Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุหญิงไทยอายุ 79 ปี, ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล, ข้อวินิฉัยทางการพยาบา…
ผู้สูงอายุหญิงไทยอายุ 79 ปี
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ นางมาลี ประบุญเรือง อายุ 79 ปี เพศหญิง
สถานภาพสมรส : หม้าย สัญชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ
อาชีพ : ข้อราชการบำนาญ
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี รายได้ : 20,000 บาท/เดือน
โรคประจำตัวและการรักษา
โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รับประทานยา 4 ตัว ได้แก่ Metformin, Siglipin, Manidipine, Carvedilol
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
มีญาติพี่น้องเป็นโรคมะเร็ง
บุตรสาวคนโตมีเนื้องอกที่มดลูก (ผ่าตัดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว)
สามีเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
บิดาเสียชีวิตด้วยโรคกระเพาะ มารดาเป็นโรคเบาหวาน
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
แพ้ยา : Sulfanamides แพ้อาหาร : ปลาโอ
ไม่เคยประสบอุบัติเหตุ
29 ปีที่แล้ว ผ่าตัดเนื้องอกมดลูกและนิ่วในถุงน้ำดี
7 ปีที่แล้ว ใส่เลนส์เทียมเสริมที่ตา
4ปีที่แล้ว ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกข้างขวา
2ปีที่แล้ว ผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต
ข้อมูลผู้ดูแล
ผู้ดูแลรอง
ชื่อ ธนิดา ประบุญเรือง เพศ หญิง ระดับการศึกษา ปริญญาเอก
ภาวะสุขภาพ สุขภาพปกติ
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ บุตรสาวคนกลาง
ระยะเวลาที่ดูแล (ตั้งแต่เริ่มดูแลถึงปัจจุบัน) -
ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม ในช่วงหลังผ่าตัด จะมีบุตรสาวคนกลางมาดูแลทำความสะอาดแผลให้ทุกวัน
ผู้ดูแลหลัก
ชื่อ ปริญา ประบุญเรือง เพศ หญิง ระดับการศึกษา ปริญญาเอก
ภาวะสุขภาพ ผ่าตัดเนื้องอกที่มดลูก เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ บุตรสาวคนโต
ระยะเวลาที่ดูแล (ตั้งแต่เริ่มดูแลถึงปัจจุบัน) -
ะยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม ในช่วงเวลากลางคืนจะมี - บุตรสาวคนโตจะพาหลานสาวมานอนด้วยเป็นประจำ
ลักษณะของครอบครัว
จำนวนสมาชิกภายในครอบครัว : 4 คน
หัวหน้าครอบครัว คือ คุณมาลี ประบุญเรือง
สถานภาพในครอบครัว: มารดา
สัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว : มีสัมพันธภาพดี ลูกสาวจะคอยพลัดเปลี่ยนดูแล
รายได้เฉลี่ยของครอบครัว : 20,000 บาท/เดือน
แหล่งรายได้ : เงินเดือนข้าราชการบำนาญ
ลักษณะของชุมชน
ไม่ทราบจำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน
อาชีพหลัก : อาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา
สถานบริการสุขภาพ : โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน : ชุมรมผู้สูงอายุ เล่นอังกะลุง และการรำไทเก๊ก
สภาพเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจดี
ศาสนาและความเชื่อ : คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ประเพณีและวัฒนธรรม : ประเพณีวิ่งขึ้นเขาสามมุก ทำบุญตักบาตรเทโว
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจรังสีและการแปลผล ตรวจร่างกายประจำปีทุกปี, ตรวจMRI, เจาะเลือดตรวจค่าน้ำตาลในเลือด แปลผลได้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูง เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานและความดัน
แผนการรักษาที่ได้รับ ได้รับประทานยาความคุมระดับน้ำตาลในเลือดและยาควบคุมความดันอย่างต่อเนื่อง
สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน
สภาพภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก : เป็นคอนโดสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้น 8 สภาพภายในคอนโดห้องครัวค่อนข้างชำรุด ภายนอกดูเก่า แต่บริเวณรอบมีต้นไม้สีเขียวร่มรื่น
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน : มีครบทุกอย่างตามเกณฑ์ของคอนโด
แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ : น้ำประปา
ลักษณะของส้วมที่ใช้ : ชักโครก
การกำจัดขยะและสั่งปฏิกูล : มีเจ้าหน้าที่เทศบาลมาเก็บ
สัตว์เลี้ยงที่มี : คอนโดมีกฎไม่ให้เลี้ยงสัตว์
สภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย : ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ใกล้ๆกับสวนนันทนาการ
การคมนาคม : มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว และรถส่วนตัวของลูกสาว
แบบแผนที่ 1 การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
สรุปปัญหาที่พบ : -
รับรู้ว่ามีโรคประจำตัว คือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง
แพ้ยากลุ่ม sulfonamide แพ้อาหาร คือ ปลาโอ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี และฉีดวัคซีน covid 2 เข็ม
เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาตามอาการ โดยจะหายามารับประทานเอง เมื่อไม่ดีขึ้นจะไปพบแพทย์
แบบแผนที่ 6 สติปัญญาและการรับรู้
สรุปปัญหาที่พบ : มีอาการหลงลืม
การได้ยินปกติดี แต่ไปตรวจที่รพ. ผลตรวจออกมาว่าได้ยินแค่ครึ่งเดียว
การมองเห็นมองได้ปกติ แต่ก็ไม่ชัดมาก อ่านฉลากยาไม่ค่อยเห็นเนื่องจากตวหนังสือเล็ก
ความจำ มีอาการหลงลืม มีลืมรับประทานยาบ้าง แต่ไม่บ่อย บางทีกินข้าวอยู่ลืมว่ากินยาไปหรือยัง บางทีลืมว่าซื้ออาหารมาไว้ในตู้เย็น บางทีลืมว่าวางของตรงไหน
แบบแผนที่ 2 อาหารและการเผาผลาญ
สรุปปัญหาที่พบ : มีภาวะโภชนาการเกิน และมีการบริโภคที่ไม่เหมาะสม
น้ำหนัก 71 ส่วนสูง 158 BMI = 28.44 (อ้วนระดับที่ 2 )
ชอบรับประทานปลาและอาหารรสจัด
กินอาหารครบ 3 มื้อ มีอาหารว่างระหว่างวัน คือ ผลไม้ และของหวาน (บัวลอย)
กินอาหารเสริมครูโซน่าและน้ำมันปลาทุกวัน มีการชงผักผงกินตอนเช้า
ก่อนกินอาหารเช้าจะกินขนมปังปิ้งกับกาแฟ ทำให้กินอาหารมื้อเช้าล่าช้า
ดื่มน้ำตอนเช้า 3-4 แก้ว ตอนเที่ยง 2-3 แก้ว แล้วเวลาที่นึกได้ก้จำดื่มน้ำ
กินฝรั่งกับแอปเปิ้ลปั่นวันละ 1 แก้ว มีอาการท้องอืดบ้าง เหมือนมีลมมาก
เคยดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบันเลิกดื่มแล้ว เนื่องจากกลัวน้ำตาลขึ้น
แบบแผนที่ 11 ความเชื่อ
สรุปปัญหาที่พบ : -
ผู้สูงอายุชอบใส่บาตร ไปนั่งสมาธิที่วัดเป็นประจำ ใช้ธรรมะยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่คิดพึ่งลูก
ความเชื่อเกี่ยวกับด้านสุขภาพ คิดว่าโรคที่ตัวเองเป็น (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่ก็ต้องกินยาเพื่อไม่ให้เกิดอาการของโรค ผู้สูงอายุไม่ได้กินสมุนไพรใดๆ ไม่มีความเชื่อเรื่องของแสลง กินอาหารปกติ
แบบแผนที่ 9 เพศและการเจริญพันธุ์
สรุปปัญหาที่พบ : -
แต่งงานตอนอายุ 26 ปี
มีบุตร 3 คน เป็นสาวทั้งหมด อายุ 50,49, และ 47 ตามลำดับ หลังจากคลอดบุตรคนที่ 3 ได้ทำหมัน ไม่เคยคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น
ประจำเดือนครั้งสุดท้าย ประมาณอายุ 42-45 ปี
เคยตรวจพบเนื้องอกที่มดลูก และได้ทำการผ่าตัด
แบบแผนที่ 4 แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
สรุปปัญหาที่พบ : -
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง ได้แก่ การทำอาหาร และรับประทานอาหารด้วยตนเอง อาบน้ำ เข้าห้องน้ำ เคลื่อนไหวต่างๆ ซักผ้า ทำงานบ้านได้ด้วยตนเอง
มีการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน โดยการเดินรอบสวนนันนันทนาการ วันละประมาณ 1-2 รอบ รอบละประมาณ 30 นาที มีบางวันที่รู้สึกว่างจะมาเดินช่วงสายๆด้วยประมาณ 1 รอบ
ผู้สูงอายุเคยรำไทเก๊กแต่รู้สึกว่าไม่ถนัด เรื่องจากจำท่าทางไม่ค่อยได้ และการทรงตัวไม่ค่อยดี มีการเช้าชมรมเล่นอังกะลุงร่วมกับกลุ่มที่ตึกของคณะพยาบาลศาสตร์ และเข้าร่วมชมรมสูงวัยของมหาวิทยาลัยบูรพา
แบบแผนที่ 8 บทบาทและสัมพันธภาพ
สรุปปัญหาที่พบ : -
ผู้สูงอายุอาศัยอยู่คนเดียว ทำงานบ้านด้วยตนเอง
สัมพันธภาพภายในครอบครัวดี
แบบแผนที่ 5 การพักผ่อนนอนหลับ
สรุปปัญหาที่พบ : นอนหลับไม่ต่อเนื่อง
เข้านอนตั้งแต่ 21.00 น. ตื่น 05.00 น. วันละ 8 ชั่วโมง
ในช่วงกลางคืนผู้สูงอายุชอบตื่นกลางดึกมาปัสสาวะวันละ 2- 3 คั้ง ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับหลับ หากหลับต่อแล้วเมื่อตื่นมาจะรู้สึกไม่สดชื่น
แบบแผนที่ 3 แบบแผนการขับถ่าย
สรุปปัญหาที่พบ : การกลั้นปัสาวะ, ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
การขับถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ 1 - 2ครั้ง ไม่มีอาการท้องผูก
การขับถ่ายปัสสาวะ มีการปัสสาวะตอนกลางวันประมาณ 6 ครั้ง/วัน และตอนกลางคืนประมาณ 2-3 ครั้ง ลักษณะปัสสาวะสีใส มีบางครั้งเป็นสีเหลือง ขณะปัสสาวะไม่มีอาการผิดปกติ มีกลั้นปั้สสาวะเป็นประจำเนื่องจากกำลังเล่นโทรศัพท์มือถือ
แบบแผนที่ 7 การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
สรุปปัญหาที่พบ : -
ผู้สูงอายุเป็นคน ไม่คิดมาก ปล่อยวางเยอะ ไม่โกรธง่าย มองโลกในแง่ดี ใจดี อารมณ์ดี ตลก สนุกสนาน
แบบแผนที่ 10 การปรับตัวและการเผชิญความเครียด
สรุปปัญหาที่พบ : รู้สึกเหงา เบื่อหน่าย
ผู้สูงอายุไม่มีความเครียด ถ้าเครียดจะใช้ธรรมะแก้ปัญหาความเครียด บุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือ คือ ลูกสาวทั้ง 3 คน
หลังจากเกษียณจากงานบางครั้งผู้สูงอายุรู้สึกเหงา จากแต่ก่อนที่ออกไปทำงานทุกงาน แต่ตอนนี้อยู่แต่บ้าน เวลาเหงาก็จะเล่นโทรศัพท์มือถือ เล่นไลน์ และผู้สูงอายุได้เข้าชมรมผู้สูงอายุทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุคนอื่น
1.เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เนื่องจากการเสื่อมของร่างกายตามวัย
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รับยาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ปัจจุบันยังมีอาการเจ็บสะโพก เคยผ่าตัดใส่เลนส์เสริมที่ตาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมองตัวหนังสือเล็กๆไม่ค่อยเห็น เวลาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนไม่ค่อยเปิดไฟ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ เวลากินยาความดันโลหิต รู้สึกเวียนหัว”
O: น้ำหนัก 71 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร BMI 28.44 (อ้วนระดับที่2) Pain score = 4-7 คะแนน
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสาธารณสุข ยิ่งอายุมากขึ้น จะเพิ่มโอกาสและการบาดเจ็บรุนแรงจากการหกล้ม ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการพลัดตกหกล้ม เช่น ความเสื่อมของการมองเห็น การใช้ยา การเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้าง เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น อีกทั้งสิ่งแวดภายในบ้านและภายนอกบ้าน ภาวะหกล้มส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ทางด้านร่างกายทำให้เกิดการบาดเจ็บตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ เกิดแผล เป็นต้น ทางด้านจิตใจพบว่าผู้สูงอายุทีเคยมีประสบการณ์การหกล้มจะเกิดความกังวล อาจเสียความมั่นใจในการเดิน อาจทำให้ไม่กล้าเดินออกนอกบ้าน ทำให้หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น แยกตัว และไม่เข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมทางด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่หกล้มอาจเข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลทำให้เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจากกรณีศึกษา ผู้สูงอายุ อายุ 79 ปี น้ำหนัก 71 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร BMI 28.44 (อ้วนระดับที่ 2) เคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ปัจจุบันยังมีอาการเจ็บสะโพกอยู่ มองตัวหนังสือเล็กไม่ค่อยเห็น เวลาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนไม่ค่อยเปิดไฟ และผู้สูงอายุรับประทานยาประจำคือ ยาความดันโลหิต และเบาหวาน ซึ่งมีผลข้างเคียงคือทำให้ปัสสาวะบ่อย และเวียนศีรษะ ดังนั้นผู้สูงอายุรายนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการผลัดตกหกล้ม
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ซักประวัติและสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์พลัดตกหกล้ม และทำประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม Thai-FRAT
2.ให้คำแนะนำกับผู้สูงอายุและผู้ดูแล ในการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านในเหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น บ้านต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ ห้องน้ำควรปูพื้นกันลื่นเป็นต้น เป็นต้น
3.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายผู้สูงอายุ โดยเน้นที่การเพิ่มความมั่นคงในการยืน/เดินของผู้สูงอายุ เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่และการเดิน ใช้การฝึกการทรงตัว ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อเข่า และกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้า อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
4.ติดตามและประสานงานกับแหล่งประโยชน์ในชุมชน และให้เบอร์ติดต่อฉุกเฉิน 1669 หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุผลัดตกหกล้มจะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
5.ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยรับประทาน ผลที่จะเกิดขึ้นหลังรับประทานยา เช่น ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
6.แนะนำให้ผสูงอายุใช้ยาตามแผนการรักษาหากมีอาการปวดข้อสะโพก (Arcocia)
7.แนะนำวิธีการลดความปวดที่ไม่ใช้ยา เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ฟังธรรมะ เพื่อเบี่ยงแบนความสนใจจาการปวด
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
– เพื่อป้องกันการผลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
เกณฑ์การประเมินผล
คะแนนแบบประเมิน Thai-FRAT ลดลงจากจากทำครั้งแรก
– ผู้สูงอายุไม่เกิดอุบัติเหตุผลัดตกหกล้ม
น้ำหนักตัวลดลง 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์
Pain score ลดลง
ผู้สูงอายุใช้ยาแก้ปวดสะโพก (Arcocia) น้อยลง
ประเมินผล
ผู้สูงอายุบอกว่าจะเอาคำแนะนำไปใช้ และจะให้ลูกมาติดแถบเรืองแสง
คะแนนแบบประเมิน Thai-FRAT ลดลง จากเดิม 8 เหลือ 3 คะแนน
ไม่เกิดอุบัติเหตุผลัดตกหกล้ม
ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์
น้ำหนักตัวคงที่ (71 กิโลกรัม) -Pain score ลดลงจากเดิม 4-7 เหลือ 3 คะแนน
ผู้สูงอายุใช้ยาแก้ปวดสะโพก (Arcocia) น้อยลง
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : ออกกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ดูแล : จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยออกผู้สูงอายุ ,กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย
3.มีภาวะโภชนาการเกิน เนื่องจากมีการเผาผลาญลดลงตามวัย
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “เคยผ่าตัดนิ่วที่ถุงน้ำดี ตนเองชอบรับประทานอาหารรสจัด และชอบรับประทานของหวาน โดยเฉพาะบัวลอย”
O: น้ำหนัก 71 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร BMI 28.44 (อ้วนระดับที่2)
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของอวัยวะภายในร่างกายทั้งระบบเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ มีการสลายของเซลล์ในร่างกายมากกว่าการสร้าง ทำให้สมรรถภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทั้งการเผาผลาญพลังงานลดลง อายุเพิ่มมากขึ้นสิ่งที่ตามมาจะพบว่ามีการเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลง ใช้พลังงานน้อยลง ระบบผาผลาญทำงานได้ช้า ส่งผลให้ผู้สูงอายุเป็นโรคอ้วนในที่สุด จากกรณีศึกษาผู้สูงอายุ อายุ 79 ปี โรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จากประวัติผู้สูงอายุเคยผ่าตัดนิ่วที่ถุงน้ำดี การตัดถุงน้ำดีจะทำให้ไขมันทีรับประทานเข้าไปย่อยได้ไม่ดีเหมือนเดิม ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารรสจัดและของหวานโดยเฉพาะ เป็นผลให้เกิดภาวะโภชนาการเกินทั้งจากความสูงวัย ภาวะสุขภาพและแบบแผนการใช้ชีวิต
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง และวัดเส้นรอบเอว
2.ให้คำแนะนำการบริโภค คือผู้ ควรมีการรับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และตรับประทานในปริมาณที่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ หรือเป็นอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวันแต่ควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานไม่เกิน 1,200 กิโลแคลลอรี
3.แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำน้ำก่อนมื้ออาหาร 1-2 แก้ว และดื่มน้ำก่อนจะอิ่มอาหาร 1-2 แก้ว เพราะจะช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง และอิ่มเร็ว
4.และให้คำแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น เดิน วันละ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้สูงอายุมีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำหนักตัวลดลง 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์
เส้นรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร
ประเมินผล
ผู้สูงอายุบอกว่าจะพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน - น้ำหนักตัวคงที่ (71 กิโลกรัม) - เส้นรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร (ไม่ได้ว้ด) - ดื่มน้ำวันละ 2,350 มล. - ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์, ดื่มน้ำวันละ 2,350 มล., รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ขัดกับโรค, ชั่งน้ำหนัก และวัดเส้นรอบเอว
ผู้ดูแล : กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย, กระตุ้นให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำบ่อยๆ, จัดมื้ออาหารที่มีประโยชน์น่ารับประทาน และไม่ขัดกับโรคของผู้สูงอายุ, ชั่งน้ำหนัก และวัดเส้นรอบเอวให้กับผู้สูงอายุ
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เนื่องจากมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รับยาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่าตัดนิ่วที่ถุงน้ำดี เป็นคนขี้หลงขี้ลืม บางครั้งก็ลืมกินยา ชอบรับประทานอาหารรสจัดและชอบรับประทานของหวาน”
-O: HbA1C = 8.5 mg% น้ำหนัก 71 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร BMI 28.44 (อ้วนระดับที่2)
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ โดยเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่สร้างจากตับอ่อน ส่วนเบตาเซลล์ผิดปกติ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงหรือเลือดเป็นกรด ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง คือเกิดในระยะยาว ส่วนใหญ่เป็นความเสื่อมของเส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต ตาและเส้นเลือดที่ขา โรคความดันโลหิต คือ ค่าของความดันในหลอดเลือดแดง ความดันในขณะที่หัวใจบีบตัวเป็นความดันชีสโตลิค ค่าของความดันมากกว่า 140/90 มม.ของปรอทเป็นโรคที่พบได้เยอะในผู้สูงอายุและวัยกลางคน ซึ่งผู้สุงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด คือ กล้ามเนื้อหัวใจอาจมีแคลเซียมเกาะมากขึ้น ทําให้การนําคลื่นไฟฟ้าของหัวใจไม่ดี เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจ กั้นระหว่างหัวใจห้องบนกับห้องล่างและระหว่างหัวใจกับหลอดเลือดจะมีความยืดหยุ่นลดลง ผนังหลอดเลือด จะหนาขึ้นและมีความยืดหยุ่นลดลง จากกรณีศึกษาผู้สูงอายุ อายุ 79 ปีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รับยาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ผู้สูงอายุมีอาการหลงลืม ทำให้ลืมรับประทานยา อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ชอบทานอาหารรสจัดและของหวาน และมีภาวะโชนาการเกิน จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวของผู้สุงอายุได้
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่ผู้สูงอายุเป็น พร้อมทั้งบอกอาการและอาการแสดง ภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลคอยสังเกตอาการ
2.ให้คำแนะนำการในการใช้ยาให้กับผู้สูงอายุ สรรพคุณ ขนาด เวลา และผลข้างเคียงของยาที่
3.ติดตามให้ผ้สูงอายุมาตามนัดของแพทย์ เพื่อติดตามและควบคุมอาการของโรค
4.ให้คำแนะนำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ และดื่มน้ำวันละ 2,350 มล.
โรคเบาหวาน : รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และรับประทานให้ได้วันละ 3 มื้อ รับประทานตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานในปริมาณที่ใกล้เคียงกันทุกมื้อทุกวัน ไม่กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา ในแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน และผักผลไม้ หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมหาน ผลไม้เชื่อมแช่อิ่ม ผลไม้ที่มีรสหวาน ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ไขมัน สัตว์ เนย มันหมู เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ไข่แดง ครีม กะทิ อาหารทอด
โรคความดันโลหิตสูง : ควรรับประทานอาหารอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว เป็นต้น นมพร่องมันเนย ผักสดทุกชนิด และไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม และควรงดการเติมเครื่องปรุงรส อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม และไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู
5.ให้คำแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น เดิน วันละ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
6.แนะนำให้ผู้สูงอายุจดบันทึกหลังรับประทานยา หรือตั้งนาฬิกาแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา เพื่อป้องกันการหลงลืมและการกินยาซ้ำ
7.แนะนำให้ผู้อายุหรือผู้ดูแล วัดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตด้วยตัวเอง เพื่อประเมินภาวะสุขของผู้สูงอายุ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
– เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ #### เกณฑ์การประเมินผล
สูงอายุและผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการและอาการแสดงของโรคประจำตัวได้ - สามารถตอบคำถามการเลือกรับประทานอาหารได้ถูกต้อง 8 ใน
10 ข้อ
น้ำหนักตัวลดลง 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์
DTX ก่อนอาหาร = 80 – 130 mg/dL น้ำตาล 2 ชั่วโมง หลังอาหาร น้อยกว่า 180 mg/dL
HbA1C น้อยกว่า 6.5 mg%
ระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 mmHg
ประเมินผล
ผู้สูงอายุบอกว่าจะพยายามไม่ลืมกินยา
ผู้สูงอายุบอกว่าถ้าลืมกินยาก็จะคอยสังเกตอาการของตนเอง เช่น หน้ามืด ใจสั่น เป็นต้น
ผู้สูงอายุบอกว่าจะพยายามลดอาหารรสจัด และลดของหวาน
ออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
น้ำหนักตัวคงที่ (71 กิโลกรัม)
ดื่มน้ำวันละ 2,350 มล.
DTX =138 mg/dL
HbA1C = 8.5 mg%
ระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 mmHg
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง, ออกกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์, ดื่มน้ำวันละ 2,350 มล., รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ขัดกับโรค,สังเกตอาการและอาการแสดงของโรคประจำตัว, ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด, วัดระดับความดันโลหิต
ผู้ดูแล : กระตุ้นให้ผู้สูงอายุหรือคอยเตือน เพื่อป้องกันการหลงลืมรับประทานยา, กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย, กระตุ้นให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำบ่อยๆ, จัดมื้ออาหารที่มีประโยชน์น่ารับประทาน และไม่ขัดกับโรคของผู้สูงอายุ, สังเกตอาการและอาการแสดงของโรคประจำตัว , ช่วยตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดให้กับผู้สุงอายุ, ช่วยวัดระดับความดันโลหิตให้กับผู้สุงอายุ
4.มีปัญญาการนอนหลับ เนื่องจากปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รับยาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา เข้านอนประมาณ 3 ทุ่ม ตื่นตี 5 ปัสสาวะตอนกลางคืน 2- 3 ครั้ง เวลาไปเข้าห้องน้ำจะไม่ชอบเปิดไฟ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ หลับต่อแล้วตื่นมาก็รู้สึกไม่สดชื่น”
O: -
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ซักประวัติ สอบถามถึงแบบแผนการนอนหลับ และทำแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ เพื่อให้เป็นข้อมูงพื้นฐานในการให้การพยาบาล
2.แนะนำการจัดท่านอนเพื่อให้นอนหลับ เช่น ท่านอนหงาย นอนหงายมีหมอนเล็กรองคอ เป็นต้น
3.แนะนำการจัดสถานที่ให้เหมาะสม เช่น ที่นอนไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป มีอากาศถ่ายเทสะดวก ปิดไฟ เป็นต้น
4.ก่อนถึงเวลานอนไม่ควรทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้จิตใจตื่นเต้น เช่น ออกกำลังกาย และควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้านอน
5.อาหารมื้อเย็นควรรับประทานให้พอเหมาะไม่ควรรับประทานมากเกิน งดเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เพราะเครื่องดื่นประเภทนี้จะทำให้ปัสสาวะบ่อย
6.ให้คำแนะนำให้ผู้สูงอายุไม่ควรนอนกลางวัน หากง่วงมากให้นอนกลางวันได้ไม่เกิน 30 นาที
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้สูงอายุนอนอย่างมีคุณภาพ
เกณฑ์การประเมินผล
คะแนนแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับลดลงจากครั้งแรกที่ทำ
ผู้สูงอายุรู้สึกสดชื่น หลังจากตื่นนอน
ไม่มีอาการง่วงนอนระหว่างวัน
จำนวนครั้งของปัสสาวะตอนกลาวงคืนลดลงจากเดิม
ประเมินผล
ผู้สูงอายุอายุยังมีการตื่นในตอนกลางคืน ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ตื่นมารู้สึกไม่ค่อยสดชื่น และยังมีอาการง่วงนอนระหว่างวัน
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน, ไม่นอนพักระหว่างวัน หรือหลับได้ไม่เกิน 30 นาที, งดอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4ชม., เข้าห้องน้ำปัสสาวะก่อนที่จะเข้านอน, ไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนเข้านอน เช่น ออกกำลังกาย, จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอนหลับ เช่น ปิดไฟ
ผู้ดูแล :จัดห้องนอนให้เหมาะกับการนอนหลับพักผ่อนของผู้สูงอายุ, จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เพื่อให้ผู้สูงอายุพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางประสาทกายวิภาคที่มีผลต่อการนอนหลับหลายอย่างทำให้ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลงจะมีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก จากกรณีศึกษาผู้สูงอายุ อายุ 79 ปี โรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งยาลดระดับความดันโลหิต ซึ่งมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ปัสสาวะบ่อย ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่าปัสสาวะตอนกลางคืน 2-3 ครั้ง/วัน ซึ่งเวลาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนจะไม่ชอบเปิดไฟ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ เมื่อนอนต่อแล้วตื่นมาจะรู้สึกไม่สดชื่น ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ
5.เสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากมีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะ
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “ปัสสาวะกลางวัน 6 ครั้ง/วัน กลางคืน 2-3 ครั้ง/วัน ชอบกลั้นปัสสาวะ หลายปีก่อนเคยติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง รับประทายาลดระดับความดันโลหิต”
O: -
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้สูงและจัดเป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้สูงอายุ ผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเชื้อแลคโตบาซิลไลในช่องคลอดน้อย ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดสูงขึ้น ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตลดลง ทำให้ความสามารถในทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และขับสารยูเรียได้ลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น นอกจากนั้นการที่มีน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งพบได้มากขึ้นในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคเบาหวานมากขึ้น ยังเป็นสารเพาะเชื้อที่ดีอีกด้วย ระบบภูมิภูมิคุ้มกันของผู้สร้างอายุก็จะทำงานลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย จากกรณีศึกษาผู้สูงอายุ อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเป็นความดัน รับประทายาลดระดับความดันโลหิต ซึ่งมีผลข้างเคียงคือทำให้ปัสสาวะบ่อย ผู้สูงอายุให้ประวัติว่า เคยติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะ ซึ่งผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทั้งปัจจัยทางด้านร่างกายและพฤติกรรมของตนเอง
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ซักประวัติและสอบถามการกลั้นปัสสาวะของผู้สูงอายุ และหาสาเหตุการกลั้นปัสสาวะ
2.บอกข้อเสียของการกลั้นปัสสาวะ เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความตระหนัก
3.แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร เพื่อทำให้ปัสสาวะเจือจางและล้างเชื้อโรคออกจากกระเพาะปัสสาวะ ทำให้แบคทีเรียลดลง
4.ดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด ทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น สวมเสื้อผ้า กางเกงที่โปร่งสบายเพื่อป้องกันการอับชื้น
5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ชา น้ำอัดลม เพราะเครื่องดื่นประเภทนี้จะทำให้ปัสสาวะบ่อย
6.แนะนำให้ผู้สูงอายุไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
7.แนะนำให้ผู้สูงอายุสังเกตลักษะปัสสาวะ คือ ปัสสาวะต้องสีเหลืองใส ไม่ขุ่น และสังเกตอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อ คือ ปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : ไม่กลั้นปัสสาวะ, หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน, ดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร, ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังจากปัสสาวะ, สังเกตลักษณะของปัสสาวะ
ผู้ดูแล : กระตุ้นให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำบ่อยๆ, จัดสิ่งแวดล้อมภายในห้องน้ำให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น มีราวจับ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมินผล
กลั้นปัสสาวะน้อยลงจากเดิม
สามารถทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังจากปัสสาวะได้ถูกต้อง
ปัสสาวะ มีลักษณะเป็นสีเหลืองใส ไม่ขุ่น ไม่มีอาการแสบ ขัด ปัสสาวะไม่สุด
ประเมินผล
ผู้สูงอายุบอกว่าจะพยายามกลั้นปัสสาวะให้น้อยลง
ดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร
สามารถทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังจากปัสสาวะได้ถูกต้อง คือเช็ดจากอวัยวะเพศไปทวารหนัก
ปัสสาวะ มีลักษณะเป็นสีเหลืองใส ไม่ขุ่น ไม่มีอาการแสบ ขัด ปัสสาวะไม่สุด
7.ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เนื่องจากผู้สูงอายุใส่ฟันปลอม
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “ใส่ฟันปลอมทั้งบนล่าง ข้างบนใส่เกือบทุกซี่ ข้างล่าง 1 ซี่ ใส่แบบถอด เวลากินฝรั่ง แอปเปิ้ลก็จะปั่นเอา จะได้กินง่าย”
O: -
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ฟันปลอม คือ ฟันที่ไม่แท้ เมื่อใส่ไปแล้วอาจจะรู้สึกรำคาญแล้วไม่สุขสบาย การใส่ฟันปลอมอาจทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างละเอียดเท่าฟันจริง เพราะอาจจะทำให้เกิดการชำรุด อีกทั้งยังอาจจะเกิดการกดทับแน่นเกินไป และกดฟัน จะทำให้เกิดความรู้สึกเสียวฟัน อีกทั้งฟันปลอมที่หลวมไม่แนบสนิทจะทำให้เป็นที่กักขังของเศษอาหารได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลรักษาฟันปลอม เพื่อลดการเกิดผลกระทบและสามารถใช้งานฟันปลอมได้นานยิ่งขึ้น
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.แนะนำให้ผู้สูงอายุแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
2.หลีกเลี่ยงการใช้ฟันปลอมที่เป็นซี่หน้ากัดหรือบดเคี้ยวอาหาร เพราะจะทำให้ฟันปลอมหลุดออกมาได้ง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียวจนเกินไป
3.ให้คำแนะนำการเก็บฟันปลอม โดยการนำฟันปลอมที่ทำความสะอาดแล้วไปแช่ไว้ในภาชนะสำหรับแช่ฟันปลอม ควรจะใส่น้ำให้มีระดับเหนือฟันปลอม ไม่ควรทิ้งไว้ของนอกให้โดนอากาศ เพราะจะทำให้ฟันปลอมเสียรูป หรือบิดงอได้
4.ไม่ควรใส่ฟันปลอมนอน เพื่อที่จะให้เหงือกได้พักผ่อน
5.หากพบปัญหา เช่น ใส่ฟันปลอมแล้วรู้สึกเจ็บ เคือง หรือแน่นเกินไปควรรีบไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อให้ด้รับการแก้ไข
6.แนะนำให้ผู้สูงอายุพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หรือ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น, ตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน, ไม่รับประทานอาหารที่แข็งหรือเหนียว, ดูแลทำความสะอาดฟันปลอม, หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ
ผู้ดูแล : พาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน, จัดมื้ออาหารให้เหมาะกับผู้สูงอายุ คือไม่แข็งและเหนียว
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
เกณฑ์การประเมินผล
สามารถบอกการดูแลฟันปลอมได้อย่างถูกต้อง
ประเมินผล
ผู้สูงอายุบอกวิธีการทำความสะอาดช่องปากได้อย่างถูกต้อง และสามารถบอกวิธีการดูแลและทำความสะอาดฟันปลอมได้อย่างถูกต้อง
ผู้สูงอายุบอกว่าเมื่อฟันปลอมชำรุดจะไปพบทันตแพทย์ และไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำ
6.เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนบทบาท
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า “เมื่อก่อนรับราชการครู ตอนนี้เกษียนแล้ว ไม่ได้ทำงานอะไร อาศัยอยู่คอนโดคนเดียว ลูกสาวกับหลานมานอนด้วยบ้าง เวลาอยู่คนเดียวรู้สึกเหงา เวลาก็จะคุยไลน์กับเพื่อน”
O: -
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทฤษฎีการถดถอยจากสังคมชื่อว่าบุคคลเมื่อถึงวัยสูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนที่ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องจากสัมพันธภาพของผู้สูงอายุและบุคคลรอบข้างมีน้อยลง เช่น การเกษียณอายุการทำงาน ทำให้การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนร่วมงานมีน้อยลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีการแยกตัวออกจากสังคม ผู้สูงอายุอาจรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลคลง ทำให้มีการถอนตัวออกจากการทำกิจกรรมในสังคมได้ จากกรณีศึกษาผู้สูงอายุ อายุ 79 ปี เมื่อก่อนรับราชการครู ปัจจุบันเกษียนแล้ว ไม่ได้ทำงาน จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอ้างว้าง มีคุณค่าในตัวเองลดลง
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ซักประวัติผู้สูงอายุ และใช้แบบประเมิน 2Q9Q เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้า
2.เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พูดคุย ระบายความรู้สึก สำรวจความคิด พร้อมรับฟังและให้กำลังใจกับผู้สูงอายุ
3.ให้คำแนะนำผู้สูงอายุให้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ไปวัดทำบุญ ออกกำลัง เพื่อให้ได้ออกไปพบปะผู้คน
4.แนะนำกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เช่น สอนการฝึกนั่งสมาธิให้ผู้สูงอายุในชุมชนที่สนใน หรือเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องที่ผู้สูงอายุชอบหรือถนัด
กิจกรรมของผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ : ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น
ผู้ดูแล : กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น, คอยพูดคุยกับผู้สูงอายุเป็นประจำ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
เกณฑ์การประเมินผล
คะแนนแบบประเมิน 2Q9Q ลดลงจากครั้งแรกที่ประเมิน
ผู้สูงอายุออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น
ประเมินผล
คะแนนแบบประเมิน 2Q9Q ลดลง จากเดิม 3 เหลือ 0 คะแนน
ผู้สูงบอกว่าถ้าสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น จะออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น และบอกว่าตนเองจะเข้าชมรมผู้สูงอายุ
จัดทำโดย
นางสาวกนกพร มะอินทร์
รหัสนิสิต 62010186 กลุ่ม 01-2
ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล