Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้,…
สรุปการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
บทที่ 6
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ ( Lesson Plan) หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดสาระการเรียนรู้หนึ่ง ให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนด แผนการจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และระดับบทเรียน (Lesson Plan)
ประโยชน์ของการทำแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
เพื่อให้สามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง
เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการเรียนรู้
เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้จากข้อจำกัดที่พบ
เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน (แผนการจัดการเรียนรู้เป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพครู)
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
เนื้อหา (Content)
กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
สาระสำคัญ (Concept)
หัวเรื่อง (Heading)
สื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายหรือแบบเรียงหัวข้อ
แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่เน้นกระบวนการ มุ่งให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริง
กิจกรรมให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
กิจกรรมที่บูรณาการทั้งด้านความรู้ (K) คุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกต่อสังคม(A) และทักษะกระบวนการ (P)
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่พัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคล
กิจกรรมที่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษา
บทที่ 7
การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading)
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุวันที่ เดือน ปี และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
สาระสำคัญ คือ ข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งด้านเนื้อหาความรู้ ด้านทักษะ หรือด้านเจตคติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะเหมาะของเรื่องที่นำเสนอ
สาระสำคัญ เป็นคำที่ใช้ในความหมายเดียวกับ สังกัป ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ และมโนมติ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือความนิยมใช้ มีแนวในการเขียนดังต่อไปนี้
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้นๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมายด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์ คือ ข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Attitude) และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้มีวิธีการเขียนหลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือในลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้ พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน
พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้แสดงออก (Terminal Behavior)
เกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น (Condition)
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง คือ จุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทางนิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
การเขียนเนื้อหา (Content)
เนื้อหา เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโดยรวม อาจประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ การระบุเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้มีแนวการเขียน
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามาก ให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
กิจกรรมการเรียนรู้ คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านต่างๆ จึงเป็นความสามารถและทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
กิจกรรมการเรียนรู้ควรมีลักษณะดังนี้
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การตรวจผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น ส่วนการประเมินผลเป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัด เช่น ผ่าน – ไม่ผ่าน, ดี - ปานกลาง - อ่อน หรือ กำหนดค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 เป็นต้น มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ว่าที่ร้อยตรีหญิง เสาวลักษณ์ มีมาดี รหัส 647601430 หมู่เรียน ปค.6404