Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบัญชีภาษีเงินได้นิติบุคคล - Coggle Diagram
การบัญชีภาษีเงินได้นิติบุคคล
เกณฑ์สิทธิ
รายได้ : ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระก็ตาม ก็ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
รายจ่าย : ให้นำรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้ชำระเงินก็ตาม ก็ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
มาตรา 65 ทวิ
มาตรา 65 ทวิ (1) : รายการที่ระบุในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ทวิ (2) : การคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนด
อาคาร
-อาคารถาวร : ไม่เกินร้อยละ 5
-อาคารชั่วคราว : ไม่เกินร้อยละ 100
ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นได้ : ไม่เกินร้อย 5
สิทธิการเช่า
-ไม่จำกัดอายุ : ไม่เกินร้อยละ 10
-จำกัดอายุ : ไม่เกินร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนอายุการเช่าและอายุการใช้งาน
กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
-ไม่จำกัดอายุการใช้ : ไม่เกินร้อยละ 10
-จำกัดอายุการใช้ : ไม่เกินร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีของอายุการใช้งาน
ทรัพย์สินอย่างอื่น นอกจากที่ดินและสินค้า : ไม่เกินร้อยละ 20
การนับวัน
บัญชี : นับวันถัดจากวันที่ซื้อถึงวันสิ้นรอบ
ภาษี : นับวันที่ซื้อถึงวีนสิ้นรอบ
มาตรา 65 ทวิ (3) : การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ห้ามนำส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิ
มาตรา 65 ทวิ (4) : การโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีแต่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เจ้าพนักงานฯ มีอำนาจประเมินตามราคาตลาด
เหตุอันสมควร เช่น ทรัพย์สินล้าสมัย เสื่อมคุณภาพ หรือชำรุดเสียหาย
หลักเกณฑ์ในการคิดดอกเบี้ย
-นำเงินที่มีอยู่ไปให้กู้ยืม : อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
-นำเงินที่กู้ยืมมาจากผู้อื่นไปให้กู้ยืม : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
มาตรา 65 ทวิ (5) : การคำนวณเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบบัญชี กรณีทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้ใช้อัตรารับซื้อ กรณีหนี้สินให้ใช้อัตราขาย
มาตรา 65 ทวิ (6) : ราคาสินค้าคงเหลือ ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า
ผลต่างทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ทวิ (7) : การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทส เจ้าพนักงานฯ มีสิทธิประเมินราคาเดียวกับที่ส่งไปยังประเทศอื่น
มาตรา 65 ทวิ (8) : การคำนวณราคาทุนของสินสำที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ถือตามราคาตลาด ณ วันนั้น
ถูกยกเลิกแล้ว (ให้ใช้กฏหมายในมาตรา 65 ทวิ (5))
มาตรา 65 ทวิ (9) : การจำหน่ายหนี้สูญ
ดำเนินการตามกระบวนการ
ติดตามทวงถาม : หนี้ตั้งแต่ 100,000.- ขึ้นไป
การฟ้อง : หนี้ตั้งแต่ 200,000.-ขึ้นไป
ศาลรับคำฟ้อง : หนี้ตั้งแต่ 200,000.-ขึ้นไป
ได้คำสั่งของศาล : หนี้เกิน 500,000.- ขึ้นไป
มาตรา 65 ทวิ (10) : การยกเว้นรายได้เงินปันผล
ผู้จ่าย : บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย,กองทุนรวม,สถาบันการเงิน,กิจการร่วมค้า
ผู้รับ : -ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
1.กรณีทั่วไป : ยกเว้นกึ่งหนึ่ง
2.กรณีพิเศษ : 2.1ถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 25%
2.2บริษัทผู้จ่ายไม่ถือหุ้นในบริษัทผู้รับ : ยกเว้นทั้งจำนวน
-จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : ยกเว้นทั้งจำนวน
*ระยะเวลาถือหุ้น : 3 เดือนหน้า / 3 เดือนหลัง
มาตรา 65 ทวิ
มาตรา 65 ทวิ (11) : ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับตัองถูกหัภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
มาตรา 65 ทวิ (12) : เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ยตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
มาตรา 65 ทวิ (13) : การยกเว้นรายได้ของมูลนิธิหรือสมาคม
มาตรา 65 ทวิ (14) : ภาษีขาย และภาษีมูลดำเพิ่มที่ได้รับคืน ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้
มาตรา 65 ทวิ (15) : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมไม่ต้องนำรายได้อันมิใช่เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) มารวมคำนวณเป็นรายได้
มาตรา 65 ตรี
มาตรา 65 ตรี (1) : เงินสำรองต่างๆ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ตรี (2) : เงินกองทุนไม่ให้ถือเป็นรายจำย ยกเว้นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มาตรา 65 ตรี (3) : รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศลไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
รายจ่ายภาษี
1.รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อสาธารณประโยชน์
เช่น วัด มูลนิธิ โรงพยาบาล
2.รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
เช่น โรงเรียน มหาลัย องค์กรกีฬา
หักได้ตามจ่ายจริงหรือ 2/102 : กรณี 1 ประเภท
และ 2/104 : กรณี 2 ประเภท
ของกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรก่อนหักเงินบริจาค
(เลือกจำนวนเงินที่น้อยกว่า)
มาตรา 65 ตรี (4) : ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
จ่ายตามจริง+VATและเป็นไปตามเกณฑ์ vs นำรายได้ประมวลรัษฏากรหรือทุนรับชำระ (เลือกจำนวนที่มากกว่า x 0.3%)
แล้วเลือกจำนวนที่น้อยกว่าไปเป็นรายจ่ายภาษี
มาตรา 65 ตรี (5) : รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่ เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
มาตรา 65 ตรี (6) : เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
.
มาตรา 65 ตรี (7) : การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ใช้ถือเป็นรายจ่าย
เป็นการถอนทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
มาตรา 65 ตรี (8) : เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
.
มาตรา 65 ตรี (9) : รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
เป็นเพียงการประมาณการ ยังไม่เกิดขึ้นจริง
มาตรา 65 ตรี (10) : ค่าตอยแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เองไม่ให้ถือเป็นรายจ่ย
มาตรา 65 ตรี
มาตรา 65 ตรี (11) : ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ตรี (12) : ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ หรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิ ยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชี
มาตรา 65 ตรี (13) : รายจ่ายซึ่งมีใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
สวัสดิการให้พนักงาน สามารถถือเป็นรายจ่ายได้ แต่ต้องระบุไว้ในระเบียบพนักงานหรือระเบียบขององค์กรและต้องไม่เลือกปฎิบัติ
มาตรา 65 ตรี (14) : รายจ่ายซึ่งมีใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ตรี (15) : ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ตรี (16) : ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
.
มาตรา 65 ตรี (17) : ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
มาตรา 65 ตรี (18) : รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
ต้องมีหลักฐานประกอบการจ่ายทุกครั้ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการโอนเงิน เป็นต้น
มาตรา 65 ตรี
มาตรา 65 ตรี (19) : รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
เช่น เงินปันผลจ่ายหรือโบนัส
มาตรา 65 ตรี (20) : รายจำยที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย เช่น คำเช่ารถยนต์นั่งหรือรถโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ส่วนที่เกิน 36,000 บาทต่อเดือนหรือ 1,200 บาทต่อวัน เป็นต้น