Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข - Coggle Diagram
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
แนวคิดในการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ
หลักการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก
ทำให้เป็นภาระของประเทศในภาพรวมต่อการพัฒนาระบบยาในด้านต่างๆ
องค์การอนามัยโลกจึงนำหลักการยาจำเป็นมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 และแนะนำให้ประเทศสมาชิกคัดเลือกรายการยาจำเป็นไว้
ยาสำเร็จรูปจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก
ยาหลัก (ยาจำเป็น, essential drug)
มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าของราคา
สามารถใช้ได้ตามบริบทของระบบสาธารณสุขของประเทศตลอดเวลา
มีปริมาณที่เพียงพอ ขนาดยาที่เหมาะสม มีคุณภาพและข้อมูลหลักฐาน
ทางวิชาการที่เพียงพอ ราคาเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลและชุมชน
เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับประเทศ
ทุกประเทศมีทรัพยากรอยู่จำกัด
เภสัชตำรับโรงพยาบาล
การจัดหาและเลือกสรรยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาล
คำนึงถึงความประหยัดและความสะดวกในการบริหารเวชภัณฑ์
บัญชียากระทรวงสาธารณสุข สู่บัญชียาหลักแห่งชาติไทย
ยึดหลักการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศควบคู่กับหลักการขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้ “ยาหลัก” ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
ยาที่มีความสำคัญ เป็นยาพื้นฐานที่ขาดเสียมิได้ และมีความจำเป็นต่อสุขภาพของประชาขน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
ประกาศใช้นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2524 และจัดทำบัญชียาแห่งชาติฉบับแรก เรียกว่า บัญชียาจำเป็นแห่งชาติ พ.ศ. 2524 และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ
สาเหตุที่ต้องมีบัญชียาหลักแห่งชาติ
การคัดเลือกยาที่มีความเหมาะสมบรรจุไ้วในบัญชียาหลัก
มีการใช้ยาเกินความจำเป็น
การปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ
ขยายให้ครอบคลุมตัวยาอย่างกว้างชวาง เพื่อให้สอดรับกับการนำไปอ้างอิง เพื่อใช้ในการเบิกจ่ายค่ายา และสอดรับกับนโยบายของรัฐ
บัญชียาหลักแห่งชาติในปัจจุบันจึงมีลักษณะเป็นบัญชียาแห่งชาติ มิใช่เป็นเฉพาะบัญชียาจำเป็นขั้นพื้นฐานอีกต่อไป
ปรัชญาและหลักการการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
การเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพที่สำคัญ
การสร้างเสริมระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
การค้นพบและวิจัยพัฒนายาใหม่ เพื่อรักษาโรคได้หลากหลายขึ้น
วัตถุประสงค์การพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
บัญชียาหลักฯได้รับการปรับปรุงเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย
ข้อมูลและหลักฐานทางวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัย
ให้ปัญหาสุขภาพของคนไทยได้รับการแก้ไขด้วยยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิผล เกิดภราดรภาพ และความเสมอภาพ
การพิจารณาคัดเลือกยา โดยใช้หลักฐานวิชาการที่เป็นปัจจุบัน มีเหตุผล มีความโปร่งใส มีหลักเกณฑ์ที่สามารถอธิบายชี้แจง
ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ประหยัดและคุ้มค่า
ใช้เป็นแนวทางในการใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอน
การใช้ยาในบัญชี ก. ข. ค. และ ง. ให้สอดคล้องกับความรุนแรงของโรค ระดับความสามารถของแพทย์และความพร้อมของสถานพยาบาล
ยาใน บัญชี ค. และ ง. มักเป็นยาราคาแพง ซึ่งควรสำรองไว้ใช้ โดยแพทย์ผู้ชำนาญภายใต้สถานการณ์ทางคลินิกที่เหมาะสม
ส่วนยาราคาแพงที่ถูกคัดออกจากบัญชีหรือไม่ได้รับการบรรจุ ไว้ในบัญชียา
หลักแห่งชาติ มักมียาอื่นใช้ทดแทนด้วยต้นทุน ประสิทธิผลที่ต่ำกว่า
หลักเกณฑ์เบื้องต้นแพทย์สามารถใช้ยาให้เกิดความคุ้มค่าได้โดยง่าย
โดยใช้ให้สอดคล้องกับข้อบ่งชี้และใช้อย่างเป็นขั้นตอน
หลีกเลี่ยงการใช้ยาในบัญชี ค. และ ง. โดยควรส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาใช้ยาดังกล่าว
ด้วยการใช้ยาในกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ (หลีกเลี่ยงการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ)
แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยา
ยาต้องมีทะเบียนตำรับยาในประเทศไทย
ยาที่มีการผลิตในประเทศ
ตำรับยาควรเป็นเดี่ยว
ยาต้องมีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน
ยาต้องมีข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เป็นปัจจุบัน
กระบวนการคัดเลือกยา
ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาแห่งชาติ
ความโปร่งใสในกระบวนการคัดเลือกยา
ระบบการพิจารณาสามขั้นตอน
คณะทำงานคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
คณะทำงานประสานผลการพิจารณายาในบัญชีหลัก
การแบ่งหมวดหมู่ยาเป็นบัญชีย่อย
ปัจจัยด้านสถานบริการสาธารณสุข
การติดตามผลการรักษา
ความพร้อมในการกำหนดมาตรการการใช้ยา
ความพร้อมในการตรวจวินิจฉัย
ปัจจัยด้านผู้สั่งยา
ยาในบัญชี ก.และ ข. เป็นยาที่ใช้ได้โดยแพทย์ทั่วไปซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม
ยาในบัญชี ค.และ ง.เป็นยาที่ต้องใช้โดยแพทย์ผู้ชำนาญซึ่งได้รับการฝึกอบรมหรือเป็นแพทย์ผู้มีประสบการณ์สูง
ปัจจัยด้านยา
ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความคุ้มค่า
กลวิธีและขั้นตอนการปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ
การจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ
การกำกับการประเมินผล การใช้ยาบัญชีย่อยต่างๆในบัญชียาหลักแห่งชาติจะเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจ
รายจ่ายจากการบริโภคยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและหากไม่มีผลตอบแทนสุขภาพที่คุ้มค่า
ตระหนักถึงผลกระทบทางการเงินจากการบริโภคยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และผลตอบแทนสุขภาพที่พึงได้รับ
ผู้บริหารระบบประกันสุขภาพ
บัญชีอ้างอิงของสวัสดิการรักษาพยาบาลต่างๆ
ข้อมูลต้นทุนประสิทธิภาพเปรียบเทียบ ระหว่างยาในกลุ่มเดียวกันและต้นทุนผลได้ของยาระหว่างกลุ่มสำหรับโรคเดียวกัน
ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติ
แพทย์ในโรงพยาบาลบางแห่งไม่สนใจว่ายาที่ใช้อยู่ในบัญชียาหลักฯหรือไม่แต่จะยึดถือการรักษาผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง
ยาที่จำเป็นและใช้บ่อยไม่อยู่ในบัญชียาหลัก ทำให้โรงพยาบาลต้องสร้างกลไกการรับรองยานอกบัญชียาหลักฯ ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก ต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมทั้งยาบางรายการมีราคาแพงกว่าราคากลาง
โรงพยาบาลในแต่ละระดับมีความแตกต่างกัน
การจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ
เหตุผลในการตัดยาออกจากบัญชียาหลักฯ
ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
ปรับประเภทบัญชียาและเงื่อนไขการสั่งใช้ยา
เพื่อความสะดวกของผู้ป่วยที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลทุติยภูม
เสนอยานำเข้าบัญชียาหลักฯ
ยาใช้บ่อยและราคาไม่แพง
รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ
เภสัชตำรับโรงพยำบำล
รายการยาที่โรงพยาบาลสามารถผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตำรับของโรงพยาบาล ที่เป็นรายการยาตามที่ระบุในภาคผนวก ๑ หรือภาคผนวก ๒ หรือภาคผนวก ๔
บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข
บัญชี ค
รายการยาที่ต้องใช้ในโรคเฉพาะทางโดยผู้ชำนาญ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ
บัญชี ง
รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบางข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือเป็นยาที่มีราคาแพง จำเป็นสาหรับผู้ป่วยบางราย แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง การสั่งใช้ยาให้สมเหตุผล คุ้มค่า สมประโยชน์
บัญชี ข
รายการยาที่ใช้สาหรับข้อบ่งใช้หรือโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชี ก ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล หรือใช้เป็นยาแทนยาในบัญชี ก ตามจำเป็น
บัญชี จ
บัญชี จ(๑) รายการยาสาหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีงบประมาณ วัตถุประสงค์วิธีการดำเนินโครงการ ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการที่ชัดเจน มีการกำหนดวิธีการใชและแนวทางในการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ
บัญชี จ(๒) รายการยาสาหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะให้เข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผลคุ้มค่าและยั่งยืน
บัญชี ก
รายการยามาตรฐานที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนการใช้
บัญชียาจากสมุนไพร
รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ และยาพัฒนาจากสมุนไพร ซึ่งมีตัวยาในสูตรตารับ และรายละเอียดตามภาคผนวก ๔ โดยมีรายการยาจากสมุนไพรที่แนบรายการเภสัชตารับโรงพยาบาลรวมอยู่แล้ว
การแสดงชื่อสามัญทางยา (generic name)
และรูปแบบยา (dosage form)
ตัวอย่างรูปแบบที่มีการพัฒนารูปแบบยาเป็นพิเศษ เช่น ยาเตรียมสำหรับออกฤทธิ์นานทุกชนิด
ตัวอย่างการจำเพาะเจาะจงรูปแบบยาบางชนิด เช่น Ibuprofen film coated tablet
ยาทุกรายการหมายถึงยาที่มีสารออกฤทธิ์ ๑ ชนิดที่มีรูปแบบยาตามที่ระบุไว้เท่านั้น
ในกรณีเป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาลจะระบุอักษร “hosp” ไว้ในวงเล็บท้ายรูปแบบยา เช่น sol (hosp)
ในกรณียาชนิดนั้นไม่มีชื่อ INN ให้ใช้ชื่ออื่นแทน
ส่วนใหญ่ชื่อสามัญทางยาจะแสดงด้วยชื่อ
International Nonproprietary Name (INN)
คำจำกัดความรูปแบบยาที่สำคัญ
dry syrup หมายถึง ผงแห้งของส่วนผสมตัวยาหรือสารเคมี ที่ต้องเติมน้ำกระสายยาที่เหมาะสมก่อนใช้จึงจะได้ยาน้ำเชื่อมตามต้องการ
syrup หมายถึง ยาน้ำใสหรือยาน้ำแขวนตะกอนที่มีส่วนประกอบของสารเพิ่มความหวานเพื่อกลบรสขมของยา ตัวอย่างสารให้ความหวานที่ใช้ในตำรับ
EC tab / cap หมายถึง ยาเม็ดหรือแคปซูล สำหรับรัประทานที่ออกแบบให้ตัวยาละลายในลำไส้ (enteric coated)
eye drop หมายถึง ยาเตรียมปราศจากเชื้อสำหรับหยอตา
SR tab / cap หมายถึง ยาเม็ดหรือแคปซูลสำหรับรับประทานที่เป็นยาออกฤทธิ์นานทุกชนิด
sterile solution หมายถึง ยาปราศจากเชื้อในรูปแบบของสารละลาย สำหรับฉีด หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือยาชะล้างแผล(irrigation)
tab / cap หมายถึง ยาเม็ด หรือแคปซูล แบบ immediate release (IR) สำหรับกินทั่วไป ที่มิได้มีการพัฒนารูปแบบการบริหารยาเป็นการเฉพาะหรือเป็นพิเศษ
ข้อกำหนดเฉพาะของรายการยาที่สำคัญ
ขนาดบรรจุ
ยาบางรายการที่ระบุขนาดบรรจุไว้ อาทิ ยากลุ่ม สารทึบรังสี เป็นต้น ให้ถือว่ายาที่มีขนาดบรรจุตามที่กำหนดเท่านั้นเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
เงื่อนไข
เงื่อนไขการสั่งใช้ยา บัญชียาหลักแห่งชาติเป็นมาตรการหนึ่งในระบบยาแห่งหนึ่งในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนอย่างสมเหตุผล
ความแรง
ยาบางรายการที่ระบุความแรงของสารออกฤทธิ์ไว้ ให้ถือว่ารายการยาที่มีความแรงตามที่กำหนดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น