Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทย(มะรุม)เพื่อการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำ…
การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทย(มะรุม)เพื่อการกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแช่บ๊วย
ที่มาและความสำคัญ
อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวอย่างกว้างขวางทั่วโลก แต่ในปัจจุบันแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์นั้นสามารถติดต่อมาจากกุ้งทะเลรวมทั้งกุ้งแช่บ๊วย ในการวิจัยนี้จึงมีการประยุกต์ใช้สารประกอบสมุนไพรธรรมชาติที่มีคุณสมบัติยับยั้งหรือฆ่าเชื้อก่อโรคควบคู่กับการใช้ยาปฏิชีวนะ
แบคทีเรียที่พบในสัตว์น้ำทะเล
แบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ
เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในทะเล มหาสมุทรและบริเวณปากแม่น้ำที่มีรอยต่อระหว่างน้ำเค็มและน้ำจืดมักพบปนเปื้อนอยู่ในสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู และปลา
แบคทีเรียกลุ่มแอโรโมแนส
พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เช่น แม่น้ำ ลำคลอง น้ำเสีย สามารถก่อโรคในคน เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
แบคทีเรียกลุ่มอื่นๆ
เช่น Pseudomonas sp. และ Leucothrix sp. พร้อมทั้งแบคทีเรียสกุล Edwardsiella
วิธีการดำเนินวิจัย
1.การเก็บรวบรวมพ่อพันธุ์กุ้งแช่บ๊วย พิจารณาจากการขาวขุ่นของถุงน้ำเชื้อที่อยู่บริเวณโคนขาเดินคู่ที่ 5 ยิ่งขาวขุ่นมากแสดงถึงคุณภาพสเปิร์มที่ดี
2.การรวบรวมถุงน้ำเชื้อ คีมคีบดึงถุงน้ำเชื้อออกมาด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อนำไปทดลองต่อไป
3.การศึกษาการเป็นพิษและความเป็นผลของยาปฏิชีวนะต่อการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อ
3.1แบบแช่แข็ง ใช้สูตรสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีความเหมาะสม นั่นคือ สารละลายบัฟเฟอร์ Ca-Free saline มาเติมสารละลายยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ในหลอดเก็บรักษา
4.การประเมินเปอร์เซ้นต์สเปิร์มที่มีชีวิต
5.การประเมินการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์และสัตว์น้ำจากถุงน้ำเชื้อ
6.ศึกษาผลของสารสกัดสมุนไพรต่อการแช่เย็นถุงน้ำเชื้อกุ้งแช่บ๊วย
6.1 นำสมุนไพรมะรุมมาล้างทำความสะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำไปอบลมร้อน 35 องศา นาน 48-72 ชั่วโมง จากนั้นนำมาบดเป็นผงด้วยเครื่องปั่น นำไปแช่ในขวดรูปชมพู่ที่บรรจุ 95% เอทานอล
6.2 ทดสอบการเป็นพิษของสารสกัดสมุนไพร ทำการประเมินเปอร์เซ้นต์สเปิร์มที่มีชีวิตทุกๆ 7 วัน โดยการย้อมสีสเปิร์มพร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายนอกของน้ำยาในหลอดเก็บรักษา
6.3 ทดสอบความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพร 1)treatment 1 เก็บรักษาใน mineral oil 2)treatment 2 เก็บรักษาใน mineral oil ที่เติมยาปฏิชีวนะ 3)treatment 3 เก็บรักษาใน mineral oil ที่เติมสารสกัดใบมะรุม ความเข้มข้น 0.05 4)treatment 4 เก็บรักษาใน mineral oil ที่เติมสารสกัดใบมะรุม ความเข้มข้น 0.1 5)treatment 5 เก็บรักษาใน mineral oil ที่เติมสารสกัดใบมะรุม ความเข้มข้น 0.2
7.วิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการทดลอง
ชุดทดลองของสมุนไพรมะรุมความเข้มข้น 0.1 % มีเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตเท่ากับ 77.25 +3.91% และ 77.51+3.91% ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับถุงน้ำเชื้อสดและเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตมีแนวโน้มลดลงตลอดระยะเวลาการทดลอง จนในวันที่ 14 มรเปอร์เซ็นต์สเปิร์มลดลงเหลือ 69.07+3.00 และ 71.43+1.65% ตามลำดับ
สรุปผลการทดลอง
การเติมสารสกัดใบมะรุม สามารถเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแช่บ๊วยแบบแช่เย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตได้เทียบเท่ากับเติมยาปฏิชีวนะ Pennicillin-Streptomycin ลดปริมาณแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถกำจัดแบคทีเรียฉวยโอกาสก่อโรคที่สำคัญในมนุษย์และสัตว์น้ำอีกด้วย