Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข่า, 450px-Eucalyptol, download (1) - Coggle Diagram
ข่า
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
cineole , camphor และ eugenol ในข่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
eugenol จากเหง้าของข่ามีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยอาหารได้
น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าของข่ามีฤทธิ์ขับลม
1'-acetoxychavicol acetate , 1'-acetoxyeugenol acetate และ eugenol ในข่ามีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ
สารสกัดข่าสามารถยับยั้งการสลายของกระดูกอ่อนจากการเหนี่ยวนำด้วย interleukin-1b (IL-1β) โดยพบสารออกฤทธิ์คือ p-hydroxycinnamaldehyde ซึ่งแยกได้จากสารสกัดข่าด้วยอะซีโตน มีฤทธิ์ยับยั้งการสลาย hyaluronan (HA), sulfated glycosaminoglycans (s-GAGs)และ matrix metalloproteinase (MMPs) จากเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน แสดงว่าสาร p-hydroxycinnamaldehyde จากข่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาไปใช้รักษาอาการข้ออักเสบได้
สารสกัดข่าด้วยปิโตรเลียมอีเธอร์, ไดเอทิลอีเธอร์, อะซีโตน และน้ำสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli และ Salmonella typhi ที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงได้
สารสกัดข่าด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus โดยทำลายผนังเซลล์ทั้งชั้นในและชั้นนอกของแบคทีเรีย
สารสกัดข่าสด และสารสกัดน้ำมันข่าสามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus, Bacillus cereus และ Salmonella typhi ได้
นอกจากนี้สารสกัดข่าด้วยเอทิลแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืช Lemma minor ได้
สารสกัดเหง้าข่าด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Raji และในสารสกัดข่ามี 1'-acetoxychavicol acetate เป็นสารประกอบหลักจะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งเต้านม
รูปแบบและขนาดวิธีการใช้
-
รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆสด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะ ใช้น้ำและเนื้อ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
-
-
ชื่ออื่นๆ : ข่าหยวก,ข่าหลวง(ภาคเหนือ),กฎกกโรหิณี(ภาคกลาง),เชียงง่าว(ปะหล่อง), สะเอเชย(กะเหรี่ยง),หัวข่า(ไทยใหญ่)
-
ชื่อสามัญ : Galanga , False galangal
-
ประโยชน์และสรรพคุณ
-เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ
-เป็นยาระบายอ่อนๆ
-ช่วยบรรเทาอาการไอ
-ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ปวดท้องจุกเสียด
-แก้โรคปวดข้อและโรคหลอดดลมอักเสบ
-ขับน้ำคาวปลา ขับรก
-ใช้ภายนอกทารักษากลากเกลื้อน แก้ไฟลวก แก้น้ำร้อนลวก แก้ลมพิษ และโรคลมป่วง แก้สันนิบาตหน้าเพลิง
-ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
-ช่วยยับยั้งการเกิดแผลในกรัเพาะอาหาร
-ต้านเชื้อวัณโรค ต้านภูมิแพ้ และต้านอนุมูลอิสระ
-แก้พิษจากแมลงสัตว์ กัด ต่อย
-ช่วยแก้ตะคริว เหน็บชา
-
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
เนื่องจาก ข่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้มาตั้งแต่โบราณมาแล้ว อีกทั้งใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ใช้รับประทานในชีวิตประจำวัน จึงไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงในการรับประทานข่า แต่อาจจะมีข้อควรระวัง ในกรณีการใช้ข่าเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ทาทางผิวหนัง เนื่องจากบางคนอาจจะแพ้ข่า โดยอาการที่พบก็คือเมื่อใช้ข่าทาตรงบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังแล้ว อาจจะมีอาการแสบร้อนมากก็ควรหยุดใช้ในทันที
-
-