Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ESRD c Volume Overload - Coggle Diagram
ESRD c Volume Overload
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ: 26 ปี
เตียงที่: 20 โรงพยาบาล: สิงห์บุรี
การวินิจฉัยโรคในปัจจุบัน: ESRD c Volume overload
-
-
-
พยาธิสรีรวิทยา
โรคไตวายเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดคือโรคเบาหวาน (ประมาณ 40%) และความดันโลหิตสูง (ประมาณ 20%) โรคอื่นๆ ที่อาจพบได้คือโรคนิ่วและการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ (obstructive uropathy) โรคไตจากเก๊าท์โรคภูมิต้านทางต่อเนื้อเยื่อตนเอง (Systemic lupus erythematasus) โรคไต IgA โรคถุงน้ำในไตซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ (Autosomal dominant polycystic kidney disease) โรคไตเรื้อรังที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวด (Analgesic and NSAIDS induced nephropathy) โรคต่าง ๆ เหล่านี้จัดได้ว่าเป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติหลายระบบรามทั้งที่ได้ถ้ารักษาหรือควบคุมโรคเหล่านี้ไม่ดีเช่นน้ำตาลในเลือดสูงความดันโลหิตสูงเป็นอยู่นาน ๆ ติดต่อกันหลายปีก็จะทำให้เกิดโรคไตเสื่อม ไตวายได้
ภาวะน้ำเกิน (Volume Overload) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาตรนานอกเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดคั่งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีลักษณะเฉพาะคือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีอาการบวมเฉพาะที่หรือบวมทั่วตัวบวมกดปุ่มภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องเป็นภาวะแทรกซ้อนพบได้บ่อยซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้พบอุบัติการณ์ของการมีภาวะน้ำเกินมากถึงร้อยละ 53.33 และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเพิ่มความถี่ในการมารับบริการการฟอกเลือดที่มากกว่า 2-3 ครั้ง / สัปดาห์เกิดเนื่องมาจากผู้ป่วยได้รับน้ำมากเกินไป
อาการปัจจุบัน
วันที่ 25 ตุลาคม ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สื่อสารเข้าใจ หายใจสม่ำเสมอ มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก มีไอเป็นบ้างครั้ง On Oxygen cannula 3 LPM สามารถรับประทานอาหารได้มาก รับประทาน 3 มื้อ อาหารที่รพ. จัดให้เป็นอาหารธรรมดาลดเค็ม หลัง รับประทานไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ บริเวณแขนข้างซ้ายทำ AVF เพื่อไว้สำหรับการฟอกเลือดกับเครื่องฟอกไต หลังฟอกไตมีอาการหอบเหนื่อยเล็กน้อย สัญญาณชีพ เวลา 14:00 น. O2 sat 99 % BT: 36.1 c P: 98 bpm R: 36 bpm BP: 128/78 mmHg
อาการและอาการแสดง
1) การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (nocturia) หรือในเวลากลางวันปัสสาวะออกน้อยลง เป็นต้น อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนเป็นอาการในระยะแรกๆ ที่สังเกตเห็นได้ แต่ในระยะที่เป็นมากแล้วปัสสาวะจะลดลงและส่งเสริมให้เกิดอาการบวมมากขึ้น
2) มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะปัสสาวะขัด (dysuria) ซึ่งส่งบอกถึงภาวะ urinary tract infection หรืออาการปัสสาวะสะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมาซึ่งบ่งบอกถึงการมี nephrolithiasis หรือ bladder stone
3) ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อ (hematuria) ซึ่งอาจเกิดจาก glomerular หรือ Non glomerular hematuria หรืออาการปัสสาวะเป็นฟอง (foamy urine) ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะ proteinuria การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นสิ่งตรวจพบได้ในโรคไตหลายชนิดหากตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะทุกครั้งที่ทำการตรวจนานเกิน 3 เดือนแสดงว่ามีโรคไตเรื้อรังทำให้ปัสสาวะเป็นฟองมากผิดปกติ
4) การบวมของใบหน้า เท้า และท้องอาการบวมจะสังเกตเห็นได้ง่ายเวลาตื่นนอนเช้าผู้ป่วยจะมีหน้าและหนังตาบวมและช่วงที่นั่งหรือยืนนาน ๆ ขาและเท้าทั้งสองข้างจะบวมชัดเจนมากขึ้นเวลาเอานิ้วมือกดที่หน้าแข้งจะเกิดรอยบุ๋ม (Pitting edema) ให้เห็นได้อย่างชัดเจนอาการอาจเกิดจากโรคไต Nephrotic syndrome หรือในผู้ป่วยที่มีการทำหน้าที่ของไคลดลงแล้ว
5) อาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง อาจบ่งบอกถึงการมี urinary obstruction หรือ Pyelonephritis ถ้ามีไข้ร่วมด้วยอย่างไรก็ดี อาการปวดหลังจากโรคไตต้องวินิจฉัยแยกโรคจากอาการปวดหลังจากภาวะอื่นๆ เนื่องจากอาการปวดเอวหรือหลังบ่อย ๆ ที่พบในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดจากโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณหลังผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการปวดสัมพันธ์กับการทำงานมากหรือนั่งนาน ๆ ตำแหน่งปวดอยู่ต่ำกว่าเอวหรือกลางหลังกระดูกสันหลัง) การกดหรือนวดอาจทำให้อาการปวดดีขึ้น อาจมีอาการชาหรือปวดร้าวไปที่อื่นได้ในขณะที่อาการปวดหลังจากโรคไตพบได้ไม่บ่อยนักปวดตำแหน่งเอวหรือหลังด้านข้างการกดหรือนวดทำให้ปวดมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นถ้ามีอาการปวดหลังแบบโรคไตโดยเฉพาะเมื่อมีอาการเตือนอื่นๆ ของโรคไตร่วมด้วยเช่นปัสสาวะมีเศษนิ่วปนออกมาหรือปัสสาวะปนเลือดเป็นต้นต้องทำการสืบค้นและให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
6) ความดันโลหิตสูง (hypertension) มักเป็นอาการที่สำคัญคู่กับผู้ป่วยโรคไตโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic glomerulonephrits) และโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) อื่นๆ ในระยะที่รุนแรงมากขึ้น
7) อาการซีดหรือโลหิตจาง (anemia of chronic kidney disease) เมื่อการทำงานของไตลดลงจนระดับ Serumcreatinine สูงกว่า 2-3 mg / dl จะเริ่มพบภาวะโลหิตจางได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและเมื่อการทำงานของไตลดต่ำกว่าร้อยละ 25.0 ของภาวะปกติจะพบภาวะโลหิตจางได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่โดยถือว่าผู้ป่วยเริ่มมีภาวะโลหิตจางเมื่อระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 12 g / dl หรือฮีโมโกลบินต่ำกว่าร้อยละ 37.0 ในผู้ชายและระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11g / dl หรือฮีมาโตคริตต่ำกว่าร้อยละ 33.0 ในผู้หญิง
8) คลื่นไส้อาเจียน Usea / vomiting) และเบื่ออาหาร (anorexia) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เป็นมากแล้วและมักเป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องไปพบแพทนอกจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่เป็นมากแล้ว ได้แก่ อาการคันตามตัวผิวคล้ำลงสมรรถภาพทางเพศลดลงในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกินจะมีอาการหายใจไม่สะดวกหรือหายใจขัดอาการทางสมองทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึม (uremic encephalopathy) ถ้าเป็นมากอาจทำให้หมดสติหรือชักเกร็งได้บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการแสดงเหล่านี้เลยก็ได้จึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
การรักษาที่ได้รับ
- Phenytoin (50) รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
- calcium carbonate tab (600) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
- Lasix (500) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
- Bromhexine TAB (8) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
- Lorazepam (0.5) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ1 ครั้ง
- Doxazosin (2) รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
- Folic Acid (5) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง
- Lercanidipine (20) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
-