Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันAPL (Acute promyelocytic leukemia) - Coggle…
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันAPL (Acute promyelocytic leukemia)
พยาธิสรีรภาพ
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกว่า “โรคลูคีเมีย” เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบเลือดที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูกเติบโตผิดปกติ ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมามากในกระแสเลือด ส่งผลให้การทำงานของระบบเม็ดเลือดเสียไป อาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยๆ เป็น โดยทั่วไป มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันจะมีอาการรุนแรงกว่าชนิดที่เกิดช้าๆ หรือเรื้อรัง สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด รวมถึงได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง และกัมมันตภาพรังสี สามารถทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
แบ่งตามระยะการเกิดโรค และแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง
แบ่งตามระยะเวลาเกิด
1.มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) คือการที่เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว อาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
2.มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia) คือการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยเป็นเวลานับปี แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด
จากกรณีศึกษา :การวินิจฉัยครั้งแรก: APL (Acute promyelocytic leukemia)
แบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง
1.มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส (myelogenous leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย myeloid เติบโตผิดปกติ
2.มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (lymphocytic leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย lymphoid
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งการแบ่งตัวดังกล่าวจะไปรบกวนระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูก
อาการเเละอาการเเสดง
เลือดจาง ซีด หน้ามืด เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนังและเหงือก เป็นจ้ำตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต อาจพบก้อนในท้องเนื่องจาก ตับ ม้ามโต ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย และมีไข้
จากกรณีศึกษา : ผู้ป่วยมีอาการซีด เยื่อบุตาซีดเล็กน้อย เยื่อบุในจมูกซีดเล็กน้อย ริมฝีปากซีด เยื่อบุช่องปากขาวซีด เหนื่อยง่าย มีจุดจ้ำเลือดตามตัวเเขนเเละขา ต้นเเขนด้านซ้ายมีจ้ำเลือดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม. ไม่ปวด เกล็ดเลือดต่ำทำให้ทำให้เลือดออกตามไรฟัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-การได้รับรังสีขนาดสูง เช่น รังสีนิวเคลียร์ -การรับเคมีบำบัด เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยตัวยาเคมี เนื่องจากยาเคมีบำบัดบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
-การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีในกลุ่มพวกเบนซีน และยาฆ่าแมลงบางชนิด
-โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม
-อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
-ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic syndrome, MDS)
การวินิจฉัย
-การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) อาจพบฮีโมโกลบินต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ และอาจพบเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนได้ แพทย์จะตรวจยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ส่งตรวจพิเศษเพื่อแยกชนิดของเซลล์ myeloid และ lymphoid รวมถึงส่งตรวจโครโมโซมเพื่อการพยากรณ์โรค
-การเจาะไขกระดูกเป็นการตรวจที่จำเป็นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยแพทย์จะใช้เข็มดูดและตัดชิ้นเนื้อบริเวณหลังกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกราน (ไม่ใช่การเจาะน้ำไขสันหลัง) ระยะเวลาในการเจาะประมาณ 10-15 นาที และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
จากกรณีศึกษา :Day1 Rbc 1.5 cell,Hb 4.8g/uL, Hct 13.7% , Pletelet Count 17000/uL Day4 Rbc 1.9 cell,Hb 5.8g/uL, Hct 16.9%, Pletelet Count 17000/uL, Day5 Rbc 2.72 cell, Hb 7.7g/uL,Hct 22.5%
การรักษา
1.เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
2.การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง
3.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation
จากกรณีศึกษา : ให้ยาเคมีบำบัด/ให้เลือด ตามคำสั่งเเพทย์