Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ฐานข้อมูล และ การจัดการข้อมูล - Coggle Diagram
ฐานข้อมูล
และ
การจัดการข้อมูล
ฐานข้อมูล หมายถึง
ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
ตัวอย่าง
ชนิดของข้อมูล
ข้อมูลเฉพาะ
ข้อความ
รูปภาพ
เสียง
ภาพเคลื่อนไหว
โครงสร้างข้อมูล
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้น ๆ รวมทั้งกระบวนการในการจัดการข้อมูลในโครงสร้าง หรือ การจัดเตรียมรูปแบบการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำอย่างมีระเบียบแบบแผนการแทนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง ตลอดจนกรรมวิธีการเข้าถึงข้อมูลในโครงสร้างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field)
ระเบียน (Record)
แฟ้ม (File)
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
การจัดเก็บข้อมูล
ขนาดความจุ ของหน่วยบันทึกข้อมูล ตามมาตรฐาน ISO
1024 3 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 กิโลไบต์ (Kiobyte)
1024 6 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 เมกะไบต์ (Megabyte)
1024 9 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 กิกะไบต์ (Gigabyte)
1024 12 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 เทราไบต์ (Terabyte)
1024 15 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 เพ็ดทาไบต์ (Petabyte)
1024 18 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 เอ็กซาไบต์ (Exabyte)
1024 21 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 เซ็ตทาไบต์ (Zettabyte)
1024 24 ไบต์ (ตัวอักษร) = 1 ยอททราไบต์ (Yottabyte)
1 เทราไบต์ ความจุเทียบเท่ากับหนังสือประมาณ 500 ล้านหน้า
ประโยชน์ของการใช้ฐานข้อมูล
กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
สามารถสร้างระบบความปลอดภัยให้กับฐานข้อมูล
ตอบสนองต่อการต้องการใช้ข้อมูลได้หลายรูปแบบ
สามารถควบคุมการใช้งาน การเข้าถึง พร้อมกันจากผู้ใช้หลายคน
หลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาความขัดแย้งของข้อมูล
ความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล
ความสัมพันธ์แบบ1ต่อ1
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น อธิการบดีมีหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวและในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ จะมีอธิการบดีบริหารงานในขณะนั้น ๆ เพียงคนเดียวเช่นกัน
แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียงหนึ่งกับอีกด้านหนึ่งเป็นกลุ่ม เช่น สมาชิกผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้หลาย ๆ ครั้งและการบริจาคนั้นบริจาคโดยสมาชิกคนเดียว
แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีได้หลาย ๆ อย่าง เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ รายวิชาและในแต่ละรายวิชามีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ คน
การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล
คลังข้อมูล (Data Warehouse)
คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือฐานข้อมูลที่ได้มีกระบวนการสกัดข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ที่มีโครงสร้างหรือระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เพื่อน าข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ
ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือ การจัดเก็บข้อมูลและแบ่งส่วนจัดเก็บเป็นส่วนย่อยๆ จากการดูหน้าที่เป็นส่วนย่อยๆ จากการดูหน้าที่หน่วยงานย่อยขององค์กร
เหมืองข้อมูล (Data Mining)คือเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์สนับสนุนการตัดสินใจของการบริหารในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อ
แยกประเภท จำแนกรูปแบบ และความสัมพันธ์ของข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือคลังข้อมูล
ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System) คือ การทำงานระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะออกแบบระบบฐานข้อมูลโดยอาศัยพื้นฐานการทำงานขององค์กร