Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การถ่ายภาพ - Coggle Diagram
การถ่ายภาพ
- ใช้ค่าของกล้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
รูรับแสง
- ค่ารูรับแสงมากขึ้น (กล่าวคือ ค่า f ต่ำลง) ขนาดของโบเก้จะใหญ่ขึ้น(จะเห็นภาพด้านหลังชัด)
- ค่ารูรับแสงต่ำลง (กล่าวคือ ค่า f มากขึ้น) พื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสจะกว้่างขึ้น (จะเห็นภาพด้านหลังไม่ชัด)
- ปริมาณแสงที่เข้าสู่เซนเซอร์จะถูกควบคุมด้วยขนาดของรูรับแสงที่กว้างขึ้น/แคบลง
สรุป
รูรับแสงกว้่างขึ้น ค่า f จะลดลง พื้นที่ที่อยู่ในระยะโฟกัสของภาพจะลดลง และโบเก้จะดูสะดุดตายิ่งขึ้น (หรือ "มีขนาดใหญ่ขึ้น") ในทางกลับกัน หากรูรับแสงแคบลง ค่า f จะเพิ่มขึ้น และพื้นที่ที่อยู่ในระยะโฟกัสจะเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มองเห็นโบเก้ได้ไม่ชัดเจน
ความเร็วชัตเตอร์
- ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นจะหยุดตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว
- ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงจะสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว
- คุณสามารถปรับปริมาณแสงโดยการเปิด/ปิดชัตเตอร์
สรุป ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นอยูกับความไวของวัตถุที่จะถ่ายโดยจะปรับชัตเตอร์เร็วเมื่อวัตุเคลื่อนที่เร็วหรือปรับชัตเตอร์ช้าเมื่อวัตุเคลื่อนที่ช้า
การเปิดรับแสง
- กล้องจะมีฟังก์ชัน Auto exposure (AE)เราเรียกความสว่างที่เกิดจากการคำนวณและตั้งค่าของกล้องว่า "ระดับแสงที่เหมาะสม"หากระดับแสงที่เหมาะสมยังไม่น่าพอใจ คุณสามารถใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับค่าได้(เพื่อให้ได้ภาพไม่สว่างมากหรือน้อยเกิดไป)
-
การชดเชยแสง
การชดเชยแสงเป็นบวก (+)
ตัวแบบที่ถ่ายในสภาวะย้อนแสง ตัวแบบที่สะท้อนแสงสูง (สีขาวหรือสีที่ใกล้เคียงสีขาว) และเลนส์ที่มีความสว่างจะส่งผลทำให้ภาพถ่ายที่ได้ดูมืดกว่าฉากที่ปรากฎจริงเมื่อเรามองด้วยตาเปล่า ในกรณีนี้ ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นบวก
การชดเชยแสงเป็นลบ (-)
ตัวแบบที่สะท้อนแสงต่ำ (สีดำหรือสีที่ใกล้เคียงสีดำ) และฉากที่มืดจะทำให้ภาพดูสว่างกว่าฉากที่ปรากฎจริงเมื่อเรามองด้วยตาเปล่า ซึ่งจะทำให้รายละเอียดของสีดูสว่างจ้าเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ถ่ายฉากที่มีสภาพแวดล้อมมืดสลัว เช่น ยามพระอาทิตย์ตกดิน การใช้การชดเชยแสงเป็นลบจะช่วยให้คุณคืนสีสันในภาพถ่ายให้เหมือนเดิมได้
โดยปกติค่าการเปิดรับแสงจะระบุเป็นหน่วย EV
ช่วงการชดเชยแสงในกล้องแต่ละรุ่นจะแตกต่างกัน แต่โดยปกติแล้วจะมีค่าอยู่ระหว่าง EV-5.0 ถึง EV+5.0 การตั้งค่าการชดเชยแสงไปที่ 1 EV ในทิศทางบวก (EV+1.0) จะเพิ่มความสว่างถึงสองเท่าของปริมาณจริง ขณะที่การตั้งค่าไปที่ 1 EV ในทิศทางลบ (EV-1.0) จะทำให้ความสว่างลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณจริง โดย 1 EV จะเทียบเท่ากับ 1 f-stop
สมดุลแสงขาว
สมดุลแสงขาว คือ คุณสมบัติที่ช่วยให้มั่นใจว่าสีขาวในภาพถ่ายจะได้รับการถ่ายทอดอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะถ่ายภาพภายใต้สภาพแสงแบบใดก็ตาม ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐานมากๆ เรามักเลือกใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี การตั้งค่านี้ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ หากต้องการตั้งค่าสมดุลแสงขาวให้เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด ควรเลือกการตั้งค่าสมดุลแสงขาวล่วงหน้าจากกล้องของคุณ
ข้อดี ฟังก์ชั่นดั้งเดิมของสมดุลแสงขาวช่วยให้โทนสีขาวในภาพของคุณดูขาวมากยิ่งขึ้น คุณยังสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อเพิ่มความเพี้ยนของสีในภาพได้
3.ใช้กล้องอะไรก็ได้
ต้องรู้ก่อนว่าโทรศัพท์หรือกล้องมีคุณภาพมากแค่ไหนมีฟังค์ชันอะไรบ้างควรศึกษาก่อนที่จะมำมาใช้ในการถ่ายภาพ
กล้องฟิล์ม
ก่อนที่จะมาเป็นกล้องดิจิตอลในปัจจุบันมีกล้องที่เกิดมาก่อนคือกล้องฟิล์ม กล้องฟิล์มมีวิวัฒนาการมาเป็นร้อยปีก่อนจะมาเปลี่ยนเป็นดิจิตอลในช่วง 10 กว่าปีนี้เอง หลายๆ คนน่าจะมีโอกาสได้ใช้ กล้องที่ใช้ฟิล์มมีหลายแบบทั้ง Large format , Medium format , Rangefinder และที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือ SLR กล้องแบบนี้สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้เรียกว่า single lens reflex (SLR) reflex แปลว่าสะท้อน หมายความว่า เมื่อเรามองเข้าไปที่ช่องมองภาพ (Viewfinder) เราจะเห็นภาพผ่านเลนส์โดยกระจก (Mirror) สะท้อนภาพที่อยู่ภายในตัวกล้อง เมื่อเรากดชัตเตอร์ถ่าย กระจกจะยกขึ้น แสงจะเข้าสู่ฟิล์ม เป็นอันจบกระบวนการการบันทึกภาพ แล้วจากนั้นจึงนำฟิล์มไปล้างและอัดเป็นรูปหรือสมัยนี้นำฟิล์มที่ล้างแล้วไปสแกนและเปิดดูในคอมได้
กล้องดิจิตอล
เป็นกล้องดิจิตอลแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ (Digital single lens reflex : DSLR) ได้รับการพัฒนามาจากกล้องฟิล์ม (SLR) โดยใช้เซนเซอร์ในการรับแสงแทนฟิล์ม
มีชิพประมวลผลแปลงค่าสัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์มาสร้างเป็นภาพ มีโหมดออโต้ให้ใช้งานและยังใช้โหมดเแมนวลเพื่อตั้งค่าต่างๆ ได้เอง มีระบบออโต้โฟกัส เพื่อช่วยให้โฟกัสได้แม่นยำและเร็วขึ้น ต่างจากกล้องฟิล์มที่ต้องหมุนเลนส์หาความชัดด้วยตัวเอง ทำให้ช้าและบางครั้งอาจจะโฟกัสผิดจุดได้ ต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ต่างกับกล้องฟิล์มที่ไม่ต้องใช้ก็นำมาถ่ายได้เลย แต่ยังใช้กระจกสะท้อนในการมองภาพเช่นเดิม เปลี่ยนเลนส์ได้ ข้อดีของการเปลี่ยนเลนส์ได้คือสามารถเลือกช่วงความยาวโฟกัสของเลนส์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ไปเที่ยวในเมืองที่มีตึกสูงหรือถ่ายวิวทั่วไป เลนส์ที่ให้มากับกล้องอาจจะเก็บภาพได้ไม่หมดตามที่เราต้องการ เราจึงต้องเปลี่ยนเป็นเลนส์มุมกว้าง (Wide) หรืออยากจะถ่ายสิ่งที่ไกลๆ ก็ต้องใช้เลนส์เทเล (Tele) เพื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น เลนส์เทเล จริงๆ แล้วไม่ได้เรียกว่า เลนส์ซูม นะ เลนส์ซูม หมายถึงเลนส์ที่เปลี่ยนช่วงทางยาวโฟกัสได้เช่น 18-55 mm , 70-200mm ส่วนเลนส์ที่เปลี่ยนทางยาวโฟกัสไม่ได้เรียกว่าเลนส์ฟิกซ์ (Fix)
กล้องมิเรอร์เลส
กล้องถ่ายรูป ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากกล้อง DSLR เปลี่ยนเลนส์ได้เหมือนกัน แต่จุดที่สำคัญ คือ ตัดกระจกสะท้อนภาพออก ทำให้ได้ตัวกล้องที่มีขนาดเล็กลงและมีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก เลนส์ที่ใช้ก็มีขนาดเล็กลงตามไปด้วย เมื่อไม่มีกระจกสะท้อนภาพจำเป็นต้องใช้จอ LCD ในการถ่ายภาพ หรือใช้ช่องมองภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Viewfinder) ผลที่ตามมาทำให้แบตหมดเร็ว ควรจะซื้อแบตเพิ่มเลยหากจะใช้กล้องมิเรอร์เลส ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบตัวคูณ (APS-C) แต่มี Sony ที่ผลิตกล้องมิเรอร์เลสที่ใช้เซนเซอร์แบบฟูลเฟรม (ข้อมูลปี 2015) ยังมีเซนเซอร์อีกแบบคือ Micro Four Thirds เป็นเซนเซอร์ที่มีสัดส่วนภาพ 4:3 ต่างจากปกติที่เป็น 3:2 ข้อดีของเซนเซอร์แบบนี้คือ สามารถใช้เลนส์ร่วมกันได้หมดถึงแม้ว่าจะคนละยี่ห้อก็ตาม ปัจจุบันยี่ห้อที่ Micro Four Thirds ได้แก่ Olympus, Panasonic
กล้องคอมแพค
เป็นกล้องขนาดเล็กกะทัดรัดพกพาสะดวก เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ มีทั้งเลนส์ฟิกซ์และเลนส์ซูม กล้องคอมแพคที่ซูมได้จะมีการซูม 2 แบบ คือ ออปติคอลซูม (ซูมที่เลนส์จริงๆ) และดิจิตอลซูม (เมื่อเราใช้ออปติคอลซูมจนสุดจะเป็นดิจิตอลซูมต่อ มันคือการขยายภาพขึ้นมา เมื่อขยายมากๆภาพจะไม่ค่อยละเอียด) กล้องคอมแพคส่วนใหญ่จะใช้เซนเซอร์ขนาดเล็กกว่า กล้องมิเรอร์เลส (APS-C) แต่จะใหญ่กว่าเซนเซอร์กล้องโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นโดยรวมแล้วจะได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าถ่ายจากกล้องมือถือ มีกล้องคอมแพคระดับ Hi-end บางรุ่นที่ใช้เซนเซอร์ APS-C และเซนเซอร์ฟูลเฟรม ใช้เลนส์ที่มีคุณภาพดีแต่ก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย
กล้องคอมแพคโดยทั่วไปเน้นการใช้งานง่าย ไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้ยุ่งยาก มีโหมดถ่ายภาพแบบต่างให้เลือกใช้ได้เลย มี Wi-Fi ส่งรูปเข้าสมาร์ทโฟนหรือสั่งปริ้นรูปจากปริ้นเตอร์ได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ได้เลย
- ต้องรู้มุมและรู้ว่าเเสงมาจากทางไหน
-
ทิศทางแสงที่แตกต่างกันจะส่งต่อมิติของภาพ หรือให้อารมณ์ภาพแตกต่างกันได้ ดังนั้นในการถ่ายภาพสิ่งที่ควรพิจารณาอีกอย่างคือความเหมาะสมของทิศทางของแสง โดยเราสามารถแบ่งทิศทางของแสงออกเป็น 5 ทิศทางใหญ่ๆ ดังนี้
ทิศทางจากด้านบน คือแหล่งกำเนิดแสงจะอยู่บนหัวเรา จะทำให้เกิดเงาตกกระทบทางด้านล่างของวัตถุ แม้แสงในทิศทางนี้จะไม่นิยมใช้ถ่ายงาน แต่ในหลายๆครั้งก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยมักใช้ในฉากที่ต้องการให้ตัวแบบมีเงาขึ้นที่ผม หรือ สร้างออร่าดูเป็นผู้สูงส่ง
ทิศทางแสงจากด้านหน้า แสงที่ส่องมาจากทางด้านหน้าของวัตถุที่จะถ่ายมาจากทิศทางเดียวกันกับกล้องถ่ายภาพ หรือที่เรียกกันว่า “ถ่ายตามแสง” ทำให้ตัวแบบได้รับแสงสว่างได้ทั่วด้านหน้า วัตถุจะไม่มีเงาทำให้ได้ภาพมีลักษณะเรียบแบนไม่มีความลึก ความหนา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นให้เห็นรายละเอียด
ทิศทางแสงจากด้านข้าง แสงที่มาจากด้านข้างนี้ จะทำให้ภาพมีมิติ แต่จะทำให้เกิดแสงเงาทางด้านตรงข้ามของแสง
โดยปกติมักจะใช้อุปกรณ์สะท้อนแสง หรือสร้างแสงที่อ่อนกว่าเพื่อเปิดเงาให้เห็นรายละเอียด และส่วนมากจะวางไว้ที่มุมราวๆ 45 องศาจากหน้าตรง
ทิศทางแสงจากด้านหลัง แสงที่ส่องมาจากด้านหลังของวัตถุที่จะถ่าย อยู่ตรงกันข้ามกับกล้องถ่ายภาพ ทำให้มองเห็นวัตถุแยกออกจากพื้นฉากหลังชัดเจน บางครั้งก็จะเรียกว่าแสง “Rim light” แต่อาจจะต้องระวังรายละเอียดด้านหน้าของตัวแบบมืดเกินไป อาจจะมีการจัดแสงช่วยหรือใช่อุปกรณ์สะท้อนแสงเพื่อให้เห็นรายละเอียดในส่วนนี้
ทิศแสงจากด้านล่าง แสงที่ส่องมาจากด้านล่างของตัวแบบ จะใช้เปิดเงาด้านล่างของตัวแบบ หรือใช้ในงานถ่ายฉากสยองขวัญ ผีหลอก หรือเปิดเงาใต้คาง แม้จะไม่นิยมใช้แต่ก็สามารถจัดแสงให้ใช้งานได้ตามความเหมาะสม