Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle…
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้นนอกจากต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ดังที่กล่าวมาแล้วยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเขียนรายละเอียดภายในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เขียนขึ้นจึงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้ดังที่จะเสนอต่อไปนี้การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading) ส่วนหัวเรื่องเป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้ 1. ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้ 2. ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3. ระบุระดับชั้นที่สอนระบุหัวข้อเรื่อง 5. ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้ 6. ระบุวันที่เดือนปีและช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้ตัวอย่างการเขียนส่วนหัวเรื่อง Sjowoc
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
การเขียนสาระสำคัญ (Concept) สาระสำคัญคือข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่นหรือข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งด้านเนื้อหาความรู้ด้านทักษะหรือด้านเจตคติซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะเหมาะของเรื่องที่นำเสนอสาระสำคัญเป็นคำที่ใช้ในความหมายเดียวกับสังกับความคิดรวบยอดมโนทัศน์และมโนมติขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือความนิยมใช้มีแนวในการเขียนดังต่อไปนี้ 1. เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ทักษะหรือเจตคติที่เป็นเป้าหมายด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน 2. เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ 3. การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่งตัวอย่างการเขียนสาระสำคัญสาระสำคัญในเชิงเนื้อหาความรู้สาระสำคัญในเชิงทักษะกระบวนการรากของพืชมี 3 ชนิด ได้แก่ รากแก้วรากฝอยและรากแขนงการใช้กระบวนการเขียน ได้แก่ การเตรียมการเขียนการยกร่างข้อเขียนการปรับปรุงข้อเขียนการบรรณาธิการกิจและการเขียนให้สมบูรณ์ทำให้ได้ข้อเขียนที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์คือข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Attitude) และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งการเขียนประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้มีวิธีการเขียนหลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือในลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทางซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ความขยันหมั่นเพียรเป็นสิ่งที่นำความสําเร็จ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมคือจุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น (Condition) พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้แสดงออก (Terminal Behavior และเกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทางคือข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้หรือแต่ละเรื่องลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกจุดประสงค์นำทางคือจุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทางเพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทางจุดประสงค์นำทางนิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ 2. เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P) 3. เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้ 4. เขียนด้วยภาษาที่รัดกุมชัดเจนและสื่อความได้ดีหากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ 5. การเขียนเนื้อหา (Content) เนื้อหาเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโดยรวมอาจประกอบด้วยทฤษฎีหลักการวิธีการขั้นตอนหรือแนวปฏิบัติการระบุเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้ 1. เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลาวัยและความสามารถของผู้เรียน 3. เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อหรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามากให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ 4. เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับหากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
กิจกรรมการเรียนรู้คือสภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้เนื้อหาและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านต่างๆจึงเป็นความสามารถและทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีลักษณะดังนี้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนโรงเรียนและชีวิตจริงของเมืองสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียนแผนภูมิแสดงกระบวนการจัดการเรียนรู้ vda คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญฝึกกระบวนการที่สำคัญ
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้จะต้องสะท้อนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดทุกข้อโดยนอกจากจะต้องสร้างเสริมพฤติกรรมและทักษะที่มุ่งเน้นทุกด้านตามจุดประสงค์การเรียนรู้แล้วจะต้องสร้างมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดในสาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่กำหนดอย่างชัดเจนครบถ้วนและทันสมัย
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียนกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งกระบวนการในที่นี้หมายถึง-การมีขั้นตอนต่างๆควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือฝึกปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้คือได้ความรู้ความเข้าใจและเจตคติหลังจากทํากิจกรรม-การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้ในชีวิตจริงดังแนวคิดที่ว่า“ แทนที่จะให้ปลาเด็กกินทุกวันเราควรฝึกวิธีหาปลาให้กับเขาเพื่อให้เขาสามารถหาปลากินเองได้ตลอดชีวิตจะดีกว่ากิจกรรมการเรียนรู้โดยทั่วไปคือการจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมายผ่านทางประสาทสัมผัสและช่องทางการสื่อสารต่างๆเช่นได้สังเกตอ่านฟังคิดซักถามตอบคำถามอภิปรายทดลองเขียนและลงมือปฏิบัติจริงผลที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฏิบัติลักษณะด้านจิตพิสัยต่างๆเช่นเจตคติคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมความสนใจความพอใจเป็นต้นเป้าหมาของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคือการสอนที่ครูผู้สอนหลีกเลี่ยงการเป็นผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง แต่จะจัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ต่างๆอย่างเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ธรรมชาติและวัยของผู้เรียนลักษณะของเนื้อหาวิชาและสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริงกระบวนการที่ครูสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมประกอบด้วย 1) กระบวนการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยาเช่นกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดกระบวนการเรียนรู้ความคิดของ Bloom เป็นต้น 2) กระบวนการของศาสตร์ต่างๆเช่นกระบวนการเรียนภาษากระบวนการเรียนคณิตศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิชาชีพกระบวนการทางศิลปะดนตรีนาฏศิลป์พลศึกษาเป็นต้น 3) ทักษะกระบวนการ 9 ขั้นซึ่งจะพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านการคิดการแก้ปัญหาการปฏิบัติและการมีเจตคติที่ดีต่อการคิดและการปฏิบัติ
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียนผู้เรียนคือหัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพราะหากไม่มีผู้เรียนแล้วการจัดการเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของผู้เรียนที่ตนจะสอนก่อนว่าเป็นอย่างไรเมื่อคัดเลือกกิจกรรมการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องคำนึงว่าจะจัดอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับธรรมชาติวัยความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นส่วนรวมและขณะเดียวกันก็จะต้องสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนด้วย
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริงสภาพแวดล้อมในที่นี้หมายถึงทั้งในและนอกห้องเรียนในโรงเรียนและในชุมชนครูผู้สอนต้องมีข้อมูลว่ามีวิทยากรท้องถิ่นหรือแหล่งวิทยาการใดบ้างที่จะใช้ได้เพราะอาจมีกิจกรรมบางอย่างที่ครูผู้สอนต้องการนำมาใช้ แต่ทำไม่ได้เพราะขาดแหล่งวิทยาการที่สำคัญ ๆ หรือครูผู้สอนมีเวลาและสถานที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมแต่ละเรื่องเพียงใดครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของห้องเรียนโรงเรียนและชุมชนโดยพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุดเช่นหัวข้อที่กำหนดในการทำรายงานการศึกษาค้นคว้าโครงงานหรือชิ้นงานก็ควรเป็นหัวข้อเกี่ยวกับท้องถิ่นหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นพบความถนัดความสามารถและความสนใจเพื่อพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาการการประกอบอาชีพการดำรงตนในสังคมและบุคลิกภาพส่วนตน
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct) โดยค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆทำความเข้าใจสร้างความหมายของสาระข้อความรู้ให้แก่ตนเองค้นพบความรู้ด้วยตนเอง 2) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดทำและแสดงออก (Performance) เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลงาน-3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อหรือกลุ่ม (Interaction) ได้เรียนรู้จากกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Process) 4) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ 5) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ (Product) 6) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อน (Assessment) 7) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Application) แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้ 1. เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาวิธีการและการปฏิบัติ 2. เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนขั้นดำเนินการสอนและขั้นสรุปบทเรียนโดยเขียนเป็นข้อเรียงตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละขั้นหากขั้นใดมีกิจกรรมเดียวไม่ต้องใส่เลขลำดับหัวข้อ 3. เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาทผู้เรียนครูผู้สอนหรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำเป็นต้น 4. ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดของของผู้สอนและผู้เรียนอย่างไรก็ตามการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งนี้รองศาสตราจารย์ดร. ทิศนาแขมมณี
ค่าร้อยละต่ำกว่า 60 60-69 70-79 80-100 ความหมายจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับต้องปรับปรุงอยู่ในระดับใช้ได้อยู่ในระดับดีอยู่ในระดับดีเยี่ยมการเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media) สื่อการเรียนรู้คือสิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีแนวการเขียนดังต่อไปนี้ 1. ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้ 3. ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้เช่นรูปภาพยุงลายแผนภูมิเพลงคุณธรรมสี่ประการแถบบันทึกภาพและเสียงเรื่องชีวิตในบ้านเป็นต้น 4. กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคลให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล 5. ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้เช่นกระดานค่าชอล์กดินสอปากกาเป็นต้นการเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆเช่นการสังเกตการสัมภาษณ์การสอบถามการตรวจผลงานและการทดสอบเป็นต้นส่วนการประเมินผลเป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัดเช่นผ่านไม่ผ่านดีปานกลางอ่อนหรือกำหนดค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 เป็นต้นมีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง 3. ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผลตัวอย่างการเขียนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สังเกตความสนใจในการเรียนสังเกตการออกเสียงคำควบกล้ำ--สอบถามวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือการเกษตรสอบถามความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอวัยวะ-ตรวจแบบฝึกหัดเรื่องการบวก-ตรวจการเขียนบรรยายภาพหมายเหตุ: หมายถึงวิธีการวัดหมายถึงเนื้อหาที่ต้องการวัดการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนอกจากจะสามารถเขียนรายละเอียดภายในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจนแล้วยังควรคำนึงถึงระดับภาษาที่ใช้เขียนให้อยู่ในระดับกึ่งทางการไม่ใช้ภาษาปากเข้ามาปะปนรวมทั้งควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบในแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความเชื่อมโยงและสอดรับกันดังแผนภูมิต่อไปนี้