Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ - Coggle Diagram
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนจัดการเรียนรู้(lesson plan) การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า อย่างเป็นรบบและลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสารนั้น ๆ มีอยู่ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit plan) และระดับบทเรียน (lesson plan)
ประโยชน์ของการทำแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพื่อให้จัดการเรียนรุ้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
3.เพื่อให้สามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง
4.เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการเรียนรู้
เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้จากข้อกำหนดที่พบ
เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน (แผนการจัดการเรียนรู้เป็นลักษรธเฉพาของวิชาชีพครู)
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
หัวข้อเรื่อง(heading)
สาระสำคัญ (concept)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (objective)
เนื้อหา (content)
5.กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
สื่อการเรียนรู้ (material and media)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายหรือแบบเรียงหัวข้อ
2.แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
กิจกรรมให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่เน้นกระบวนการ มุ่งให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริง
กิจกรรมที่บูรณาการทั้งด้านความรู้ (K) คุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกต่อสังคม (A) และทักษะกระบวนการ (P)
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่พัฒนาความสารถเฉพาะบุคคล
กิจกรรมที่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษา
การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading) ส่วนหัวเรื่องเป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเบื้องต้น ของแผนการจัดการเรียนรู้ มีแนวทางเขียนดังนี้
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุวันที่ เดือน ปี และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ (concept) สาระสำคัญ คือ ข้อความเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติ มีแนวทางการเขียนดังต่อไปนี้
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมายด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างสารสำคัญ
สารสำคัญในเชิงความรู้
รากของพืชมี 3 ชนิดได้แก่ รากฝอย รากแก้ว รากแขนง
สาระสำคัญในทักษะกระบวนการ
การเตรียมการเขียน การยกร่างข้อเขียน การปรับปรุงข้อเขียน บรรณาธิการกิจและการเขียนให้สมบูรณ์ทำให้ได้ข้อเขียนที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์
สาระสำคัญเชิงเจตคติ
ความขยันหมั่นเพียรเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (objecive)
จะระบุลักษณะด้าน KPA ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน หลักจากเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (behavioral objective)
จุดปรสงค์เชิงพฤติกรรมคือ จุดปรสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ พฤติกรรมดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น (condition) พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้แสดงออก (terminal behavior) และเกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (criteria)
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่รบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ลักษณะคือไม่เฉพาะเจาะจงของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง คือ จุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสเงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดแลสังเกตได้
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับหัวข้อ
การเขียนเนื้อหา (content)
เนื้อหา คือ องค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอน เห็นภาพของสิ่งที่จะสอนโยรวม อาจประกอบด้วยทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ การรบุเนื้อหา
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสม กับระยะเวลา วัย และความสารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากเนื้อหามีมาก ให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวก ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ ไว้ในลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities) กิจกรรมการเรียนรู้ คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้อง จึงเป็นความสารถและทักษะของครูมืออาชีพ
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
กระบวนการที่ครูสามารถนำมาประกอบการสอน
กระบวนการเรียนรู้ตามจิตวิทยา เช่น Bloom
กรบวนการของศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กระบวนการเรียนภาษา กระบวนการคณิตศาสตร์ กระบวนการทางวิชาชีพดนตรี เป็นต้น
กระบวนการทักษระ 9 ขั้น
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (construct)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก (performance)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม(interaction)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ(process)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากภาคปฏิบัติ (product)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อน( assessment)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Application)
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการและปฏิบัติ
เขียนเป็นลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียรู้
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมแต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอน หรือทั้งสอง
ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดของผู้สอนและผู้เรียน
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material and Media) สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือรายบุคลล
. ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่น กระดนดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา
การเขียนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ คือ เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสอบถาม และต้องมีกรประเมินผลเป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัด
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล