Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle…
บทที่ 7
การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading)
ส่วนหัวเรื่อง
เป็นส่วนแรกของแเผนการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้
แนวการเขียนส่วนหัวเรื่อง
4.
ระบุหัวข้อเรื่อง
3.
ระบุระดับชั้นที่สอน
5.
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียน
2.
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
6.
ระบุวันที่ เดือน ปี และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
1.
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์
คือ ข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Atitude) และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้มีวิธีการเขียนหลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือในลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
1. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้ พฤติกรรมจังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูดั้งขึ้น (Condition) พฤติกรรมของผู้เรียนที่กาดหวังให้แสดงออก (Terinal Behavior) และเกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
หากเกิดข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถเขียนได้ครบทั้ง 3 ส่วน
ให้ยึดพฤติกรรมที่คาดหวังไว้เป็นหลักในการเขียน
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง
คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง
คือ จุดประสงค์ย่อยที่แตกฮือกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทางนิยมเขียรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียนจุดประสงค์
3.
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
4.
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
2.
เขียนให้ครอบคลุมทั้งค้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
5.
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
1.
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การตรวจผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น ส่วนการประเมินผลเป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัด เช่น ผ่าน - ไม่ผ่าน, ดี - ปานกลาง - อ่อน หรือ กำหนดค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 เป็นต้น
แนวการเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2.
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
3.
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
1.
ระบุวิธีการวัคและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media
)
สื่อการเรียนรู้
คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวการเขียนสื่อการเรียนรู้
3.
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้ เช่น รูปภาพยุงลาย แผนภูมิเพลง คุณธรรมสี่ประการ แถบบันทึกภาพและเสียงเรื่องชีวิตในบ้าน เป็นต้น
4.
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล
2.
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
5.
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่น กระดานดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา เป็นต้น
1.
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities
กิจกรรมการเรียนรู้
คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ จึงเป็นความสามารถและทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
3. เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
ผู้เรียนคือหัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพราะหากไม่มีผู้เรียนแล้วการจัดการเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้น ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของผู้เรียนที่ตนจะสอนก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อกัดเลือกกิจกรรมการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องคำนึงว่าจะจัดอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับธรรมชาติ วัย ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียนเป็นส่วนรวมและขณะเดียวกันก็จะต้องสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนด้วย
4. เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
สภาพแวดล้อมในที่นี้หมายถึงทั้งในและนอกห้องเรียน
ในโรงเรียน และในชุมชน ครูผู้สอนต้องมีข้อมูลว่ามีวิทยากรท้องถิ่นหรือแหล่งวิทยาการใดบ้างที่จะใช้ได้ เพราะอาจมีกิจกรรมบางอย่างที่ครูสู้สอนต้องการนำมาใช้ แต่ทำไม่ได้เพราะขาดแหล่งวิทยาการที่สำคัญ ๆ หรือครูผู้สอนมีเวลาและสถานที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมแต่ละเรื่องเพียงใด ครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของห้องเรียน โรงเรียนและชุมชนโดยพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด เช่น หัวข้อที่กำหนดในการทำรายงานการศึกษาค้นคว้า โครงงาน หรือชิ้นงาน ก็ควรเป็นหัวข้อเกี่ยวกับท้องถิ่น หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้ด้นพบความถนัด ความสามารถและความสนใจ เพื่อพัฒนาตนเองทั้งทางค้านวิชาการ การประกอบอาชีพ การดำรงตนในสังคมและบุคลิกภาพส่วนตน
2. ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
กิจกรรมการเรียนรู้ ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งกระบวนการในที่นี้ หมายถึง
การมีขั้นตอนต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือฝึกปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิด การพูด ในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ คือ ได้ความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติหลังจากทำกิจกรรม
การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้ในชีวิตจริง ดังแนวคิดที่ว่า "แทนที่จะให้ปลาเด็กกินทุกวัน เราควรฝึกวิธีหาปลาให้กับเขาเพื่อให้เขาสามารถหาปลากินเองได้ตลอดชีวิตจะดีกว่า"
5. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา
ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ (Process)
5)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ (Product)
3)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อหรือกลุ่ม (Interaction) ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ุ6)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อน
2)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก (Performance) เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลงาน
7)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Application)
1)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct) โดยค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ทำความเข้าใจ สร้างความหมายของสาระข้อความรู้ให้แก่ตนเอง ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องสะท้อนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดทุกข้อ โดยนอกจากจะต้องสร้างเสริมพฤติกรรมและทักษะที่มุ่งเน้นทุกด้านตามจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ว จะต้องสร้างมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดในสาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่กำหนดอย่างชัดเจน ครบถ้วนและทันสมัย
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอน และขั้นสรุปบทเรียน โดยเขียนเป็นข้อเรียงตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละขั้น หากขั้นใดมีกิจกรรมเดียวไม่ต้องใส่เลขลำดับหัวข้อ
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอน
หรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำ เป็นต้น
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการและการปฏิบัติ
ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดของของผู้สอนและผู้เรียน
การเขียนเนื้อหา (Content)
เนื้อหา
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโคยรวม อาจประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ
แนวการเขียนเนื้อหา
2.
กำหนดเนื้อหาของการจัดการรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
3.
เขียนเนื้อหาแบบข่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามาก
ให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
1.
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์
การเรียนรู้
4.
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่ง
เพื่อความชัดเจน
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
สาระสำคัญ
คือ ข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งด้านเนื้อหาความรู้ ด้านทักษะ หรือด้านเจตคติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะเหมาะของเรื่องที่นำเสนอ
แนวในการเขียนสาระสำคัญ
2.
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
3.
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้นๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
1.
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมายด้วยภาษาที่รัคกุมและชัดเจน