Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดา อายุ 32 ปี คลอดบุตรคนท่ี 4 - Coggle Diagram
มารดา อายุ 32 ปี คลอดบุตรคนท่ี 4
จากข้อมูลแรกรับที่ตึกหลังคลอด สัญญาณชีพของมารดารายนี้เป็นอย่างไร จงอธิบาย และควรให้การพยาบาลอย่างไร
• BP 120/88 mmHg ปกติ (120-139 / 80-88 mmHg)
• PR 100 bpm. ปกติ (60-100 bpm.)
• RR 18 bpm. ปกติ (12-20 bpm.)
• BT 38 ° c มีไข้ (36.5-37.5 ° ) เรียกว่า reactionary fever
• Pain score 7 คะแนน (ปวดมากที่สุด)
บริเวณแผลฝีเย็บ
การพยาบาล
เช็ดตัวลดไข้ เพื่อเป็นการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายและวัดอุณหภูมิหลังจากเช็ดตัว 30 นาที เพื่อประเมินอาการไข้
ดูแลให้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อลดกระบวนการผลิตความร้อนในร่างกาย
แนะนำวิธีระบายความร้อนออกจากร่างกาย เช่น สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ โปร่งสบาย เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดี
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณแผลฝีเย็บ
แนะนำวิธีบรรเทาความปวดโดยการเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด
จงอธิบายหลักการประเมินแผลฝีเย็บด้วยREEDAscaleว่าประเมินอะไรบ้างและแปลผลอย่างไร
แบบประเมิน REEDA Score
R = redness คือ อาการบวมแดง
E = edema คือ อาการบวม
E = ecchymosis คือ อาการฟกช้ำ
D = discharge คือ ภาวะมีหนอง
A = approximation คือ ขอบแผลแยก
การแปลผล
หาก REEDA Score มีคะแนนมากกว่า 0 แปลว่าอาจจะมีความเสีย่งต่อการอักเสบติดเชื้อของแผลฝีเย็บ หากคะแนนยิ่งสูงยิ่งเสี่ยง
อ้างอิง
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. (2553). ป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บหลังคลอด Prevention of Pospartum Perineum Infection.วารสารการพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 33, 91-93.
เมื่อพยาบาลสอนวิธีการอาบน้ำทารก มารดาบอกว่า “ทำไม่ถูก กลัวลูกจมน้ำ” การปรับตัวด้านจิตสังคมระยะหลังคลอดเหมาะสมหรือไม่อย่างไร จงอธิบายและควรให้การพยาบาลอย่างไร
ปรับตัวเหมาะสม
เนื่องจากมารดาอยู่ในช่วง 2 วันหลังคลอด ซึ่งในช่วงนี้จะอยู่ใน
ระยะ Taking in phase
เป็นระยะที่เริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา หรือระยะพึ่งพา มารดาจะยังมีความไม่สุขสบายจากการปวดแผลฝีเย็บอยู่ แต่มารดาก็ต้องเริ่มเรียนรู้ในการดูแลทารก อาจจะมีการพึ่งพาในบางอย่าง แต่ก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อพัฒนาไปในระยะถัดไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การพยาบาล
ดูแลช่วยเหลือประคับประคองและตอบสนองความต้องการของมารดาหลังคลอดทางด้านร่างกาย ในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การรักษาความสะอาดของร่างกาย การขับถ่าย การทำกิจกรรมต่างๆ
ลดภาวะไม่สุขสบายต่างๆ รวมทั้งควรประคับประคองทางด้านจิตใจ
สังเกตอาการผิดปกติทางด้านจิตใจที่อาจจะเกิดขึ้นให้ความสนใจทั้งคาพูดและพฤติกรรมที่ แสดงออกเพื่อประเมินสภาพจิตใจและให้การพยาบาลช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการทางจิตจะรุนแรง มาก ขึ้น (เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ, 2556)
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่อบอุ่นเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกด้วยความจริงใจ เพื่อให้มารดา หลัง คลอดมีความรู้สึกว่ามีผู้สนใจเอาใจใส่ตนเองเกิดความอบอุ่นใจ
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความสนใจจะช่วยให้มารดาหลัง คลอดสบายใจขึ้น
พยาบาลควรอธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของ มารดาหลังคลอดและสนับสนุนให้มารดาหลังคลอดได้พูดคุยกับสามีญาติรวมทั้งมารดาหลังคลอดรายอื่นๆ เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการคลอด
แหล่งอ้างอิง
จิราวรรณ คล้ายวิเศษ, สุมลทิพย์ สนธิเมือง. (2564). การปรับบทบาทของมารดาและบิดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด. รายวิชา NUR60-341 การผดุงครรภ์มารดาและทารก 1 (Maternity Nursing and Midwifery). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
การปรับตัวด้านจิตใจมี 3 ระยะ
Taking in phase
เป็นระยะ 1-2 วัน แรกหลังคลอด ร่างกายมีความอ่อนล้า ไม่สุขสบายจากการปวดมดลู กเจ็บปวดแผลฝีเย็บและคัดตึงเต้านม บางรายอาจปวดร้าวกล้ามเนื้อ บริเวณตะโพกและฝีเย็บจนกระทั่งเดินไม่ได้ในช่วงวันแรกช่วยเหลือตนเองได้ น้อย ในช่วงนี้จึงสนใจแต่ตนเองมีความ ต้องการพึ่งพาผู้อื่น (Dependency needs) (ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์, 2558)
Taking-hold phase
วันที่ 3-10 วันหลังคลอด มารดาหลังคลอดที่ได้รับการตอบสนองในช่วง Taking-in phase อย่างครบถ้วนก็จะ เริ่มปรับตัวเข้าสู่ระยะนี้ โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพึ่งพาเป็นอิสระสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากยิ่งขึ้นมารดาจะรู้สึกสบายแข็งแรงขึ้น จึงเริ่มสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทารก สนใจบุคคลอื่นๆในครอบครัวเพิ่มขึ้น
Letting-go phase
วันที่ 10 หลัง คลอดเป็นต้นไป เป็นช่วงที่สตรีหลังคลอดมีความเป็นอิสระและดูแลทารกได้มากขึ้น ต้องรับผิดชอบต่อ บทบาท มารดาอย่างเต็มที่และตระหนักว่าต้องเลี้ยงบุตรเอง
อ้างอิง
จิราวรรณ คล้ายวิเศษ, สุมลทิพย์ สนธิเมือง. (2564). การปรับบทบาทของมารดาและบิดาในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด. รายวิชา NUR60-341 การผดุงครรภ์มารดาและทารก 1 (Maternity Nursing and Midwifery). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
น้ำนมในระยะ 2 วันหลังคลอดอยู่ในระยะใด
มีส่วนประกอบใดบ้าง
อยู่ในระยะหัวน้ำนม (colostrums)
ส่วนประกอบ
• โปรตีน สารระบบภูมิคุ้มกัน เกลือแร่ วิตามิน
• วิตามิน A วิตามิน K และสารช่วยการเจริญเติบโต
• มีสารภูมิคุ้มกันที่สำคัญซึ่งได้แก่ secretary IgA
• เม็ดเลือดขาว
• ไลโซไซม์ (lysozyme เอนไซม์ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย)
• แลตโตเฟอริน (lactoferrin โปรตีนที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรค)
• bifidus growth factor (สารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ช่วยให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้)
แหล่งอ้างอิง
ศิราภรณ์ สวัสดิวร,กุสุมา ชูศิลป์ และกรรณิการ์ บางสายน้อย.(2550).มีอะไรในนมแม่.กรุงเทพฯ. ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
จากข้อมูลที่ตึกหลังคลอด พยาบาลคลําพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือ ภายหลังคลอดมารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะ ถือเป็นภาวะปกติหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
คลำพบลอนนิ่มระดับสะดือ
ไม่ปกติ คลำพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือเป็นลักษณะอาการที่บอกว่ามดลูกไม่มีการหดรัดตัว อาจจะทำให้เลือดออกหรือตกเลือดได้ พยาบาลจะต้องดูแลให้มารดาได้รับยากระตุ้นการหดตัวของมดลูกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
มารดายังไม่ถ่ายปัสาวะ
มารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะหลังคลอด ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ เนื่องจากความตึงตัวของกระเพาะปัสสาวะจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก อาจจะส่งผลให้มดลูกเข้าอู่ช้าและอาจจะตกเลือดได้
หาก Bladder full พยาบาลจะต้องกระตุ้นให้ มารดาหลังคลอดปัสสาวะเองภายใน 4-6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะเต็มและขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
อ้างอิง
https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-july-2560/15_17_การตกเลือดหลังคลอด_proof1_formatted.pdf
พยาบาลจะเตรียมมารดารายนี้อย่างไร
เพื่อให้ทารกแรกเกิดได้รับน้ำนมมารดา
การประเมินหัวนมและลานหัวนม
(Siriraj Areola Nipple Assessment: SANA)
การประเมินหัวนม
1.1 การวัดความยาวหัวนม
จัดให้สตรีตั้งครรภ์อยู่ในท่านั่งหลังตรงจากนั้นคลึงหัวนม (nipple rolling ) เบา ๆ ประมาณ 5 วินาทีก่อนตรวจวัด ใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์หรือไม้บรรทัดวัดความยาวหัวนม โดยให้วัดตั้งฉากกับลานหัวนม เริ่มจากโคนหัวนมจนถึงยอดของหัวนมที่สูงที่สุด หน่วยเป็นมิลลิเมตร
การแปลผล
: หัวนมสั้นหมายถึงความยาวหัวนมสั้นกว่า 7.0 มิลลิเมตร โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 2 ระดับ
-หัวนมสั้นไม่มากหมายถึงความยาวมากกว่าหรือเท่ากับ 4.0 มิลลิเมตร แต่น้อยกว่า 70 มิลลิเมตร
-หัวนมสั้นมากหมายถึงความยาวน้อยกว่า 4.0 มิลลิเมตร แต่มากกว่า 1.0 มิลลิเมตร
1.2 การตรวจความผิดปกติของหัวนม
แบ่งเป็น
-pseudo inverted nipple
หมายถึง หัวนมที่ยื่นออกมาในสภาวะปกติ แต่เมื่อทดสอบโดยบีบบริเวณขอบนอกของลานหัวนมเข้าหากันด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ (pinch test) พบว่าหัวนมบุ๋มลึกลงจากลานหัวนมคล้ายปล่องภูเขาไฟ
-Retracted nipple
หมายถึง หัวนมมีการดึงรั้งทดสอบโดยใช้นิวชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณหัวนมแล้วตึงขึ้น (nipple pulling) หากจับไม่ติดหรือดึงไม่ขึ้นแสดงว่า หัวนมมีการดึงรั้ง
การประเมินลานหัวนม
เทคนิคการทดสอบ
ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณลานหัวนมแล้วยกขึ้น (areola compression)
การแปลผล
: -ลานหัวนมมีความยืดหยุ่นดี หมายถึง สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณลานหัวนมติดและสามารถดึงลานหัวนมขึ้นมาได้
-ลานหัวนมตึง หมายถึง ไม่สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับบริเวณลานหัวนมติดหรือจับติด แต่ไม่สามารถดึงลานหัวนมขึ้นมาได้
เป็นการทดสอบดูความยืดหยุ่นของลานหัวนม เพื่อประเมินว่าทารกจะสามารถอมลานหัวนมได้หรือไม่
แหล่งอ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.(ม.ป.ป).คู่มือการกรอกแบบประเมินและติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
มารดามีสีหน้าวิตกกังวลหงุดหงิดง่ายบางคร้ังร้องไห้คนเดียวมารดารายน้ีมีภาวะใดจงอธิบาย และควรให้การพยาบาลอย่างไร
มารดารายนี้มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือ Postpartum depression เป็นความผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ และมีการรับรู้ลดลง แต่ไม่ใช่โรคทางจิตเวช (Psychosis) มักเกิดขึ้นภายใน4 สัปดาห์หลัง คลอด และมีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ในระยะหลังคลอดพบว่ามีการลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรนอย่างรวดเร็วหลังการคลอด
การพยาบาล
ประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อลดและป้องกันภาวะซึมเศร้าของมารดา ด้วยแบบประเมินของTheEdinburghPostnatalDepression Scale (EPDS), Beck Depression Inventory II (BDI-II), The Postpartum Depression Screening Scale (PDSS)
ช่วยดูแลทารก เมื่อมารดายังไม่พร้อมในการดูแลบุตรหรือพบว่ามีอารมณ์เศร้า (postpartum blues)
จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้มารดาที่เคยซึมเศร้าหลังคลอดมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
สร้างสัมพันธภาพและเปิดโอกาสให้มารดาได้ระบายความวิตกกังวล
อ้างอิง
คชารัตน์ ปรีชล. (2559). ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: การป้องกันและการดูแล. วารสาร พยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 25-30
จงสรุปการประเมินสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยหลักการ 12B
Background
ภูมิหลังของมารดา อายุ อาชีพ การศึกษา ศาสนา สัญชาติ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด
Believe
ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกหลังคลอด
Body condition
สภาพร่างกายโดยทั่วไป ได้แก่ สีหน้า ลักษณะท่าทาง ภาวะซีด การเคลื่อนไหวร่างกาย อาการเจ็บปวด ปวดแผล ปวดมดลูก
Body temperature and Body pressure
อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิต โดยวัดสัญญาณชีพต้ังแต่หลังรกคลอดทันที และติดตามทุก 15 นาที ใน 1 ชั่วโมงแรก ทุก 30 นาที ในชั่วโมงท่ี 2-4 และทุก 4 ชั่วโมงจนครบ 24 ชั่วโมงแรก หลังคลอด
Breast and lactation
ลักษณะหัวนม เต้านม ผิวหนังบริเวณเต้านม ลานนม และการไหลของนม เพื่อประเมินความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Belly and fundus
ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก ระดับยอดมดลูก ประเมิน การหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที ใน 4 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นประเมินทุก 1-4 ชั่วโมง รวมถึงวัดยอดมดลูก และบันทึกระดับการลดลงของยอดมดลูก ซึ่งการบันทึก ระดับยอดมดลูกควรทาทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 คร้ัง ใน เวลาเดียวกันเพื่อประเมินการเข้าอู่ของมดลูก และเป็น การเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง 24 ชั่วโมง
Bladder
การขับถ่ายปัสสาวะ โป่งตึงของกระเพาะปัสสาวะ โดยปกติจะต้องถ่ายปัสสาวะหลังคลอดภายใน 6-8 ชั่วโมง
Bleeding and lochia
ลักษณะ สี กลิ่น ปริมาณของน้ำคาวปลาที่ไหลออกจากช่องคลอดหลังคลอด ทาการบันทึกทุก 15 นาที ในระยะ 2 ชั่วโมง แรก บันทึกทุก 1-2 ชั่วโมงในระยะ 4 ชั่วโมงหลังคลอด และบันทึกทุก 4 ชั่วโมงจนครบ 24 ชั่วโมงแรกหลัง คลอด
Bottom
ลักษณะแผลฝีเย็บ การฉีกขาด การชิดกันของขอบแผล การมีห้อเลือด ตรวจความ ผิดปกติทุกๆ 8 ชั่วโมง โดยใช้ REEDA Scale ในการ ประเมิน
Bowel sound movement
การเคลื่อนไหวของลำไส้โดยปกติจะต้อง 5-30 ครั้งต่อนาที
Blues
สภาวะจิตใจของมารดาหลังคลอด
Baby
การตรวจสุขภาพทารกเบื้องต้น
Bounding
พฤติกรรมการแสดงความรักใกล้ที่มารและทารกมีต่อกัน
อ้างอิง
https://hiperc.sru.ac.th/pluginfile.php/146062/mod_folder/content/0/หน่วยที่%2010%20การพยาบาลมารดาทารกระยะหลังคลอด.pdf?forcedownload=1
ขณะที่มารดาแจ้งว่าไม่อยากให้ลูกดูดนมสีเหลือง พยาบาลให้คำแนะนำมารดารายนี้อย่างไร
แนะนำและอธิบายถึงประโยชน์ของการให้ทารกได้ดูดนมเร็วเนื่องจากน้ำนมสีเหลือง (colostrum) เป็นน้ำนมที่มีประโยชน์เปรียบเสมือนวัคซีนชั้นดีที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายลูกให้แข็งแรงในน้ำนมเหลืองมีภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ อยู่มากที่สำคัญ คือ แกมมาโกลบูลิน-จี ซึ่งทำหน้าที่ระงับการขยายตัวของเชื้อโรคทั้งยังมีโปรตีนซึ่งมีธาตุเหล็กที่เรียกว่าทรานสเฟอร์ริน ซึ่งช่วยนำธาตุเหล็กไปใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
แหล่งอ้างอิง
นิภา เพียรพิจารณ์.(2558) การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่-ลูก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอด.คู่มือการพยาบาล.ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
.
นักศึกษาคิดว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทําให้มารดารายนี้ มีน้ํานมไหลน้อย
ขาดการกระตุ้นเต้านมอย่างถูกต้อง
มารดาไม่ให้ทารกดูดนมทันที โดยบอกว่า “น้ำนมยังไม่ไหล”
มีการระบายน้ำนมออกจากเต้านมน้อย ทำให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้า
ภาวะเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ
ความปวด
มารดามีอาการปวดแผลฝีเย็บ ความปวดจะยับยั้งProlactin และ Oxytocin ทำให้น้ำนมมีปริมาณน้อย
พยาบาลจะใช้หลักการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยแม่เพื่อให้เกิดความสําเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดารายน้ีอย่างไร
การดำเนินการตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Ten Steps to Successful Breastfeeding) โดยเน้นขั้นบันไดที่ 3-10
บันไดขั้นที่ 3
พูดคุยให้หญิงตั้งครรภ์และครบอครัวทราบถึงความสำคัญและวิธีบริหารจัดการในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Discuss the Importance and Management of Breastfeeding with Pregnant Women and Their Families)
บันไดขั้นที่ 4
เอื้ออำนวยความสะดวกให้มารดาหลังคลอด โดยให้มารดารโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและช่วยเหลือมารดาในการให้ทารกดูดนมโดยปราศจากการรบกวน (Facilitate Immediate and Uninterrupted Skin-to-Skin Contact and Support Mothers to Initiate Breastfeeding as soon as Possible after Birth)
บันไดขั้นที่ 5
สนับสนุนให้มารดารู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำให้น้ำนมมีปริมาณเพียงพอและการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้น (Support Mothers to Initiate and Maintain Breastfeeding and Manage Common Difficulties)
บันไดขั้นที่ 6
หม่ให้อาหารอื่นหรือน้ำแก่ทารกแรกคลอดนอกจากนมแม่ เว้นแต่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ (Do Not Provide Breastfed Newborns any Food or Fluids other than Breast Milk, unless Medically Indicated)
บันได้ขั้นที่ 7
ให้มารดาและทารกอยู่ห้องเดียวกันตลอด 24 ชั่วโมง (Enable Mothers and Their Infants to Remain Together and to Practice Rooming-in 24 Hours a Day)
บันไดขั้นที่ 8
สนับสนุนให้ทารกดูดนมมารดาตามความต้องการ โดยให้มารดาสังเกตอาการแสดงของสัญญาณหิวของทารก (Support Mothers to Recognize and Respond to Their Infants’cues for Feeding)
บันไดขั้น 9
ให้คำปรึกษาแก่มารดาเกี่ยวกับปัญหาหรือความเสี่ยงของการให้ทารกดูดนมจากขวด การใช้หัวนมยางและหัวนมปลอม (Counsel Mothers on the use and Risks of Feeding Bottles, Teats and Pacifiers)
บันได้ขั้นที่ 10
ควรมีการประสานงาน และส่งต่อมารดาและทารกหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปยังกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เพื่อการดูแลและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างต่อเนื่อง (Coordinate Discharge so that Parents and Their Infants have Timely Access to Ongoing Support and Care)
อ้างอิง
ขนิษฐา เมฆกมล. (2561). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: แนวปฏิบัติในชุมชน Breastfeeding Promotion: Community Practice Guideline. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. ปีที่ 5, น. 277-278.
ส่งเสริมให้ดูดนมถูกวิธี
การดูดเร็ว
หมายถึงการนําบุตรมาดูดนมมารดาโดยเร็วที่สุด คือ ดูดภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังคลอด เป็นระยะที่บุตรตื่นตัวเต็มที่ สงบและมีการรับรู้สูง
การดูดบ่อย
ให้บุตรดูดนมบ่อยคร้ัง โดยใน 2-3 วันแรกหลังคลอดให้ดูดทุก 2-3 ชั่วโมงหรือ 8-10 ครั้งใน 24 ชั่วโมง สําหรับระยะเวลาในการดูดนมในระยะแรก ๆ ไม่ควรน้อยกว่า 15-20 นาที
การดูดถูกวิธี
อ้าปากกว้าง ปากบานหรือปากปลา เห็นลานนมบนมากกว่าลานนมล่าง คางชิดเต้า
ดูดเกลี้ยงเต้า
การให้บุตรดูดนมมารดาให้หมดเต้าใดเต้าหนึ่งก่อน แล้วจึงเริ่มดูดข้างต่อไป หากหลังบุตรดูดนมอิ่มแล้วแต่ยังมีน้ํานมเหลืออยู่ในเต้า มารดาควรบีบน้ํานมออกให้เกลี่ยงเต้า
อ้างอิง
ปฤษดาพร ผลประสาร.(2564). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. รายวิชา NUR – 343 การพยาบาลมารดาและทารก (Maternal and Newborn Nursing) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2564
อ้างอิง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/download/156699/113699/
นักศึกษาจะกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลแก่มารดาและทารก ในระยะ 6 สัปดาห์หลัง
คลอดรายนี้อย่างไร
เสี่ยงภาวะตกเลือดหลังคลอดภายหลังจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
สอนและให้คําแนะนํามารดาก่อนกลับบ้านเรื่องการคลึงมดลูกและการสังเกตความผิดปกติ เช่น มีเลือดสดออกมาเป็นจํานวนมาก หน้ามืด เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
ในมารดาหลังคลอดท้องหลัง ซึ่งการตึงตัวและหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีเท่าท้องแรกจึงต้องเฝ้าระวังมากกว่าปกติ
ดูแลกระเพราะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี
แนะนําให้ดูแลความสะอาดอวัยวะเพศ ไม่สวนล้างช่องคลอด ล้างทําความสะอาดจากหน้าไปหลัง ซับให้แห้งทันที
แนะนําให้มารดาทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น แกงเลียงและทานน้ำประมาณ 2,000-3,000ml เพื่อการเร่งน้ำนม
งดการมีเพศสัมพันธ์ ควรงดจนกว่าจะได้การตรวจหลังคลอด เมื่อครบ 4-6 สัปดาห์และ Follow up ตามนัด
ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากมีสมาชิกใหม่
ส่งเสริมให้มารดาได้สัมผัสอุ้มกอดและมองสบตาทารกตั้งแต่แรกคลอด
เปิดโอกาสให้มารดาแสดงความรู้สึกพูดคุยและซักถามเกี่ยวกับทารก
พูดเชิญชวนให้มารดาชมเชยความน่ารักของบุตรตนเองบ่อย ๆ
ช่วยให้ทารกแรกเกิดได้ดูดนมมารดาโดยเร็ว
เสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไม่สำเร็จ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบีบน้ำนม เพื่อเก็บน้ำนมไว้ให้ลูก โดย
การบีบน้ำนมควรอยู่ในที่สะดวก สงบ และให้ทำจิตให้สบายเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย จะช่วยให้น้ำนมหลั่งออกได้ดีขึ้น
ใช้น้ำอุ่นจัดประคบเต้านม 1 – 3 นาที
นวดเต้านมและคลึงเบา ๆ เป็นลักษณะวงกลมจากฐานเต้านมเข้าหาหัวนม ดึงหัวนมและคลึงเบา ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
การบีบน้ำนมด้วยมือต้องทำอย่างนุ่มนวล มารดาหลังคลอดจึงจะไม่เจ็บและมีน้ำนมออกมาก ซึ่งต้องทำอย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมง
ประเมินอาการตึงคัดของเต้านม การหลั่งของน้ำนม กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนม
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูกและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้มารดาเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบผลสำเร็จ สอนวิธีการให้นมอย่างถูกวิธี โดยอุ้มให้ถูกต้อง ใช้มือจับเต้านม โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน และนิ้วอื่นๆ รองรับเต้านม ปากทารกอยู่บริเวณลานหัวนม
ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การประคองหัวเด็กช่วยขณะมารดาให้นมบุตร
สอนและจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารกเรอแล้ว 15 นาที จัดให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักนม และยกศีรษะสูงเล็กน้อย
แหล่งอ้างอิง
สุมนา ชาญวิถี.(2551).การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะกระดูกหัวหน่าวแยก ( Pubic symphysis separation ).ขอนแก่น.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 .
งามตา อินธิจักร.(2551).การพยาบาลมารดาหลังคลอดบุตรปกติ ที่มีภาวะหัวนมสั้น : กรณีศึกษา.ขอนแก่น.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6
พยาบาลควรส่งเสริมบทบาทบิดารายนี้อย่างไร
ให้บิดาเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับมารดาและบุตรอย่างใกล้ชิด โดยให้ความรู้และให้โอกาสในการฝึกทักษะแก่บิดาในกิจกรรมต่อไปนี้ ได้แก่ การช่วยเหลือมารดาในการจัดท่าให้บุตรดูดนมมารดา การป้อนอาหาร การอาบนน้ำ การเปลี่ยนผ้าอ้อมบุตร การเล่น การพูดคุยหรือหยอกล้อกับบุตร
ให้คำแนะนำแก่บิดาในการจัดเตรียมของใช้ต่างๆ ให้พร้อมสำหรับมารดาและบุตร การพามารดาไปรับการตรวจหลังคลอด การพาบุตรไปรับวัคซีนตรงตามกำหนดเวลา และเมื่อมารดาและบุตรเจ็บป่วยบิดาจะต้องให้การช่วยเหลือดูแล และพาไปพบแพทย์
จากข้อมูลในระยะ 3 วันหลังคลอด นักศึกษาจะกําหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลแก่มารดาและทารกรายนี้อย่างไร
ไม่สุขสบายจากปวดแผลฝีเย็บเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
การพยาบาล
1.ประเมินความเจ็บปวดของมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับลักษณะความรุนแรงของความเจ็บปวด เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
2.ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาเพื่อลดปวด
แนะนําท่านอนในท่าที่สบาย บรรเทาความเจ็บปวด เช่น แนะนําให้นอนตะแคงด้านตรงข้ามกับที่มีแผลฝีเย็บให้ขมิบก้นก่อนนั่ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บโดยตรงที่แผลฝีเย็บ จัดให้นั่งบนหมอนรองก้น (หมอน โดนัท) ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดแผลฝีเย็บขณะนั่ง แนะนําการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ เพื่อลดการกระทบกระเทือนแผลฝีเย็บ
4.อธิบายกลไกของการเจ็บปวดภายหลังคลอด เพราะมดลูกหดรัดตัวเพื่อเข้าสู่สภาพปกติ
สอนเทคนิคการผ่อนคลายความเจ็บปวด โดยการบริหารการหายใจเป็นจังหวะ
แนะนําและจัดให้นอนคว่ำใช้หมอนรองบริเวณหน้าท้อง จะช่วยให้น้ําคาวปลาไหลสะดวก ลด อาการปวดมดลูก และให้บริหารกล้ามเนื้อเชิงกรานโดยการขมิบช่องคลอดจะช่วยให้เลือดไหลเวียนด
7.พูดคุยให้กำลังใจ ช่วยให้บรรเทาความเจ็บปวดลดลง
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกคลายตัว
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา Syntocinon 10 unit IV drip 100 ml/hr
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและ ระดับยอดมดลูกทุก 30 นาที
สังเกตเลือดที่ออกทางช่อง คลอดหรือแผลฝีเย็บจากผ้าอนามัย ชั่งผ้าอนามัยและ บันทึก ทุก 30 นาที - 1 ชั่วโมง
4.ประเมินสัญญาณชีพเพื่อเฝ้าระวังอาการผิดปกติ
ประเมินกระเพาะปัสสาวะ และกระตุ้นมารดาให้ปัสสาวะเองทุก 4-6 ชั่วโมง
นำทารกมาเข้าเต้าเพื่อกระตุ้นการดูดนมมารดาโดยเร็วในรายที่ไม่มีข้อห้ามในการให้นมแม่ เพื่อช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
7.ดูแลให้มารดาพักผ่อนให้เพียงพอ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศร้าหลังคลอดเนื่องจากการปรับตัวไม่เหมาะสม
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้มารดารู้สึกไว้วางใจและปลอดภัย.
คัดกรอง (screen ing)ด้วยแบบประเมินความเครียด (ST-5), แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q, แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (EPDS)เพื่อนำผลมาวางแผนการพยาบาล
เปิดโอกาสให้มารดาระบายความรู้สึกเพื่อลดความวิตกกังวล
3.ให้คำแนะนำแก่มารดาและครอบครัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในระยะหลังคลอดเพื่อช่วยประคับประคองจิตใจมารดา
อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในการกลับเข้าสู่สภาพเดิม
ดูแลให้มารดารับประทานอาหารและน้ำให้เพียงพอ รวมถึงการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
แนะนำให้ออกกำลังกายเบาเพื่อช่วยให้สารเอนโดรฟินหลั่งส่งผลให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
นอนคว่ำใช้หมอนหนุนบริเวณท้องน้อยให้สูงขึ้น นอนท่านี้นาน 20 นาที ควรทำ 3 ช่วงเวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น
ท่านี้ช่วยทำให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก
นอนหงาย วางเท้าให้อยู่ในระดับสูงกว่าลาตัว จากนั้น กระดกข้อเท้าขึ้นลงให้สุด ทาติดต่อกัน 15-20 ครั้ง/รอบ จนครบ 3 รอบ ควรทา 3 ช่วงเวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น
ท่านี้ช่วยลดอาการบวมบริเวณเท้า
นั่งเอนหลังเล็กน้อย มือสองข้างวางบริเวณหน้าท้อง จากน้ันหายใจเข้าเต็มที่ให้ทอ้งป่องแล้วค่อยๆผ่อนลม หายใจออกพร้อมกับเกรง็ แขม่วหน้าท้อง ทาติดต่อกัน 5 ครั้ง/ รอบ จนครบ 3 รอบ ควรทา 3 ช่วงเวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น
ท่านี้ช่วยบริหารหน้าท้องและฝึกการหายใจ
อ้างอิง
คชารัตน์ ปรีชล. (2559). ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด: การป้องกันและการดูแล Postpartum Depression: Prevention and Care. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 .
มารดาขาดความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและบุตรในระยะหลังคลอด
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้มารดาเกิดความไว้วางใจและรู้สึกปงอดภัย
ประเมินความรู้และทักษษะการดูและตนเองและบุตรเพื่อนำมาวางแผนการพยาบาล
3.. ให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลตนเองและบุตรในระยะหลังคลอด
ประเมินทักษาะการดูแลตนเองและบุตรหลังให้ข้อมูลเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการพยาบาล
มีภาวะหัวนมแตกเนื่องจากวิธีการดูดนมของลูกไม่ถูกต้อง
การพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตกคือการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
แนะนำให้บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนมที่แตกแล้วปล่อยให้แห้งเอง แล้วค่อยใส่ยกทรง โดยใช้แผ่นซับน้ำนมหรือกระดาษนุ่มรองในยกทรง
ช่วยให้อุ้มลูกได้ถนัด ก่อนให้ลูกดูดนมแม่ เพราะการดูดนมแต่ละครั้งในระยะที่มีหัวนมแตก แม่จะเจ็บมาก ถ้าแม่อุ้มได้ถนัดและสบายจะทำให้สร้างความมั่นใจ ในเบื้องต้น
สอนและช่วยจัดท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ โดยการสอน ท่าฟุตบอล เพราะจะทำให้ลูกอมหัวนมได้ลึกขึ้น
5.ให้ลูกดูดนมข้างที่เป็นแผลน้อยก่อน ซึ่งจะมีข้อดี เพราะโดยธรรมชาติเวลาเมื่อลูกเริ่มดูดนมลูกจะดูดแรง ถ้าให้ลูกดูดข้างที่เป็นแผลมาก แผลจะยิ่งเป็นมากขึ้น ทำให้มารดาหลังคลอดยิ่งเจ็บมากขึ้น นอกจากนั้นการที่ลูกดูดนมแรงในระยะแรก จะทำให้Oxytocin reflex ทำงานได้ดี น้ำนมก็จะไหลดีขึ้น เมื่อย้ายลูกมาดูดข้างที่เป็นแผลมากน้ำนมก็จะไหลสะดวก มารดาหลังคลอดจะเจ็บน้อยลง
ช่วยให้ลูกอ้าปากกว้างที่สุด เคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็ว เพื่อจะได้งับลานหัวนมลึกพอ เคลื่อนไหวมือทั้ง 2 ข้างที่จับเต้านมและมือที่ประคองบริเวณท้ายทอยลูก จนกว่าลูกจะดูดติดจึงปล่อยมือได้
แนะนำให้บีบน้ำนมออกก่อนให้ลานนมนิ่ม เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงลานหัวนม หลีกเลี่ยงการดูดถูกหัวนมที่แตก ไม่ควรใช้ครีมทาแผลที่หัวนมเพราะอาจทำให้แผลเป็นมากขึ้น
หากมีอาการปวด ดูแลให้รับประทานยาแก้ปวด Paracetamal (500 mg) 2 เม็ดเวลาปวด ห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง
แนะนำวิธีการถอนหัวนมจากปากอย่างถูกวิธี คือ ให้สอดนิ้วก้อย ลงไปที่มุมปากลูก เพื่อให้อากาศเข้าไปช่วยคลายผนึกที่ลูกดูดติดอยู่กับหัวนม ทำให้มารดาหลังคลอดไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกเพิ่มขึ้น
ติดตามและฝึกมารดาหลังคลอดให้นมบุตรด้วยตนเองอย่างถูกวิธี โดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลเวรต่อๆไปช่วยดูแล จนมารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
11.ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การบีบน้ำนมทาบริเวณที่หัวนมแตก
อ้างอิง
งามตา อินธิจักร . (2564). การพยาบาลมารดาหลังคลอดบุตรปกติ ที่มีภาวะหัวนมสั้น. สืบค้นจาก
http://203.157.71.148/data/kpw/news/ผลงานเลื่อนระดับ%2052/ngamta.doc
มารดามีแผลฝีเย็บบวมเล็กน้อย REEDA scale = 2 คะแนน ปกติหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย และควรให้การพยาบาลอย่างไร
ไม่ปกติ เนื่องจากแผลฝีเย็บมีลักษณะบวม
การพยาบาล
ประคบเย็นภายใน 12 - 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เพื่อหยุดเลือดหรือลดปวดบริเวณแผลฝีเย็บ
ประคบร้อนให้หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณฝีเย็บลดอาการบวม อักเสบ และส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้น
ประเมินลักษณะฝีเย็บ ตามแบบประเมิน REEDA Scale เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติเช่นการติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บ
อ้างอิง
กมลทิพย์ ต้ังหลักมั่นคง, ปลื้มจิต โชติกะ, ศุภวดี แถวเพีย, และศรีสุดา งามขํา. (2559). การประเมินและการจัดการความปวดจากการคลอดด้วยรอบแนวคิด RAT Model Labor Pain Assessment and Management by Using RAT Model Framework.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27, 166-168.
มารดาปวดแผลฝีเย็บ Pain score = 7 คะแนน ควรให้การพยาบาลอย่างไร
อ้างอิง
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. (2553). ป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บหลังคลอด Prevention of Pospartum Perineum Infection.วารสารการพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 33, 91-93.
ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NDAID เพื่อใช้ระงับปวดภายใน 24 ชม. หลังคลอด
จัดท่านอนให้นอนตะแคง เพราะเป็นท่าที่ช่วยป้องกันแรงกดที่แผลฝีเย็บได้ดี ส่วนท่านอนหงายจะทำให้มารดาหลังคลอดรู้สึกตึงแผลมากกว่า
ดูแลให้ได้รับการประคบเย็น เนื่องจากในช่วงแรกแผลฝีเย็บจะมีอาการปวดและบวม ควรใช้ความเย็นในการบรรเทาอาการโดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือเจลประคบเย็น ประคบบริเวณแผล
เบี่ยงเบนความสนใจจากความปวด โดยแนะนำการผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ
มารดาบอกว่า “เมื่อทารกดูดนมข้างซ้าย จะมีน้ํานมไหลจากเต้านมข้างขวาด้วย และมีอาการปวดมดลูกขณะทารกดูดนม” ควรให้คําแนะนําและการพยาบาลแก่มารดารายนี้อย่างไร
อาการปวดมดลูกขณะทารกดูดนม
ให้ข้อมูลแก่มารดาว่าเป็นภาวะปกติ เนื่องจากฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ให้น้ำนมไหลคือ ฮอร์โมน Oxytocin ซึ่งในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนนี้จะมีผลทำให้ผลลูกมีการหดรัดตัว ซึ่งจะช่วยลดอาการตกเลือดหลังคลอด ดังนั้นมารดาควรให้ทารกดูดนมจากเต้าเพื่อเป็นการซ่อมแซมมดลูกภายในตัว
ถ้ามีอาการปวดมากให้ประคบร้อนสลับเย็น แต่ไม่ควรประคบร้อนบริเวณหน้าท้อง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้
แนะนำให้นอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อย จะทำให้มดลูกถูกกดเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวและน้ำคาวปลาไหลสะดวก
เมื่อทารกดูดนมข้างซ้าย จะมีน้ํานมไหลจากเต้านมข้างขวาด้วย
แนะนำแก่มารดาให้ทารกดูดนมข้างใดข้างหนึ่งให้เกลี่ยงเต้า
ดูดเกลี้ยงเต้า
คือ การให้บุตรดูดนมมารดาให้หมดเต้าใดเต้าหนึ่งก่อน แล้วจึงเริ่มดูดข้างต่อไป หากหลังบุตรดูดนมอิ่มแล้วแต่ยังมีน้ํานมเหลืออยู่ในเต้า มารดาควรบีบน้ํานมออกให้เกลี่ยงเต้า
แนะนำวิธีการที่จะทําให้บุตรดูดนมมารดาเกลี้ยงเต้ามีดังน้ี
ควรให้บุตรดูดนมทั้ง 2 เต้า โดยเริ่มดูดจากเต้าที่ค้างไว้จากมื้อก่อน และดูดจนเกลี้ยงเต้า หรือดูดอย่างน้อยไม่ควรน้อยกว่าข้างละ 15-20 นาที เพื่อกระตุ้นให้มารดามีการสร้าง และการหลั่งน้ํานมได้มากพอ ตลอดจนทําให้บุตรได้รับ hind milk ท่ีให้พลังงานมากกว่า fore milk
เมื่อต้องการจะเปลี่ยนข้างหรือหยุดให้นม ใช้นิ้วก้อยที่ล้างสะอาดสอดเข้า ระหว่างมุมปาก กับหัวนม หรือใช้กดคางบุตรเบา ๆ เม่ือบุตรอ้าปากจึงค่อย ๆ ดึงหัวนมออกจากปาก การดึงหัวนมออกจากปากโดยตรงทํา ให้หัวนมถลอกหรือเป็นแผลได้
ภายหลังจากให้บุตรดูดนมทุกคร้ังมารดาควรทําให้บุตรเรอเพื่อไล่ลมในกระเพาะออก โดย การอุ้มพาดบ่าหรืออุ้มนั่งตัก
ไม่ควรให้น้ําหรือนมผสมแก่บุตร นอกจากมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เพราะใน เด็กที่คลอด ปกติครบกําหนดจะมีน้ําและพลังงานสํารองมาอย่างน้อย 2-3 วันแรกอยู่แล้ว ดังน้ันการ ให้น้ําหรือนมผสมจะเป็นอุปสรรค ต่อการเร่ิมต้นและการคงอยู่ต่อไปของการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
ไม่ควรให้บุตรดูดหัวนมยาง เพราะอาจทําให้สับสน (nipple confusion) แต่ในกรณีท่ีบุตร ไม่สามารถดูดนมจากเต้านมมารดาได้ควรป้อนนมด้วยถ้วยแก้ว (cup feeding) หรือ ใช้หลอดหยอดยา (medicine dropper)
อ้างอิง
ปฤษดาพร ผลประสาร.(2564). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. รายวิชา NUR – 343 การพยาบาลมารดาและทารก (Maternal and Newborn Nursing) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2564
จากข้อมูล 2 วันหลังคลอด คลําพบมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว น้ําคาวปลาสีแดงจางๆ เป็นภาวะปกติหรือไม่ จงอธิบาย และควรให้การพยาบาลอย่างไร
คลําพบมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว
คลำมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าสะดือ 1 นิ้ว คือ การที่มดลูกกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ หรือเรียกว่า มดลูกเข้าอู่ กล้ามเนื้อมดลูกจะหดรัดตัวแข็งเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
การพยาบาล
ติดตามสัญญาณชีพใน 2 ชั่วโมงแรกอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด หากไม่พบอาการผิดปกติให้ประเมินทุก 4 ชั่วโมงใน 24 ชั่วโมงแรก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและระดับยอดมดลูกทุก 30 นาที ใน 2 ชั่วโมงแรก
ดูแลให้ได้รับสารน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากการเสียเลือด
ประเมินความตึงตัวของกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากหากกระเพาะปัสสาวะตึงตัวจะขัดขวางการหดตัวของมดลูก
กระตุ้นให้มารดาปัสสาวะเองทุก 4-6 ชั่วโมงเพื่อลดการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ดูและให้รับประทานอาหารให้เพียงพอและพักผ่อนให้เพียงพอในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ลักษณะของน้ำคาวปลาวันที่ 2 เป็นลักษณะปกติ
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดสิ่งที่ถูก ขับออกทางช่องคลอดส่วนใหญ่จะเป็นเลือด สด เรียกว่า bleeding ต่อมาก็เป็น น้าคาวปลา (lochia) ที่มีสีจางลงเรื่อยๆ ในระยะ 3 วันแรกหลังคลอดจะเรียกว่า Lochia rubra โดยส่วนใหญ่อาจจะมีสีแดงสด ปริมาณมาก ประกอบด้วย เลือด decidua และ trophoblast ที่ถูกทําลายอาจมีเลือดก้อนเล็ก ๆ ขนอ่อน ขี้เทาของทารกที่ค้างอยู่ในโพรง มดลูกปนออกมาด้วย และจะค่อยๆจางลงเรื่อยๆเป็นสีอ่อน
การพยาบาล :
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำคาวปลาภายหลังคลอด
ดูแลทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ตามหลัก saterile technique
วิธีการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุตามลำดับดังนี้
เช็ดบริเวณหัวเหน่า เช็ดขึ้นทีเดียวไม่ถูกขึ้นลง
เช็ดบริเวณขาหนีบทีละข้าง เช็ดลากออกไปยังบริเวณขาหนีบ
เช็ดบริเวณแคมเล็กและแคมใหญ่ทั้งสองข้าง โดยหลักการให้เช็ดลง ห้ามถูขึ้นลง
เช็ดตำแหน่ง Clitoris เช็ดลงผ่าท่อปัสสาวะลงไปยังรูทวารหนักทีเดียว ห้ามถูกขึ้นลง
แนะนำให้มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 - 3 ชั่วโมงเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
ให้มารดานอนคว่ำและใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยเพื่อให้น้ำคาวปลาไหลได้ดีขึ้น
สังเกตลักษณะ สี ปริมาณ ของน้ำคาวปลา สีจะเป็นสีอ่อนหรือสีชมพูจางๆ ปริมาณไม่ควรเกิน ซีซีต่อชั่วโมง ปกติน้ําคาวปลาจะมีปริมาณทั้งหมดประมาณ 200-500 มิลลิลิตร หากมีปริมาณมากกว่านี้ควรเฝ้าระวังความผิดปกติ
อ้างอิง
https://th.theasianparent.com/when-will-amniotic-fluid-start-to-fade
https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-july-2560/15_17_การตกเลือดหลังคลอด_proof1_formatted.pdf
อ้างอิง
ปฤษดาพร ผลประสาร. (2564). การปรับตัวของมารดาและการพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด. รายวิชา NUR60-342
การผดุงครรภ์ และการพยาบาลมารดา ทารก 1 (Midwifery and Maternal Newborn Nursing I)
มารดารายนี้เกิดกลไกการสร้างและหลั่งน้ํานมแล้วหรือยัง จงอธิบาย
เกิดแล้ว โดยกลไกการหลั่งน้ำนมจะเริ่มจากการที่เมื่อลูกดูดนม จะเป็นการกระตุ้นปลายประสาทบริเวณหัวนม ให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง เพื่อหลั่งฮอร์โมน Oxcytoocin และ Prolactin ออกมาในกระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมน Prolactin จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม ส่วนฮอร์โมน Oxytocin จะทำให้ถุงเก็บน้ำนมบีบตัวทำให้น้ำนมออกมายังท่อน้ำนม และออกสู่ภายนอก
แหล่งอ้างอิง
https://meded.psu.ac.th/binla/class05/388_551/Breastfeeding/index.html
ภายหลังคลอด 45 นาที พยาบาลนําทารกแรกเกิดไปดูดนมมารดา นักศึกษาคิดว่ามีความ
เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
เหมาะสม เนื่องจากการที่ให้ทารกด้ดูดนมใน 45นาทีแรก เป็นระยะสำคัญที่สุดในสายสัมพันธ์ จะทำให้มารดาตื่นเต้น อยากสัมผัสทารก ในขณะเดียวกัน ทารกก็พร้อมที่จะเรียนรู้ รูป รส กลิ่น เสียง ของมารดา และในระยะนี้ทารกจะมีแรงดูดที่แรงมาก ซึ่งการดูดในระยะนี้เป็นการฝึกใช้ลิ้นของทารก และเป็นการกระตุ้นฮอร์โมน Oxytocin ของมารดา
งานวิจัย
ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. 2560. การตกเลือดหลังคลอด
Postpartum Hemorrhage: Significance of Nurse’s Roles in Prevention. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2560
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการตกเลือดหลังคลอด 4 T
Tone คือ สาเหตุเกี่ยวกับความผิดปกติของ การหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งพบได้มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 70 ของการตกเลือดหลังคลอดทั้งหมด (Su, 2012; Lim, 2012) เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี (Uterine atony) โดย ปัจจัยเสี่ยงท่ีทาให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีท่ีสามารถ คาดการณ์ได้ ได้แก่ กล้ามเนื้อมดลูกยืดขยายมากเกินไป (Overdistention of uterus) การตั้งครรภ์แฝด (Twins) การตั้งครรภ์แฝดน้า (Polyhydramnios) ทารกตัวโต (Fetal macrosomia) เป็นต้น
Trauma คือ สาเหตุเก่ียวกับการฉีกขาด ของช่องทางคลอด เช่น การฉีกขาดของปากมดลูก (Tear cervix) ช่องคลอด (Tear vaginal) แผลฝีเย็บ (Tear perineal) รวมถึงการมีเลือดออกใต้ชั้นกล้ามเน้ือ บริเวณช่องทางคลอด (Hematoma) เป็นต้น
Tissue คือ สาเหตุท่ีเก่ียวข้องกับรก เยื่อหุ้มรก หรือชิ้นส่วนของรกตกค้างภายในโพรงมดลูก (Retained products of conception) ซึ่งเป็นสาเหตุของการตกเลือด หลังคลอด ท่ีพบได้ร้อยละ 10 ของการคลอดปกติท้ังหมด (Mattson & Smith, 2011; Su, 2012) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เกิดรกติดหรือรกค้าง ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
Thrombin คือ สาเหตุเกี่ยวกับการแข็งตัว ของเลือดผิดปกติ (Defects in coagulation) พบได้ ประมาณร้อยละ 1 เกิดจากการมีเกล็ดเลือดต่าทาให้การ แข็งตัวของเลือดผิดปกติ โดยมีปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการ แข็งตัวของเลือดผิดปกติ ได้แก่ การมีเลือดออกในขณะ ตั้งครรภ์หรือมีประวัติตกเลือดหลังคลอด
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. 2553. ป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บหลังคลอด Prevention of Pospartum Perineum Infection. วารสารพยาบาลและสุขภาพ. 33(1), หน้า95-96
การดูแลฝีเย็บหลังคลอด
แช่น้ำอุ่นวันละหลายๆครั้ง หรือวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10-20 นาที ซึ่งน้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ลดการอักเสบและส่งเสริมการหายของแผล
นั่งแช่เย็นจะช่วยลดอาการบวมและความไม่สุขสบายของมารดาหลังคลอด ซึ่งจะทำหลังคลอด 2-3 วัน แช่นาน 20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง หลังวันที่3 ไปแล้วจึงควรวางประคบร้อน เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี
ออกำลังกายโดยการขมิบก้นและช่องคลอดแบบ kegel exercise โดยขมิบก้นเกร็งไว้ 1-10 แล้วผ่อนคลาย นับต่ออีก 1-10 และผ่อนคลายเป็น 1 รอบ ปฏิบัติอย่างน้อยวันละ 30 รอบ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและการไหลเวียนดีขึ้น รวมถึงแผลสมานเร็วขึ้น
ทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นหลังการอาบน้ำ จากด้านหน้าไปด้านหลัง และเช็ดให้แห้งจากด้านหน้าไปด้านหลัง ขณะทำความสะอาดไม่ควรแยกแคมเพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดได้
รักษาความสะอาดฝีเย็บและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ และเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอนามัย ไม่สัมผัสผ้าอนามัยบริเวณที่จะสัมผัสกับฝีเย็บ และควรใส่รือถอดผ้าอนามัยจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากทวารหนักสู่ช่องคลอด
หลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานานในขณะที่แผลยังปวดและเจ็บ โดยไม่นั่งทับแผลฝีเย็บนานเกิน 30 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี ลดอาการบวมและความไม่สุขสบาย
กาญจนา นะรมรัมย์ และนิตยา โรจนนิรันดร์กิจ.(2561).ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสาหรับป้องกันและลดภาวะหัวนมแตกต่ออาการเจ็บหัวนมและหัวนมแตกในมารดาที่ให้นมบุตรหอผู้ป่วยสูติกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี.วารสารพยาบาลสาธารณสุข,32(3).
การดูแลเมื่อเกิดภาวะหัวนมแตก
แนะนำให้มารดานาทารกดูดนมข้างที่ไม่เป็นแผลก่อน และดูดข้างที่เป็นแผลภายหลัง และต้อง ช่วยเหลือให้ดูดลึกถึงลานนม ในกรณีท่ีมารดามีอาการ เจ็บหัวนมมากไม่สามารถให้ทารกดูดนมได้ให้ใช้วิธีบีบ น้ำนมออกและป้อนนมทารกด้วยแก้ว
แนะนำมารดาให้สลับท่าอุ้มบุตรดูดนม โดยเปลี่ยนท่าในการให้นมหลายๆท่า เพื่อไม่ให้ทารกดูดทับรอยแผลเดิม จนทำให้เกิดแผลและการถูกทำลายเนื้อเยื่อเพิ่ม
บีบน้ำนมทาบริเวณรอยแตกที่หัวนม หรือใช้ครีม lanolin/Glycerin Jell ทาและนวดบริเวณหัวนมที่แตกภายหลังการให้นมบุตรเสร็จ
บันทึกคาแนะนาที่ให้กับมารดา พร้อม ประเมินผลหลังให้คำแนะนำในแบบบันทึกทางการพยาบาล