Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง - Coggle Diagram
ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ประวัติความเป็นมา
William Glasser (วิลเลียม กลาสเซอร์) จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ผู้ริเริ่มการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง เขามีประสบการณ์ในการทำงานด้านจิตเวชที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนั้นนิยมใช้วิธีการทางจิตวิเคราะห์ในการบำบัดรักษาคนไข้ กลาสเซอร์ พิจารณาว่าประสิทธิภาพของวิธีการแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้รักษาคนไข้นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพพอ จึงริเริ่มคิดหาทางพัฒนาวิธีการบำบัดรักษาแบบใหม่ขึ้น
การผสมผสานแนวคิดของเอลลิส (Ellis) ในเรื่องของการให้บริการแบบพิจาณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และแนวคิดของโรเจอร์ส (Rogers) ในเรื่องการให้บริการปรึกษาเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี น่าสนใจ และมีชีวิตชีวา
ขั้นตอนการให้การปรึกษา
ขั้นตอนสร้างสัมพันธภาพหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการทั้งในความคิดและอารมณ์
ขั้นการช่วยให้ผู้รับบริการได้สำรวจความต้องการของตน หลังจากที่ผู้ให้คำปรึกษาได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการแล้วผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการได้สำรวจความต้องการของเขา ว่าสิ่งที่เขาอยากทำคือสิ่งใด
3.ขั้นการช่วยให้ผู้รับบริการอธิบายวิถีชีวิตของเขาในแต่ละวัน
ขั้นการช่วยผู้รับบริการได้ประเมินพฤติกรรมของตนเอง เป็นการใคร่ครวญหรือการประเมินพฤติกรรมของตนจะเป็นการนำผู้รับบริการเข้าสู่สภาพความเป็นจริงได้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพ้อฝันหรือล่องลอย
การช่วยให้ผู้รับบริการได้วางโครงการเปลี่ยนพฤติกรรมของตน การวางโครงการควรเป็นโครงการที่เฉพาะเจาะจงไม่ใช่วางไว้กว้างเกินไป มีขั้นตอนและอยู่ในลักษณะที่มีแนวโน้มจะทำได้จริง
ขอข้อผูกพันหรือคำมั่นสัญญาว่าผู้รับบริการจะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้
ผู้รับบริการไม่ปฏิบัติตามสัญญาผู้ให้บริการไม่รับฟังข้อแก้ตัวใดๆทั้งสิ้น ผู้ให้บริการปรึกษาจะใช้คำถาม ถ้าโครงการล้มเหลวก็จะช่วยกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งความล้มเหลวและวางโครงการมาใหม่
ไม่มีการลงโทษถ้าผู้รับบริการไม่ดำเนินการตามโครงการ การลงโทษนอกจากไม่ได้ให้ผลดีแล้วยังก่อให้เกิดผลเสียด้านอารมณ์แก่ผู้รับบริการด้วย
การใช้ระบบ ( W D E P System)
W (Wants) คือ การที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการค้นพบความต้องการของเขา
D (Describe) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาอภิบายวิถีชีวิตของเขาว่าเขาทำอะไรในแต่ละวัน
E (Self Evaluation) คือการที่ผู้ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการประเมินพฤติกรรมของตนเอง
P ( Plan) คือการที่ให้การปรึกษาช่วยให้ผู้รับบริการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมของตน
จุดมุ่งหมายของทฤษฎี
ช่วยให้บุคลรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหา และมีทักษะในการคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง
ป้องกันไม่ให้บุคคลปล่อยชีวิตล่องลอย โดยสนับสนุนให้วางโครงการในอนาคตและมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการไปตามโครงการที่วางไว้
ส่งเสริมให้บุคคลมีวุฒิภาวะ คือเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตนเองได้
ช่วยให้บุคคลรู้จักตนเองว่าตนเป็นใครเขาต้องการอะไรในชีวิต
ช่วยให้บุคคลค้นพบวิธีการที่จะสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น
ให้บุคคลตระหนักในคุณค่าของตน โดยแนะแนวทางให้รู้จักวิธีสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความผู้พันทางสังคม
ช่วยให้บุคคลรู้จักประเมินค่านิยม รู้จักพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดสิ่งใดควรกระทำหรือพึงละเว้น
เทคนิคการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพ ( Building Relationship Technique )
เทคนิคการตั้งคำถาม (Questioning Technique)
เทคนิคการพูดแบบเผชิญหน้า(Confrontation Technique)
เทคนิคการใช้อารมณ์ขัน ( Humor Technique)
เทคนิคการชี้ประเด็น (Point Out Technique)
เทคนิคการให้ข้อเสนอแนะ( Advice Technique)
เทคนิคการเปิดเผย (Self Disclosure)
เทคนิคการตีความ( Interpretation)
การพิจารณามนุษย์และหลักการของทฤษฎี
1.พฤติกรรมมนุษย์มีเป้าหมาย
2.การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์
3.มนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา
4.มนุษย์ รู้สึกว่าตนมีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆได้
5.การได้รับความรักและให้ความรักแก่ผู้อื่น
6.ปัญหาในการปรับตัวเกิดจากการไร้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการ
7.แม้ว่าไม่สามารถเลี่ยงเลี่ยงอารมณ์พ้นแต่เหตุผลเป็นสิ่งสำคัญ
8.คนมีเอกลักษณ์แห่งความสำเร็จ
9.คนมีเอกลักษณ์แห่งความล้มเหลว
ลักษณะและบทบาทของผู้ให้การปรึกษาตามทฤษฎี
จะต้องสร้างสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับผู้รับบริการสนใจผู้รับบริการ
เป็นผู้มีคามเชื่อว่าการช่วยให้บุคคลเผชิญความจริงเป็นวิธีการช่วยให้บุคคลเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นผู้ที่เต็มใจจะเปิดเผยและอภิปรายเรื่องต่าง ๆกับผู้รับบริการตลอดจนให้ความอบอุ่น เป็นมิตร มีความจริงใจ มองโลกในแง่ดี
จะต้องเป็นตัวอย่างของคนที่มีความรับผิดชอบในการสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
จะสอนวิธีที่ควรประพฤติปฏิบัติแก่ผู้รับบริการด้วยการสอนโดยตรงด้วยการเป็นต้นแบบให้
จะช่วยกันกับผู้รับริการวางโครงการเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้โดยไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆทั้งสิ้น
ผู้ให้การปรึกษานับถือศักยภาพและความเข้มแข็งของผู้รับบริการในการไปสู่เอกลักษณ์แห่งความสำเร็จ
ผู้ให้การปรึกษาจะต้องเป็นตัวอย่างของการนับถือตนเองและการรักตนเอง
ข้อดีและข้อกำกัดของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ข้อกำกัดของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
มุ่งเฉพาะแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกไม่ได้กล่าวถึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึก ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในระดับจิตไร้สำนึก
เป็นการแก้ปัญหาแบบปัจจุบันทันด่วนไม่ได้สำรวจว่ามีอะไรที่ยังค้างคาใจอยู่หรือไม่ เป็นการตอบคำถามว่าจะทำให้วิถีชีวิตเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นไปได้ อะไรที่เป็นไปไม่ได้ อะไรคือพฤติกรรมที่ถูกต้องอะไรเป็นสิ่งที่ผิดไม่ควรทำ
ใช้การสื่อความหมายและเหตุผลมากจึงใช้ไม่ค่อยได้ผลกับผู้ขาดทักษะทางภาษาและผู้ที่ขาดทักษะทางการใช้วิจารณญาณ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ใช้การสื่อสารทางภาษามาก
ข้อดีของการให้การปรึกษาแบบเผชิญความจริง
ไม่เน้นอดีตและความรู้สึกมากเกินไป ช่วยให้ผู้รับบริการไม่ใช้ข้ออ้างว่าเหตุการณ์ในอดีตเป็นสาเหตุของปัญหาและช่วยให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดำเนินเร็วขึ้น
เน้นการวางโครงการและความมุ่งมั่น ในการดำเนินโครงการเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรม
เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ประเมินพฤติกรรมของเขา ได้พิจารณาค่านิยมของตนและนำเรื่องนี้มาอภิปรายกับผู้ให้บริการปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมของตนจะได้พิจารณาพฤติกรรมในขอบข่ายที่กว้างขึ้น
เน้นความรับผิดชอบในการหาที่สนองความต้องการของตน ควบคุมชี้วัดตนได้โดยไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลอื่น เป็นวิธีช่วยให้บุคคลรับผิดชอบที่จะช่วยตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ช่วยให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองโดยการปฏิบัติจริง โดยไม่ใช่เฉพาะการวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้นแต่เป็นการปฏิบัติจริงด้วย
เป็นการช่วยให้ผู้รับบริการกล้าเผชิญปัญหาและฝึกควบคุมตนเอง ช่วยให้ผู้รับบริการได้พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองเกิดความภูมิใจ
สามารถนำไปใช้กับการปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม ใช้ได้ดีในสถาบันการศึกษา การพัฒนาชุมชน ในสถาบันแก้ไขปัญหา ในโรงพยาบาลโรคจิตโรคประสาท นำไปใช้ได้ทั้งกับเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ปัญหาการหย่าร้างของพ่อแม่ ช่วยคนพิการให้เพิ่มความรับผิดชอบในการช่วยตนเอง