านประโยชน์ ความปลอดภัย และค่าใช้จ่าย
กระบวนการคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ความโปร่งใสในกระบวนการคัดเลือกยาบริสุทธิ์ใจ โปร่งใส ตามหลักวิชาการและมุ่งประโยชน์ส่วนรวม
การคัดเลือกยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์
มีหลักฐาน เหตุผล เป็นปัจจุบัน
ละเอียดครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจ
ข้อมูลชัดเจนและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เพื่อลดอคติในการพิจารณา
ใช้คะแนนและดัชนีในการเปรียบเทียบยา ชนิดต่างๆ
ใช้ผู้เชี่ยวซาณ ที่สามารถนำปัจจัยอื่นๆที่ไม่ได้นำมาคำนวณคะแนนมาประกอบการพิจารณาเช่น ความรวดเร็วในการออกฤทธิ์ของยา ความคงทนของตัวยา และการดื้อยาเป็นต้น
3.คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ จะทำการพิจารณาข้อมูล เหตุผลและหลักฐานต่างๆจากทั้งคณะทำงานทั้งสอง เพื่อตัดสินใจสงกลับไปยังคณะทำงานฯทั้งสองพิจารณาซ้ำอีกครั้งคณะทำงานฯ แต่ละสาขาประกอบด้วยผู้แทนคณะอนุกรรมการและผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จริยธรรม ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ด้านเภสัชศาสตร์ เวชกรรม ทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาซีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพทั้งจากมหาวิทยาลัย สถานพยาบาลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ประกอบด้วย
บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข
บัญชียาจากสมุนไพร
บัญชี ก รายการยามาตรฐานที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนการใช้ประสบการณ์การใช้ในประเทศไทยพอเพียง และเป้นยาที่ควรรับเลือกเป็นอันดับแรกตามข้อบ่งชี้
บัญชี ข หมายความว่า รายการยาที่ใช้สาหรับข้อบ่งใช้หรือโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชี กไม่ได้ หรือไม่ได้ผล หรือใช้เป็นยาแทนยาในบัญชี ก ตามความจำเป็น
บัญชี ค หมายความว่า รายการยาที่ต้องใช้ในโรดเฉพาะทางโดยผู้ชำนาญ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ โดยสถานพยาบา
บัญชี ง หมายความว่า รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบางข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือเป็นยาที่มีราคาแพง จำเป็นสาหรับผู้ป่วยบางรายแต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง การสั่งใช้ยาให้สมเหตุผล คุ้มค่า สมประโยชน์ สถานพยาบาลจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
บัญชี จ หมายความว่า บัญชี จ(๑) รายการยาสาหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีงบประมาณ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินโครงการ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการที่ชัดเจน มีการกำหนดวิธีการใช้และแนวทางในการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นระยะตามความเหมาะสมและเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยมีการคำนวณผลกระทบระยะยาวต่อประเทศในกรณีที่โครงการมีการขยายผล เพื่อพิจารณาจัดเข้าประเภทของบัญชีย่อยอื่นในบัญชียาหลักต่อไปเมื่อมีข้อมูลเพียงพอ
การจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ
ㆍข้อมูลต้นทุนประสิทธิภาพเปรียบเทียบ ระหว่างยาในกลุ่มเดียวกันและต้นทุนผลได้ของยาระหว่างกลุ่มสำหรับโรคเดียวกัน
ㆍ หน้าที่ของ
สถาบันการศึกษาต่างๆที่จะต้องสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ให้เกิดขึ้น
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติจะต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจ
ㆍบัญชีอ้างอิงของสวัสดิการรักษาพยาบาลต่างๆได้แก่สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ประกันสังคม ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูลและการประกันสุขภาพ
ㆍ ตระหนักถึงผลกระทบทางการเงินจากการบริโภคยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และผลตอบแทนสุขภาพที่พึงได้รับ
ㆍ การกำกับการ การประเมินผล การใช้ยาบัญชีย่อยต่างๆในบัญชียาหลักแห่งชาติจะเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจ เมื่อเทียบกับกำลังเงินที่มีอยู่ในระบบประกันสุขภาพแต่ละประเภท
ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติ
ㆍโรงพยาบาลในแต่ละระดับมีความแตกต่างกัน
ㆍแพทย์ในโรงพยาบาลบางแห่งไม่สนใจว่ายาที่ใช้อยู่ในบัญชียาหลัก ฯหรือไม่
แต่จะยึดถือการรักษาผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง
ㆍ ยาที่จำเป็นและใช้บ่อยไม่อยู่ในบัญชียาหลัก ทำให้โรงพยาบาลต้องสร้าง
กลไกการรับรองยานอกบัญชียาหลักฯ ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากต่อผู้
ให้บริการและผู้รับบริการ รวมทั้งยาบางรายการมีราคาแพงกว่าราคากลาง
เภสัชตำรับโรงพยาบาล หมายความว่า รายการยาที่โรงพยาบาลสามารถผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตำรับของโรงพยาบาล ที่เป็นรายการยาตามที่ระบุในภาคผนวก ๑หรือภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก 4
บัญชียาจากสมุนไพร หมายความว่า รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ และยาพัฒนาจากสมุนไพร ซึ่งมีตัวยาในสูตรตารับ และรายละเอียดตามภาคผนวก 2 โดยมีรายการยาจากสมุนไพรที่แนบรายการเภสัชตารับโรงพยาบาลรวมอยู่แล้ว
คำอธิบายรายการยาในบัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖ ๔ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ㆍรายละเอียดของรายการยาประกอบด้วยชื่อสามัญ ทางยา รูปแบบยาบัญชีย่อย นอกจากนี้
ㆍ อาจมี ความแรง ขนาดบรรจุ เงื่อนไข คำเตือนและข้อควรระวังข้อกำหนดอื่นๆ และหมายเหตุ
ㆍให้ถือว่ายาที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดข้างต้น เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
การแสดงชื่อสามัญทางยา
(generic name) และรูปแบบยา (dosage form)
ㆍส่วนใหญ่ชื่อสามัญทางยาจะแสดงด้วยชื่อ InternationalNonproprietary Name (INN)
ㆍในกรณียาชนิดนั้นไม่มีซื่อ INN ให้ใช้ชื่ออื่นแทน เช่น British ApprovedNames (BAN), United States Approved Name (USAN)เป็นต้น
ยาทุกรายการหมายถึงยาที่มีสารออกฤทธิ์ ๑ ชนิดที่มีรูปแบบยาตามที่ระบุไว้เท่านั้น เว้นแต่ยาสูตรผสมจะแสดงชื่อสามัญทางยาของสารออกฤทธิ์ในสูตรยารายการนั้นทั้งหมด
คำจำกัดความรูปแบบยาที่สำคัญ
tab / cap หมายถึง ยาเมืด หรือแคปซูล แบบ immediate release (IR) สำหรับกินทั่วไป ที่มิได้มีการพัฒนารูปแบบการบริหารยาเป็นการเฉพาะหรือเป็นพิเศษ เช่นcompressed tablet, film coated tablet, sugar coated tablet เป็นต้น
SR tab / cap หมายถึง ยาเม็ดหรือแคปซูลสำหรับรับประทานที่เป็นยาออกฤทธิ์นานทุกชนิดเช่น controlled release, extended release, modified release, slowrelease เป็นต้น
EC tab / cap หมายถึง ยาเม็ดหรือแคปซูล สำหรับรับประทานที่ออกแบบให้ตัวยาละลายใน
ลำไส้ (enteric coated)
ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ของรายการยา
ㆍ คำเตือน และข้อควรระวัง ระบุในกรณีซึ่งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มี
ความสำคัญ เช่น พบบ่อย
ㆍหรืออาจเป็นอันตรายทั้งที่มีระบุไว้ในเอกสารกำกับยาหรือเป็นข้อมูล
ใหม่ ที่ควรสื่อสารให้ผู้ใช้บัญชีรับทราบ
ㆍโดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจน
หมายเหตุ ได้แก่ คำแนะนำ ข้อสังเกต คำอธิบาย ที่สำคัญซึ่งต้องการ
สื่อสารให้ผู้ใช้บัญชีรับทราบ
บัญชียาหลักแห่งชาติและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ㆍบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2524 เป็นบัญชียาฉบับแรกของประเทศไทย ที่ เริ่ม
ประกาศใช้ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการดำเนินงานตาม
นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2524 เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ และใน
นโยบายแห่งชาติด้านยา ข้อ 2 ต้องจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาและ
การใช้ยาสำหรับการบำบัดรักษาผู้ป่วยไปสู่แพทย์และผู้ประกอบโรคศิลปะที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
ㆍ ปี พ.ศ. 2529 คณะรัฐมนตรีเห็นว่า เรื่องนี้เป็นประโยชน์ในการบริหารระบบยาทั้งใน
แง่วิชาการและงบประมาณ จึงประกาศขยายขอบข่ายการใช้บัญชียาหลัก แห่งชาติ
ให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการ รวมทั้งให้ปรับปรุงพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเป็น
ระยะๆ และจัดทำนโยบายแห่งชาติ ด้านยา ซึ่งเน้นการใช้ยาอย่างเหมาะสม
บัญชียายังผลกับการคัดเลือกยาที่มีความคุ้มค่า
โปรดระลึกว่า การใช้ยาที่ไม่มีประสิทธิผลที่ชัดเจน หรือมีความเสี่ยงสูงย่อม
เป็นการใช้ยาที่ไม่มีความคุ้มค่าการใช้ยาอย่างคุ้มค่าสมเหตผล จึงควรเป็น
การใช้ยาที่มีประสิทธิผลจริง มีประโยชน์ทางคลินิกเหนือความเสี่ยง
จากการใช้ยาอย่างชัดเจน และเป็นการใช้ยาในกรอบบัญชียายังผลอย่างเป็นขั้นตอน
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดในโรงพยาบาล
ㆍบทบาทสำคัญในการนำยาเข้าและออกจากบัญชียาของสถานพยาบาล
ㆍการปฏิบัติการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
ㆍอาศัยหลักฐานข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ของประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรด้านยา
บทบาทที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้านยา PTC
บทบาทหน้าที่สำคัญ ความรับผิดชอบดูแลกำกับระบบยาในโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกยา การจัดซื้อจัดหา การกระจายยา และการใช้ยามีหน้าที่พิจารณายาต่างๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์
หน้าที่พิจารณา
คุณภาพ
ความปลอดภัย
ราคา
ประสิทธิศักย์หรือประสิทธิผล
ขอบเขตในการดำเนินงาน
ต้องมีการกำกับดูแลระบบการจัดการยาในภาพรวม
ต้องมีการประเมิน การให้คำแนะนำ และมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาทั้ง หมด
ควรมุ่งมั่นให้เกิดการปฏิบัติที่ดี และปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อผลประโยชน์สูงสุดในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมีการรักษาความลับ และสร้างความมัน ใจในการปฏิบัติที่เป็นธรรม
บทบาทของคณะกรรมการ PTC
มีบทบาทที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้านยาโดยตรง
การกำหนดนโยบาย หรือแนวทางการปฏิบัติในกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกยา การกระจายยา การควบคุมการใช้ และวิธีบริหารยา ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม มีการกำกับติดตาม
มาตรฐาน วิธีปฏิบัติ และกระบวนการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้ยา
พระราชบัญญัติยา พ.ศ.25 10
ตามศาสตร์การรักษา: ยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณ โดย"ยาแผนปัจจุบัน" หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบ
วิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์ยาแผนโบราณ" หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
ตามวิธีใช้งานการแบ่งตามวิธีการใช้งานนี้ เป็นการแบ่งเพื่อให้ทราบว่ายานั้นจะใช้กับบริเวณใดของร่างกาย หากพิจารณาจากนิยามในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510จะพบแค่นิยาม "ยาใช้ภายนอก" และ "ยาใช้เฉพาะที่" ไม่พบนิยาม "ยาใช้ภายใน" (เช่น ยาในรูปแบบรับประทานหรือยาฉีด)"ยาใช้ภายนอก" หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่
"ยาใช้เฉพาะที่" หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายใช้เฉพาะที่กับหู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ