Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ideal gas :warning: :warning:, image, image, image, image, image, น.ส…
ideal gas :warning: :warning:
:forbidden: กฏข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์
:red_flag: เป็นกฎการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า "พลังงานสามารถเปลี่ยนรูป หรือถูกถ่ายโอนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ แต่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายให้สูญสลายไปได้"
Q คือ พลังงานความร้อน หน่วยเป็นจูล
U คือ พลังงานภายในของระบบ หน่วยเป็นจูล
W คือ งาน หน่วยเป็นจูล
แต่ความเป็นจริง ระบบของแก๊สใดๆ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบในกรณีอื่นๆได้ด้วย และเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน
:ballot_box_with_check: สมบัติของแก๊สในอุดมคติ
:one: แก๊สอุดมคติประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมากอาจเรียกว่า“ point mass” โดยอนุภาคขนาดเล็กนี้มีมวลเกือบเป็นศูนย์นั่นหมายความว่าเราสามารถอนุมานให้แก๊สอุดมคติไม่มีปริมาตร (no volume)
:two: การชนกันระหว่างอนุภาคแก๊สอุดมคติเป็นการชนกันแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ (perfectly elastic collision) กล่าวคือเป็นการชนกันของอนุภาคที่ไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์หรือไม่มีแรงกระทําระหว่างกันของอนุภาค
ตัวอย่างการชนแบบยืดหยุ่นสามารถพิจารณาจากลูกบอลทกระทบพื้นโดยสามารถเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือการชนแบบยืดหยุ่นและการขนแบบไม่ยืดหยุ่นตัวอย่างของการบนแบบยืดหยุ่นดังรูป
แต่ถ้าเป็นการชนแบบไม่ยืดหยุ่นลูกบอลก็จะกระดอนได้ไม่กี่ครั้งก็จะหยุดไปดังรูปเนื่องจากลูกบอลถ่ายเทพลังงานให้กับพื้นทำให้พลังงานจลน์ของลูกบอลลดลงเรื่อย ๆ และหยุดไปในที่สุด
:bulb: พลังงานภายในระบบ
พลังงานภายในระบบ
คือ ผลรวมของพลังงานจลน์เฉลี่ยทั้งหมดของแก๊สในระบบปิด
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “ U ”
การเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในระบบ
คือ ผลต่างของพลังงานภายในระบบหลังเปลี่ยนแปลง ( U2 ) กับพลังงานภายในระบบก่อนเปลี่ยนแปลง ( U1 ) เขียนแทนด้วย “DU” เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้
งานกับการเปลี่ยนแปลงปริมาตร
เมื่อความดันคงตัว ผลจะทำให้แก๊สมีการขยายตัวและหดตัว โดยให้ DW คือ งานที่เกิดจากแก๊สกระทำหรืองานที่เกิดจากแรงภายนอกกระทำต่อแก๊ส นั่นคือ ค่า DW เป็นบวก ( + ) เมื่อ เกิดงานที่แก๊สกระทำ จะมีผลให้แก๊สขยายตัว ถ้าค่า DW เป็นลบ ( - ) เมื่อ งานนั้นเกิดจากแรงภายนอกกระทำต่อแก๊ส จะมีผลให้แก๊สหดตัว
:red_flag: ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
:one: แก๊สประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมากที่มีขนาดเล็กมาก จนถือได้ว่าอนุภาคของแก๊สไม่มีปริมาตรเมื่อเทียบกับขนาดภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของแก๊สอยู่ห่างกันมาก ทำให้แรงดึงดูดและแรงผลักระหว่างโมเลกุลน้อยมาก จนถือได้ว่าไม่มีแรงกระทำต่อกัน
:two: โมเลกุลของแก๊สเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในแนวเส้นตรง เป็นอิสระ ด้วยอัตราเร็วคงที่ และไม่เป็นระเบียบ จนกระทั่งชนกับโมเลกุลอื่น ๆ หรือชนกับผนังภาชนะจึงจะเปลี่ยนทิศทางและอัตราเร็ว
:three: โมเลกุลของแก๊สที่ชนกันเองหรือชนกับผนังภาชนะจะเกิดการถ่ายโอนพลังงานให้แก่กันได้ แต่พลังงานรวมของระบบคงที่ ณ อุณหภูมิเดียวกัน โมเลกุลของแก๊สแต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วไม่เท่ากัน แต่จะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน
:four: พลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน
:no_entry: แบบจำลองของแก๊ส :no_entry:
โมเลกุลเป็นไปตามกฎของนิวตัน
โมเลกุลเคลื่อนที่ในทุกทิศทุกทางและสม่ำเสมอ
ไม่มีการชนระหว่างโมเลกุล
โมเลกุลชนกับผนังของลูกสูบเป็นแบบยืดหยุ่น
น.ส ณัฐธิชา ศรีกระจ่าง ม.6/1 เลขที่ 20