Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
การดูแลเด็กที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
กรดไหลย้อน GERD
เกิดจากรอยต่อหรือหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของทารกยังทำงานไม่แข็งแรง
ลูกอาจมีอาการแหวะนมโดยอาจแหวะเพียงวันละ 2-3 ครั้ง หรือบางคนแหวะเกือบทุกมื้อ ปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน
วิธีการช่วยเหลือและแก้ไขเมื่อลูกแหวะนม คือ
การทำให้เรอ
เพื่อไล่ลมที่อยู่ในกระเพาะอาหาร เพื่อให้ในกระเพาะอาหารเหลือเพียงนมให้ย่อย
ร้องโคลิก
สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัญหาของระบบทางเดินอาหาร เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเองและหายได้เองอีกด้วย
วิธีการช่วยดูแลคือ การอุ้มเขย่าปลอบลูกเบาๆ การเปิดเพลงที่เป็นเสียงเหมือนธรรมชาติ
อาจร้องอย่างรุนแรง หน้าแดง มือกำ ขาจิก แอ่นหลังงอเข่าขึ้น ปลอบให้หยุดได้ยาก ร้องทุกวันโดยเฉพาะช่วงพลบค่ำหรือกลางคืนอาจร้องเป็นชั่วโมง ในช่วงเวลาเดิมๆ ตลอด 2-3 เดือน
แพ้อาหาร
เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ ซึ่งอาหารที่ทารกและเด็กเล็กมักแพ้ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีนนมวัว ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ด ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี อาหารทะเล เป็นต้น
มีอาการ 3 ระบบที่พบได้บ่อย คือระบบผิวหนัง เช่น ผื่น คัน ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ปวดท้อง ร้องกวน ท้องเสีย และระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หายใจครืดคราด เสมหะหรือน้ำมูกเยอะ
อาจพบประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ แพ้อาหาร หอบหืด ภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ เป็นต้น
ท้องผูก
ถ่ายอุจจาระยากหรือถ่ายแข็ง เป็นก้อนหรือเป็นเม็ด อาจพบการเจ็บทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ หรือมีเลือดหยดตามการถ่ายอุจจาระ
กินนมในปริมาณที่เหมาะสม ควรจำกัดการให้น้ำเปล่า โดยเฉพาะในทารกก่อนอายุ 6 เดือน
อาจลองให้กินน้ำลูกพรุนได้สัก 1-2 ออนซ์ และไม่ควรสวนทวารหนักเพราะอาจทำให้เคยชิน
การติดเชื้อในทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน
พบบ่อยจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งมาจากอาหารและน้ำที่ไม่สุก ไม่สะอาด การล้างขวดนมไม่ดี หรือการติดเชื้อโรคมาจากพี่น้องที่ไปโรงเรียน หรือคนในบ้านติดเชื้อมาก่อน
ไข้ อาเจียน ท้องเสียหรือถ่ายเหลวมากขึ้น รวมถึงการถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้อง ร้องกวน และอาจพบสัญญาณของการขาดน้ำ
ให้ลูกดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ในช่วงเวลาที่ท้องเสียหรืออาเจียน ร่วมกับการกินนมเดิมต่อตามปกติในช่วงแรก จะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้ระดับหนึ่ง
พบบ่อย :
กระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ท้องเสีย/ท้องร่วงจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
มีอาการอาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลวมีน้ำมาก หรือมีมูกเลือดปน อาจมีไข้ร่วมด้วย ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจมีอาการไอ น้ำมูกไหลร่วมด้วย ถ้าสูญเสียน้ำมาก จะมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง น้ำลายน้อย เบ้าตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ซึม ตัวเย็น
ไวรัสลงกระเพาะ
ภาวะติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
อุจจาระเป็นน้ำ ซึ่งมักไม่มีเลือดปนแต่อาจเกิดขึ้นได้หากติดเชื้อรุนแรง
เป็นตะคริวบริเวณท้อง และปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
การป้องกันไวรัสลงกระเพาะจากการติดเชื้อ Rotavirus ทำได้โดยนำเด็กแรกเกิดเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสนี้ ซึ่งมีวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่ Monovalent Vaccine Pentavalent Vaccine