Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข - Coggle Diagram
บัญชียาตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
แนวคิดในการจัดทำ
บัญชียาหลักแห่งชาติ
1.หลักการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก
ทุกประเทศมีทรัพยากรอยู่จำกัด
ยาสำเร็จจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก
2.เภสัชตำรับโรงพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุขมีหลักการ-และแนวคิดในการจัดหาและเลือกสรรยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความประหยัดและความสะดวกในการบริหารเวชภัณฑ์
3.บัญชียากระทรวงสาธารณสุข
ได้ประกาศใช้"นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2524"และจัดทำบัญชียาแห่งชาติฉบับแรก เรียกว่า"บัญชียาจำเป็นแห่งชาติ พ.ศ.2524"และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ
กระบวนการคัดเลือกยาใน
บัญชียาหลักแห่งชาติ
1.ความโปร่งใสในกระบวนการคัดเลือกยาบริสุทธิ์ใจ
2.การคัดเลือกยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์
มัหลักฐาน เหตุผล เป็นปัจจุบัน
ละเอียดครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจ
3.ระบบการพิจารณาสามขั้นตอน เพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกยาเป็นไปอย่างรอบคอบ มีการพิจารณาในมิติต่างๆอย่างครบถ้วนทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค
บัญชียาหลักแห่งชาติ
ความเป็นมาบัญชียาหลักแห่งชาติ
ลดค่าใช้จ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและลูกจ้าง สิทธิเบิกค่ายาได้เฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ปรัชญาและหลักการการพัฒนา
บัญชียาหลักแห่งชาติ
ตวามพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
มีความรู้
มีคุณธรรม
วัตถุประสงค์การพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
1.ให้พิจารณาคัดเลือกยา กระทำโดยใช้หลักฐานวิชาการที่เป็นปัจจุบัน
2.ให้บัญชียาหลักได้รับการปรับปรุงเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
3.ให้ปัญหาสุขภาพของคนไทยได้รับการแก้ไขด้วยยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิผล เกิดภราดรภาพ และความเสมอภาพระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ
แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลิอกยาในบัญชียาหลักฯ
1.ยาต้องมีข้อบ่งใช้ชัดเจน
2.ยาต้องมีข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้อง เชื่อถือได้
3.ยาต้องมีทะเบียนตำรับยาในประเทศไทย
4.ยาที่มีการผลิตในประเทศ
5.ตำรับยาควรเป็นยาเดี่ยว หากจำเป็นต้องเป็นยาผสม ต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้
หลักเกณฑ์เบื้องต้นแพทย์สามารถใช้ยาให้เกิดความคุ้มค่าได้โดยง่าย
ด้วยการใช้ยาในกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
โดยใช้ให้สอดคล้องกับข้อบ่งชี้และใช้อย่างเป็นขั้นตอน
รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ
1.บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข
บัญชี ก ยามาตรฐาน มีหลักชัดเจน เลือกใช้เป็นอันดับแรก
บัญชี ข รายการยาที่ใช้สำหรับข้อบ่งใช้หรือโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชีก ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล
บัญชี ค รายการยาที่ต้องใช้ในโรคเฉพาะทางโดยผู้ชำนาญ
บัญชี ง รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบางข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง
บัญชี จ รายการยาสำหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่อยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีงบประมาณ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินโครงการ
2.บัญชียาจากสมุนไพร
การแสดงชื่อสามัญทางยา(generic name) และรูปแบบยา (dosage form)
ส่วนใหญ่ชื่อสามัญทางยาจะแสดงด้วยชื่อInternational
Nonproprietary Name (INN)
ยาทุกรายการหมายถึงยาที่มีสารออกฤทธิ์1ชนิดที่มีรูปแบบยาตามที่ระบุไว้เท่านั้น เว้นแต่ยาสูตรผสมจะแสดงชื่อสามัญทางยาของสารออกฤทธิ์ในสูตรยารายการนั้นทั้งหมด
ตัวอย่างยาการจำเพาะเจาะจงรูปแบบยาบางชนิด เช่น Ibuprofen film coated tabletหมายถึงยาเม็ด ibuprofenชนิดเคลือบฟิล์ม ไม่รวมถึงชนิดเคลือบน้ำตาล ชนิดตอกเม็ดธรรมดารวมทั้งชนิดออกฤทธิ์นาน
PTC
ความสำคัญในการมองภาพรวม
องค์การอนามัยโลกPTCเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสม
เป้าหมายเพื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิผล และมีคุณภาพในการรักษาที่ดีที่สุด
บทบาทที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้านยาPTC
บทบาทหน้าที่สำคัญ ความรับผิดชอบดูแลกำกับระบบยาในโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกยา การจัดซื้อจัดหา การกระจายยา และการใช้ยา
บทบาทPTCด้านการจัดการตำรับยา สัดส่วนยาในบัญชียาหลักแห่งชาติต่อยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ นโยบายยา ชื่อสามัญ ชื่อการค้า นโยบายด้านการบริหารเวชภัณฑ์ในสถานพยาบาลที่สอดคล้องกับบริบทในการจัดซื้อจัดหา
พระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510
1.ตามศาสตร์การรักษา ยาแผนปัจจุบันและยาโบราณ
โดย
ยาแผนปัจจุบัน หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือบำบัดโรคสัตว์
ยาแผนโบราณ หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือการบำบัดโรคสัตว์
2.ตามวิธีใช้งาน
ยาใช้ภายนอก หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่
ยาใช้เฉพาะที่ หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายเฉพาะที่กับหู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ
3.ตามกระบวนการแปรรูป
เภสัชเคมีภัณฑ์ หมายความว่า สารอินทรย์เคมี หรืออนินทรีย์เคมีซึ่งเป็นสารเดี่ยวที่ใช้ปรุงแต่ง เตรียม หรือผสมเป็นยา
เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หมายความว่า สารอินทรีย์เคมีหรืออนินทรีย์เคมีทั้งที่เป็นสารเดี่ยวหรือสารผสมที่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะนำมาใช้ประกอบในการผลิตเป็นยาสำเร็จรูป
ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผล ปรุง หรือแปรสภาพ
ยาบรรจุเสร็จ หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปต่างๆทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดหรือผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้
4.ตามระดับการควบคุมการขาย
ยาควบคุมพิเศษ จะต้องประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ
การแบ่งหมวดหมู่ยา
1.ปัจจัยด้านยา ได้แก่ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความคุ้มค่า ปริมาณและคุณภาพของข้อมูลการศึกษาต่างๆที่เป็นองค์ความรู้ของยานั้น
2.ปัจจัยด้านสถานบริการสาธารณสุข ได้แก่ ความพร้อมของการตรวจวินิจฉัยโรค ติดตามผลการรักษา
3.ปัจจัยด้านผู็สั่งยา สำหรับยาในบัญชีก.และข.เป็นยาที่ใช้ได้โดยแพทย์ทั่วไป ส่วนยาในบัญชีค.และง.เป็นยาที่ต้อใช้โดยแพทย์ผู้ชำนาญ
4.กลวิธีและขั้นตอนการปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ