Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ideal gas, นางสาวพิมพ์วรีย์ สีธิต่อม เลขที่27 ม.6/1 - Coggle Diagram
ideal gas
สมบัติของแก๊สในอุดมคติ
- เคลื่อนที่ไร้ระเบียบ และแต่ละอะตอมจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตลอดเวลา เว้นแต่ชนกำแพงจะเกิดการเปลี่ยนทิศทางขึ้น แต่ก็จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงต่อเหมือนเดิม
- อะตอมสองอะตอมเวลาชนกันแล้วจะไม่สูญเสียพลังงานเป็นความร้อน
- ปริมาตรของโมเลกุลน้อยมากประมาณได้ว่าเป็น 0
- โมเลกุลไม่มีแรงดึงดูดระหว่างกัน
-
แบบจำลองของแก๊ส
โมเลกุลเป็นไปตามกฎของนิวตัน
โมเลกุลเคลื่อนที่ในทุกทิศทุกทางและสม่ำเสมอ
-
โมเลกุลชนกับผนังของลูกสูบเป็นแบบยืดหยุ่น
พลังงานภายในระบบ
-
พลังงานภายในของระบบทฤษฎีพลังงานความร้อน ระบบประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตที่ต้องการศึกษา เช่น ระบบโมเลกุลของแก๊สจะประกอบด้วยโมเลกุลของแก๊สทุกตัวในภาชนะ พลังงานภายในของระบบคือ พลังงานทั้งหมดของโมเลกุล ของแก๊สในระบบ สำหรับแก๊สอุดมคติไม่มีแรงใดๆ กระทำต่อโมเลกุลของแก๊ส ดังนั้นพลังงานทั้งหมดของ โมเลกุลจึงเป็นพลังงานจลน์แต่เพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ผลรวมของพลังงานจลน์ทั้งหมดของโมเลกุลก็ คือพลังงานภายในของแก๊ส
ทฤษฏีจลน์ของแก๊ส
ตามทฤษฎีจลน์ของแก๊สกล่าวว่าโมเลกุลของแก๊สแต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอยู่ตลอดเวลาด้วยอัตราเร็วคงที่เกิดการชนกันเองและชนผนังภาชนะอยู่ตลอดเวลา การที่โมเลกุลของแก๊สเคลื่อนที่ชนผนังภาชนะอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดแรงดัน และผลรวมของแรงดันทั้งหมดที่มีต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เรียกว่า ความดันของแก๊ส
เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายสมบัติต่างๆ ของแก๊สโดยศึกษาจากทิศทางเคลื่อนที่ของโมเลกุลแก๊สและลักษณะของโมเลกุลแก๊ส ในช่วงแรก การเริ่มศึกษาทฤษฎีนี้โดยเจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาอุณหพลศาสตร์ในมุมมองจุลภาค คือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน อุณหภูมิ และการเคลื่อนที่ของอะตอม โดยใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันโดยตรง. แทนที่จะเป็นการศึกษาอุณหพลศาสตร์แบบดั้งเดิมที่ทำกันในมุมมองของระดับมหภาค คือการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยของคุณสมบัติต่าง ๆ ในระบบที่สามารถวัดได้ เช่น ความดัน หรือปริมาตร. ความสำเร็จของทฤษฎีนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเริ่มเชื่อว่า อะตอม มีอยู่จริง (ในสมัยนั้นยังมีการถกเถียงเรื่องนี้กันอยู่กว้างขวาง) ทฤษฎีจลน์ของแก๊สเกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า “โมเลกุลขอสารทุกชนิดมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา” และสามารถนำมาสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
-
-
-
-
-
-
-