Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัยรุ่น, กลุ่ม 5 ไอดี 089 095 098 101 107 115 154 - Coggle Diagram
วัยรุ่น
3.ทักษะการสื่อสารเชิงบวกในวัยรุ่น
การจัดสิ่งแวดล้อมให้ดี
ควรเป็นส่วนตัว สงบ ผ่อนคลาย ไม่มีการรบกวน ทิศทางการนั่งควรเป็นมุมฉากเยื้องกัน และมีการสัมผัสอย่างเหมาะสม
มีทัศนคติที่ดีกับวัยรุ่น
เริ่มต้นจากการหยิบยกข้อดีของวัยรุ่นมาเริ่มต้นในการสื่อสาร ความรู้สึกที่ดีจะถูกถ่ายทอดเป็นภาษากาย เช่น แววตา ทำให้เกิดการยอมรับ เปิดช่องการสื่อสารสองทาง
แสดงท่าทีเป็นกลางต่อพฤติกรรมเสี่ยงวัยรุ่น
จะช่วยให้วัยรุ่นเปิดเผยมากขึ้น เช่น วัยนี้บางคนเขามีแฟนกัน....สนใจใครบ้างไหม
การกระตุ้นให้เล่าเรื่อง
การกระตุ้นโดยใช้ชุดคำถามที่จูงใจ ตามปัญหาหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น
ใช้ภาษากาย
สีหน้า แววตา ท่าทาง ของผู้ใหญ่จะสื่อให้วัยรุ่นได้ดีกว่าคำพูด ทำให้เกิดความเป็นกันเอง อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด
กระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง
ในการฝึกให้วัยรุ่นคิดและแก้ปัญหานั้น ควรฝึกให้คิดเองก่อนเสมอ เมื่อคิดไม่ได้จริงๆ อาจช่วยชี้แนะให้ในตอนท้าย
ชมบนหลังคา ด่าที่ใต้ถุน
เมื่อมีพฤติกรรมดี ผู้ใหญ่ควรชม ให้เกิดความภาคภูมิใจตนเอง ในทางตรงกันข้าม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่ดี ครูควรมีเทคนิคในการตักเตือน เพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม แต่เวลาเตือน อย่าให้เกิดความรู้สึกอับอาย ให้นักเรียนค่อยๆ คิด และยอมรับด้วย ตัวเอง
เริ่มต้นจากข้อดีของวัยรุ่น
พยายามหาข้อดี จุดดี ด้านบวกของวัยรุ่น และหยิบยกมาเป็นจุดเริ่มต้นก่อน
ทักทาย
ควรทักทายอย่างอ่อนโยนนุ่มนวล ถามเรื่องง่าย ๆ แสดงความเป็นกันเอง พยายามเรียกชื่อวัยรุ่นมากกว่าใช้สรรพนาม
สำรวจลงไปที่ปัญหา
พยายามสำรวจความรู้ ความเข้าใจของวัยรุ่นในการพูดคุยครั้งนี้ โดยใช้เทคนิคการถาม เช่น "ช่วยเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น"
ฟังอย่างตั้งใจ
แสดงออกโดยสนใจฟัง จดจำรายละเอียด พยายามเข้าใจความคิดความรู้สึก สอบถามเมื่อสงสัย ให้วัยรุ่นขยายความ และถามความคิด ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นระยะ ๆ
คาดหวังด้านบวก
ในช่วงท้าย ก่อนจะจบการพูดคุย ผู้ใหญ่ควรแสดงความคาดหวังด้านบวกต่อวัยรุ่น มองเขาในแง่ดี และให้โอกาสเขาคิด ไตร่ตรองด้วยตนเอง
ตำหนิที่พฤติกรรม
มากกว่าตัวบุคคล ไม่ควรตำหนิด้วยคำพูดที่ไม่ดี ลามไปถึงพ่อแม่ หรือตำหนิแล้วซ้ำเติม และไม่ควรใช้คำพูดที่หยาบคาย ควรใช้คำที่สุภาพ จริงจังนุ่มนวล
หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า "ทำไม"
ผลที่ตามมามักเป็นด้านลบ เนื่องจากเป็นการตัดสินว่า ทำไมจึงทำเช่นนี้
ประคับประคองอารมณ์ (Emotional Support)
จิตใจของอารมณ์จะดีขึ้น เมื่อเกิดจากการได้ระบายความรู้สึก การมีความหวังด้านบวก การถูกชมเชย และมีความหวังในการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ดีขึ้น
สรุปและยุติการสนทนา
การยุติการสื่อสารในตอนท้ายควรสรุปส่ิงที่ได้คุยกัน การวางแผนต่อไปว่าจะทําอะไร ตอบคําถามที่วัยรุ่นอาจจะมี ซึ่งการยุติการสนทนาได้ดีจะช่วยให้วัยรุ่นร่วมมือในการพบอีก
ใช้คำพูดที่ขึ้นต้น "ฉัน..." มากกว่า "เธอ..."
ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย "เธอ" หรือ "คุณ" มักแฝงความรู้สึกด้านลบ คุกคาม และตำหนิ
กระตุ้นให้บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ
ควรฝึกให้วัยรุ่นมีทักษะการสื่อสาร กล้าพูด กล้าบอกความคิด ความรู้สึก และความต้องการ
ถามความรู้สึก สะท้อนความรู้สึก
ช่วยสร้างความรู้สึกการประคับประคองทางจิตใจ แสดงถึงความเข้าใจ สนใจวัยรุ่น
ถามความคิดและสะท้อนความคิด
เป็นเทคนิคแสดงความสนใจ พยายามเข้าใจ และให้เกียรติความคิดวัยรุ่น
1.พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงทางกาย
ร่างกายส่วนต่างๆ จะมีการเจริญเติบโตในเกือบทุกๆระบบทั้งหญิงและชาย เช่น ความสูงและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว แขนขายาวขึ้น ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อกระตุ้นการเติบโตของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกมีการเจริญของร่างกายในส่วนที่เป็นลักษณะประจำเพศ (secondary sex characteristics)
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและความคิด
ความเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรทราบไว้จะได้ไม่รู้สึกว่าบุตรหลานของตนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป [เป็นคนที่ดื้อรั้นไม่เชื่อฟังหรือเกิดความวิตกกังวลว่าอาจมีปัญหาร้ายแรงตามมาจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
ความสนใจในตัวเอง (Narcissism)
วัยรุ่นจะสนใจตัวเองมาก รักสวย รักงาม การแต่งกายก็ต้องพิถีพิถันหรือให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง หรือสะดุดตาโดยเฉพาะให้เพศตรงข้ามสนใจ
ความนับถือผู้ใหญ่ (Authority figure)
วัยรุ่นจะให้ความสำคัญผู้ใหญ่น้อยลง มักมีความคิดว่าผู้ใหญ่มีความคิดที่ล้าหลังไม่ทันสมัย และอื่นๆ และเห็นว่าความคิดของตนดีกว่าถูกต้องกว่า
ความเป็นตัวของตัวเอง (Independence)
วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเป็นตัวของตัวเองมาก และมีความต้องการรับผิดชอบตัวเอง ผู้ใหญ่ควรค่อยๆปล่อยให้วัยรุ่นมีอิสระมากขึ้นอย่างเหมาะสม ไม่บังคับหรือมีกฏระเบียบมากเกินไป
แสวงหาเอกลักษณ์ของตน (Identity)
เนื่องจากต้อง
เตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า วัยรุ่นจะมองหาว่าตัวเองต้องการเป็นคนอย่างไรในอนาคต จะมีอาชีพอะไร
บทบาทของตัวเองในฐานะผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไร ความรู้สึกมั่นใจในตนเองจะเกิดขึ้นได้เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถในงานที่ได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบ (experiencing success)
การคบเพื่อน
ในวัยรุ่นเพื่อนมีอิทธิพลมากเพราะวัยรุ่นต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน จึงมักเอาอย่างและค่านิยมของเพื่อน
ความประพฤติของวัยรุ่น
วัยรุ่นมักมีความประพฤติ ที่เปลี่ยนแปลงเร็วเป็นผลจากความพยายามที่จะแสดงถึงความสามารถพึ่งตนเองและไม่ต้องการพึ่งผู้อื่น ความประพฤติที่ก้าวร้าวอาจเป็นผลจากความเครียดทางอารมณ์ เช่น ความรู้สึกในความไม่แน่ใจตนเอง ความกดดันทางเพศ ความรู้สึกต่อเพศตรงข้าม ความกังวลเกี่ยวกับชีวิตอนาคต และอื่นๆ
ชอบเพ้อฝัน (Fantasy)
วัยรุ่นมักมีความเพ้อฝันค่อนข้างมาก เด็กหญิงมักเขียนบันทึกประจำวัน เด็กชายมักพูดโทรศัพท์บ่อยๆ นานๆ
วัยรุ่นจะมีความคิดเกี่ยวกับส่วนรวมและสังคม
ชอบการเสียสละและเห็นประโยชน์ของคนอื่นเป็นที่ตั้ง และมักเกิดความรู้สึกไม่พอใจในสังคมที่ไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ควรจะเป็น (idealism)
ความสนใจในเรื่องเพศ
การเปลี่ยนแปลงทางกายของระบบสืบพันธุ์ ทำให้เกิดความสนใจทางเพศและสนใจเพศตรงข้าม
4.ปัจจัยกำหนดสุขภาพในวัยรุ่น
ด้านชีวสังคม
เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
การรับรู้ด้านสุขภาพ
การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถในตนเองด้านสุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมสุขภาพ
สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ
การได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ
การได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น
5.รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันระดับปฐมภูมิ
เป็นการป้องกันก่อนเกิดปัญหา เช่น การเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง การสอนทักษะชีวิต การให้ความรู้ และการปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสม
ป้องกันระดับทุติยภูมิ
เป็นการวินิจฉัยและค้นหาพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง เช่น การจัดตั้งเครือข่ายหรือชมรมให้คำปรึกษาวัยรุ่นในโรงเรียน โรงพยาบาล เพื่อทำการคัดกรองเด็กที่มีแนวโน้มหรือพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำตามปัญหาเฉพาะในรูปแบบต่างๆแก่วัยรุ่นและครอบครัว
การป้องกันระดับตติยภูมิ
เป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ไม่ให้ผู้ประสบปัญหารู้สึกถูกทอดทิ้งให้เผชิญปัญหาเพียงลำพัง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลทั้งจากแพทย์และสังคม
2.การประเมินภาวะสุขภาพในวัยรุ่นแบบองค์รวม
ประเมินทางด้านจิตใจ
เช่น แบบประเมินประสบการณ์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด(WHO assist)
ชุดคำถามการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพวัยรุ่น (BSS) กรมควบคุมโรค แบบประเมินเสี่ยงฆ่าตัวตาย (T-Suicide) และ แบบทดสอบพฤติกรรมติดเกม (GAST)
ประเมินทางด้านร่างกาย
น้ำหนัก ส่วนสูง BMI
กลุ่ม 5 ไอดี 089 095 098 101 107 115 154