Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อหิวาตกโรค (Cholera) - Coggle Diagram
อหิวาตกโรค (Cholera)
-
ผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรค อาจมีอาการเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ที่เป็นรุนแรงโรคจะเกิด ขึ้นทันทีและหนัก ทำให้เกิดอาการขาดนํ้า ขาดแร่ธาตุอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษา อย่างทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อคและถึงแก่กรรมได้ง่าย
-
ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน ลักษณะอุจจาระในระยะแรกจะมีเศษอาหาร ต่อมา จึงถ่ายเป็นนํ้าคล้ายนํ้าซาวข้าวและมีกลิ่นเหม็นคาวจัด ถ้าเป็นอยู่นานๆจะมีนํ้าดีออกมาด้วย ไม่มีมูกเลือด ผู้ป่วยจะอาเจียน และมีอาการขาดนํ้าและแร่ธาตุทำให้อ่อนเพลีย
ระยะที่ 2 ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 2-12 ชั่วโมงจะเข้าสู่ ระยะช็อค โดยจะรู้สึกกระหายนํ้าอย่างรุนแรง เป็นตะคริว เสียงแห้ง แก้มตอบ เบ้าตาลึก ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆแห้ง มือและนิ้วเหี่ยวย่น ตัวเย็น เนื่องจากการเสียเกลือแร่ไปกับอุจจาระมาก ชีพจรและความดันโลหิตจะต่ำจนวัดไม่ได้ ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้
-
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจตายภายในไม่กี่ชั่วโมงเนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ถ้าไม่ทำการรักษาอัตราการตายของโรคนี้จะสูงกว่า 50% แต่ถ้ารักษาให้ถูกวิธีจะช่วยลดอัตราการตายของโรคนี้ได้มาก คือต่ำกว่า 1%
ผู้ที่เป็นอหิวาตกโรคชนิดอ่อน โดยเฉพาะเชื้อ El Tor cholera จะมีอาการคล้ายโรคติดเชื้อของลำไส้หรือทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ทำให้สังเกตได้ยาก เช่น อาจมีอาการเพียงอุจจาระ ร่วงเล็กน้อย หรืออาจไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นหากจะวินิจฉัยสาเหตุให้ แน่นอนได้โดยการเพาะเชื้อจากอุจจาระ
-
อหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) โดยแบคทีเรียจะผลิตสารชีวพิษซิกัวทอกซิน (Ciguatoxin: CTX) ขึ้นในลำไส้เล็ก สารชีวพิษนี้จะเกาะที่ผนังลำไส้และรวมกับโซเดียมหรือคลอไรด์ที่ไหลผ่านลำไส้ และเกิดการกระตุ้นร่างกายให้ขับน้ำออกจากตัว จนนำไปสู่อาการท้องร่วง รวมทั้งการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในเลือดอย่างกะทันหัน
แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี หรือเชื้ออหิวาต์ มักพบในอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลหรืออุจจาระของคนซึ่งมีเชื้อนี้อยู่ในนั้น แหล่งที่สามารถพบการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรคจึงมักมาจากน้ำ อาหารบางชนิด อาหารทะเล ผักผลไม้สด และธัญพืชต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- แหล่งน้ำ เชื้ออหิวาต์สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้เป็นระยะเวลานาน โดยแหล่งน้ำสาธารณะที่ได้รับการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ถือเป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคชั้นดี ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดและปราศจากการจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดีอย่างเพียงพอจึงเสี่ยงป่วยเป็นอหิวาตกโรคได้
- อาหารทะเล การรับประทานอาหารทะเลดิบหรือไม่ได้ปรุงสุก โดยเฉพาะอาหารทะเลจำพวกหอย ซึ่งเกิดในแหล่งน้ำที่น้ำปนเปื้อนสารพิษนั้น จะทำให้ร่างกายได้รับเชื้ออหิวาต์
- ผักและผลไม้สด พื้นที่ที่อหิวาตกโรคระบาดในท้องถิ่นนั้น ผักและผลไม้สดที่ไม่ได้ปอกเปลือกมักเป็นแหล่งเพาะเชื้ออหิวาต์ สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีการใช้ปุ๋ยคอกที่ไม่ได้หมักหรือแหล่งน้ำเน่า ผลิตผลที่ปลูกอาจปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์ได้
- ธัญพืชต่าง ๆ สำหรับพื้นที่ที่อหิวาตกโรคระบาดนั้น การปรุงอาหารด้วยธัญพืชอย่างข้าวหรือข้าวฟ่างอาจได้รับเชื้ออหิวาต์ปนเปื้อนหลังจากปรุงเสร็จ และเชื้อจะอยู่ในอาหารอีกหลายชั่วโมงที่อุณหภูมิระดับห้อง โดยเชื้อที่ยังคงอยู่จะกลายเป็นพาหะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของของเชื้ออหิวาต์
-
-
ที่เกิดขึ้นกะทันหัน โดยวิธีรักษาอหิวาตกโรคประกอบด้วยการให้รับประทานน้ำเกลือแร่ การให้สารน้ำทดแทน (Intravenous Fluids) การใช้ยาปฏิชีวนะ และการให้แร่ธาตุสังกะสี ซึ่งวิธีการรักษาแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้
- การให้รับประทานน้ำเกลือแร่ วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่ในเลือดทดแทนจากที่เสียไป โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานผงละลายเกลือแร่ (Oral Dehydration Salt: ORS) ที่ผสมในน้ำต้มสุก พบว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะขาดน้ำและไม่ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานน้ำเกลือแร่ประมาณครึ่งหนึ่งเสียชีวิต ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์เมื่อได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้
- การให้สารน้ำทดแทน (Intravenouse Fluids) ในกรณีที่เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่มาก หรือไม่สามารถรับประทานน้ำเกลือแร่ได้เพียงพอ จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ รวมทั้งรักษาภาวะช็อคจากการขาดน้ำเฉียบพลันด้วย
- การใช้ยาปฏิชีวนะ แม้ว่ายาปฏิชีวนะจะไม่จำเป็นในการรักษาอหิวาตกโรค แต่ตัวยาบางตัวก็อาจลดจำนวนและระยะเวลาของอาการท้องร่วงอันเนื่องมาจากเชื้ออหิวาต์ได้ โดยยาจำนวนหนึ่งตัวยาอาจให้ประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องร่วงได้ดี เช่น ยาดอกซีไซคลิน (Doxycycline) หรือยาอะซีโธรมัยซิน (Azithromycin)
- การให้แร่ธาตุสังกะสี ได้ปรากฏงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าธาตุสังกะสีอาจลดและย่นระยะเวลาของอาการท้องร่วงที่เกิดจากอหิวาตกโรคในเด็กได้
การป้องกันอหิวาตกโรค เมื่อเกิดการระบาดหรือต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของอหิวาตกโรค สามารถป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ล้างมือให้สะอาด ควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร โดยถูสบู่ที่มืออย่างน้อย 15 วินาทีก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทั้งนี้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดมือแทนได้ในกรณีพื้นที่ที่เดินทางไปนั้นขาดแคลนน้ำและไม่มีสบู่
- ดื่มน้ำต้มสุกและสะอาด น้ำดื่มควรเป็นน้ำต้มสุกที่ต้มเอง โดยต้มน้ำให้เดือดประมาณ 1 นาที นอกจากนี้ควรใช้น้ำต้มสุกในการล้างผักผลไม้ แปรงฟัน หรือล้างหน้าล้างมือด้วย หากต้องการดื่มเครื่องดื่ม ควรดื่มเครื่องดื่มร้อน ซึ่งดื่มได้ทั้งเครื่องดื่มที่บรรจุกระป๋องหรือบรรจุขวด โดยต้องเช็ดตัวบรรจุภัณฑ์ภายนอกให้สะอาดก่อนเปิดรับประทาน
- รับประทานอาหารปรุงสุก ช่วงที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดหรือต้องอยู่ในพื้นที่ที่เกิดโรคนั้น ควรเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขายตามแผงลอยบนริมทางเท้า หรือหากต้องซื้อรับประทาน ควรแน่ใจว่าอาหารเหล่านั้นผ่านการปรุงสุกใหม่ ๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารดิบ ควรเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก กึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารดิบอย่างปลาดิบหรืออาหารทะเลอื่น ๆ
- รับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกเอง เลือกรับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกได้เองอย่างกล้วย ส้ม หรืออะโวคาโด เลี่ยงรับประทานผลไม้ที่ไม่ได้ปอกเปลือก
- ระวังผลิตภัณฑ์เนยนม ไม่ควรรับประทานอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เนยนมอย่างไอศกรีมหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพราะอาหารเหล่านี้มักเกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
-
- การตรวจตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วย การตรวจตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วยคือวิธีวินิจฉัยโรคที่ช่วยแยกและหาเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรีในอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะส่องหาเชื้อผ่านกล้องจุลทรรศน์ เชื้อแบคทีเรียจะมีรูปร่างคล้ายเครื่องหมายจุลภาค (Comma) และเคลื่อนที่ไปมา การตรวจตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วยนับเป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยอหิวาตกโรค
- เทคนิคพีซีอาร์ (Polymerase Chain Reaction: PCR) เทคนิคนี้คือการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาตรวจชื้ออหิวาต์ด้วย อย่างไรก็ตาม เทคนิคพีซีอาร์ยังไม่ได้นำมาใช้ในฐานะการตรวจแอนติบอดี้ในเลือดอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนัก
- การตรวจด้วยแถบตรวจอหิวาตกโรค วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ไม่สามารถเข้ารับการวินิจฉัยด้วยวิธีตรวจตัวอย่างอุจจาระได้ โดยผู้ป่วยจะทราบผลการวินิจฉัยได้ก่อนจากแถบตรวจดังกล่าว ทำให้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคในพื้นที่ที่เกิดการระบาดของอหิวาตกโรคและนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือจากกลุ่มสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดของโรคต่อไป อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยแถบวัดนี้อาจไม่แม่นยำเสียทีเดียว วิธีวินิจฉัยที่เที่ยงตรงที่สุดคือการตรวจตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วย ซึ่งทำการตรวจในห้องทดลองด้วยผู้เชี่ยวชาญ
-อหิวาตกโรค (Cholera) คือโรคท้องร่วงรุนแรงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) ภายในลำไส้ ซึ่งผู้ป่วยได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนแบคทีเรียชนิดนี้ ผู้ที่ได้รับเชื้อมักปรากฏอาการของโรคในระดับอ่อน และบางครั้งก็รุนแรงได้ โดยประมาณ 1 ใน 10 หรือคิดเป็นร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วย จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ถ่ายเหลวเป็นน้ำมาก อาเจียน ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็วและนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและช็อคได้ หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมง
-เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า วิบริโอ คอเลอรี ( Vebrio Cholerae) ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแท้หรือคลาสสิก (classical biotype) และชนิดอ่อนหรือเอลทอร์ (El Tor biotype) ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง การระบาดในประเทศไทยนับตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา เกิดจากเชื้อเอลเทอร์เป็นต้นเหตุ)
-