Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การจัดการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสาน - Coggle Diagram
บทที่ 4
การจัดการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสาน
แนวคิด หลักการจัดการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยชุมชน
ความหมายของมรดกทางวัฒนธรรม
Feilden & Jokilehto (1998) ได้ให้ความหมายของมรดกทางวัฒนธรรมไว้ว่า มรดก ทางวัฒนธรรมมีหลายรูปแบบ ไม่ได้เป็นเพียงอาคาร โบราณสถาน พื้นที่เชิงประวัติศาสตร์และสวน แต่ หมายรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมดรวมทั้งระบบนิเวศในพื้นที่นั้น ๆ ที่แสดงถึงเครื่องหมายของ กิจกรรมและความสำเร็จของมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมา และเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
วนิดา อินทรอำนวย (2560) ได้อธิบายถึงมรดกทางวัฒนธรรมไว้ว่า เป็นรูปแบบของ วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์และมีคุณค่าซึ่งเกิดขึ้นในอดีตและได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง มรดกทางวัฒนธรรมบางอย่างกลายเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญและเป็นความ ภาคภูมิใจของคนในสังคมสืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน
องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดไว้ว่า มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ประกอบด้วยสิ่งที่มีความสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอดีตที่ สามารถจับต้องได้เช่น สิ่งปลูกสร้าง ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม รวมทั้งนามธรรม (Intangible) เช่น ภาษา ศีลธรรม จริยธรรม สุนทรียศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิต อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อและศาสนา เป็นต้น
องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัด ประชุมครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ปี 2515 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยที่ประชุมได้มีมติ ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก โดยได้ให้คำจำกัดความในเรื่องของ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และมรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ไว้ดังนี
มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.1 อนุสรณ์ (Monuments) คือ ผลงานทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ส่วนประกอบหรือโครงสร้างทางโบราณคดี ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือ วิทยาศาสตร์ในการจัดมรดกทางวัฒนธรรม ได้จัดประเภทของอนุสรณ์สถานเอาไว้ 2 ประเภท คือ
1.1.1 ซากอารยธรรม (Dead Monuments) คือ สถานภาพของโบราณสถาน นั้น มีลักษณะเป็นซากหลักฐานทางอารยธรรมในอดีต มากกว่าจะใช้สอยได้ในปัจจุบัน
1.1.2 อนุสรณ์ที่ยังใช้ประโยชน์ (Living Monuments) คืออนุสรณ์สถานที่ ยังคงประโยชน์ทางการใช้สอยสืบทอดประเพณีทางศิลปะ และมีการตกแต่งเสริมความมั่นคงตาม ลักษณะของสถาปัตยกรรมนั้นๆ
1.2 กลุ่มอาคาร (Groups of building) เป็นกลุ่มของอาคารที่แยกกัน หรือ ต่อเนื่องกันโดยลักษณะทางสถาปัตยกรรม ความร่วมลักษณะ หรือที่ตั้งอันเหมาะสมในภูมิทัศน์
1.3 สถานที่ (Sites) คือผลงานของมนุษย์ หรือผลงานอันผสมกันระหว่าง ธรรมชาติและมนุษย์ เป็นสถานที่ซึ่งไม่มีอาคารอยู่เลย แต่เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้าน ประวัติศาสตร์ (Historical) สุนทรียภาพ (Aesthetic) ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnological) หรือมานุษยวิทยา (Anthropological)
มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage)
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง เอกลักษณ์และมีคุณค่าซึ่งเกิดขึ้นในอดีตและ ได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทั้งสิ่งที่มีความสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอดีตที่สามารถ จับต้องได้ เช่น สิ่งปลูกสร้าง ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม รวมทั้งนามธรรม เช่น ภาษา ศีลธรรม จริยธรรม สุนทรียศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิต อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อและศาสนา เป็นต้น
ความหมายของมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม หมายถึง การแสดงออกทางวัฒนธรรม หรือทักษะ ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านบุคคล เครื่องมือ หรือวัตถุ ซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนยอมรับและ รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยที่มรดกนั้นบ่งชี้ความเป็นตัวเองผู้สร้างและผู้สืบทอดมรดกในฐานะ ส่วนประกอบพื้นฐานของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยการสร้างสรรค์ใหม่ เช่น ความรู้ การแสดงออก การประพฤติปฏิบัติ เป็นต้น
ลักษณะของมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
ลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไว้ครอบคลุม 6 สาขา ดังนี้
1) สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและสาขาภาษา
2) สาขาศิลปะการแสดง
3) สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล
4) สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
5) สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม
6) สาขาการเล่นพื้นบ้าน
ชุมชนกับการจัดการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม: มิติของการมีส่วนร่วมในชุมชน
ความหมายการมีส่วนร่วมของชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน หมายถึง กระบวนการที่เปิดโอกาสการเข้ามามีส่วนร่วม ของประชาชนตลอดทั้งกระบวนการพัฒนา ทั้งการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วม ตัดสินใจ การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลและวางแผนการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชน
องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชน
วรรณา ศิลปะอาชา และนพดล นาคพรต (2545) ได้อธิบายว่า องค์ประกอบขององค์กร
ชุมชน พิจารณาจากลักษณะองค์กร และสมาชิกในองค์กร ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ
4) คน
5) การจัดการ
3) การมีผลประโยชน์ร่วมกัน
6) กิจกรรมการเรียนร
2) การมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน
7) การกำหนดงบประมาณ
1) มีอุดมการณ์ร่วมกัน
เทิดชาย ช่วยบำรุง (2554) ได้อธิบายว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นที่จะ
ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาได้ จะต้องครบองค์ประกอบ 5 ประการ คือ
3) การมีส่วนร่วมกันใช้ประโยชน
4) การมีส่วนร่วมติดตามประเมินผล
2) การมีส่วนร่วมกันปฏิบัติตามแผน
5) การมีส่วนร่วมบำรุงรักษา
1) การมีส่วนร่วมกันวางแผน
หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
ดรรชนี เอมพันธุ์ (2545) ได้อธิบายว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการทรัพยากรมีได้หลายระดับ ขึ้นกับปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของชุมชน ดังนี้
ปัจจัยภายในชุมชน
1) ความพร้อมด้านทักษะ เช่น การบริการสื่อความหมาย การนำเที่ยว การจัดเตรียมที่พัก และอาหารสำหรับผู้มาเยือน เป็นต้น
2) ความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็น ได้แก่ เงินทุน เวลา แรงงาน และทรัพยากร ของชุมชน
3) ความต้องการของชุมชนในการเข้าร่วมจัดการและ/หรือให้บริการ
4) ความเข้มแข็งของชุมชนและผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนที่สมาชิกในชุมชนให้ความนับ ถือและเชื่อฟัง สามารถให้สมาชิกของชุมชนรวมกลุ่มกันดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งของชุมชนได้ ชุมชนมีความผูกพัน สามัคคี และยอมเสียสละในการทำงานเพื่อชุมชนในการจัดตั้งองค์กรและจัดการ ทรัพยากรให้ยั่งยืน และความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้ และจัดการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
ปัจจัยภายนอก
1) นโยบายของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้าร่วมใน การจัดการทรัพยากร เช่น นโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้ด้านการจัดการมรดก ภูมิปัญญาวัฒนธรรมแก่ชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น
2) ความร่วมมือจากภาครัฐและองค์กรเอกชน เช่น การสนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้ง องค์กรท้องถิ่นสำหรับการจัดการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม การสนับสนุนจากผู้ประกอบการในการ นำนักท่องเที่ยวมาเยือนท้องถิ่น เช่น มัคคุเทศก์ ที่พัก และอาหารจากท้องถิ่น เป็นต้น
ชุมชนกับการจัดการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม: มิติของการเป็นเจ้าบ้านที่ด
เจ้าบ้านที่ดี ต้องมีการพัฒนาด้านบุคลิกภาพ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรม การพัฒนาทักษะการสื่อสาร รวมทั้งการพัฒนาทางด้านการบริการ เพื่อให้ผู้มาเยือนเกิดความประทับใจ
การพัฒนาบุคลิกภาพของเจ้าบ้าน
การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก
1.1 การปรับปรุงรูปร่างหน้าตาเป็นรูปลักษณะภายนอก
1.2 การปรับปรุงการแต่งกายการแต่งกายที่ดีย่อมก่อให้เกิดเอกลักษณ์ที่เด่น
1.3 การปรับปรุงกิริยาท่าทาง
1.4 การปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร
1.5 การปรับปรุงการพูด
1.6 การปรับปรุงการฟัง
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
2.1 ความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
2.2 ความซื่อสัตย์ (Honestly
2.3 ความสุภาพ (Courtesy)
2.4 ความร่าเริงและความร่วมมือ (Cheerfulness and Co-operation)
2.5 ความแนบเนียน (Tact)
2.6 ความสนใจอย่างแท้จริงต่อลูกค้า (Interest in Customer)
2.7 ความยับยั้งชั่งใจ (Self-Control)
2.8 ความจริงใจ (Sincere)
2.9 ความรู้สึกชอบพอคนอื่นอย่างแท้จริง (Liking of People)
2.10 จินตนาการ (Imagination)
การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มีการสั่งสมความรู้และ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีการสืบทอดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ที่เป็นไป อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน จากชุมชนหนึ่งสู่ชุมชนหนึ่ง จนทำให้สังคมชาวบ้านมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงผ่านกระบวนการพัฒนาให้สอดคล้องกับกาลสมัย
ประเภทของภูมิปัญญา
1) ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
2) ภูมิปัญญาชาวบ้าน
3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4) ภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประสบการณ์ของชาวบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต หมายถึง ความรู้และ และประสบการณ์ที่ชาวบ้านค้นพบและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ความรู้ความคิดในการสร้างสรรค์แบบแผนการดำเนินชีวิต ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา หมายถึง สิ่งที่ชาวบ้านถ่ายทอดความรู้หรือความคิดลงไปในวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น เพลงพื้นบ้าน การละเล่นต่าง ๆ นิทานพื้นบ้าน ตลอดจนศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น
การประกอบอาชีพที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง หมายถึง ความรู้และประสบการณ์ที่ชาวบ้าน ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยอาศัยหลักธรรมชาติ ไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอกแต่มีการพัฒนาให้เหมาะสม กับกาลสมัย
การประกอบอาชีพ ที่เกิดจากการผสมผสานความรู้เดิมกับแนวคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ หมายถึง การนำเอาความรู้เดิมของชาวบ้านมาผสมผสานกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ในการแก้ปัญหาในหมู่บ้านหรือชุมชน เช่น การนวดข้าว การก่อสร้าง เป็นต้น
อัตลักษณ์ท้องถิ่นกับการเพิ่มมูลค่าดึงดูดใจผู้มาเยือน: บทเรียนจากชุมชน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน
1) แหล่งน้ำ นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก อาจเป็นหนองน้ำใหญ่หรือห้วยหรือลำน้ำ ที่แยกสาขามาจากแม่น้ำใหญ่ ที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มสามารถทำนาเลี้ยงสัตว์ ได้ใน บางฤดูเท่านั้น ชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "เลิง วัง ห้วย กุด หนอง และท่า" เช่น เลิงนกทา วังสาม หม้อ ห้วยยาง กุดนาคำ หนองบัวแดง ฯลฯ
2) บริเวณที่ดอนเป็นโคกหรือที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สามารถทำไร่และมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีทั้งที่ดอนริมแม่น้ำและที่ดอนตามป่าริมเขา แต่มีน้ำซับไหลมาบรรจบเป็นหนองน้ำ ชื่อหมู่บ้านมัก ขึ้นต้นด้วนคำว่า "โคก ดอน โพน และโนน" เช่น โคกสมบูรณ์ ดอนสวรรค์ โพนยางคำ ฯลฯ
3) บริเวณป่าดง เป็นทำเลที่ใช้ปลูกพืชไร่และสามารถหาของป่าได้สะดวก มีลำธาร ไหลผ่าน เมื่ออพยพมาอยู่กันมากเข้าก็กลายเป็นหมู่บ้านและมักเรียกชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วยคำว่า "ดงป่า และเหล่า" เช่น โคกศาลา ป่าต้นเปือย เหล่าอุดม ฯลฯ
4) บริเวณที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่เหมาะในการทำนาข้าว และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ใน หน้าแล้ง ตัวหมู่บ้านจะตั้งอยู่บริเวณขอบหรือแนวของที่ราบติดกับชายป่า แต่น้ำท่วมไม่ถึงในหน้าฝน บางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า"ป่าบุ่งป่าทาม" เป็นต้น
5) บริเวณป่าละเมาะ มักเป็นที่สาธารณะสามารถใช้เลี้ยงสัตว์และหาของป่าเป็น อาหารได้ ตลอดจนมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่นำมาเป็นอาหารยังชีพ รวมทั้งสมุนไพรใช้รักษาโรค และเป็น สถานที่ยกเว้นไว้เป็นดอนปู่ตาตามคติความเชื่อของวัฒนธรรมกลุ่มไต-ล
การเพิ่มมูลค่าเพื่อดึงดูดใจผู้มาเยือน
หลักการสร้างคุณค่าเพิ่ม
ให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
การเปลี่ยนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้เป็นภูมิปัญญาสากล
3) การเปรียบเทียบในระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบกับภูมิปัญญาท้องถิ่นคัดเลือก
4) การสร้างเสริมคุณลักษณะให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นคัดเลือก
2) การค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่น คัดเลือกที่จะนำมาเปลี่ยนแปลง
5) การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภูมิปัญญาใหม่
1) การสร้างภาพปรากฏภูมิปัญญาต้นแบบ
การทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มีการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2) การสืบทอดและการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและเป็นวงจร
3) การสร้างเสริมปัจจัยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
1) การสร้างเสริมให้มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสานในข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่ามีความเป็น เอกลักษณ์ และมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ การละเล่น งานประเพณี ที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมา ซึ่งประเทศไทยก็ให้การสนับสนุนการนำเอามรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสานมาใช้ในการพัฒนารายได้ของชุมชน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดดึงดูดใจที่แปลกใหม่ คงความเป็น เอกลักษณ์ รากเหง้าของมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสานที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น สามารถเพิ่ม ความสนใจ ความต้องการอยากเดินทางมาเยี่ยมชมให้กับผู้มาเยือน ที่ต้องการความรู้เกี่ยวกับมรดก ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสาน ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ควรหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสานมากขึ้น ช่วยกันส่งเสริม รณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่น อนุรักษ์ รักษา วิถีชีวิต มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมอีสานของ ตนเองไว้ให้คงอยู่ดังเดิม เพื่อความเป็นภาคภูมิใจและความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ