Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ - Coggle…
บทที่ 6 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ความหมายของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
PLC หมายถึง การรวมตัวร่วมมือร่วมใจและร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครูผู้บริหารและนักการศึกษาบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตรมีวิสัยทัศน์คุณค่าเป้าหมายและภารกิจร่วมกันโดยทำงานร่วมกันแบบทีม การเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกันและผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเองสู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสําเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสําคัญและความสุขของการทํางานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้
PLC ในระดับสถานศึกษาหรือระดับผู้ประกอบวิชาชีพนำเสนอเป็นองค์ประกอบของ PLC ที่มาจากข้อมูลที่รวบรวมและวิเคราะห์จากเอกสารทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนําเสนอเป็น 6 องค์ประกอบของ PLC ในบริบทสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้
องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 3ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership) ภาวะผู้นำร่วมใน PLC มีนัยสำคัญของการผู้นำร่วม 2 ลักษณะสำคัญคือภาวะผู้นําผู้สร้างให้เกิดการนําร่วมและภาวะผู้นําร่วมกันให้เป็น PLC ที่ขับเคลื่อนด้วยการนําร่วมกัน
องค์ประกอบที่ 4 การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ (Professional learning and development) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพใน PLC มีจุดเน้นสําคัญ 2 ด้านคือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพและการเรียนรู้เพื่อจิตวิญญาณความเป็นครู
องค์ประกอบที่ 2 ทีมร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative Teamwork) เป็นการพัฒนามาจากกลุ่มที่ทํางานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ลักษณะการทํางานร่วมกับแบบมีวิสัยทัศน์คุณค่าเป้าหมายและพันธกิจร่วมกันรวมกันด้วยใจจนเกิดเจตจำนงในการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
องค์ประกอบที่ 5 ชุมชนกัลยาณมิตร (Caring community) กลุ่มคนที่อยู่ร่วมโดยมีวิถีและวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในชุมชนมีคุณลักษณะคือมุ่งเน้นความเป็นชุมชนแห่งความสุข สุขทั้งการทำงานและการอยู่ร่วมกันที่มีลักษณะวัฒนธรรมแบบ“ วัฒนธรรมแบบเปิดเผย” ที่ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของตนเป็นวิถีแห่งอิสรภาพ โดยมีเจตคติเชิงบวกต่อการศึกษาและผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 1 วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) วิสัยทัศน์ร่วมเป็นการมองเห็นภาพเป้าหมายทิศทางเส้นทางและสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงเป็นเสมือนเข็มทิศในการขับเคลื่อน PLC ที่มีทิศทางร่วมกัน
องค์ประกอบที่ 6 โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive structure) โครงสร้างที่สนับสนุนการก่อเกิดและคงอยู่ของ PLC มีลักษณะดังนี้ลดความเป็นองค์การที่ยึดวัฒนธรรมแบบราชการหันมาใช้วัฒนธรรมแบบกัลยาณมิตรทางวิชาการแทน
กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC)
การศึกษาปัญหากําหนดเป้าหมายอภิปรายสะท้อนผลแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อกําหนดวิธีการดำเนินการโดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้
1.1 หลักการที่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ
1.2 การเริ่มดำเนินการลงมือปฏิบัติ
1.3 การออกแบบเครื่องมือตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้
การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively) สมาชิกของกลุ่มกําหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินการ
การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้โดยหาวิธีการที่จะทําให้ประสบผลสําเร็จสูงสุด
3.1 ทดสอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการสอนหลังจากได้มีการจัดเตรียมต้นแบบที่เป็นการวางแผนระยะยาว
3.2 จัดให้มีช่วงเวลาของการชี้แนะโดยเน้นการนําไปใช้ในชั้นเรียน
3.3 ให้เวลาสําหรับครูที่มีความยุ่งยากในการสังเกตการณ์ปฏิบัติในชั้นเรียนของครูที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างประสบผลสําเร็จ