Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือด
1.โรคหัวใจขาดเลือด หรือ หลอดเลือดหัวใจ
2.โรคหัวใจวาย
3.โรคความดันโลหิตสูง
4.โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหัวใจและหลอดเลือด
1.เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก
2.ในประเทศไทยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากความเจ็บป่วย อันดับ 2 รองจากมะเร็ง เป็นภาระโรคสำคัญอันดับ 3 รองจากเอดส์และอุบัติเหตุทางถนน
3.ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
1.ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง อายุ เพศ พันธุกรรม
2.ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
ความหมายของอาการเจ็บ ปวด และกล้ามเนื้อตาย
การปวด เจ็บหรือแน่นหน้าอกจากการ เพราะขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เหมือนมียักษ์มาบีบหน้าอกและมีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน มือซ้าย คอ คางเป็นอยู่ไม่กี่นาที เป็นชั่วคราว เพื่อพักให้มีเลือดมาเลี้ยง
หัวใจวาย เป็นการเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ อย่างถาวร จะมีอาการรุนแรง เหงื่อกาฬออก หมดแรง
สาเหตุ เกิดจากมีไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้หลอดเลือด มีการตีบแคบลง ทำให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
Cardiac chest pain
1.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน แน่นเหมือนโดนกดทับ
2.เจ็บหน้าอกด้านซ้าย หรือ ร้าวไปคาง คอ ไหล่
3.เจ็บนาน 20-30 นาที เหงื่อแตก ตัวเย็น
4.อาการดีขึ้นถ้าอยู่เฉยๆเจ็บมากขึ้นขณะออกแรง
5.เคยมีประวัติอมยาแล้วดีขึ้น
6.ประวัติโรค DM HT ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่
7.ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง
สาเหตุของหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ และมีชื่อว่าอเธอโรมา (Atheroma) การเกาะตัวกันของก้อนไขมันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือกระบวนการที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) รวมถึงการขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่
คอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวในอาหารที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ในร่างกาย แต่คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่มี 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1.LDL หรือ “ไขมันร้าย” ไขมันร้าย LDL คือตัวการปิ ดกั้นหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ
2.HDL หรือ “ไขมันดี” ทำหน้าที่นำไขมันร้ายออกจากเซลล์ต่าง ๆ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหมายถึงภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ Coronary ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจได้รับความเสียหาย สาเหตุมักจะเกิดจากโรคหลอดเลือดโคโรนารีตีบ
2.หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือดจะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
3.โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery diseaseเป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย
อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
1.อาการแน่หน้าอก ตรงกลางหน้าอก เจ็บมากขึ้น พักหรืออมยาขยายหลอดเลือดจะไม่หายปวด
2.จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ แขนซ้าย หรือคอและกรามด้านซ้าย
3.หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก
4.คลื่นไส้อาเจียน
5.หน้าซีด เหงื่อออก
6.เวียนศีรษะหน้ามืด
Non Cardiac Chest pain
1.แน่นลิ้นปี่ แสบร้อน กิน-หิวแล้วแน่น => GI cause
2.ไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอกขณะหายใจ => โรคปอดบวม
3.เจ็บอกบอกตำแหน่งชัด กดเจ็บชัดเจน => Costochondritis
4.เจ็บอกทะลุหลัง กลืนแล้วเจ็บ => Esophageal cause
5.เจ็บหน้าอกทะลุหลัง เจ็บตลอด เคยมีความดันสูง แรกรับแขนขวาไม่เท่ากับแขนซ้าย ขาขวาไม่เท่ากับขาซ้าย =>
Dissecting Aneurysm
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
( ACS )
1.กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด
STEMI
2.กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด NSTEMI
3.อาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่
( Unstable angina )
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
1.กรรมพันธุ
2.เพศ
3.อายุ
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้
1.ระดับไขมันในเลือดสูง
2.การสูบบุหรี่
3.ความดันโลหิตสูง
4.เบาหวาน
5.Metabolic syndrome
6.โรคอ้วน
7.ไม่ออกกำลังกาย
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจเลือด แพทย์อาจใช้การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับเอนไซม์ในหัวใจ (Cardiac Enzyme Test) ในการตรวจสอบความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
การเอกซเรย์ทรวงอก ใช้ตรวจดูสาเหตุและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น บริเวณหัวใจ ปอดและผนังทรวงอก
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แพทย์จะฉัดสารทึบแสงเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อสร้างภาพอวัยวะและวัดปริมาณแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้
การรักาาโรคหลอดเลือดหัวใจ
1.งดสูบบุหรี่
2.ลดน้ำหนักส่วนเกิน
ควบคุมความเครียด
4.หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป
5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
อาการของหัวใจวาย
อาการหลายแบบ จากน้อยไปมาก. ผู้หญิง คนแก่
ผู้ป่วยเบาหวาน จะมีอาการไม่ตรงรูปแบบ
อาการในผู้ใหญ่
เจ็บอกตรงกลางอกนานกว่า ๒ - ๓ นาทีแล้วหายไป
รู้สึกคล้ายแรงกด บีบ บิด แน่นในอก.
อาจเจ็บที่ส่วนบนของร่างกาย เช่น ไหล่ ขากรรไกร
แขน ๑ หรือ ๒ ข้าง หลัง กระเพาะ เหงื่อแฉะ-เย็น
ปวดศีรษะเล็กน้อย
อาการในทารกและเด็ก
เดินกะเผลก หอบเหนื่อย ไม่ตอบสนอง ผิวเขียวคล้ำ
การรักษา
โรคหัวใจวายเป็นโรที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่อง จนเกิดอาการของหัวใจวาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยมีหลักการรักษา ดังนี้
1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.การใช้ยารักษา
3.การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การทำ ฺBallon
4.การใส่เครื่องมือเพื่อคมการเต้นของหัวใจ