Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไตวายเรื้อรัง Chronic kidney disease - Coggle Diagram
ไตวายเรื้อรัง
Chronic kidney disease
ปัจจัยเสี่ยง
เบาหวาน
จากกรณีศึกษา ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงทำให้ไตทำงานหนัก จึงเกิดการเสื่อมสภาพ เพราะไตมีหน้าที่กรองสารอาหารและน้ำตาลให้คงไว้ในร่างกาย
ความดันโลหิตสูง
ไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายได้น้ำและ เกลือแร่สะสมมากผิดปกติทำให้ความดันโลหิตสูง
การรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม
โซเดียม มีหน้าที่รักษาสมดุลน้ำทั้งนอกเซลล์และภายในเซลล์ และรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
Na+ = 154 mEq/L ค่าปกติ 135-145 mEq/L
K+ =5.0 mEq/L ค่าปกติ 3.5-5.0 mEq/L
ยา
ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่องจึงส่ง ห้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
อายุ
ผู้ป่วยอายุ 56 ปี เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน พบในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป เนื่องจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้ แต่ไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพื่อเผาผลาญให้เกิดพลังงาน จึงทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงต้องรักษาด้วยวิธีการกินยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในกรณีศึกษา ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
หน้าที่ของไต
มีหน้าที่สำคัญคือ
การขับของเสียต่างๆที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ
ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
3.เรนิน มีหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต และวิตามินดี มีหน้าที่สร้างกระดูก ควบคุมสมดลน้ำและเกลือแร่ ขับถ่ายสารแปลกปลอมที่ร่างกายรับมา
กลไกการเกิดอาการและอาการแสดง
ภาวะน้ำเกิน
มีการสะสมของของเหลวในเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง จึงส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย ทำให้นอนราบไม่ได้
จากการที่ไตขับน้ำออกได้น้อย และผู้ป่วยได้รับน้ำมาก จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมที่บริเวณหนังตา และบวมที่แขน ขา pitting edema Grade 3+ คือ สังเกตเห็นได้ชัด คงอยู่นานหลายนาที
ปัสสาวะบ่อย
เมื่อฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนผลิตได้ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถผลิตได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติ จึงปล่อยออกมาพร้อมน้ำ กลายเป็นปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก
ติดเชื้อ
เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงในผู้ป่วยเบาหวาน จะกดการทำงานของภูมิต้านทาน การติดเชื้อของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าปกติ
WBC = 11000 cell/mm3
ค่าปกติ = 5,000-10,000 cell/mm3
Neutrophil = 78% ค่าปกติ = 40-75%
กลไกการเกิดภาวะไตเสื่อม เกิดจากการที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งระดับน้ำตาลที่สูงเรื้อรัง ทำให้ระดับกลูโคสสูงขึ้น จะสร้างความเสียหายให้กับเส้นเลือดฝอยในไต เนื่องจากความหนืดของน้ำตาลที่ผสมในเลือด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหารไหลเสียนเลือด ซึ่งส่งผลให้เส้นเลือดแดงขนาดเล็กที่ไตเสื่อม มีความดันและความเร็วเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดการหนาตัวของเส้นเลือด หารทำงานของไตจึงเสื่อมลง
ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลไม่ถูกย่อยสลาย และไปจับตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแข็ง ส่งผลให้เลือดมีแรงดันสูงขึ้น จึงส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง