Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการประชาสัมพ…
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา
การโฆษณากับประเด็นด้านจริยธรรม
ค่านิยมแบบวัตถุนิยม (Materialism)
การสร้างภาพเหมารวม (Stereotype)
ส่งเสริมการบริโภคสินค้า/บริการที่ไม่ปลอดภัย
บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลเกินความจริง
ใช้ภาพหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม
การโฆษณากับเด็กและเยาวชน
ส่งเสริมค่านิยมที่ให้ความสำคัญแก่ภาพลักษณ์ภายนอก
การรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค
จรรยาบรรณวิชาชีพการโฆษณา
ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ และอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ไม่ทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันเป็นการดูหมิ่นเชื้อชาติ ศาสนา หรือความเชื่อ หรือสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไป
ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันทำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับ สินค้า บริการ การแสดง หรืออื่น ๆ
ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันทำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับ สินค้า บริการ การแสดง หรืออื่น ๆ
ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า คำขวัญ หรือข้อความสำคัญหรืออื่น ๆ
ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยใช้ศัพท์ สถิติ ผลการวิจัย หรืออ้างอิงรายงานทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ไม่สมควร
ไม่ควรกระทำการโฆษณาโดยอ้างถึงตัวบุคคลหรือสถาบัน โดยที่ตัวบุคคลหรือสถาบันนั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง
ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันอาจมีผลเป็นอันตรายต่อเด็กหรือผู้เยาว์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือทำให้ขาดความรู้สึกผิดชอบ
แนวทางการขออนุญาตโฆษณาอาหารมีดังนี้
ไม่แสดงหรือสื่อให้เข้าใจว่าอาหารนั้น สามารถบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้
ไม่แสดงหรือสื่อให้เข้าใจว่าอาหารนั้น มีสรรพคุณในการลดความอ้วน กำจัดไขมันส่วนเกิน ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมการสร้างหรือสะสมไขมันในร่างกาย
ไม่แสดงหรือสื่อให้เข้าใจว่าอาหารนั้น ช่วยบำรุงสมอง ทำให้ฉลาด ทำให้ความจำดี
ไม่แสดงหรือสื่อให้เข้าใจว่าอาหารนั้น ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวดี ผิวขาว เนียน กระชับ เปล่งปลั่ง สดใส
ไม่แสดงหรือสื่อให้เข้าใจว่าอาหารนั้น ช่วยบำรุงเกี่ยวกับเพศ เสริมสมรรถภาพทางเพศ
ผลิตภัณฑ์นมสำหรับสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ต้องไม่ใช้ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นนมสำหรับทารกในครรภ์ มีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์
ข้อความโฆษณาของผลิตภัณฑ์ต้องไม่กล่าวเปรียบเทียบหรือทับถมกับผลิตภัณฑ์ของผู้อื่น
ห้ามนำบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือทำให้เข้าใจว่าเป็นบุคลากรดังกล่าว มาแนะนำ รับรอง หรือเป็นผู้แสดงแบบ
คำที่ไม่อนุญาตในการโฆษณาคุณภาพ คุณประโยชน์ หรือสรรพคุณของอาหาร เช่น ศักดิ์สิทธิ์ ชั้นเลิศ หนึ่งเดียว ดีที่สุด มหัศจรรย์ ปาฏิหาริย์ สุดเหวี่ยง ดีเด็ด ชนะเลิศ บริสุทธิ์ ยอดไปเลย วิเศษ เลิศล้ำ สุดยอด ฮีโร่ เป็นต้น
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคมของการประชาสัมพันธ์
หลักจริยธรรมประโยชน์สุขนิยม (Utilitarianism)
คือการคำนึงถึงประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่หรือสังคมส่วนรวม กล่าวคือการกระทำใดที่ส่งผลให้สาธารณชนโดยรวมได้รับประโยชน์ก็จะถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องและสามารถกระทำได้
หลักจริยธรรมเชิงหน้าที่ (Duty Ethics)
หลักสำคัญของแนวคิดนี้คือการยึดหลักการ 2 ประการคือ การปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยสุจริต และการให้เกียรติและเคารพเพื่อนมนุษย์ ซึ่งการกระทำใดแม้เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือส่วนรวมแต่ละเมิดหรือส่งผลกระทบด้านลบต่อบุคคลอื่นก็เป็นเรื่องที่ผิดจริยธรรม
หลักจริยธรรมทางสายกลาง (Golden Means)
คุณธรรมควรเกิดจากความเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ความสุดขั้วไปด้านใดด้านหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะเต็มไปด้วยอารมณ์ จริยธรรมสายกลางจึงอยู่ที่ดุลยพินิจของนักประชาสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน
จริยธรรมส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดี ได้แก่
มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
ยึดถือหลักจรรยาบรรณขององค์กรและหลักเกณฑ์ของสังคม
เคารพจุดยืนและความคิดเห็นทั้งของผู้เห็นต่างและผู้สนับสนุน
เคารพจุดยืนและความคิดเห็นทั้งของผู้เห็นต่างและผู้สนับสนุน
นำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน ไม่เลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรเพียงฝ่ายเดียว
คำนึงถึงเป้าหมายระยะยาวมากกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้า